ผู้เขียน หัวข้อ: What's That Sound ขาย Klipsch, KEF, Procella , SVS, Anthem, Parasound,Audyn  (อ่าน 327751 ครั้ง)

ออฟไลน์ keamglad

  • OLED TV member
  • *****
  • กระทู้: 3,720
  • https://www.facebook.com/whatthatsoundstore
    • ดูรายละเอียด
    • https://www.facebook.com/whatthatsoundstore
    • อีเมล์




Klipsch Reference Premiere HD Wireless สินค้าใหม่ล่าสุดเปิดตัวในงาน CES 2016

สเปกคร่าวๆเราไปสืบเสาะมาให้ว่า ตัวนี้ไม่ต้องใช้ AVR ไม่ต้องหาแอมป์มาใช้ ไม่ต้องทำอะไรเลย ไม่ต้องต่อสายลำโพง เสียบปลั๊กไฟใช้ได้เลย
เพราะมันเป็น Active Speaker ที่มีแอมป์ในตัวและทำขนาดมาให้ใหญ่โตพอจะใช้สำหรับดูหนังได้นั่นเอง คอนเซปก็คล้ายๆเจ้า KEF X300AW หรือ Active Subwoofer นั่นละครับ เพียงแต่เอามา Re-Design เลือกแอมป์ ทำตู้ และใช้ดอกลำโพงให้เหมาะกับการดูหนัง และจับใส่ฟีเจอร์ wireless เข้าไป มีตัวคอนโทรลเป็นตัวควบคุมตัวกลางหนึ่งตัว เบ็ดเสร็จใช้งานไม่ต้องต่อสาย ใช้งานได้ง่ายดายเพราะไม่ต้องแมทชิ่งสายลำโพง แอมป์ สายสัญญาณ จะลากซับวูฟเฟอร์ไปตั้งตรงไหน หรือเอาลำโพงย้ายติดตรงไหนก็ได้ทั้งนั้น

ใครนึกภาพไม่ออกก็นึกถึงลำโพงคอม หรือลำโพงซับวูฟเฟอร์ที่ไม่ต้องใช้แอมป์และพ่วง wireless นั่นละครับ



 
โลกเดินทางมาถึงชุดโฮมแบไวรเลสกันแล้ว เรามาดูสเปกและภาพกันได้เลย
ส่วนสินค้าและราคาก็รอดูตัวแทนผู้เข้าบ้านเรากันอีกนิดนุง อิอิ
วันนี้ดูภาพสวยๆของ Klipsch Reference Premiere HD Wireless ในงาน CES 2016 กันไปก่อนจ้า





 
RP-440WF
Four 4.5" Cerametallic cone woofers
One 1” titanium LTS tweeter
90° x 90° Tractrix Horn
Custom designed internal amplification system
Wireless connection to Klipsch HD Control Center







 
RP-110WSW
10" long-throw Cerametallic, front firing cone woofer
Bass Reflex enclosure
Custom designed internal amplification system
Wireless connection to Klipsch HD Control Center




 


RP-140WM
One 4.5" Cerametallic cone woofer
One 1” titanium LTS tweeter
90° x 90° Tractrix Horn
Custom designed internal amplification system
Wireless connection to Klipsch HD Control Center








RP-440WC
Four 4.5" Cerametallic cone woofers
One 1” titanium LTS tweeter
90° x 90° Tractrix Horn
Custom designed internal amplification system
Wireless connection to Klipsch HD Control Center






 

HD Control Center
4x HDMI with 4k Pass-through (1 port includes HDMI 2.0 and HDCP 2.2 support)
2x Digital Audio (1x Coaxial and 1x Optical)
1x Analog Audio
Bluetooth® wireless technology
3.5mm IR input
8 channel WiSA-compliant wireless audio up to 24-bit/96kHz







===============================================================


วันนี้เรามีข่าวคราว Sound Bar รุ่นใหม่ๆ ของ klipsch ที่เตรียมจะเปิดตัวในช่วงปลายปีนี้ (ที่อเมริกา) โดยงานนี้ยกพลกันออกรุ่นใหม่เยอะมากชนิดล้างไพ่รุ่นเก่าหมดทุกรุ่นเลยทีเดียว.... Sound Bar รุ่นใหม่จะใช้ชื่อว่า Reference Series (ชื่อไปในแนวทางเดียวกับลำโพงของเค้านะแหละ)
 แต่อย่างไรก็ตามแผนการวางตลาดยังไม่แน่นอน แต่คาดว่าน่าจะภายในปี 2016 ส่วนบ้านเรานี่คงต้องรอดูกันอีกทีว่าผู้นำเข้าจะเอารุ่นไหนเข้ามาจำหน่ายบ้าง และเมื่อไร่
 
ซึ่งผลิตภัณฑ์รุ่นใหม่ๆ จะรองรับเทคโนโลยี Play-Fi built-in มาในเครื่องเลย ซึ่ง Play-Fi เป็นเทคโนโลยี wireless แบบใหม่ที่รองรับการทำงานแบบ multi-room ด้วยครับ
 

 
 
  1. Reference RSB-6: รุ่นเล็กสุด ตัวนี้จะมาแทน Sound bar รุ่นเล็กสุดอย่างรุ่น R-4B ที่เพิ่งเข้ามาขายในบ้านเราเมื่อไม่นานมานี้ โดยมีการเพิ่มช่องต่อ HDMI เข้ามาให้ (แผนวางตลาดจะอยู่ช่วงสิงหาคม 2016)
 
 
  2. Reference RSB-8: รุ่นนี้จะคล้าย RSB-6 แต่เขยิบไซส์ขึ้นมา และรองรับ HDMI และเทคโนโลยี Play-FI
 
 
  3. Reference RSB-11: รุ่นใหญ่ขึ้นมาอีก ตัวนี้จะมาแทน Klipsch R-10B. โดยตัวนี้ดีไซน์ใหม่หมดทั้งหน้าตา วัสดุ และดอกลำโพงที่ใช้ แถมเพิ่มช่องต่อ HDMI เข้าไปให้ด้วย (กำหนดการช่วงๆสิงหาคม 2016)
 
 
  4. Reference RSB-14: ตัวนี้ใช้ดีไซน์และดอกลำโพงคล้ายกับ RSB-11 แต่ขยับให้ใหญ่ขึ้น และเพิ่มเทคโนโลยี Play-Fi สำหรับรองรับการเล่น multi-room sound. (กำหนดออก สิงหาคม 2016)
 
  5. Reference Premiere RPTB-3100B: สุดท้ายรุ่นท๊อปสุด ที่ออกแบบมาใหม่เอี่ยมเพื่อรองรับเสียงแบบ multichannel home theater โดยหลักการทำงานคือ สามารถเพิ่มลำโพงเข้าไปในระบบได้หลายๆตัว โดยจะสามารถควบคุมได้ด้วย Wireless surrounds ในตัวของ Sound bar ซึ่งทำหน้าที่เหมือนเป็นตัวประมวลผลตอยส่งสัญญาณให้ลำโพงในตำแหน่งต่างๆทำงานสอดประสานกันเพื่อให้เสียงแบบ Surround อย่างแท้จริง แตกต่างจาก Sound bar ยี่ห้ออื่นๆที่ทำได้แค่จำลองเสียง
และยังรองรับ Play-Fi สำหรับเล่นได้หลายๆห้องด้วย
แถมพิเศษสุด ตัวนี้จะมาพร้อมกับดีไซน์แบบใหม่ พิเศษที่ใช้ผิวลำโพงแบบพิเศษที่ไม่เหมือนใครอีกด้วย (กำหนดการ สิงหาค 2016)
 
ส่วนบ้านเราก็ต้องรอลุ้นว่าจะเอาเข้ามาในช่วงไหน และราคาเท่าไร่กันต่อไปนะ จุ๊บๆ



===============================================================





Klipsch Reference Premiere vs. Reference II Speakers

วันนี้เรามีบทความที่นำ Klipsch Reference II มาเปรียบเทียบกับ Klipsch Reference Premier มาให้อ่านกันครับว่าตัวเก่าที่ขึ้นชื่อในด้านความเป็นสุดยอดของการดูหนัง จนถึงขั้นถูกยกให้เป็นสุดยอด Great American Speaker ฺBrand กับ Reference Premier ตัวใหม่ที่เพิ่งออกนั้นมีความแตกต่างและได้รับการปรับปรุงให้ดีขึ้นในจุดไหนบ้าง
บทความเป็นภาษาอังกฤษ เราแปลมาให้แล้ว ติดตามอ่านกันได้เลยครับ

http://www.klipsch.com/blog/klipsch-reference-premiere-vs-reference-ii-speakers/

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------





1. 1. The Horn (ฮอร์นลำโพงเสียงแหลม)



Klipsch Reference Premiere Horn
นั้นจะออกแบบฮอร์นแบบใหม่จากเดิม Tractrix horn 60x90 มาเป็น 90x90
เพื่อช่วยกระจายเสียงแหลมให้กว้างยิ่งขึ้น ครอบคลุมพื้นที่ได้มากกว่าเดิม โดยปากฮอร์นนั้นจะออกแบบเป็นรูปสี่เหลี่ยมผสมกับทรงกระบอกกลมเพื่อช่วยเรื่อง sound stage ในการฟังเพลงให้ได้บรรยากาศและรูปวงดียิ่งขึ้น ในขณะที่ไดนามิค ความสด พุ่ง และพละกำลังนั้นยังคงเอกลักษณ์ของ Klipsch เช่นเดิม

Klipsch Reference II
ตัวเก่าจะใช้ปากฮอร์นที่ทำมาจากพลาสติก ABS
ดังนั้นเพื่อลดเสียงสะท้อน เสียงก้อง และเพิ่มความอบอุ่น นุ่มนวลให้เสียงแหลมไม่กัดหูเหมือนตัวเก่าที่มีเสียงติมาว่าเสียงแหลม กัดหูและฟังไปนานๆมีอาการปวดแก้วหู Reference Premier จึงใช้วัสดุใหม่ที่ชื่อว่า Compress molded silicone มาทำปากฮอร์นแทนพลาสติก ABS
ทำให้ Reference Premier ให้เสียงที่เป็นธรรมชาติ มีความเป็น Life ฟังลื่นหูมากกว่า และยังสามารถเร่งเสียงได้มากโดยไม่ทำให้รู้สึกกระด้างหรือล้าหู



2. The Port (ท่อลมเบส)



Reference Premiere ใช้ท่อลมเบสแบบ Tractrix technology Port
ซึ่งจะต่างกับท่อลมเบสแบบเก่าที่ใช้ใน Reference II ตัวเก่า
โดยท่อลมเบสแบบ Tractrix technology นั้นจะช่วยขับเคลื่อนลมที่เกิดจากเสียงกลางและเสียงเบสจากตัวตู้ให้ไหลผ่านได้รวดเร็ว และมีความโฟล์มากกว่าเดิม ด้วยอาณิสงค์องการออกแบบตู้แบบเปิด และท่อลมเบสแบบใหม่นี่เอง ทำให้เสียงเบสที่ได้สามารถลงลึกได้มากขึ้น ในขณะที่ได้บุคลิกของเสียงเบสที่รวดเร็ว กระชับ ฉับไว หนักหน่วง และลดเสียงรบกวนที่ไม่ต้องการได้



3. The Woofer (ดอกลำโพงเสียงกลางและเสียงเบส)



Reference Premiere ยังคงใช้ดอกวูฟเฟอร์ที่ทำจากวัสดุแบบเดียวกันกับที่ Reference II ใช้ นั่นคือ Cerametallic copper เนื่องจากข้อดีที่วัสดุแบบนี้มีความเร็ว แข๊งแรง และเบามากๆ ทำให้สามารถใช้แอมป์ที่กำลังไม่สูงมาขับได้ง่าย ในขณะที่ให้เสียงที่ดีและหนักหน่วง และนอกจากนั้นยังใช้ Titenium voice coil เพื่อเพิ่มความสมดุลให้เสียงที่ได้มีความสะอาดและเที่ยงตรง


4. The Tweeter (ทวีตเตอร์เสียงแหลม)



Reference Premiere ยังคงใช้ Titanium tweeter แบบ Linear Travel Suspended (LTS) ซึ่งเป็นแบบเดียวกันกับที่ใช้ใน Reference II แต่ต่างกันนิดหน่อยตรงที่ออกแบบ phase plug ใหม่ เพื่อให้เสียงสูงที่ได้จากตัวทวีตเตอร์นั้นสามารถตอบสนองความถี่สูงได้มากขึ้นกว่าเดิม ดังนั้นในตัว Reference Premier จึงสามารถให้เสียงความถี่สูง และแม้แต่รายละเอียดเล็กๆน้อยๆในภาพยนตร์หรือดนตรีได้มากกว่า Reference II ด้วยครับ


5. The Baffle (แผงหน้าลำโพง)



Reference Premiere อัพเกรดวัสดุที่เป็นแผงหน้าลำโพงจากเดิมที่ใช้เป็น ABS Plastic ที่ใช้ใน Reference II มาเป็น MDF board (ไม้ MDF) เพื่อช่วยในการลดเสียงสะท้อง เสียงก้องแล้ว Reference Premier ยังออกแบบให้ขอบของแผงหน้าลำโพงมีความลาดเอียงเล็กน้อยในองศาและมุมที่เหมาะสม เพื่อช่วยลดการหักเหของเสียงอีกด้วย


6. The Grille (หน้ากากลำโพง)



Reference Premiere ใช้หน้ากากแบบแม่เหล็กเหมือนเดิมเพื่อง่ายในการถอดและปิดหน้ากากลำโพง แต่ดีไซน์ใหม่ ให้แข๊งแรงขึ้น และไม่ฝังแม่เหล็กลงบนแผงหน้าลำโพง (Baffle) โดยตรงเหมือน Reference II อีกแล้ว ซึ่งการออกแบบแบบใหม่นี่จะช่วยลดการหักแหเสียงในย่านความถี่สูงๆได้อีกด้วย
จะเห็นว่า Klipsch ใส่ใจในรายละเอียดเล็กน้อยๆ ไม่ว่าจะเป็นความถี่ในย่านเสียงสูงที่แม้จะไม่ค่อยได้ยินบ่อยๆ แต่ด้วยความพยายามนี้จึงทำให้ผู้ฟังสามารถได้รับฟังเสียงที่ดีที่สุด



7. The Cabinet (ตัวตู้ลำโพง)



Reference Premiere ใช้ตัวตู้แบบใหม่ และใช้ผิวลายไม้คุณภาพสูงแบบใหม่ (premium wood grain polymer veneer with a brushed polymer veneer)
ถ้าใครนึกไม่ออกให้นึกถึงผิวลายไม้แบบใหม่ที่เป็นลายเหมือนฝีแปรงที่ตู้ซับวูฟเฟอร์รุ่นใหม่อย่าง R110SW ซึ่งผิวลายไม้แบบใหม่ลุคของลำโพงดูทันสมัยเนี๊ยบ และสะอาดขึ้นกว่าตัว Reference II ที่จะดูโหดๆ ดิบๆ ทำให้เข้ากับดีไซน์การตกแต่งบ้านได้หลากหลายและสวยงามขึ้น



8. The Base (ฐานรองลำโพง)



Reference Premiere Base ใช้ฐานลำโพงแแบบใหม่ที่ทำจาก MDF satin painted แทนที่แบบเก่าใน Reference II ที่ใช้แบบฐานแบบเจาะรูและใช้แท่งเหล็กจิกลงไปกับพื้น ผลจากการเปลี่ยนฐานใหม่นี้ส่งผลช่วยเรื่องอคูสติก ความมั่นคงและดูสวยงามและหรูหราขึ้นกว่าเดิม (เนื่องจากฐานแบบเดิมผู้ใช้อาจจะติดตั้งและขันสกรูแท่งเหล็กไม่เท่ากันและตัวลำโพงวางไม่เที่ยงตรงซึ่งอาจส่งผลกับเสียงได้ครับ)











« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 02, 2016, 09:52:21 pm โดย keamglad »

ออฟไลน์ keamglad

  • OLED TV member
  • *****
  • กระทู้: 3,720
  • https://www.facebook.com/whatthatsoundstore
    • ดูรายละเอียด
    • https://www.facebook.com/whatthatsoundstore
    • อีเมล์
วันนี้เรามีข่าวมาอัพเดท ที่เมืองนอกตอนนี้ Klipsch ออกลำโพงรุ่นใหม่รองรับ Dolby Atmos ออกมาแล้ว โดยตัวใหม่นี้จะมีลำโพงด้วยกันสามตัวครับ



1. Klipsch RP-280FA: ลำโพงคู่หน้าที่ติดตั้งลำโพง Atmos มาให้ด้านบนของลำโพงไปเลย (ยิงเสียงขึ้นด้านบน) ซึ่งเท่ากับว่าจะเป็นทั้งลำโพงคู่หน้า และลำโพง atmos ไปในตัว โดยรุ่นใหม่นี้เมืองนอกจะปรับปรุงผิวลำโพงให้หรูหราพรีเมียมขึ้นโดยมีสองสี คือ สีดำ Real wood และสี Walnut
Spec: http://www.klipsch.com/rp-280fa/details




 

2. Klipsch RP-140SA: ลำโพง Dolby Atmos แยกต่างหากที่สามารถติดตั้งแบบแขวน หรือวางบนลำโพงตั้งพื้นแล้วแหงสหน้ายิงขึ้นด้านบนก็ได้
Spec: http://www.klipsch.com/rp-140sa/details










3. Klipsch RP-450CA: นอกจากจะปรับปรุงลำโพงคู่หน้าให้เป็น Dolby Atmos ที่มีผิวลำโพงแบบพิเศษคือ สีดำ Real wood และสี Walnut แล้ว Klipsch ยังทำลำโพง Center ให้เข้าชุดกันด้วยผิวลำโพงที่เข้าชุดกันทั้ง สีดำ Real wood และสี Walnut ทีนี้ทั้งคุ่หน้าและเซ็นเตอร์จะได้หรูหรา และไม่ขัดหูขัดตากันแน่นอน
Spec: http://www.klipsch.com/rp-450ca/details






ส่วนเมืองไทยนั้นอดใจรอข่าวคราวจากผู้นำเข้ากันสักพัก อาจจะมีข่าวดีเอาเข้ามาให้สาวก Dolby Atmos ได้เล่นได้ยลความยิ่งใหญ่ของลำโพง Klipsch รุ่นใหม่นี้กันเร็วๆนี้คร้าบบบบ















« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 17, 2015, 08:13:41 pm โดย keamglad »

ออฟไลน์ keamglad

  • OLED TV member
  • *****
  • กระทู้: 3,720
  • https://www.facebook.com/whatthatsoundstore
    • ดูรายละเอียด
    • https://www.facebook.com/whatthatsoundstore
    • อีเมล์






วันนี้เราเก็บภาพบรรยากาศการทำงาน ติดตั้ง เซ็ทอัพ บ้านคุณหมอที่สุขุมวิทมาฝากกันครับ
ซึ่งงานนี้ได้คุณชวินมาช่วยวางแผนการติดตั้งทั้งหมด ดูแลเรื่องตำแหน่งลำโพง รวมไปถึงดูแลเรื่องสายและเซ็ทอัพตั้งแต่ต้นจนจบ ระยะเวลาตั้งแต่เริ่มเอาของไปลงจนเซ็ทอัพเสร็จทำกันวันเดียวไม่จบ ต้องเข้าไปทำกันถึงสองวัน โดยซิสเต็มของคุณหมอนั้นมีดังนี้ครับ

- Klipsch RP260F (ReferencePremier)
- Klipsch RC64 II (Reference II)
- Klipsch RP240S x 2 คู่ (ReferencePremier)
- Subwoofer Klipsch R112SW
- Subwoofer Velodyn
- ลำโพงแขวนฝ้า Boston x 2 คู่
- AVR Onkyo 3030









โดยเหตุผลที่เลือกใช้ลำโพงเซ็นเตอร์ Klipsch RC-64 II ข้ามรุ่นกับลำโพงหลักและเซอราวด์นั้นก็เพราะอยากได้บรรยากาศไดอะล๊อกเสียงพูดที่ชัดเจน มีสเกลใหญ่โตเหมือนโรงหนัง เอฟเฟคต่างๆมีน้ำหนัก มีอิมแพคหนักแน่นสมจริง โดยคุณหมอเลือกสีดำเพื่อเข้าชุดกับลำโพงหลัก (RC-64 II ตัวนี้เป็นตู้ปิดและ made in USA)

ในการทำงานวันแรกนั้นเริ่มจากเข้ามาดูสถานที่ติดตั้งลำโพงทุกจุด ดูเรื่องสายไฟ และทยอยเอาของเข้ามา โดยเริ่มจากจุดที่ต้องใช้แรงงานมากที่สุดก่อนนั้นคือลำโพงเซอรราวด์หลังที่จุดติดตั้งไม่ได้จนต้อง DIY ทำขามาเพื่อแขวนลำโพง RP-240S โดยเฉพาะหนึ่งคู่ ส่วนเซอราวด์ข้างนั้นก็หาจุดติดกับผนังห้องได้
วันแรกนั้นเสร็จสิ้นไปในส่วนของลำโพงเซอราวด์หลัง สายลำโพง โดยยังมี Onkyo 3030, RC64II, R112SW และลำโพงคู่หน้า RP-260F รอให้มาติดตั้งและเซ็ทอัพกันในวันถัดไป







วันที่สองเราเริ่มมาทำงานกันเช้ากว่าเดิมโดยเอาของที่เหลือเข้ามาและเริ่มลุยโดยคุณชวินเริ่มไล่สายและดูแลเรื่องเข้าหัวสายลำโพง (นั่งบัดกรีกันสดๆตรงหน้างานเลย) หลังจากนั้นทุกอย่างพร้อมก็เริ่มต่อให้เสียงออกทุกแชนแนล จึงเริ่มลงมือเซ็ทโดยใช้ไมค์เซ็ทอัพหาตำแหน่งซับวูฟเฟอร์ที่ดีที่สุด และเนื่องจากงานนี้เจ้าของใช้ Dual subwoofer จึงทำให้ต้องหาตำแหน่งที่ดีที่สุดที่ลงตัวให้เจ้าซับวูฟเฟอร์ทั้งสองตัว และก็เริ่มไล่มาที่ตำแหน่งลำโพงคู่หน้า จนเสร็จสิ้นก็ปาเข้าไปตะวันตกดินเป็นที่เรียบร้อย






ทีนี้หลังจากติดตั้งอุปกรณ์กันเสร็จแเล้ว บทบาทและหน้าที่ของคนเซ็ทอัพคนให้บริการอย่างเราก็ต้องปิดฉากและลดบทบาทลงไปในที่สุด ที่เหลือหลังจากนี้ก็เป็นเรื่องของเจ้าของห้องที่จะตัดตวงหาความสุข และใช้ประโยชน์จากห้องนี้ให้กับตัวเอง กับครอบครัว ใช้ประโยชน์จากห้อง จากเสียงดีๆโดยลดเวลาในการออกไปดูหนังข้างนอก รถติด ต่อคิว เสียเงินแพงๆมาใช้เวลาร่วมกัน ดูหนังจอใหญ่ๆ เสียงดีๆ เบสหนัก อิมแพคแรงกว่าในโรงโดยเสียแค่ค่าแผ่น Bluray หรือจะเลือกโหลดหนังมาดูในรูปแบบไฟล์ก็สะดวกไม่แพ้กันครับ









สำหรับงานนี้นะครับ บางทีการแมทชิ่งก็ไม่จำเป็นต้องใช้ลำโพงซีรี่ย์เดียวกันเสมอไป เราอาจเลือกสิ่งที่ดีที่สุดจากซีรี่ย์นึงมาผสมกับอีกซีรี่ย์นึงที่เราชอบได้
และการสร้างห้องนั้นสิ่งนึงที่ต้องให้ความสำคัญคือ ขนาด อคูสติกห้อง และความแข๊งแรงของโครงสร้าง ถ้าทั้งสามอย่างได้ครบและสมบูรณ์แล้ว การเลือกลำโพงและข้าวของอุปกรณ์มาใช้ในห้องนั้นๆ ก็สามารถทำได้ง่าย เซ็ทอัพได้สะดวก ปัญหาน้อย และเสียงที่ได้จะดีมากๆครับ

สุดท้ายขอบคุณคุณชวินสำหรับงานติดตั้ง และลำโพงเสียงดีๆ ที่นำเข้าและรับประกันโดยตัวแทนจำหน่้ายในประเทศไทย (Sound Republic)
















« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 19, 2015, 11:24:24 am โดย keamglad »

ออฟไลน์ keamglad

  • OLED TV member
  • *****
  • กระทู้: 3,720
  • https://www.facebook.com/whatthatsoundstore
    • ดูรายละเอียด
    • https://www.facebook.com/whatthatsoundstore
    • อีเมล์


พริวิวก่อนยกเข้าบ้านกับ Yamaha Aventage RX-A3050

ต้องมีเหตุผลอะไรบ้าง ที่จะทำให้คนเราเปลี่ยนใจจากสินค้าที่เราเคยรักและใช้มาตลอดชีวิต ไปใช้ยี่ห้ออื่นที่ไม่เคยคิดว่าจะใช้มาก่อน
และจะมีสักกี่เหตุผลที่ทำให้คุณอยากจะทรยศขายเจ้า AVR ตัวเก่าทิ้ง แล้วรีบบึ่งไปถอยเจ้า Yamaha 3050 ใหม่หรือเปล่า

แน่นอนครับ สารภาพกันก่อนว่าผมชอบเสียงหนาๆ เบสแน่นๆ โครมครามๆหน่อย ก็เลยมี AVR ที่ชอบให้เลือกแค่ไม่กี่ยี่ห้อ (ขอไม่ระบุชื่อยี่ห้อ เดี๋ยวหาว่าเชียร์ของ ฮาๆ)
แถมที่ผ่านมาสัมผัส AVR Yamaha ที่บ้านเพื่อนบ้าง บ้านลูกค้าบ้าง ไปส่งลำโพงแล้วติดตั้งให้ลูกค้าที่ใช้ Yamaha บ้างอะไรบ้าง ก็รู้สึกว่า อือ เสียงมันยังไม่ใช่สไตล์เรานะ ก็เลยไม่ได้ฤกษ์ถอยเจ้า Yam เข้าสิงสถิตเป็นของตัวเองที่บ้านสักที
เพราะบางทีเสียงดี รายละเอียดดีๆ โอบล้อมรอบตัวแบบสมจริงมันก็ยังไม่พอ ยังไม่ตอบโจทย์เรา บางทีเราอยากได้ทั้งรายละเอียด อยากได้ทั้งความหนักแน่น อยากได้ทั้งราคาดีๆ ไม่แพง เครื่องเดียวจบเลย(ขอมากไปปล่าวอ่ะเนี่ย)



จนเมื่อวันก่อน มีโอกาสดีที่ได้ไปทดสอบซิสเต็มของลูกค้าผมท่านนึงที่เพิ่งสั่ง RF-7 II, RC-64 II, RS-62 II ไปเมื่อเดือนก่อน กับเจ้า Yamaha 3050
จริงๆทั้งลำโพง ทั้ง AVR เรียกได้ว่าใหม่ๆสดๆร้อนๆกันทั้งหมดเลยก็ว่าได้ โดยเฉพาะ Yamaha 3050 นี่แกะกล่องกันสดๆร้อนๆเลยทีเดียวเชียว ซึ่งซิสเต็มนี้ประกอบไปด้วย

---------------------------------------------------------
AVR Yamaha Aventage RX-A3050
Klipsch RF-7 II Black
Klipsch RC-64 II Black
Klipsch RS-62 II
---------------------------------------------------------


ทั้งหมดเป็นระบบ 5 channel เล่นแบบไม่มีซับ ถามว่าทำไมซิสเต็มใหญ่ขนาดนี้ไม่มีซับ ตอบตรงนี้เลยครับว่า ก็เพราะลูกค้ายังไม่ได้สั่งผมครับ อ่าไม่ใช่ละ จริงๆลูกค้าเล็งไว้ว่าจะใช้ Klipsch R115SW สองตัว
แต่ติดเรื่องพื้นที่ห้อง เลยกะว่าจะย้ายห้องใหม่ให้มีพื้นที่กว้างขึ้นก่อนถึงจะใช้ซับ
ซึ่งสเปกของลำโพงทั้งสามตัวนั้น จัดได้ว่าสเปกนั้นขับง่าย แต่จริงๆแล้วไม่ได้ขับง่าย เอ๊ะยังไง คล้ายๆ จีบไม่ง่าย แต่ได้ไม่ยาก เอ้ยไม่ใช่ จริงๆก็คือลำโพงมันตัวใหญ่มากครับ ลองดูในรูปได้
สเปก Rf-7 II นี่มันรองรับกำลังขับได้ถึง 250W RMS / 1000W เลยทีเดียวเชียว
โอ้โห แล้วไอ้ 150 วัตต์ของ Yamaha 3050 มันจะเอาไหวมั๊ยเนี่ย แล้วถ้ามันขับได้เสียงมันจะป้อแป้มั๊ย แล้วก็ยังมีเซ็นเตอร์ยักษ์อย่าง RC-64 II และเซอราวด์ยักษ์อย่าง RS-62 II อีก
อู้ยย แค่คิดก็เสียวแล้วนะคร้าบบบบ





แต่มันจะขับได้ ขับไม่ได้ ขับแล้วเสียงดีไม่ดีอย่างไรนั้น เราไม่สนครับ (เพราะไม่ใช่ลำโพงเรา ฮา) จริงๆคือ ไม่ลองก็ไม่รู้ครับ ก็ลองกันเลย
เจอหน้าพี่เจ้าของห้องทีแรก พี่แกทำหน้าแปลกๆ พร้อมเปรยๆว่า มันเหมือนอั้นๆ ผมพอจะรับรู้ได้แล้วละว่าแกผิดหวังอะไรสักอย่าง แต่ผมยังไม่พูดอะไร ขอลองฟังก่อน
ก็เปิด Edge of tomorrow หนังโปรดผม ตูมๆ ตามๆๆ ฉากแรกหย่อนพระเอกลงไป รบกันนิดหน่อย
ฟังไป 5 นาที พี่เค้าก็ทนไม่ไหวเอ่ยปากขึ้นมาว่า มันป้อแป๋ๆ บางจังเลยนะ ผมก็ไม่รู้จะพูดอะไรก็ตอบไปว่า ก็ yamaha อะนะพี่ก็บางแบบนี้แหละ แต่ในใจนะครับตอนนั้นรู้สึกว่า มันไม่ใช่แล้ว
นี่มัน AVR Yamaha 3050 รุ่นท๊อปนะ ซีรี่ย์ Aventageนะ ราคาค่าตัว 60000 กว่าบาทนะ แถมลำโพง Rf-7 II ค่าตัวแสนกว่าบาท กับ RC-64 II ค่าตัวร่วมสี่หมื่น แถม RS-62 II
ค่าตัวอีกสี่หมื่นเซ็ทใหญ่แบบนี้ แต่เสียงยังกะลำโพงแซทเทิลไลท์ ผสมกะลำโพงตามบ้านหม้อแบบนี้ได้ไง มันต้องมีอะไร มันต้องมีอะไร มันไม่ใช่อะกิ๊ฟ



แล้วสายตาก็พลันไปเห็นไอแพดในมือพี่เค้า แกพูดไปก็หมุนปรับอะไรในไอแพดไปด้วย ก็เลยถามพี่เค้าว่า "ทำอะไรครับพี่ เล่นเกมเหรอ"
แกก็บอกเนี่ย Yamaha เค้าดีนะ มี Software ใน Appstore ให้โหลดเอามือถือ เอาไอแพดมาทำเป็นรีโมทได้ด้วย (ไม่รู้แอนดรอยได้ป่าว ใครใช้อยู่วานบอกที)
นั้นละครับผมถึงนึกได้ว่า เออ ยังไม่ได้เซ็ทอัพอะไรเลย ลองดูค่าเซ็ทอัพก่อนดีมั๊ยก่อนจะด่วนสรุปว่าไม่ชอบ



ตรงนี้บอกก่อนนะครับว่าแค่พอเซ็ทได้ ไม่ได้เซียน ไม่ได้ใช้เครื่องมือวัด เอาแบบคร่าวๆแบบฉบับ user ก็ไล่ๆดู ปรับนู้นนิดนี่หน่อย ก็ไปเจอ อ้าวเปิดซับ On ไว้ตั้งสองตัว เซ็ท Crossover คู่หน้ากะซับไว้ด้วย แต่ห้องนี้มันไม่มีซับนี่สิ
แถมเปิด Surround Back ไว้ด้วยอีกตะหาก ก็จัดการปิดๆไอ้ที่ไม่ได้ใช้ซะ ไม่งั้น AVR มันก็ตัดสัญญาณความถี่ต่ำๆที่ควรจะออกที่ลำโพงคู่หน้ากับ Center ทิ้งมาออกที่ซับซึ่งมันยังไม่มีซับ
ส่วนค่าเซ็ทอัพอื่นๆก็เอาตามยถากรรมไปก่อน เพราะยังไม่ได้เซ็ทอัพจริงจัง (จริงๆทำได้เท่านี้)



ก็เปิด Edge of Tomorrow ใหม่ คราวนี้มาแล้วครับ บรรยากาศจริงๆพี่ก็บอกเออ ดีขึ้นเยอะเลย ดูไปสักพักก็ปิดหนังแล้วสนทนากับพี่เค้าว่าเป็นไงพี่ ก็สรุปกันได้ว่า "ดี" "ใช้ได้" สิ่งที่ดีที่สุดคือ รายละเอียดดีเยี่ยม เบสกระชับหนักแน่น ได้บรรยากาศความเฟี้ยวฟ้าว สดแบบในโรงดี
แต่ไม่ได้ประทับใจแบบต้องร้องว้าวหรือติดใจอะไรมาก ถามว่าทำไม พี่เค้าบอกว่ามันยังขาดความรู้สึกแบบจุกอก ไม่ตึ๊บ ก็บอกพี่เค้าไปว่า แหมพี่คร้าบ ซิสเต็มพี่ไม่มีซับ ได้เท่านี้ก็โค-ตะ-ระดีเยี่ยมแล้ว

ซึ่งนี้เป็นความรู้สึกพี่เค้า จริงๆผมก็มีความรู้สึกส่วนตัวของผมแล้วละ เพียงแต่ลำโพงมันยังใหม่ AVR ก็ยังใหม่ ไม่พ้นเบิร์น เลยขอนั่งดูนั่งฟังเรื่องอื่นอีกสักพักก่อนค่อยสรุปอีกที



หลังจากนั้นผมก็นั่งดูหนังไปอีกหลายเรื่องตั้งแต่ Fifth Element, Men of Steel และตบท้ายด้วยหมัดเด็ด MadMax แล้วแถมด้วยเพลง Metallica วงโปรดของพี่เจ้าของบ้าน และต่อด้วยเพลงนุ่มๆอีกหลายเพลง
เพื่อทบสอบดูหลายๆแนวๆ
จริงๆผมมาสะดุดตรงหนังเรื่อง MadMax นี่ละครับ ที่รู้สึกเลยว่าแผงหน้าพี่เค้าทั้ง RF-7 II กับ RC-64 II ที่โซโล่กันแบบไม่มีซับนั้นมันหนัก ปลดปล่อยพลังความถี่ต่ำแบบแน่นๆ กระชับ สด



ถามว่าหนักแค่ไหน ก็ต้องขออนุญาติ Bentchmark เทียบกับซิสเต็มที่ผมคุ้นเคย นั่นคือซิสเต็มของผมเอง ความแน่นนั้นได้ประมาณ 60-70% กับซิสเต็มที่ผมใช้ แต่คู่หน้ากะเซ็นเตอร์ผมเล็กกว่าตัวที่พี่เค้าใช้ แต่ผมใช้ซับ Klipsch R115SW ด้วยนะ

ซิสเต็มที่ไม่มีซับแต่ได้เกือบเท่าซิสเต็มที่มีซับ ใช้แล้วพลังมันมาจากแผงหน้าดรีมทีม คู่หน้าดอกลำโพงขนาด 10 นิ้ว และเซ็นเตอร์ยักษดอก 6.5 นิ้วสี่ดอกเรียงนี่เอง ก็ต้องบอกว่าถ้าเติมซับเข้าไปนี่ไม่ต้องห่วงเลยว่าความแน่นต้องเพิ่่มขึ้นไปอีกไกลลิบ
นอกจากความแน่น ความรู้สึกของความถี่ต่ำก็ต้องมาด้วย ทั้งแรงปะทะ เบส คลื่นความถี่ต่ำ ความรู้สึกขนลุก โซฟาสั่น หมอนสั่นนั้นเมื่อมาครบๆ บรรยากาศในการดูหนังต้องดีกว่านี้แน่นอน



ตัว AVR นั้นเร่งกันไปประมาณ -15 ถึง -10 ซึ่งจริงๆก็วัดอะไรไม่ค่อยได้มากเพราะค่า level กับ distanct เรายังเซ็ทไว้แบบไม่ค่อยได้มาตรฐาน แต่ก็อนุมานได้ถือว่าเร่งไม่เยอะไม่น้อยไป (จริงๆเร่งได้จนถึง 0)
มาถึงตรงนี้ถ้าถามว่ากำลัง AVR ดีมั๊ย เอาลำโพงอยู่มั้ย วัตต์ญี่ปุ่นหลอกหรือเปล่า ถ้าฟังจากเสียงเบสนั้นต้องบอกเลยว่าเอาอยู่ในระดับดีทีเดียว เพราะเบสมันกระชับ ชัด หนัก เป็นลูก ไม่ได้ยาน เอาไม่อยู่แต่อย่างใด
แต่ถ้าถามว่าขับได้เต็มประสิทธิภาพของลำโพงหรือยัง บอกเลยว่า ยังแน่นอน น่าจะขับได้แค่ประมาณ 60-70% แต่ถ้าถามว่าแค่นี้พอมั๊ยกับการดูหนังในระดับ Home User ในบ้าน ในห้องที่มีขนาดจำกัด บอกเลยว่าเกินพอ




แล้วทีนี่มาถึงความรู้สึกส่วนตัวผมบ้าง ความรู้สึกเก่าๆที่ว่า yamaha เสียงบาง ไม่ดี เสียงไม่มัน เน้นแนวครอบครัว เสียงเฟี้ยวฟ้าว ฟังนานปวดหู มีแต่แหลม เบสไม่มี เบสฟุ้ง ไม่หนัก คนเล่น AVR แบบนี้ต้องชอบฟังเสียงใบไม้หล่น หรือฟังเสียงลมในหนังอย่างเดียว
เราจะไม่มีวันเล่นแน่นอน มันหายไปจากหัว แล้วรู้สึกว่า นี่เราเล่น AVR อะไรอยู่เนี่ย จงรีบกลับไปแพ๊ค AVR ที่บ้านแล้วขายมันทิ้งไป แล้วสั่ง Yamaha 3050 มาหนึ่งตัว แล้วก็เอาปผงหน้าดีๆแน่นๆอย่าง RF-7 II, RC-64 II มาเป็นคู่หน้า จะใช้ AVR ขับตัวเดียวหรือ จะหา PowerAmp มาเพิ่มกำลังให้สามแชนแนลหน้าก็ยิ่งดี
โดยใช้ 3050 เป็นปรี เพื่อให้ได้เสียงที่ดี มีรายละเอียดแบบ Yamaha แล้วใช้ AVR ขับเซอราวด์ไปด้วย พ่วงซับ Klipsch R115SW อีกหนึ่งตัว บวกซับเบสต้นดีๆอีกตัวหนึ่ง เอามาทำเป็น Dual Subwoofer โอ้ว "สวรรค์รำไรๆ"




สรุปคือ

การดูหนังนั้น Yamaha 3050 สำหรับผมนั้นถือว่าผ่าน ผมชอบ ผมได้เรียนรู้แนวเสียงในแบบของ Yamaha ที่เข้าใกล้ความเป็นโรงภาพยนตร์ในบ้านเข้าไปมากๆแล้ว ทั้งบรรยากาศ ทั้งเบส ทั้งความหนักแน่น ตัวนี้ซีรี่ย์นี้ทำได้ดีมากๆ
ไม่บาง และไม่หนาเกินไป ซึ่งผมก็ไม่รู้จะเอาไปเทียบกับรุ่นเก่าๆยังไงเพราะผมไม่เคยลองฟังรุ่นเก่าอย่าง 3040, 3030 ซะด้วย แต่ที่แน่ๆถามว่าชอบมั๊ยกับ 3050 บอกเลยครับว่าชอบ และจะเปลี่ยนมาใช้หนึ่งเครื่องที่บ้าน เสียงกำลังดี ดูหนังมันดีครับ
ไม่ได้บางเหมือนอย่างที่คิดนะ
ส่วนเรื่องฟังเพลงนี่ถ้าฟังร๊อคก็ต้องมีซับเติมมาช่วยจะดีมาก เสียงกลาง เสียงแหลมสดเหมาะที่จะฟังร๊อค ส่วนใครชอบเสียงร้องหนาๆ อุ่นๆ หวานๆ ตัวนี้ 3050 ไม่ใช่แนวมันเลย มันชัดเจน รายละเอียดดี ไม่หวาน ไม่หนา จะฟังเพลงหาแนวฟังเพลงมาแยกซิสเต็มเถอะครับ หรือไม่ก็ยอมรับสิ่งที่มันให้ แล้วฟังแบบไม่จับผิดแทนก็ได้
แล้วก็ตัวนี้มี Wireless, Blutooth บิ้วอินมาในเครื่องพร้อมใช้เลย รองรับ DTS:X (Ready) และ Dolby Atmos ด้วย ใครมองหาอนาคต ตัวนี้ก็ได้ทั้งปัจจุบันและอนาคตนะครับ



ตอนที่ขับรถออกจากบ้านพี่ลูกค้า ผมก็นั่งครุ่นคิดไปด้วยตลอดทางว่า บางทีเรายึดติดและอคติกับสินค้ายี่ห้อนึง หรือแบรนด์ใดแบรนด์นึงมากเกินไป จนบางทีเราปิดกั้นโอกาศตัวเองในการเรียนรู้และเปิดโลกที่จะได้เห็น ได้ฟังอะไรใหม่ๆ
บางทีการมีแนวทาง การมีสไตล์ของตัวเองที่แน่ชัดมันก็เหมือนกรอบที่เราตีไว้ให้ตัวเราเองวิ่งอยู่ในนั้น ยิ่งกรอบเราตีไว้แคบเท่าไร่ เราก็วิ่งวนอยู่ในกรงนั้นแบบไม่รู้จบไม่ได้เห็นอะไรใหม่ๆเลย
แต่ตรงกันข้ามถ้าเราไม่มีกรอบเลย หรือกรอบมันกว้างไป เราก็ตามหา เล่น ค้นหาแต่ของใหม่ๆไปเรื่อยไปไม่มีวันจบสิ้น จนไม่รู้จักคำว่าความสุขของการเสพหนัง เสพย์เพลงดีๆ เพราะมัวแต่ค้นหาและฟังเสียง "เครื่อง" อยู่ร่ำไป

แฟน Yamaha คงชอบ 3050 ตัวนี้ ส่วนใครที่ยังไม่เคยลอง อยากให้ลองดูครับ คุณอาจจะชอบเหมือนผมก็ได้นะ
สุดท้ายอยากให้ทุกท่านลองเปิดใจ หาความรู้ใหม่ๆ เทคโนโลยี่ใหม่ๆ ลองฟัง ลองดู หาประสบการณ์ให้มาก เล่นให้มาก เค้นประสิทธิภาพให้ถึงที่สุด จ่ายในแบบพอดีๆ และที่สำคัญ ตักตวงความสุขให้มากที่สุดกับซิสเต็มที่คุณมีและกำลังจะมีครับ







---------------------------------------------------------------------------------

Spec Klipsch RF-7 II: http://www.whatthatsound.com/product/7/klipsch-rf-7-ii-black

Spec Klipsch RF-64 II: http://www.whatthatsound.com/product/22/klipsch-reference-rc-64-ii-black

Spec Klipsch RS-62 II: http://www.whatthatsound.com/product/27/klipsch-reference-rs-62-ii-clearance























« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 02, 2016, 10:55:10 pm โดย keamglad »

ออฟไลน์ keamglad

  • OLED TV member
  • *****
  • กระทู้: 3,720
  • https://www.facebook.com/whatthatsoundstore
    • ดูรายละเอียด
    • https://www.facebook.com/whatthatsoundstore
    • อีเมล์


[size="13pt"] JL Audio e112 Subwoofer Official AVS Forum Review (บทความแปล)

วันนี้เราเอารีวิว JL E112 จากเว็บชื่อดังอย่าง AVS Forum มาฝากกันครับ
มาดูว่าซับวูฟเฟอร์ไซส์คอมแพคขนาดดอก 12 นิ้วแบบตู้ปิด กำลังขับ 1500 วัตต์ตัวนี้จะมีประสิทธิภาพสมกับราคาค่าตัวของมันหรือเปล่า

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ต้นฉบับ: http://www.avsforum.com/forum/113-subwoofers-bass-transducers/2003042-jl-audio-e112-subwoofer-official-avs-forum-review.html
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------



ย้อนกลับไปในปี 2013 ที่เราได้ยินเสียงของซับ JL Audio ครั้งแรก ความรู้สึกแรกที่รับรู้ในวันนั้นคือพละกำลัง ไดนามิค ความสะอาดและเนื้อเบส
หลังจากนั้นอีกหนึ่งปีถัดมา  ในที่สุดเราก็ได้มีโอกาสครอบครองและทำรีวิวเจ้าซับตัวนี้เสียทีกับเจ้า JL E112 ซึ่ง JL ส่งมาให้ถึงเราสองตัว เพราะความเข้าใจถึงสภาพการใช้ซับวูฟเฟอร์ในห้องทั่วๆไปดีว่า การใช้ซับตัวเดียว
นั้นมีโอกาศที่จะเกิดหลุม หรือจุดบอดของเสียงเบส และทำให้กราฟความถี่ต่ำไม่ราบเรียบอย่างที่ควรจะเป็น ซึ่งจะส่งผลถึงเสียงเบสที่ได้ไม่มีคุณภาพอย่างที่ควรจะเป็น
ดังนั้นหากมีโอกาศหรือเป็นไปได้ เราจึงยืนยันเสมอมาว่าให้ใช้ซับมากกว่าหนึ่งตัวเสมอ รวมไปถึงการฟังเพลงแบบ 2 channels ที่เราก็สามารถใช้ซับสองตัวได้เช่นกัน ไม่เป็นความจริงที่ว่า Audiophile ต้องฟังแบบสองแชนแนลเพียวๆ
ไม่มีเบส ไม่มีซับเสมอไป การใช้ซับสองตัวในตำแหน่งที่ถูกต้องนั้นยิ่งทำให้คุณภาพการฟังเพลงไม่ว่าจะเป็น Audiophile หรือไม่ก็ตามนั้นมีประสิทธิภาพและมีคุณภาพขึ้นเสมอ

JL มีชื่อเสียงอย่างนานในการออกแบบและผลิตซับวูฟเฟอร์ชั้นดี โดยบริษัทมีความชำนาญในการสร้างดอกลำโพงที่มีพละกำลังสูงอีกด้วย และด้วยความชำนาญนี้เองก็ตกทอดลงมาใช้ใน E-Sub E112 ซึ่งทันที่ที่เราได้เห็นตัวตู้ซับ
ต้องบอกว่าเรารู้สึกถึงความแข๊งแกร่ง แข๊งแกร่งในเรื่องของงานประกอบ วัสดุที่ใช้ที่ดูแข๊งแรง  จะเห็นว่าตัวตู้ตัวไม่ใหญ่ไปกว่าลำโพงซับวูฟเฟอร์ทั่วๆไปขนาด 12 นิ้วมากนัก ขนาดดูกำลังดี ไม่เทอะทะ ดูคอมแพค
ผิวลำโพงภายนอกของรุ่นนี้มี 3 แบบ

คือสีดำ Hi-gloss : ราคาประมาณ 2100 $
สีดำด้าน (Black Ash): ราคาประมาณ 1900 $
คือสีขาว Hi-gloss : ราคาประมาณ 2100 $




 
Inside the E112.

ทีนี้มาดูสเปกและข้างในกันบ้าง E112 เป็น Active Subwoofer ที่มีแอมป์ภายในตัว สามารถเอาไปต่อกับ AVR หรือ Pre-Processor ได้เลยไม่ต้องหาแอมป์มาขับอีกแต่อย่างใด โดยกำลังขับของแอมป์ในตู้นั้นใช้แอมป์กำลังขับ
1500 วัตต์ Class D   ออกแบบมาแบบตู้ปิด  ดอกลำโพงขนาด 12 นิ้วแบบยิงหน้า  โดยสเปกของบริษัทเคลมเอาไว้ว่าสามารถตอบสนองความถี่ได้ตั้งแต่ 22-118 Hz (+/- 1.5 dB) มีความแม่นยำสูงและเพี้ยนต่ำมากเพียง  1.5 dB
ซึ่งซับทั่วๆไปจะมีความเพี้ยนที่เคลมในสเปกประมาณ +/- 3 dB  และที่ความถี่ 21 Hz และ 120 Hz มีความเพี้ยนที่เคลมไว้ที่ -3 dB และมีความเพี้ยน -10 dB ที่ความถี่ 17 Hz และ 153 Hz



ซึ่งถ้ามองดูสเปกลึกๆจะเห็นว่า E112 ลงลึกได้ถึง 17 Hz มากกว่าสเปกที่เคลมไว้แบบถ่อมตัวที่ 22 Hz ด้วยซ้ำ
น้ำหนักตัวของ E112 หนัก 73.5 ปอนด์ หรืออยู่ที่  33.33 kg   ขนาดตัวตู้กว้าง 15.5 นิ้ว  สูง 16.23 นิ้ว และลึก 18.39 นิ้ว  ขนาดกลางๆไม่ใหญ่และไม่เล็กจนเกินไปออกจะเกือบเป็นสี่เหลี่ยมลูกบาศก์ด้วยซ้ำ
หน้าตาและการดีไซน์มีอะไรอยู่พอสมควร จากด้านบนมีปุ่มสำหรับปรับและหน้าจอ ด้านหลังมีฮีทซิ้งออกมาทำให้ตัวตู้ดูมีดีเทล มีอะไรให้เล่นพอสมควรไม่เรียบและ plain จนเกินไป
จะเห็นว่า E112 มาพร้อมกับหน้ากากปิดดอกลำโพง เท่าที่ดูเราว่าไม่ใส่หน้ากากจะดูสวยกว่าเพราะได้โชว์ดอก และโชว์ขอบลำโพงโดนัทหนานุ่มที่เป็นเอกลักษณ์ของ JL ด้วย




ด้านบนมีปุ่มปรับต่างๆให้ปรับพอสมควร ดูเรียบงาย ใช้งานง่าย ไม่รกจนเกินไป   ซึ่งข้อดีก็คือปรับง่ายกว่าซับบางตัวที่มีตัวปรับต่างๆอยู่ด้านหลัง ซึ่งบางห้องวางซับติดผนังหลัง ซึ่งปรับกันทีก็ต้องดันซับออกมา
หรือเวลาจะปรับอะไรทีต้องปีนไปปรับ เอาไฟฉากไปส่อง บางทีปรับผิดปรับถูก เผลอๆทำซับเป็นรอยอีก

ช่องเชื่อมต่อของ E112 มีช่องต่อแบบ Highpass Stereo speaker level input ให้มาด้วย นอกเหนือจากช่องต่อปกติแบบ line level input โดยช่องเชื่อมต่อทั้งหมด
รวมถึงและมีสวิทซ์สำหรับปรับขั้วเฟสให้ยกไปไว้ด้านหลัง




Setup

เราวางซับวูฟเฟอร์ทั้งสองตัวไว้ที่ด้านหน้า ด้านซ้ายและขวาของมุมห้อง สำหรับห้องเรานั้น จะไม่ได้หาจุดที่ดีที่สุดในห้อง แต่เราเลือกใช้จุดที่ใช้บ่อยเป็นประจำและคุ้นเคยกับซับตัวอื่นๆที่เคยใช้
  ซึ่งจัดที่เรานั่งวัดความถี่ต่ำที่ได้จะมีค่า +/- 6 dB  หลังจากนั้นก็ใช้ Minin DSP DDRC-88A ปรับก่อนอีกรอบนึง

----------------------------------------------------------
System ที่ใช้

Sources: PC (Windows 8) running Tidal and iTunes

Amplification and Processing:
Crestron Procise PSPHD pre/pro
Crestron Procise ProAmp 7x250
miniDSP DDRC-88A Dirac Live processor
Pioneer Elite SC-85 AVR

Cables:
Monoprice 12-gauge OFC speaker cables
Mediabridge Ultra Series subwoofer cable
Mediabridge Ultra Series HDMI cable

Additional Components:
Behringer B215XL PA-style speakers
SVS Sound Prime Satellite speakers
Thiel TT1 Tower speakers

----------------------------------------------------------




Performance

หลังจากลองเปิด E112 ฟัง ต้องบอกว่า ซับคู่ JL E112 ที่เราใช้ทดสอบวันนี้ ให้เสียงเบสที่ค่อนข้างดี ฟังแล้วเพลิน เสียงดีใช้ได้เลยครับ  ซึ่งคงต้องยกความดีให้ Amp ที่บรรจุอยู่ภายในตัวซับ ตัวดอก การเซ็ทอัพ
ทำให้ E112 สร้างความถี่ต่ำในระดับที่ต่ำกว่า -20 Hz ในห้องของเราได้อย่างน่าประทับใจและยังกลืนเข้ากับลำโพงในแชนแนลอื่นๆได้เป็นอย่างดี

และ Dual Sub E112 ตอนนี้เสียงเบสและคลื่นความถี่ต่ำทีได้นั้น ในขณะที่เร่ง volume สูงๆ เสียงก็ยังคงมีความแม่นยำ ความเพี้ยนต่ำ และสร้างแรงสะนสะเทือนในห้องได้เป็นอย่างดี โดยเสียงเบสมีความรุนแรง หนักหน่วง
ทั้งการดูหนังและฟังเพลง
ซึ่งตลอดระยะเวลาที่ได้ JL E112 มาเทสร่วมๆ 4 เดือน เรามีการเปลี่ยนลำโพงหลักไม่ว่าจะเป็นลำโพงหน้าหรืออุปกรณ์ต่างๆไปหลายตัว ต้องบอกว่า E112 เข้ากันได้กับลำโพงเกือบทุกตัวและแทบจะไม่มีปัญหาเรื่อง
ความเข้ากันของแนวเสียงเลยก็ว่าได้   E112 ทำงานร่วมกับซิสเต็มต่างๆได้ค่อนข้างเนียนและดี ตั้งแต่ชุดเล็กๆราคาแค่หมื่นต้นๆอย่าง  SVS Prime Satellites  ไปจนถึงซิสเต็มอย่าง Thiel TT1 ราคาร่วมสองแสนบาท
ซึ่งเราชอบเกือบๆทุกซิสเต็มที่เราใช้ก็ว่าได้  E112 ทำงานเป็นส่วนหนึ่งกับซิสเต็ม และเติมเต็มพลังความถี่ต่ำได้ค่อนข้างดี


Dual E112 กับ Thiel TT1

ตอนที่เอา E112 ไปจับกับ Thiel TT1 โดยใช้แบบ 2 แชนแนลในการฟังเพลง
ความเป็นดนตรีของการใช้ซับวูฟเฟอร์เข้าไปในซิสเต็มฟังเพลงนั้นต้องบอกว่าไม่ได้ทำลายความไพเราะ ความลื่นไหล และความเป็นธรรมชาติของดนตรีเลยแม้แต่น้อย ทว่า E112 ทั้งสองตัวทำหน้าที่รับผิดชอบเสียงความถี่ต่ำในช่วงความถี่
16 Hz อย่างเช่น Organ ท่อ และเสียงความถี่ต่ำๆในเพลงบางประเภทเช่น Dadt Punk's Tron Legacy (OST Tron Legacy)
รวมไปถึงแนวเพลงอื่นๆที่มีความถี่ต่ำๆ เช่น Classic, Jazz ก็ทำได้ดีเช่นกัน




จุดเด่นที่สุดของ Dual E112 คือความไว กระชับ สะอาดของเสียงความถี่ต่ำที่ได้จากซับทั้งสองตัว  เห็นได้จากจากเพลง Dead Can Dance Album Anastasis  ที่มีบีทเร็วและเบสที่ถ้าช้าหรือแผ่เนิบๆจะตามจังหวะของเพลงไม่ทัน
รวมไปถึงเพลงสมัยใหม่ๆทั้งหลายแหล่ ไม่ว่าจะเป็น Elcetronic, Drum & Bass ที่ล้วนแต่ต้องการเบสที่แน่น หนัก กระชับ ตัว E112 ก็ทำงานได้ดีในการฟังเพลง ไม่ได้ทำให้รู้สึกว่าซับเป็นตัวถ่วงหรือทำให้บรรยากาศในการฟังเสียไปแต่อย่างใด


สรุป (Conclusion)


ปฏิเสธไม่ได้ว่า JL Audio E112 เป็นซับอีกตัวที่ราคาค่อนข้างสูง เรียกว่าเทียบกับซับยี่ห้ออื่นๆที่ขายในตลาดก็ราคาสูงกว่าเค้า แต่เมื่อมองดีๆ เทียบกับซับของ JL เองในรุ่นที่สูงกว่า (เช่น JL Fthom F112) หรือแม้แต่เทียบกับซับที่มีดีไซน์และให้อะไรมาเหมือนกันๆ
เช่น ตู้ปิด กำลังขับของแอมป์ และดอกลำโพง งานประกอบแบบนี้  ก็ต้องบอกว่าสมราคาและไม่ได้น้อยหน้าไปกว่าซับยี่ห้ออื่นๆ ที่นอกเหนือจากนั้นก็อาจจะเป็นเรื่องของแบรนด์ที่สั่งสมมานานและการันตีในเรื่องของคุณภาพเสียงเบสของ JL ได้เป็นอย่างดี

เราทราบดีว่าการจ่ายเงินซื้อ E112 สองตัว ไม่ใช่เรื่องเล็กๆหรือตัดสินใจกันได้ง่ายๆ ในยุคนี้สมัยนี้ที่เศรษฐกิจอาจจะไม่เอื้ออำนวยมากนัก   แต่เราแนะนำว่าถ้าคุณจ่ายได้ จ่ายไหว เล่นไปเถอะครับ E112 สองตัว เพราะคุณภาพที่ได้
เสียงเบส ความแน่น และยามเมื่อมันทำงานร่วมกันแล้ว คุณจะรู้ว่าคุณภาพของมันไม่ใช่แค่ซับสองตัว หรือเสียงดังขึ้นอย่างเดียว แต่มันได้มากขึ้นทุกอย่าง และยังสามารถกำจัดหรือลดจุดบอดในเรื่องความถี่ต่ำในห้องฟังให้ลดน้อยลงได้มากกว่าใช้ซับแค่ตัวเดียวด้วยครับ

ในช่วงราคา 2000 เหรียญหรือช่วง 5-7 หมื่น อาจจะมีซับตู้ปิดหลายแบรนด์ให้เลือก แต่ JL E112 เป็นอีกตัวนึงที่ยืนยันว่ามันทำงานได้ดี ให้เบสที่ดี กระชับ หนักแน่นสมราคาครับ




Compare JL E112 VS Other Sub

แถมด้วยแนวเสียง E112 เทียบกับซับตัวอื่นสั้นๆ เพื่อจะได้พอนึกออกว่าแนวเสียงแต่ละตัวเป็นยังไง เผื่อใครที่ไม่เคยรู้จัก JL หรือไม่เคยลองฟังจะได้รู้ว่าเสียงมันจะสไตล์ไหน

--------------------------------------------------------------------------

SVS PB-2000 VS E112 : E112 ชนะทุกยก

GoldenEar ForceField 5 VS E112: แน่นพอๆกัน ปึ๊กกระชับพอๆกัน ใช้ฟังเพลงได้ดีพอๆกัน...... แต่ๆๆๆๆ JL E112 เบสหนักกว่า...แต่ราคามันก็ต่างกันสองเท่า

Klipsch R115SW VS E112: ความโหด ความหนัก พอๆกัน แต่ JL E112 แน่นกว่าปึ๊กกว่า... ก็แหงละราคาต่างกันตั้งสองเท่าแนะ และเปรียบเทียบกันที่หนังโหดๆแบบ Tron Legacy ฉากปาแผ่นดิสสู้กันกับฉากบิดมอเตอร์ไซต์ JL ทำได้ดีกว่าแน่นกว่า ส่วน R115 ที่ความถี่ลึกๆยังตอบสนองได้ไม่เท่า E112

สรุป ซับคนละคลาส ออกแบบตู้คนละแบบ ราคาต่างกัน แนวเสียง JL E112 และ Klipsch R115 ให้เสียงเบสที่มีความคล้ายคลึงกัน แต่ JL แน่นกว่าและไวกว่าแม่นยำกว่า

สรุป2: JL E112 ไม่ใช่ซับที่ดีที่สุด โดยเฉพาะในคลาสเดียวกับตัวมัน และในราคา 60,000 +- ยังมีซับที่ทำได้ดีและใกล้เคียงนี้อีกหลายตัว.... แต่เมื่อเทียบกับคุณภาพและราคา แบรนด์ชื่อเสียง ก็ถือว่าเป็นซับอีกตัวที่เสียงดีมาก.... น่าเล่น ถ้างบประมาณไปถึง
โดยเฉพาะถ้าเล่น Dual Subwoofer[/size]









« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 30, 2015, 04:03:08 pm โดย keamglad »

ออฟไลน์ keamglad

  • OLED TV member
  • *****
  • กระทู้: 3,720
  • https://www.facebook.com/whatthatsoundstore
    • ดูรายละเอียด
    • https://www.facebook.com/whatthatsoundstore
    • อีเมล์
ประวัติศาสตร์ ความมีเสน่ห์ และกลิ่นไอชาวอเมริกันของลำโพงที่ผลิต Made IN USA แท้ๆ


 

วันนี้เรามีบทความแปลของ KLIPSCH มาให้อ่านกันเล่นๆครับ
บทความต้นฉบับก่อนแปล: http://www.klipsch.com/blog/made-in-usa-speakers/

ในปัจจุบันถึงแม้ฐานการผลิตส่วนใหญ่จะย้ายไปสู่ประเทศจีน ดินแดนที่ขึ้นชื่อในเรื่องของค่าแรงที่ถูกแสนถูกและบริษัทลำโพงระดับโลกเกือบจะทุกแห่งต่างเฮละโลกันย้ายฐานการผลิตไปไว้ที่จีนกันเกือบหมด เหตุผลก็เพื่อราคาที่สามารถแข่งขันได้นั่นเอง
แต่ถึงกระนั้นนะครับก็ยังมีลำโพงบางรุ่นบางตัวของ Klipsch นะครับที่ยังคงเหนียวแน่นในฐานการผลิตที่ Hope Arkansas USA อยู่ ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลอะไรก็ตามนะครับ แต่ในฐานะผู้ซื้อลำโพงเหล่านี้มาใช้ มันยังคงมีความมั่นใจ ความภูมิใจลึกๆว่า เออเว้ย ลำโพงข้าอย่างน้อยมันก็ Made in USA ไม่ว่าจะเป็น QC  งานประกอบ วัสดุอุปกรณ์ต่างๆมันก็น่าจะดีกว่า แน่นอนกว่า และมั่นใจได้ว่าได้สินค้าที่เทียบเท่ากันทุกๆล๊อตกว่าผลิตในจีนละน่า


โดยนับย้อนหลังไปตั้งแต่ปี 1946 ที่ Paul W.Klipsch ได้ประกอบลำโพงขึ้นมาขายในเมืองเล็กๆอย่าง Hope, Arkansas ที่ประกอบลำโพงฮอร์นขึ้นมาเอง ตัวตู้ก็ซื้ออุปกรณ์ง่ายๆมาจากร้านในเมือง  และนี่ก็เป็นจุดเริ่มต้นเล็กๆในโรงงานผลิตลำโพงของ Klipsch ในเมือง Hope, Arkansas  โดยแม้ว่าปัจจุบันบริษัทแม่ของ Klipsch จะย้ายไปตั้งอยู่ใน Indianapolis, Indiana ก็ตาม แต่ Klipsch ยังคงโรงงานที่นี่เอาไว้และตั้งปณิธานและพยายามที่ประทับตราและผลิตใน USA เพื่อประกาศให้โลกรู้ว่าลำโพงที่เราผลิตนั้นมีคุณภาพไม่แพ้ใครในโลกที่จะถ่ายทอดคุณภาพเสียงจากดนตรีสด หรือดนตรีทุกประเภทให้ไปสู่ห้องนั่งเล่นในบ้านของทุกคนให้จงได้

ทีนี้เรามาดูกันครับมีลำโพงอะไรบ้างที่ยังผลิต Made in USA บ้าง

Reference RF-7 II

RF-7 II เป็นลำโพงรุ่นเรือธงสูงสุดในซีรี่ย์ Reference II ที่เลิกผลิตไปแล้วทุกตัว แต่ยกเว้นสำหรับ RF-7 II นั้นยังผลิตต่อเนื่องอยู่ โดยเอกลักษณ์ก็คือดอกลำโพงขนาดยักษ์ 10 นิ้วสีทองแดง ความไวระดับ 101 dB (Sensitivity) ผิวลำโพงสีดำลายไม้ real wood แล้วพละกำลังจากลำโพงที่มหาศาลที่จะจำลองอิมแพคในการดูหนังและฟังเพลงให้ได้บรรยากาศแบบโรงหนังและเวทีคอนเสิรต์มาไว้ในบ้านได้เลยทีเดียว
บ่อยครั้งที่แฟนๆผู้ใช้ RF-7 II ในอเมริกาชอบเปรียบเทียบลำโพงรุ่นนี้กับรถอเมริกัน (american muscle) เช่น Dodge Charger, Ford mustange อะไรเทือกๆนี้ สาเหตุที่เอาไปเปรียบกับรถจำพวกนี้นั่นก็เป็นเพราะความทรงพลัง เสียงที่ดัง ความใหญ่โต สะใจชนิดที่ว่าถูกใจคอฮาร์ดคอร์ และดีไซน์ที่ทื่อๆแต่ดูมีเสน่ห์และน่าทึ่งนั่นเองครับ

 

Reference RC-64 II

ลำโพงอีกตัวในซีรี่ย์ Reference II ที่ยังคงผลิตอยู่ นั่นคือลำโพงเซ็นเตอร์อันยิ่งใหญ่ในตำนาน Klipsch RC-64 II นั่นเป็นเพราะขนาดตัวของมัน ขนาดดอกที่ใช้ดอกใหญ่ถึง 6.5" x 4 ดอก ถ้าจะให้กล่าวถึง RC-64 II เราก็กล้าจะพูดว่าในราคานี้จะหาลำโพงเซ็นเตอร์ที่ให้เสียงในการดูภาพยนตร์ดีกว่า ยิ่งใหญ่กว่านี้ ให้พละกำลังมากกว่านี้นั้นยากเต็มทน (ภายใต้ราคานี้นะ)
และพิเศษที่สุดที่เราอยากจะบอกก็คือ นี่เป็นลำโพงที่เป็นผลผลิตจากการสร้างแบบ Hand Made แท้ๆจากโรงงาน ใน USA Hop Arkansas
และตัวนี้คือเนื้อคู่ที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อ match กับลำโพงคู่หน้าตัวใหญ่ๆ เสียงใหญ่ๆทรงพละกำลัง และจะมีใครเหมาะไปกว่านี้ได้อีกนอกจาก Klipsch RF-7 II

 
 
 
Klipschorn (Heritage Series)

นี่คือลำโพงที่ Paul W. Klipsch ตั้งใจบรรจงสร้างเป็นลำโพงสำหรับฟังเพลงโดยเฉพาะ และเพื่อวัตถุประสงค์ในการถ่ายทอดเสียงดนตรีสด (Live Music) ให้มาอยู่ในบ้านได้อย่างไพเราะ ด้วยเสียงสูงที่หวาน กรอบ ทอดยาว และเสียงต่ำที่ลงได้ลึกแต่ทว่านุ่มนวล ลำโพง Klipschorn คือที่สุดของความคลาสสิคที่สามารถถ่ายทอดวัฒนธรรม บทเพลง และวิถีชีวิตของชาวอเมริกันอย่างแท้จริง
และสิ่งที่ไม่เคยเปลี่ยนแปลงเลยตลอดตั้งแต่ 1946 นั่นคือการออกแบบของ Klipschorn นั้นไม่เคยเปลี่ยนและยึดมั่นในรูปแบบของตัวตู้และดีไซนแบบนี้มาอย่างแน่วแน่ และด้วยสายการผลิตของ Klipschorn ที่ยังคงยาวนานมากว่า 70 ปี ไม่เคยหยุด ไม่เคยเปลี่ยนแปลง นั้นการันตีในความยอดเยี่ยมในการถ่ายทอดบทเพลงและทุกสรรพเสียงของวิถีแห่งอเมริกันออกมาได้อย่างไม่มีข้อกังขา  เหมือนกับที่บางคนนิยามกับ Klipschorn ว่าตราบใดที่มันยังดีอยู่ก็ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนหรือซ่อมมัน "“if it ain’t broke, don’t fix it"

 
 


ลำโพงตัวนี้ได้แรงบันดาลใจมาจากชื่อโรงละคร โรงโอเปราที่ยิ่งใหญ่ที่ชื่อ Teatro alla Scala ในอิตาลี   และ La Scala ถูกเผยโฉมครั้งแรกบนโลกใบนี้ในปี 1963 เพื่อเป็นทางเลือกอื่นสำหรับคนที่ไม่อยากได้ลำโพง Klipschorn
โดยไม่ว่าจะเป็นพละกำลัง เนื้อเสียง การถ่ายทอดประสบการณ์และบทเพลงที่ยอดเยี่ยมคล้ายกับ Klipschorn แต่สิ่งที่แตกต่างก็คือ La Scala นั้นถูกดีไซน์ให้ไม่จำเป็นต้องตั้งมุมห้องเหมือน Klipschorn
ด้วยการออกแบบที่ใช้ลำโพงแบบ Full Horn-loaded แบบสามทาง ทำให้ถูกเลือกให้ติดตั้งในที่ทำการรัฐของของ Arkansas และก็มีแฟนๆทั่วโลกที่ถูกอกถูกใจในน้ำเสียงของลำโพงตัวนี้ โดยเฉพาะดาราชื่อดังอย่าง Elijah Wood (Lord of the Rings) ที่เข้าขั้นคลั่งไคล้และชอบเสียงเจ้าลำโพงตัวนี้เอามากๆเสียด้วย

 

 
Cornwall III (Heritage Series)

ถ้าจะกล่าวว่า Cornwall  คือลำโพงที่เป็นพี่ใหญ่ของ Heresy ก็คงไม่ผิด เนื่องจากวันแรกที่ถูกเผยโฉมสู่ชาวโลกในปี 1959 ด้วยความที่ลำโพง Cornwall ถูกออกแบบให้ตอบสนองความต้องการในด้านพละกำลัง ความยิ่งใหญ่ที่เหนือกว่า เหมาะกับห้องที่ใหญ่กว่า Heresy
หลังจากนั้น Cornwall ก็ถูกพัฒนาขึ้นภายใต้ปรัชญาที่จัดเต็มในเรื่องพละกำลังเป็นหลัก ไม่ว่าจะเป็นดีไซน์ในแบบของลำโพงสามทาง และดอกลำโพงยักษ์ใหญ่ขนาด 15 นิ้ว
Klipsch เคยตัดสินใจหยุดการผลิต Cornwall ในปี 1990 แต่หลังจากนั้นพวกเค้าก็รู้ตัวว่าคิดผิด เพราะเสียงเรีกยร้องและความชื่นชอบของแฟนๆลำโพง Cornwall นั้นมีมากมายกว่าพวกเค้าคาดคิดมากนัก ทำให้พวกเค้ากลับมาผลิต Cornwall ต่อจนถึงปัจจุบันที่เป็น version III

 

 
Heresy III (Heritage Series)

ลำโพง Heresy ถูกเผยโฉมต่อชาวโลกในปี 1957 โดยมีวัตถุประสงค์ให้เป็นลำโพงเซ็นเตอร์สำหรับลำโพง Klipschorn และจะว่าไปนี่ก็เป็นลำโพงเซ็นเตอร์ตัวแรกที่ Klipsch ผลิตขึ้นมาก็ว่าได้ (แม้หน้าตามันจะไม่เหมือนลำโพงเซ็นเตอร์ก็ตามทีเถอะ)
ภายหลัง Heresy มีแนวทางในการออกแบบและเสียงในแนวทางของตัวเองและแตกต่างจากลำโพง Heritage ตัวอื่นๆที่กล่่าวมาข้างบน จนมีคำกล่าวจาก Steven Guttenberg (ดารานักแสดงอเมริกัน) ลงในบทความของ Stereophileว่านี้แหละคือลำโพงในฝันของร๊อคแอนด์โรลที่แท้จริง "A little Heresy is good for the soul."

 

 
Palladium Series

Palladium Series คือที่สุดของลำโพงของ Klipsch ที่ถูกผลิตขึ้นมาภายใต้คอนเซปที่ว่า สร้างลำโพงที่ดีที่สุดภายใต้งบประมาณที่ไม่จำกัด  โดยวิศวกรได้ทุ่มเทสรรพกำลังในการออกแบบลำโพงที่ดีที่สุดทั้งในด้านดีไซน์ ตัวตู้ ดอกลำโพง วัสดุที่ใช้ และรวมไปถึงเสียงที่ดีที่สุด โดยงานนี้ได้ดึง BMW North America มาช่วยออกแบบกันเลยทีเดียว และลำโพงในซีรี่ย์นี้คือความภาคภูมิใจของ Klipsch และผู้ที่ครอบครองลำโพงซีรี่ย์ทุกคนว่านี่คือสิ่งที่ดีที่สุด สิ่งที่สะท้อนความสำเร็จ รสนิยม ความเป็นที่สุดของงานศิลปะ รวมไปถึงเสียงที่กระชากวิญญาณและดึงกลิ่นอายของผืนแผ่นดินและจิตวิญญาณของชาวอเมริกันออกมาผ่านทางลำโพงกันเลยทีเดียว

 

 
THX Ultra 2 series

 THX Ultra คือลำโพงผลิตที่อเมริกาที่ตั้งใจและบรรจงสรรค์สร้างให้เป็นลำโพงที่ถ่ายทอดเสียงในการรับชมภาพยนตร์ที่ยอดเยี่ยม โดยมีความมุ่งมั่นในการตอบสนองเสียงจากโรงภาพยนตร์ให้มาสู่บ้านหรือห้องชมภาพยนตร์ส่วนตัวให้ได้มาตรฐานเสียงของระบบ THX ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
ผลตอบรับจากลำโพงซีรี่ย์นี้ไม่มีคำไหนที่เหมาะไปกว่าคำว่า สุดยอด ไม่ว่าจะเป็นพละกำลัง และสามารถเร่งได้ดังโดยความเพี้ยนต่ำ และนี่คือลำโพงที่ถูกสร้างมาเพื่อดูหนังอย่างแท้จริง

 


Klipsch Professional

ลำโพงสำหรับงาน Professional เป็นอีกซีรี่ย์นึงที่ Klipsch ทำออกมาเพื่อรองรับงาน PA ต่างๆเช่น โรงหนัง สนามแข่งรถ  ร้านอาหาร หรือแม้แต่เวทีแสดงคอนเสริต์ต่างๆ  เหล่านี้ทั้งหมดถูกผลิตและดีไซน์ใน USA Hope Arkansas ทั้งหมดเฉกเช่นเดียวกับ Heritage series
เหตุผลและข้อดีที่ Klipsch ผลิตลำโพงในงาน Professional เหล่านี้ใน Hope Arkansas ก็เป็นเพราะว่าง่ายในการออกแบบลำโพงให้ตรงกับความต้องการของธุรกิจ และสามารถสร้างได้เลยและสะดวกในการชิปหรือจัดส่งไปที่ต่างๆทั่วโลกนั่นเอง

 

The Future

ในอนาคตนั้น Klipsch ยังมุ่งมั่นที่จะพยายามรักษาฐานการผลิตในอเมริกา Hope Arkansas เอาไว้ให้มากที่สุด
และรวมไปถึงลำโพงตัวใหม่ล่าสุด Wireless speaker ที่ถูกนำไปโชว์ในงาน CES เมื่อต้นปีก็มีแพลนจะผลิตใน USA Hope, Arkansas ด้วยเช่นกัน

 แล้วคุณละครับ เป็นเจ้าของลำโพง Klipsch ที่ผลิตในอเมริกาแท้ๆตัวไหนบ้าง เราเชื่อว่าใครก็ตามที่ได้มีโอกาสที่เป็นเจ้าของลำโพงเหล่านี้ ย่อมมีความภูมิใจเล็กๆที่ได้ครอบครองจิตวิญญาณและความภาคภูมิใจของ Klipsch และชาวอเมริกันผ่านในทุกสรรพเสียงที่ถูกบรรเลงผ่านลำโพงเหล่านี้ไม่มากก็น้อยครับ


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 27, 2015, 02:06:00 pm โดย keamglad »

ออฟไลน์ keamglad

  • OLED TV member
  • *****
  • กระทู้: 3,720
  • https://www.facebook.com/whatthatsoundstore
    • ดูรายละเอียด
    • https://www.facebook.com/whatthatsoundstore
    • อีเมล์



ส่ง SVS PB2000 ให้ลูกค้าเก่าของเราท่านนึงที่แจ้งวัฒนะครับ
ตัวนี้เดิมทีลูกค้าใช้ Klipsch R10B อยู่ก่อนแล้ว แต่รู้สึกว่าเบสที่ได้ยังไม่สะใจ ก็เลยสั่ง SVS PB2000 ตู้เปิดขนาด 12 นิ้วตู้นี้ไปใช้งานเพิ่มคู่กับซับเดิม เลยกลายเป็น Dual Subwoofer ไปเลยครับ
 
มีรูปเทียบให้ดูระหว่างซับจากซาวด์บาร์ Klipsch R10B ขนาด 8 นิ้ว กับซับ SVS PB2000 ขนาด 12 นิ้วตัวนี้
 


 
ปล ถามกันมาเยอะว่า SVS เสียงยังไง
SVS ตู้เปิด บุคลิกเสียงหนักแน่น หนัก โครมคราม ตูมตาม เหมาะกับห้องกว้าง และเหมาะกับคนรักเสียงเบส และในขนาดดอกเท่าๆกันของ SVS ตู้เปิดหนักกว่าตู้ปิดเสมอ !!!!!!! ..หนักกว่าเสมอ (PB2000 VS SB2000 กับ SB13Ultra VS PB13Ultra)
 
ส่วนตู้ปิด เสียงหนักแน่นพอประมาณแบบผู้ดีหน่อย แต่แฝงด้วยคุณภาพเบสที่กระชับ สะอาด มีรายละเอียด จึงเหมาะกับห้องที่มีขนาดไม่ใหญ่มาก เหมาะดูหนัง หรือฟังเพลง ไม่ได้เบสหนัก ฮาร์ดคอร์จ๋าเหมือนตู้เปิด
 

 
ราคาและสเปก SVS PB2000: http://www.whatthatsound.com/product/321/svs-pb-2000












« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 06, 2016, 09:31:06 pm โดย keamglad »

ออฟไลน์ keamglad

  • OLED TV member
  • *****
  • กระทู้: 3,720
  • https://www.facebook.com/whatthatsoundstore
    • ดูรายละเอียด
    • https://www.facebook.com/whatthatsoundstore
    • อีเมล์
รีวิวแบบจัดเต็ม Klipsch Reference Premiere 7.2 แชนแนล (บทความแปลจาก AVS Forum Review)



รีวิวแบบจัดเต็ม Klipsch Reference Premiere 7.2 แชนแนล (บทความแปลจาก AVS Forum Review)
 
บทความแปลจาก : http://www.avsforum.com/forum/89-speakers/2072770-klipsch-reference-premiere-7-2-system-official-avs-forum-review.html
 
ช่วงนี้ที่เมืองนอกก็เริ่มมีรีวิวลำโพง Klisch Reference Premier รุ่นใหม่ล่าสุดปล่อยกันออกมาเรื่อยๆแล้วนะครับ และล่าสุดนี้ก็ถึงคราวของ Officail รีวิวอย่างเป็นทางการของ AVS Forum ที่จัดเต็มสุดๆ จับเอาชุด Klipsch Reference Premier ทั้งชุด 7.2 channels แต่ละแชนแนลเล่นกันจัดเต็มใช้รุ่นใหญ่สุดทุกตัวเอามารีวิวกันไปเลย โดยงานนี้มีอุปกรณ์และเครื่องเคราทั้งหมดตามลิสต์นี้ครับ

Sources
DIY PC (Windows 8) running Tidal, Spotify, and iTunes
Oppo BDP-103 Blu-ray player

Amplification and Processing
Crestron Procise ProAmp 7x250
Pioneer Elite SC-85 receiver
MiniDSP DDRC-88A Dirac Live processor

Speakers and Subwoofers
Klipsch RP-280F towers
Klipsch RP-450C center
Klipsch RP-160M bookshelf speakers
Klipsch RP-250S surround speakers
Klipsch R-115SW subwoofers (2)

Cables
Monoprice 12-gauge OFC speaker cables
Mediabridge Ultra Series subwoofer cable
Mediabridge Ultra Series HDMI cables
Monoprice Premiere Series XLR cables

TV
Samsung PN64F8500 64" plasma TV




วันนี้เรามีภารกิจที่ได้รับมอบหมายวันนี้กับการรีวิว ลำโพงที่เคลมตัวเองในหน้ากระดาษสเปกว่าขึ้นชื่อในเรื่องความไวสูง และประสิทธิภาพสูง  มาดูกันว่าจะจริงอย่างที่คุยมั๊ยกับ Klipsch Reference Premier 7.2 channels

Klipsch ถือเป็นบริษัทผลติลำโพงที่มีชื่อเสียงมายาวนานในอเมริกา โดยจุดเด่นของเค้าคือ ความไวสูง (sensitivity) ลำโพงแบบฮอร์น (Horn-load)  โดยลำโพงในซีรี่ย์ใหม่อย่าง Reference Premier ที่เพิ่งออกใหม่มาแทนซีรี่ย์เก่าอย่าง Reference II ก็เคลมตัวเองไว้ว่าเหนือกว่าซีรี่ย์เก่าในทุกๆด้าน ไม่ว่าจะเป้นการดีไซน์ตัวตู้แบบใหม่หมดจด ตู้ฮอร์นใหม่ที่ใช้ยางเข้ามาเป็นส่วนประกอบแทนพลาสติก ABS  และซีรี่ย์นี้เองที่ Klipsch หมายมั่นปั้นมือไว้เป็นอย่างสูงว่าจะได้เสียงตอบรับให้เป็นผลิตภัณฑ์หลักที่เชิดหน้าชูตาให้กับบริษัท

เมื่อเร็วๆนี้ เราก็มีรีวิวที่เพิ่งปล่อยออกไปสองตัวได้แก่่รีวิวลำโพงคู่หน้า
Klipsch RP-280F : http://goo.gl/lfq6H4

และรีวิว Subwoofer Klipsch R115SW: http://goo.gl/5WKHOJ

โดยรีวิวทั้งสองตัวนั้นเป็นเพียงส่วนนึงของระบบ 7.2 channels และเป็นเพียงน้ำจิ้มของรีวิวนี้เท่านั้น โดยวันนี้เราจะมาจัดเต็มรีวิวกันให้ครบทั้งระบบดูสิว่า ถ้าเราเล่น Klipsch Reference Premier ตัวใหม่ทั้งชุด ทุกตัวเล่นตัวท๊อปหมด เราจะได้อะไรกลับมาบ้าง

ในวันที่ลำโพงทั้งชุดมาส่งที่ออฟฟิสนั้น สิ่งแรกที่เราตกใจคือขนาดของมันที่ทั้งใหญ่โตมากๆเลย ยิ่งโดยเฉพาะซับวูฟเฟอร์ R115SW นั้นหนักราวๆ 30 กิโลกว่าๆต่อตัวกันเลยทีเดียว โดยเราจัดการยกมันไปติดตั้งกันโดยใช้พื้นที่บนชั้นสาม เรียกว่างานนี้กว่าจะขนขึ้นไปได้ก็ทุลักทุเลพอตัวเลยทีเดียว ใครที่คิดจะแบกมันขึ้นบันได้คนเดียวนี่ เราอยากให้เปลี่ยนความคิดหรือล้มเลิกความคิดซะใหม่ครับ
หลังจากจัดวางและเซ็ทอัพไปแล้ว เราพบว่าทั้งลำโพงคู่หน้า ทั้งซับวูฟเฟอร์ทั้งสองตัวที่วางอยู่ด้านหน้าระหว่างทีวีนั้น แทบจะไม่มีพื้นที่เหลือให้ขยับเขยื้อนอะไรได้อีก คือมันพอดีมากจนน่าตกใจสำหรับห้องที่มีหน้ากว้างประมาณ 3.5 เมตร คือทุกอย่างวางแล้วจะติดกันไปหมด แทบจะไม่มีพื้นที่ให้ขยับได้เลย
หลังจากเซ็ทอัพกันเสร็จดูกันเผินๆแล้ว สิ่งที่โดนเด่นและสะดุดตาเราที่สุดก็คือดอกลำโพงอลูมิเนียมสีทองแดงที่เด่นสวยงามจนไม่อยากจะเอาตะแกรงหน้ากากลำโพงปิดเลยครับ


Features

ในระบบ home theater ที่เราจะมารีวิววันนี้นั้นประกอบไปด้วยลำโพงคู่หน้า เซ็นเตอร์ เซอราวด์หลัง เซอราวด์ข้าง และซับวูเฟอร์ขนาด 15 นิ้วอีกสองตัว โดยลำโพงที่ใช้นั้นถูกออกแบบตู้ฮอร์นทวีตเตอร์ใหม่โดยมี titenium dome tweeter บรรจุอยู่ในฮอร์นแบบทรงกลมและล้อมรอบด้วยสี่เหลี่ยมอีกที อีกทั้งวัสดุที่ใช้ทำฮอร์นก็เปลี่ยนจากพลาสติก ABS เป็นยางแทนเพื่อลดเสียงสะท้อนซึ่งอาจทำให้เสียงหยาบและพุ่งจนเกินไป

ชุดที่เราใช้รีวิวนี้เป็นสีดำลาย Ebony  ซึ่งจริงๆจะมีสองสีด้วยกันคือ Ebony และ Cherry  ตัวตู้ก็มีการออกแบบใหม่ให้ด้านหน้ามีเหลี่ยมมุมที่้เฉียงและลาดขึ้นจากด้านบนเพื่อลดการสะท้อนของเสียง และเพื่อความสวยงามให้ตัวตู้ไม่ดูทื่อๆแข๊งเกินไปเมื่อติดแผงหน้ากากลำโพงด้วยครับ

Klipsch RP-280F คู่หน้าที่เราใช้เป็นลำโพงแบบ 2 ทาง บรรจุทวีตเตอร์แบบ Tractrix horn-loaded 1" titanium-dome tweeter และดอกวูฟเฟอร์ขนาด  8" aluminum-cone woofers สองดอก.
แต่ละข้างน้ำหนักประมาณ 31 กิโลกรัม (62.5 pounds) ขนาดตัวตู้อยู่ที่ 10.5" (กว้าง)  43" (สูง) 18.3" (ลึก)
RP-280F ตัวนี้ตอบสนองความถี่ที่ 32 Hz to 25 kHz (+/-3 dB)  ค่าความไวหรือประสิทธิภาพของลำโพงถูเคลมเอาไว้ที่ sensitivity = 98 dB/W/m
ลำโพงสามารถรองรับกำลังขับต่อเนื่องเฉลี่ยที่ 150 watts  และรองรับกำลังขับพีคได้ที่ 600 watts (peak) ที่ 8 ohms  วงจร  crossover frequency ตัวนี้ตัดการทำงานระหว่างดอกวูฟเฟอร์และทวีตเตอร์เอาไว้ที่  1750 Hz,  (ความถี่สูงกว่า 1750 Hz จะทำงานที่ทวีตเตอร์ ต่ำกว่าจะทำงานที่วูฟเฟอร์)  ท่อลมสำหรับเสริมเสียงเบสตัวนี้จะอยู่ด้านหลังเป็นรูปทรงสี่เหลี่ยมผื่นผ่้า และลำโพงตัวนี้รองรับการทำงานแบบ bi-amping และการต่อสายลำโพงแบบ bi-wiring อีกด้วย

Klipsch RP-450C ลำโพงเซ็นเตอร์ที่เป็นพระเอกในระบบ Home Theater ของเราตัวนี้เป็นลำโพงแบบ 2.5 ทาง  บรรจุทวีตเตอร์แบบ Tractrix horn-loaded 1" titanium-dome tweeter และดอกวูฟเฟอร์ขนาด  5.25" aluminum-cone woofers สี่ดอก.
ดอกลำโพงตัวทางด้านซ้ายติดกับทวีตเตอร์ และตัวทางด้านขวาสุดจากทวีตเตอร์จะทำหน้าที่ตอบสนองเสียงกลางที่ความถี่ 500 - 1500 Hz  ส่วนดอกลำโพงที่เหลืออีกสองตัวคือ ซ้ายสุดจากทวีตเตอร์และดอกขวามือถัดจากทวีตเตอร์ทำงานที่ต่ำกว่า 500 Hz ลงมา น่้ำหนักตัวของ RP-450C อยู่ที่ประมาณ 18 กิโลกรัม (35.7 pounds)  ขนาดตัวตู้  31.13" (กว้าง)  6.81" (สูง)  14.51" (ลึก)





RP-450C ตัวนี้รองรับและตอบสนองความถี่ที่  58 Hz -  25 kHz (+/-3 dB). ค่าความไวหรือประสิทธิภาพของลำโพง (sensitivity) เคลมเอาไว้ที่  97 dB/W/m  ลำโพงสามารถรองรับกำลังขับต่อเนื่องเฉลี่ยได้ที่ 150 watts รองรับกำลังขับสูงสุดที่ 600 วัตต์  (600 watts peak) ที่ 8 ohms  crossover frequencies ตัดที่ 500 Hz วูฟเฟอร์สองดอก  และ 500-1500 Hz อีกสองดอก และสูงกว่า 1500 Hz จะทำงานที่ทวีตเตอร์ สุดท้ายตัวนี้เป็นตู้เปิด ท่อลมเบสอยู่ที่ด้านหลังลำโพงเหมือนกับคู่หน้า RP-280F

Klipsch RP-250S ลำโพงเซอราวด์แบบไบโพล่า ที่ถูกติดตั้งเป็นเซอราวด์ข้างตัวนี้จะแตกต่างจากลำโพงตัวอื่นๆในระบบทั้งหมด  โดยเฉพาะในแง่ของการออกแบบ นั่นเป็นเพราะตัวนี้ออกแบบให้เป็นตู้ปิด หรือพูดง่ายๆก็คือไ่มีท่อลมเบสนั่นเอง (จริงๆเซอราวด์ไม่มีท่อลมเบสก็เข้าใจได้เพราะบรรยากาศเสียงเซอราวด์เราไม่ต้องการกำลังเบสจากลำโพงมากเหมือนคู่หน้าหรือเซ็นเตอร์ เพียงแต่สิ่งที่สำคัญของเซอราวด์นั่นคือกระจายเสียงให้บรรยากาศคลอบคลุมทั่วห้องมากกว่า)
โดย RP-250S คู่นี้ถูกติดตั้งลำโพงแยกมาเป็นสองชุด นั่นคือ  1" titanium-dome tweeters และ  5.25" aluminum-cone woofers อย่างละหนึ่งชุด แยกกันทำงานสองข้างหันหน้าทำมุม  90 องศาออกจากกัน
ดังนั้นเมื่อมีลำโพงสองชุดทำหน้าที่ยิงเสียงออกจากกันแบบนี้ผลก็คือจะช่วยกระจายเสียงได้มุมที่กว้างขึ้น คลอบคลุมขึ้นได้ถึง 180 องศาจากจุดที่ติดตั้งลำโพง ซึ่งถือเป็นข้อดีของลำโพงเซอราวด์แบบไบโพล่ามากกว่าแบบบุ๊กเชลฟ์นั่นเองครับ


The front and rear of the RP-250S.

RP-250S รองรับความถี่ที่  58 Hz  - 24 kHz (+/-3 dB). มีค่าความไวหรือประสิทธิภาพอยู่ที่ (sensitivity) 95 dB/W/m ลำโพงรองรับกำลังขับต่อเนื่องเฉลี่ยได้ที่ 100 watts  และรองรับกำลังสูงสุด (peak) ที่ 400 watts ที่ 8 ohms  ตัวนี้ตัด crossover frequency ที่ 1500 Hz. ความถี่ต่ำกว่า 1500 Hz จะทำงานที่ดอกวูฟเฟอร์ทั้งสองข้าง ความถี่สูงกว่านี้จะทำงานที่ทวีตเตอร์ทั้งสองข้าง


Klipsch RP-160M ลำโพงบุ๊กเชลฟ์หรือ ลำโพงมอนิเตอร์ตัวนี้ถูกนำมาติดตั้งในตำแหน่งเซอราวด์หลัง โดย RP-160M เป็นลำโพงแบบ 2 ทางตู้เปิด ท่อลมเบสอยู๋ด้านหลัง ติดตั้ง Tractrix horn-loaded 1" titanium-dome tweeter และวูฟเฟอร์ขนาด  6.5" aluminum woofer  น้ำหนักตัวตู้อยู่ที่ประมาณ 10 กิโลกรัม (19.9 pounds) ขนาดตัวตู้  8.81" (กว้าง)  16.67" (สูง) and 12.86" (ลึก)

RP-160M ตอบสนองความถี่ที่ 45 Hz - 25 kHz (+/-3 dB). ค่าความไวหรือประสิทธิภาพลำโพงอยู่ที่ (Sensitivity)  96 dB/W/m  รองรับกำลังขับต่อเนื่องเฉลี่ยที่ 100 วัตต์ และรองรับกำลังขับสูงสุด (peak) ที่ 400 วัตต์ที่ 8 ohms  ลำโพงตัดความถี่ crossover frequency ที่ 1500 Hz, คือความถี่ต่ำกว่า 1500 Hz จะทำงานที่ดอกวูฟเฟอร์ สูงกว่านี้จะทำงานที่ทวีตเตอร์


Klipsch R-115SW ซับวูฟเฟอร์รุ่นนี้ เราใช้สองตัวทำงานร่วมกันเป็น Dual Subwoofer แต่ละตัวมีน้ำหนักมากถึง 34 กิโลกรัม (75-pound) ให้พลังเบสที่มหาศาล ให้ความดังสูงสุดถึง 122 dB (ดังอย่างกับ PA เลยทีเดียว)
R-115SW ใช้ดอกวูฟเฟอร์หนึ่งดอกขนาด 15 นิ้ว  เป็น Avtive subwoofer ที่บรรจุ Amp เอาไว้ในตัวตู้แล้ว โดยแอมป์ภายในให้กำลังขับแยกต่างหากถึง 400 watts  (800 watts peak)
R115SW ถูกออกแบบมาให้เป็นตู้เปิด จึงไม่ต้องใช้กำลังขับ amp ในตู้สูง เพราะมีท่อลมเบสที่ออกแบบไว้ที่ด้านหน้าช่วยเสริมกำลังเบส ทำให้ตัวนี้ทั้งดัง ทั้งกระชับ ทั้งลงลึก โดยสามารถตอบสนองความถี่เสียงเบสได้ตั้งแต่ 18 Hz  125 kHz (+/-3 dB), กันเลยทีเดียว (18 Hz โดยทั่วไปหูมนุษย?จะไม่ได้ยินเสียงที่ความถี่นี้แล้ว แต่รู้สึกได้จากความรู้สึกขนลุก บรรยากาศ ข้าวของสั่น โซฟาสั่นแทน เป็นความถี่ที่เป็นบรรยากาศในการดูหนังที่จำเป้นจริงๆครับ โดยเฉพาะหนังแอคชั่นและหนังสยองขวัญ)  และตัวนี้มีขนาด 19.5" (กว้าง)  21.5" (สูง) and 22.3" (ลึก)

Setup
เราเริ่มติดตั้งและรันอินโดยใช้ชุดด้านบนนี้เป็นหลักใสเกือบๆสองเดือนเพื่อให้เสียงที่ได้นิ่งและให้ดอกลำโพง ขอบยางทำงานเต็มที่สำหรับการรีวิวครั้งนี้จะได้ผลที่เที่ยงตรง ถูกต้องมากที่สุด
โดยการจัดวางลำโพงคู่หน้าทั้งสองข้างจะจัดวางห่างจากลำโพงข้างให้มีเนื้อที่ห่างประมาณ 30 นิ้ว และห่างจากผนังด้านหลังประมาณ 40 นิ้ว โดยพื้นที่ด้านข้างนั้นเราเหลือพื้นที่เอาไว้ประมาณ 30 นิ้วเพื่อวางซับวูฟเฟอร์ R115SW ทั้งสองตัวเอาไปที่มุมห้องทั้งสองข้าง
ส่วนลำโพงเซ็นเตอร์ RP-450C จัดวางเป็นพิเศษบนชั้นวางที่ทำมาสำหรับวางทีวีความสูง 14 นิ้ว แต่เรานำมันมาวางเซ็นเตอร์ตัวนี้แทน
เซอราวด์ข้าง RP-160M ถูกติดตั้งแบบแขวนเข้ากับผนังด้านข้าง โดยวัดระยะให้ทวีตเตอร์สูงขึ้นมาจากพื้นประมาณ 42 นิ้ว และห่างจากจุดที่เรานั่งฟังประมาณ 5-6 นิ้ว
ลำโพงเซอราวด์หลัง RP-250S ติดตั้งด้านหลังโซฟาและห่างจากจุดนั่งฟังประมาณ 1.5 เมตร โดยเซอราวด์หลังทั้งสองข้างตั้งบนขาตั้งความสูง 32 นิ้ว เฉลี่ยแล้วความสูงก็จะประมาณพอๆกันกับเซอราวด์ข้างพอดี เมื่อวัดระยะจาก RP-250S ก็จะมีพื้นที่ด้านหลังเหลือจากผนังประมาณ 1 เมตร

ในส่วนของ AVR นั้นจะใช้ Pioneer Elite SC-85 AVR ทำงานเป็น pre-proและนำ power amp นอกมาต่อขับเพื่อให้ได้กำลังขับลำโพงให้เต็มที่  Power amp ที่ใช้จะเป็น Crestron Procise ProAmp 7x250 7-channel amplifier   และเราใช้ Minis DSP DDRC-88A Dirac Live processor ในการช่วยปรับจูนเสียงของ system และห้องนี้
ส่วนต้นทางจะใช้เครื่องเล่นบลูเรย์ Oppo BDP-103  และ Roku 3 streaming box, และเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ประกอบเอง (Windows 8.1) ในการทดสอบเล่นไฟล์ในการรีวิวครั้งนี้ครับ


The RP-450C center has four woofers, two cut off at 500 Hz and two play up to 1500 Hz.

หลังจากติดตั้งอุปกรณ์ ลำโพง แอมป์ทั้งหมดแล้ว งานที่เหลือจึงเป้นการปรับเสียงโดยใช้ miniDSP DDRC-88A DL processor here. โดยเจ้าเครื่องนี้จะช่วยในการปรับเสียงได้ละเอียดยิ่งขึ้นในทุกๆความถี โดยสามารถปรับค่า และแก้ไขปัญหาในแต่ละห้องฟัง แต่ละความถี่ที่มีปัญหาให้เข้ากับ system และได้เสียงที่ดีที่สุด ตอบสนองความถี่ได้ครบและราบเรียบสม่ำเสมอได้โดยไม่ต้องเจอปัญหาเสียงบวม เบลอ หรือเสียงบางหรือบางความถี่หายไปด้วยครับ
และสุดท้ายก็หาตำแหน่งซับวูฟเฟอร์ และเครื่องมือช่วย โดยปกติแล้วถ้าเราตัดความถี่ต่ำที่ 100 Hz หรือ 150 มักจะมีปัญหาเรื่องเบสเกิน บวมเบลอ แต่ด้วยเครื่องมือ ตำแหน่งวาง และห้องที่เราทดสอบนั้นถือว่าไม่พบปัญหาดังกล่าวและเสียงเบสไม่มีอาการบวมเบลอ แต่ตอบสนองความถี่ได้ราบเรียบและไม่มีปัญหาใดๆเลย

Performance

คำแรกที่เราจะบอกหลังจากทดสอบชุดนี้คือ โคตรเจ๋ง เป็น home-theater surround system ที่สุดยอดชุดนึงเลย ซึ่งอย่างที่เคยอ่านกันไปก่อนหน้านั้นที่เรารีวิว Klipsch RP-280F และ Klipsch R-115SW แยกต่างหากไปก่อนหน้านั้นแล้ว (รีวิวทั้งสองตัวหาอ่านได้ตามลิ้งด้านบนครับ)  และเมื่อเราได้ systemมาครบทุกตัว ได้มีโอกาศรีวิวระบบแบบครบๆ 7.2 แบบนี้ การทำงาน เสียงที่ได้นั้นต้องบอกว่าสุดยอด และสามารถตอบสนองการดูหนัง รายละเอียดในหนังไม่ว่าจะเป็น Soundtrack, effect ต่างๆได้อย่างยอดเยี่ยม โดยลำโพงทุกตัวในระบบทำงานได้ราบรื่น สมูธ มีไดนามิคเมื่อถึงจุดที่ต้องรุนแรง และให้รายละเอียดเล็กๆน้อยๆได้เมื่อถึงจุดที่ต้องการแบบเที่ยงตรง ชัดเจน
บุคลิกนึงที่สังเกตได้ชัดเจนของ Klipsch Reference Premier ตัวนี้ที่โดดเด่นก็คือ รายละเอียดของเสียงแหลม (treble) ที่มันดีขึ้นกว่าตัวเก่าอย่างชัดเจนมากมาย  ซึ่งไม่ว่า Klipsch จะทำอะไรกับ ReferencePremire นี้ไม่ว่าจะเป็นออกแบบตู้ใหม่ ออกแบบลำโพงฮอร์นใหม่ใหม่ หรืออะไรก็ตาม แต่ผลที่ได้มันชัดเจนว่าเสียงสูงที่เรารับฟังมันสมูธ ราบลื่น ฟังสบาย แต่มีดีเทลเล็กๆน้อยระยิบระยับได้อย่างไม่น่าเชื่อ  ซึ่งเสียงสูงที่ดีแบบนี้น่าจะเป็นผลมาจากทวีตเตอร์แบบฮอร์น (horn-loaded tweeters)

และสิ่งหนึ่งที่ Klipsch ReferencePremier ทำได้ดีก็คือ Sensitivity ที่สูง ค่าความไวที่สูงแบบนี้ทำให้เราสามารถใช้แอมป์หรือ Receiver (AVR) ทั่วๆไปมาขับมันได้สบายๆโดยไม่ต้องเร่งกำลังแอมป์มากเลย อย่างมากก็เร่งแค่ครึ่งเดียวเสียงที่ได้ก็ถือได้ว่าอยู่ในระดับที่รับชมภาพยนตร์หรือฟังเพลงได้ดีแล้ว
โดยเมื่อเทียบกับลำโพงตัวอื่น แบรนด์อื่นจะเห็นว่าเราเร่งแอมป์แค่ครึ่งเดียวก็จะได้เสียงในระดับพอๆกับที่เราต้องเร่งเมื่อใช้ลำโพงตัวอื่นเลย
นั่นแปลว่า เราสามารถใช้ AVR ขับชุดนี้ได้เลย ไม่จำเป็นต้องใช้ Power, Pre-pro มาขับก็สามารถรับชมภาพยนตร์หรือฟังเพลงได้ยอดเยี่ยมในระดับที่ห้องฟังขนาดทั่วๆไป และคนทั่วๆไปใช้งานได้แล้วครับ และถ้าเป็นลำโพงไซสขนาดนี้ของแบรนด์อื่น ดอกขนาด 8 นิ้ว เซ็นเตอร์สี่ดอก เซอราวด์แบบไบโพล ถ้าจะให้เสียงในระดับเดียวกับ Klipsch คงจะต้องใช้ Power amp ขับแน่นอนครับ

โดยเฉพาะ RP-280F เรากล้าบอกเลยว่า AVR ทั่วๆไปหรือ AVR ที่เราใช้อยู่นั้น (Pioneer Elite SC-85's) กับห้องขนาด 6 x 3.5 เมตร และสูง 2.75 นั้น เกินพอครับ
นอกจาก RP-280F คู่หน้าแล้ว งานนี้เรามีพระเอกอีกคนที่เด่นไม่แพ้กัน นั่นคือ RP-450C ลำโพงเซ็นเตอร์ ซึ่งต้องบอกว่าปกติเราไม่ค่อยจะให้ความสำคัญกับลำโพงในแชนแนลนี้มากนัก นั่นเป็นเพราะว่าที่ผ่านมามักจะเจอลำโพงเซ็นเตอร์ที่ตัวเล็ก คุณภาพเสียงไม่ค่อยดี เสียงไม่แม๊ทกับลำโพงคู่หน้าบ้าง เสียงพูดเบาบ้าง เอฟเฟกไม่ชัดไม่หนักบ้าง เสียงพูดไม่ clear ไม่ชัดบ้าง แต่กับตัว RP-450C ตัวนี้ต้องยอมรับครับว่าเค้าออกแบบมาดี กับลำโพง 2.5 ทางตัวนี้นอกจากเสียงพูดชัดเจน หนักแน่น แล้วยังสามารถทำงานควบคุ่และดังในระดับที่กลมกลืนทำงานคู่ไปกับคู่หน้าและเสียงในแชนแนลอื่นได้เป็นอย่างดีด้วยครับ แต่กระนั้นก็ต้องแลกมากับขนาดตัวที่กินพิ้นที่ในแนวกว้างพอสมควร จนเราต้องหาขาวางทีวีมาวางโดยเฉพาะ

เราในฐานะที่ต้องมารีวิวชุด Home Theater ชุดนี้ต้องบอกว่า เรามีความชอบเสียงจากหนังโดยเฉพาะเรื่องที่มิกซ์เสียงมาดีๆ ชัดเจน มีบรรยากาศโอบล้อมดีๆ เบสหนักๆ  โดยการรีวิวในการรับชมภาพยนตร์นั้นเราใช้ system นี้มากว่าสองเดือน  ดูหนังหลายเรื่องโดยเฉพาะหนังแนวไซไฟที่เราชอบเป็นพิเศษไม่ว่าจะเป็น  Jupiter Ascending, Interstellar, Gravity, Chappie, Star Wars: A New Hope, Guardians of the Galaxy
เช่นเรื่อง Gravity เราเล่นผ่านลำโพง Klipsch Reference Premier สิ่งที่เรารับรู้ได้ก็คือ บรรยากาศโอบล้อม สนามเสียงที่เหมือนเราไปอยู่ในเหตุการณ์ในอวกาศกับ Sandra Bullock แบบนั้นเลย  และเสียงที่ออกมานั้นบ่งบอกขนาดของวัตถุ และตำแหน่งของมันได้ชัดเจนโดยไม่ต้องเพ่งจับผิดหรือสังเกตแต่อย่างใด ไม่ว่าเสียงจะพุ่งมาจากทิศทางใด วิ่งมาด้วยความเร็ว ขนาดใหญ่แค่ไหน พาดผ่านหน้าเราตรงไหนไปรอบตัวตรงไหนบ้างก็สามารถรับรู้ได้เป็นอย่างดีเหมือนกับลำโพงรอบๆตัวเรามันหายไป แต่เหมือนเราไปอยู่ท่ามกลางบรรยากาศนั้นจริงๆครับ
ต้องยกความดีให้ DSP ที่เราใช้เซ็ทอัพ (Dirac Live processing) ซึ่งจริงๆแล้วลำพังลำโพง Klipsch เองก็ตอบสนองความถี่และโยนเสียงต่างๆได้ดีอยู่แล้ว แต่พอได้ปรับจูนเสียงด้วย DSP ก็ยิ่งทำให้เสียงที่ได้เหมือนลำโพงล่องหนไปเลย

system นี้นอกจากจะตอบสนองเรื่องบรรยากาศโอบล้อม การแพนเสียง เอฟเฟคต่างๆได้ดีแล้ว ยังตอบสนอง soundtrack และเพลงได้ดีด้วย โดยเราใช้ AVR Pioneer เปิดโหมด Dolby Atmos และฟังเพลงแนว Electronic music เช่น  Bassnectar, The Orb, Air, Dub Syndicate, Renegade Soundwave, Waterjuice, and Boards of Canada.
นอกจากนั้นดนตรีแนวอื่นๆที่ได้รับการบันทึกมาดีๆ อย่าง acoustic, jazz, classical, or folk ก็สามารถแสดงศักยภาพของลำโพงคู่หน้า RP-280F และอคูสติกของห้องออกมาได้เต็มที่ครับ

ข้อดีที่สุดของ Klipsch Reference Premier นั่นคือคุณภาพเสียง ไม่ว่าจะเป็นคุณภาพเสียงที่เที่ยงตรง แม่นยำ และพละกำลังที่มหาศาล และเรามั่นใจว่าลำโพงในซีรี่ย์นี้จะสร้างรอยยิ้มให้ปรากฏบนใบหน้าของทุกคนที่มีจิตวิญญาณความเป็น audiophile และรักเสียงดนตรีทุกคนได้แน่ๆครับ

มาถึงจุดนี้นะครับจะเห็นว่ารีวิวนี้มีแต่ข้อดีเต็มไปหมด ไม่ว่าจะดูหนังหรือฟังเพลง  แน่นอนครับของทุกอย่างบนโลกใบนี้ เมื่อมีข้อดี ก็ย่อมมีข้อเสีย ทีนี้เรามาดูข้อเสียของ system นี้กันว่ามีอะไรบ้าง
อันดับแรกคือขั้วต่อลำโพง (Binding post) ค่อนข้างจะก๊อกแก๊กเพราะทำจากพลาสติก ดูราคาถูกเมื่อเทียบกับข้อต่อลำโพงของลำโพงแบรนด์อื่นๆในระดับราคาใกล้ๆนี้ที่อาจจะใช้ขั้วต่อแบบโลหะ แต่ถึงแม้ขั้วต่อแบบพลาสติกจะดูราคาถูกแต่ก็ไม่กระทบกับเสียงที่ได้นะครับ
อันดับที่สอง เริ่องงานประกอบตัวตู้ที่ผิวลำโพงเมื่อเทียบกับลำโพงแบรนด์อื่นๆในระดับราคาใกล้ๆกันมักจะได้ผิวลำโพงที่เป็นไม้จริงบ้าง Higroos บ้าง ดูแล้วราคาแพงกว่าน่าใช้กว่า ส่วน Klipsch Reference Premier จะใช้ผิวลำโพงที่ค่อนข้างดูธรรมดาไปสักนิดเมื่อเทียบกับราคาค่าตัวและคุณภาพเสียงครับ

ในส่วนของ Subwoofer ซึ่งเป็นอะไรที่คุ้มค่าที่สุดและเราเคยรีวิวไปแล้วในรีวิวก่อนหน้า goo.gl/5WKHOJ
R115SW เป็นซับที่ตัวใหญ่ ให้พลังเสียงทรงพลังขนาดเขย่าห้อง แน่น กระชับกว่าที่หลายๆคนคิดมากครับ


Conclusion

บอกตรงๆ ว่าเราไม่คาดคิดว่าลำโพงซีรี่ย์ใหม่ Reference Premier จะให้ประสิทธิภาพสูงในทุกๆด้านคุ้มค่าและยอดเยี่ยมขนาดนี้ ถ้าเคยติดตามรีวิวของเรา เราเคยรีวิวชุดลำโพง Thiel TT1 ที่เคยลงไว้ ( Thiel TT1 review I wrote)  system ชุดนั้นราคาทั้งชุดประมาณ $6000/pair และลำโพงชุดนั้นก็เป็นหนึ่งในลำโพงที่สุดยอดมากๆอีกชุดนึง แต่ถ้าให้เราเลือกว่าชอบชุดไหนมากกว่ากัน ต้องบอกตรงๆครับว่าเราชอบ Reference Premier มากกว่านิดหน่อยในเรื่องของความสด ความหนักแน่นและเวลาดูหนังได้บรรยากาศที่ตื่นเต้นกว่าครับ

ในเรื่องของพละกำลังนั้นเป็นที่ชัดเจนว่าลำโพงตั้งพื้น RP-280F ให้กำลังมากพอในการดูหนัง และฟังเพลงทั่วๆไปได้ดีมากๆ ทั้งในด้านของ Dynamic, Impact มากกว่าลำโพงอื่นๆที่เราเคยลองฟังมาด้วยซ้ำ  แต่ถ้าใครที่มีงบประมาณจำกัด RP-160M  ลำโพงบุ๊กเชลฟ์ขนาดดอก 6.5 นิ้วก็สามารถทำหน้าที่่แทนลำโพงคู่หน้าแบบตั้งพื้นได้แบบไม่ขัดเขินและไม่แย่จนเกินไป โดยเราอาจจะลดขนาด system ลงมาเล่นเป็น 5.1 ใช้ซับวูฟเฟอร์แค่ตัวเดียวแทนก็ให้เสียงดีมากๆแล้ว  โดยงบประมาณที่ต้องจ่ายลดลงไปกว่าครึ่งนึงเมื่อเทียบกับ 7.2 channels  แต่ถ้าเพิ่มงบประมาณได้ และต้องการลงทุนในระบบ Home Theater ให้ดีที่สุด เราแนะนำเลยว่าให้ใช้คู่หน้า RP-280F และซับวูฟเฟอร์คู่ R-115SW เท่านั้น แล้วคุณจะไม่ผิดหวังในคุณภาพเสียงและเงินที่ต้องจ่ายเพิ่มขึ้น

ในส่วนของการฟังเพลง 2 channel RP-280F เป็นอะไรที่คุ้มค่าคุ้มราคาที่สุดที่เราแนะนำ ยิ่งได้เล่น RP-280F ร่วมกับ Dual subwoofer R-115SW แล้วเป็นที่ต้องบอกเลยว่า อย่าประเมินค่าในเรื่องการฟังเพลงของลำโพง Klipsch ต่ำจนเกินไป นั่นอาจจะเป็น series ที่แล้วที่ฟังเพลงได้ไม่ดี แต่สำหรับซีรี่ย์ Reference Premier นี้มันเปลี่ยนไปแล้วครับ ทั้ง RP-280F, RP-160M ใช้ฟังเพลงได้ดีทั้งคู่ครับ

ส่วน RP-450C ลำโพงเซ็นเตอร์ที่ถูกออกแบบมาให้ทรงพลัง ให้เสียงกว้างใหญ่เพราะมีการจัดวางดอกลำโพงในแนวขวาง 4 ดอก รวมไปถึง RP-250S ที่ทำหน้าที่กระจายเสียงคลุมห้องได้ยอดเยี่ยม เมื่อเราตัดเซอราวด์หลัง RP-160M ออกไปให้เหลือ 5.1 channels เสียงก็ยังคงคลอบคลุมและโอบล้อมได้ดีอยู่ครับ
และลำโพงทั้งหมดที่ทำหน้าที่ได้ยอดเยี่ยม คุณภาพเสียง แนวเสียงแต่ละตัวทำงานร่วมกันได้สอดคล้องดี นี่เป็นเหตผลที่เราใช้เวลากับลำโพงชุดนี้ถึง 2 เดือนในการฟังแล้วฟังอีก ทดลองเอาตัวนู้นโยกเข้าโยกออก เล่นแผ่นต่างๆ  มันสนุก ฟังเพลินไม่ว่าจะเป็นการดูหนัง ฟังเพลง
หลังจากจบการรีวิว เป็น system ที่เราไม่อยากจะถอดออกจากระบบและห้องเราเลยครับ  ยอมรับเลยว่ายอมจริงๆกับชุดนี้ วันนี้ Klipsch ทำลำโพงซีรี่ย์ใหม่ได้ดีขึ้นในทุกๆด้าน ไม่ว่าจะในด้านการฟังเพลงหรือดูหนัง รวมถึงเสียงสูงที่เนียนละเอียด เร่งดังๆก็ไม่บาดหูเหมือนรุ่นก่อนแล้ว

Reference Premier เป็น System ที่แนะนำมากๆให้ลองฟังครับ



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 28, 2015, 09:53:58 pm โดย keamglad »

ออฟไลน์ keamglad

  • OLED TV member
  • *****
  • กระทู้: 3,720
  • https://www.facebook.com/whatthatsoundstore
    • ดูรายละเอียด
    • https://www.facebook.com/whatthatsoundstore
    • อีเมล์
KEF R50  Dolby Atmos-enabled speaker




ในช่วงสองสามปีที่ผ่านมาเรามีโอกาศได้เข้าไปดู ไปฟังระบบที่เป็น Dolby Atmos มาหลายที่ ไม่ว่าจะเป็นในโรงหนัง หรือในบ้าน โดยคอนเซปของ Dolby Atmos คือจะให้เสียงวัตถุต่างๆไม่ว่าจะเป็นฝน วัตถุที่อยู่เคลื่อนผ่านศรีษะผ่านทางลำโพงที่ถูกติดตั้งบนเพดานหรือฝ้า โดยผลลัพธ์ที่ได้คือจะสามารถสร้างบรรยากาศที่สมจริง รายรอบตัว และเหมือนกับเราเข้าไปอยู่ในสถานการณ์นั้นได้ดีกว่าระบบเสียงแบบปกติ  โดยคู่แข่งที่มีคอนเซปคล้ายๆกันก็เช่น Auro 3D, DTS:X



ในระบบเสียงตามบ้านทั่วๆไปนั้น  AVR รุ่นเรือธงสูงสุดที่มีขายกันทั่วๆไปไม่ว่าจะแบรนด์อะไรก็ตามมักจะจำกัดแชนแนลอยู่แค่ 11 channels ซึ่งนั่นแปลว่าเราสามารถจำลองเสียงเล่นได้ตั้งแต่ 5.1.2 (atmos 2 ตัว) ไปจนถึง 7.1.4 (atmos 4 ตัว) หรือ 9.1.2 (atmos 2 ตัว) โดยลำโพงแชนแนล Atmos จะสามารถเล่นได้ตั้งแต่ 2 - 4 ตัวเท่านั้นครับ

Dolby Atmos เต็มระบบนั้นจะอลังการงานสร้างและใช้ลำโพงมากกว่านี้เยอะ ยกตัวอย่างที่เห็นได้ชัดๆก็ในโรงหนัง  แต่เมื่อมาระบบเสียง Atmos นั้นมาสู่บ้านคน สิ่งที่ต้องเปลี่ยนก็คือต้องลดจำนวนลำโพงให้ง่ายและสะดวกต่อการติดตั้งให้เหมาะสมกับห้องของคนทั่วๆไปที่ไม่มีที่จะติดลำโพงได้เยอะเหมือนในโรงหนังและไม่สะดวกที่จะเอาลำโพงไปติดบนฝ้าเพดาน   ด้วยสาเหตุนี้ Dolby Atmos จึงร่วมมือกับบริษัทผลิตลำโพงต่างๆ (ในปัจจุบันก็มีหลายยี่ห้อหลายตัวไม่ว่าจะเป็น Kef, Onkyo, Pioneer, Klipsch และอีกหลายๆยี่ห้อ) เพื่อสร้างลำโพงที่ไม่ต้องติดเพดาน ไม่ต้องติดตั้งให้ยุ่งยาก เพราะข้อจำกัดตามบ้านไม่ว่าจะเป็นฝ้าต่างๆที่อาจไม่สามารถเดินสาย ไม่สามารถหาจุดติดตั้งลำโพงที่ดี ไม่สามารถติดตั้งลำโพงบนฝ้าได้ โดยทางออกคือสร้างลำโพงหนึ่งคู่ที่สามารถวางบนพื้นได้เหมือนลำโพงทั่วๆไป เสียบสายลำโพงและให้เสียง Dolby Atmos ได้เลย

โดยหากคุณมีบ้านที่สามารถแขวนลำโพง ceiling ได้จริงๆ ก็ใช้แบบลำโพงแขวนฝ้าจะดีกว่า  แต่ถ้าพื้นที่ไม่อำนวและมีเพดานที่สูงประมาณ 2.50 - 4.50 เมตร เป็นฝ้าเรียบเพดานเรียบ ไม่มีหลุม ไม่มีเพดานที่ลาดเอียงหรือฝ้าหลุม คุณสามารถใช้ลำโพงอีกแบบที่เราเรียกว่า Dolby Atmos-enabled speaker โดยลำโพงประเภทนี้ถูกตั้งชื่อแบบนี้เพราะมันจะใช้ประโยชน์จากการสะท้อนของเพดานหรือฝ้าด้านบนและสะท้อนกลับมาเข้าหูผู้ฟัง ให้เปรียบเสมือนแหล่งกำเนิดเสียงนั้นอยู่บนหัวเราจริงๆนั่นเองครับ

KEF Atmos 5.1.2
KEF R50 Dolby Atmos-enabled Speakers



มีหลายบริษัทเช่น Pioneer, Onkyo สร้างลำโพงคู่หน้าที่บิ้วอินลำโพง Dolby Atmos ในตัวไปเลยเช่น (Onkyo HT-S7705, 5508) แต่ KEF เสนอทางเลือกอื่น นั่นคือทำลำโพง Dolby Atmos แยกต่างหาก สามารถนำมาเสริมเพิ่มในระบบโดยวางเติมที่ตำแหน่งไหนก็ได้ เช่นวางบนลำโพงคู่หน้า โดยวิธีนี้จะสะดวกสบายกว่า เพราะไม่ต้องเปลี่ยนคู่หน้า สามารถถอดเข้าถอดออกลำโพง Dolby Atmos ได้ดั่งใจ ติดตั้งก็ง่ายไม่ต้องแขวนลำโพงบนเพดาน แค่เอาลำโพงไปวางบนลำโพงคู่หน้า ซึ่งเสียงจะถูกยิงขึ้นด้านบนและสะท้อนกลับมาเข้าหูผู้ฟังเปรียบเสมือนมีลำโพงอยู่บนเพดานจริงๆนั่นเอง

การติดตั้งลำโพง Dolby Atmos สามารถติดตั้งได้ทั้ง 5.1.4 หรือ 7.1.2 หรือ 7.1.4 ยกตัวอย่าง AVR รุ่นท๊อปของ onkyo รุ่น 3030 ก็สามารถรองรับและใช้งาน Dolby Atmos ได้ทันที



KEF R50 KEF R50 Specifications & Set Up



KEF R50 มีขายในเมืองไทยแล้วโดยสามารถดูรายละเอียดและราคาได้ที่นี่ http://www.whatthatsound.com/product/68/kef-r50
โดยสเปกของ R50 จะเป็นลำโพงแบบตู้ปิด ผิวลำโพงถูกประกอบอย่างปราณีตด้วยผิวสีดำเปียโน  นำหนักตัวอยู่ที่ 4.5 กิโลกรัมต่อข้าง ภายในติดตั้งดอกลำโพงด้วยเทคโนโลยีขั้นสูงเหมือนลำโพงใน R-series นั่นคือ Uni-Q driver โดยมีทวีตเตอร์ขนาด 1" ฝังอยู่ตรงกลางของดอกลำโพงขนาด 5.25" ที่ทำจาก aluminum woofer for mid and lower frequencies. At 90dB, KEF states the R50 has a <0.4% Total Harmonic Distortion. Produceable frequency range at -6dB is 96Hz - 19.5kHz.



ลำโพง R50 ถูกออกแบบให้วางบนลำโพง KEF R series ได้ตั้งแต่ R100 (บุ๊กเชลฟ์) ไปจนถึง R900 (ตั้งพื้น) โดยผิวลำโพง ตัวตู้และดีไซน์ทำมาเพื่อรับกับลำโพงในซีรี่ย์นี้โดยเฉพาะเลย ไม่ว่าจะเป็นตัวตู้ ดอกลำโพง และขั้วต่อสายลำโพงก็ล้วนใช้แต่ของคุณภาพสูงเหมือนลำโพงตัวอื่นๆในซีรี่ย์เดียวกันครับ
ในด้านการติดตั้ง R50 นั้นง่ายมากๆ แค่วางมันลงไปบนด้านบนของลำโพงคู่หน้า (ถ้าเล่น Atmos 2 channel) หรือวางบนลำโพงคู่หน้า และบนลำโพงเซอราวด์หลัง (ถ้าเล่น Atmos 4 channel) แล้วก็ต่อสายลำโพงตามปกติ โดย KEF แนะนำว่าลำโพงคู่หน้าควรตั้งห่างจากกำแพงไม่เกิน 2-2.5 เมตร

และในกรณีที่ถ้าเราใช้ลำโพงคู่หน้าและลำโพงแชนแนลอื่นๆที่ไม่ใช่ KEF R-seres จะทำยังไงดี ? หรือลำโพงบางตัวที่ด้านบนไม่สามารถวางได้เพราะด้านบนลำโพงมันไม่เรียบ เช่น KEF Q9 (ด้านบนลำโพงเป็นโค้งๆ)  ทางออกนั้นไม่ยากครับ ให้หาโฟมหรือบลูเทคก็ได้มารองที่ได้บนของลำโพงเพื่อทำเป็นพื้นที่วางลำโพง R50 (ตามรูป) แค่นี้ก็สามารถจัดวางลำโพง R50 ได้อย่างปลอดภัยแล้ว  ทีนี่ก็พร้อมที่จะไปลองเปิดเครื่องทดสอบเสียงกันเลยครับ (ในรูปเราจะต่อแบบ 7.1.2) ในห้องอพาร์ทเม้นต์ธรรมดาๆนี่แหละ





KEF R50 Dolby Atmos & Dolby Surround

ในระบบของเรานั้นจะใช้ AVR Onkyo TX-NR3030 ลำโพงในระบบใช้ KEF IQ9s, IQ6c, IQ1s และ IQ10s ใช้สายลำโพงแบบธรรมดาๆเท่าที่หาได้ (cheapass 18-gauge Radioshack wire)
ซึ่งจากระบบที่เราใช้นั้นต้องบอกว่าไม่ได้มีอะไรพิเศษที่จะฃ่วยให้เสียงดีขึ้นเลยไม่ว่าจะเป็นสายลำโพงหรือซิสเต็มอื่นๆ แต่ถึงอย่างนั้นเสียงที่ได้จาก R50 หลังจากเปิดลองดูก็ใช้ได้เลยทีเดียว จริงๆเป็นโชคดีก็ว่าได้ถึงแม้ลำโพงในระบบที่เราใช้จะไม่ใช่ KEF R-series แต่เป็นลำโพงคนละ series กัน (Q-series) แต่เสียงที่ได้ ไม่ว่าจะเป็นเสียงแหลม หรือโทนเสียงก็ไปด้วยกันได้ดีกับ R50 แบบเนียนและแยกไม่ออกเลยว่าตอนนี้เราใช้ลำโพง R50 แบบวางบนลำโพงคู่หน้า หรือใช้ลำโพงแบบแขวนเพดานจริงๆกันแน่ คือถ้าติดตั้งดีๆแล้วเสียงแยกไม่ออกจริงๆครับ  
เสียงจากระบบ 7.1.2 นั้นแตกต่างจากเดิมที่เป็น 7.1 ธรรมดามากจนไม่อยากกลับไปเล่นแบบเดิมอีกเลย  มันได้มิติ และรู้สึกเสียงเต็มและสมจริงขึ้นกว่าเดิมมาก
โดยเราเริ่มต้นลองจากแผ่น Dolby Atmos Demonstration ก่อนเป็นอันดับแรก (แผ่นไม่ได้มีวางขายทั่วไป แต่หาดูได้ตามร้านเครื่องเสียง) ภาพและเสียงที่ได้นั้นสุดยอด ตื่นตาตื่นใจและโชว์ประสิทธิภาพเสียง Dolby Atmos เต็มที่ เพราะ content ในแผ่นนั้นคัดมาแล้วให้โชว์เสียงที่เน้น Dolby Atmos จริง โดยความรู้สึกเรารู้สึกว่าเสียงจากแชนแนลด้านบน และทุกๆแชนแนลมันเต็มและโอบล้อมตัวและจุดที่เรานั่งฟังอย่างพอเหมาะพอเจาะ ไม่ว่าจะเป็นเสียงอะไรก็ตามที่บินในตำแหน่งเหนือหัวเราไป โดยเฉพาะที่เราชอบที่สุดก็เป็น MV ของ Enrique Iglesias Baliando ที่มิกซ์เสียงแบบ Dolby Atmos โชว์เสียงและทิศทางของเสียงที่แพนไปรอบห้อง รอบทิศทางได้แบบน่าทึ่งและชัดเจนจนน่าขนลุก



หลังจากลองแผ่น Demo กันจนหนำใจแล้ว เราก็มาลองต่อด้วย Blu-ray เรื่อง Transformers: Age if Extinction, Gravity, John Wick, The Hunger Game Mockingjay part1, American Sniper และตบท้ายด้วย Jupiter Ascending แต่ละเรื่องที่เอามาลองนั้นเป็นหนังที่มีการมิกซ์เสียง Dolby Atmos มาแบบดีไปจนถึงดีมากทุกเรื่อง โดยเฉพาะเรื่อง American Sniper ที่มีการให้เสียงในแชนแนล height ที่ชัดเจน
ซึ่งคุณภาพเสียง Dolby Atmos ในแต่ละเรื่องก็จะแตกต่างกันไปตามคุณภาพและต้นฉบับของหนังที่มิกซ์มาแตกต่างกัน  แต่เรื่องที่เราต้องยกให้เป็นสุดยอดของระบบเสียง Dolby Atmos ก็คงเป็นเรื่อง Gravity ที่ให้เสียงรอบตัว ด้านบนได้สมจริง มีน้ำหนักและแพนรอบตัวได้แบบดีเยี่ยมเมื่อเทียบกับเรื่องอื่นๆเช่น John wick, The Hunger game ซึ่งก็ไม่ได้แย่ แต่เมื่อมาเทียบกับ Gravity ที่ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของบทหนังที่เอื้อให้มีฉากและวัตถุ เสียงต่างๆที่เล่นกับเสียงในระบบ Dolby Atmos ได้ดีกว่า

Dolby Atmos Speaker จะทำงานได้ดีนั้นจะต้องมีเรื่องที่ต้องพิจารณาก็คือระบบเสียงด้วย  โดย AVR ที่นำมาใช้จะต้องสามารถถอดรหัสเสียง Dolby Atmos หรือ DTS NeoX ได้ โดยเมื่อเรานำแผ่น bluray ที่เป็นระบบเสียง 5.1 หรือ 7.1 มาเล่นกับ AVR ที่รองรับระบบเสียงดังกล่าว และติดตั้งลำโพง Dolby Atmos เข้าไปในระบบเราแล้ว AVR จะทำการจำลองและปรับระบบเสียงให้เป็น Dolby Atmos หรือ DTS NEOX ให้  ซึ่งตรงนี้เองที่ระบบเสียงแบบปกติ 5.1, 7.1 ไม่สามารถสู้ระบบเสียง Dolby Atmos ได้ในแง่ของบรรยากาศ การโอบล้อมรอบตัวที่ dolby atmos จะทำได้สมจริงและดีกว่ามาก เช่นในฉากฝนตก เราก้จะรู้สึกเสียงของเม็ดฝนและบรรยากาศเหมือนเสียงฝนและหยดน้ำนั้นตกโปรยปรายลงมาจากที่สูงจริงๆ  และถ้าได้ดูฉากที่เป็นสนามกีฬาเช่นสนามฟุตบอล เบสบอล จะยิ่งรู้สึกถึงความแตกต่างเหมือนกับเราไปยืนอยู่กลางสนามจริงๆ ไม่ว่าจะเป็นเสียงบรรยากาศ เสียงผู้คนจากบนที่นั่ง เสียงบรรยากาศรอบๆต่างๆที่ dolby Atmos จำลองมาสมจริงมากๆครับ

ที่นี่พูดแต่ข้อดีไปแล้ว ก็มาดูข้อด้อยของ KEF R50 กันบ้าง  ข้อเสียก็คือลำโพง Dolby Atmos แบบที่เป็นยิงเสียงขึ้นข้างบนนั้น จะไม่สามารถทำงานได้เต็มที่ 100% โดยลำโพงแบบนี้จะมีข้อจำกัดอยู่ตรงที่เพดานหรือฝ้านั่นเองครับ คือถ้าพื้นที่ห้องของเรานั้นเป็นฝ้าหรือเพดานแบบเรียบๆไม่มีสิ่งหรือวัคถุใดๆมาขวาง ไม่มีหลุม ไม่มีสโลปลาดเอียง เพดานไม่สูงจนเกินไป ลำโพง Atmos แบบนี้จะทำงานได้ดีมากๆครับ  แต่เมื่อใดก็ตามที่ฝ้าเราไม่เป็นไปอย่างที่กล่าวมา โอกาศที่การสะท้อนของเสียงจะไม่ถูกต้องและเสียงที่ได้ก็จะไม่ได้บรรยากาศมากจากด้านบนอย่างที่ควรจะเป็นครับ   หรือบางทีก็ทำให้เสียงจากลำโพงหน้าเราดูสูง ลอย ฟุ้งตามไปด้วยก็มีเหมือนกัน  
โดยวันนี้เราได้ลองแค่ 7.1.2 โดยเราคาดว่าถ้าได้มีโอกาศลองเล่นแบบเต็มระบบ 7.1.4 เสียงที่ได้น่าจะเต็มห้องและโอบล้อม ได้บรรยากาศที่ดีกว่านี้ครับ

ข้อดี KEF R50

    ออกแบบสวยงาม หรูหรา ตัวตู้สวยและลงตัวเข้ากับลำโพงตัวอื่นๆและเฟอร์นิเจอร์ได้ดี
    งานประกอบดีเยี่ยม ไร้ที่ติ
    เสียงเยี่ยม และทำงานเข้ากับลำโพงอื่นๆได้ดีแม้ว่าลำโพงคู่หน้าและแชนแนลอื่นจะเป็นลำโพงที่ซีรี่ย์กว่า และสายลำโพงก็ใช้แบบราคาถูก เสียงที่ได้ก็ยังน่าประทับใจ

KEF R50 ข้อเสีย

    ราคาแรงไปนิด ราคาซื้อลำโพงแขวนฝ้าดีๆได้สองสามคู่ได้เลยเมื่อเทียบกับกับ R50 คู่เดียว
    บางทีเสียง 7.1.2 ก็ขาดๆเกินๆ (อาจเป็นเพราะสภาพห้องแต่ละห้อง และหนังที่บันทึกมา)



KEF R50 Conclusion

KEF R50 Dolby Atmos-enabled Speakers คือตัวเลือกที่ดีสำหรับคนที่ต้องการเติมเต็มระบบเสียงในระบบให้เป็น Dolby Atmos แต่ไม่สามารถติดตั้งลำโพงแบบแขวนฝ้าได้จริงๆ ถึงแม้ R50 จะดีไซน์ให้เข้าชุดกับ KEF R-series โดยเฉพาะลำโพงคู่หน้ารุ่นท๊อปอย่าง KEF R900 แต่ R50 ก็เข้ากับลำโพงอื่นๆได้ไม่ยาก โดยในการเทสครั้งนี้เราลองใช้กับ KEF IQ series (รุ่นเก่า รุ่นใหม่จะเป็น Q Series แทน) เสียงที่ได้ก็เข้ากันได้ดีเยี่ยมและไม่รู้สึกว่าเสียงสะดุดหรือมีไม่เนียนแต่อย่างใด
ซึ่งเราอยากแนะนำเลยนะครับ สำหรับใครที่ใช้ลำโพง KEF อยู่แล้ว หรือแพลนกำลังจะซื้อลำโพงของ KEF มาใช้ แล้วอยากได้ระบบเสียงแบบ Dolby Atmos จะบอกว่า KEF R50 เป็นลำโพง Dolby Atmos-enabled Speaker ที่น่าสนใจและเสียงดีมากๆ สามารถเข้ากับลำโพง KEF ได้เป้นอย่างดี  
ให้ดีที่สุดเราแนะนำ KEF R50 สองคู่เล่นเป็น 7.1.4 เสียงจะดีและได้บรรยากาศของ Dolby Atmos แบบเต็มๆกว่า 7.1.2 หรือ 5.1.2 ครับ

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 30, 2015, 06:29:26 am โดย keamglad »

ออฟไลน์ keamglad

  • OLED TV member
  • *****
  • กระทู้: 3,720
  • https://www.facebook.com/whatthatsoundstore
    • ดูรายละเอียด
    • https://www.facebook.com/whatthatsoundstore
    • อีเมล์

Review Home Theater - Klipsch Reference Premier จาก CNET.com



หลังจากที่เมืองไทยมีการเปิดตัว Klipsch Reference Premier อย่างเป็นทางการกับสื่อมวลชนไปเป็นที่เรียบร้อยแล้วนั้น ตอนนี้ที่เมืองนอก ก็เริ่มมีรีวิว Klipsch Reference Premier ทยอยออกกันมาให้อ่านเรื่อยๆแล้วนะครับตั้งแต่ AVSforum จนตอนนี้ก็มีเว็บไซต์ชื่อดังอีกแห่งเข็นรีวิวออกมาอีกแล้ว นั่นคือ Cnet.com

ก็เช่นเคยครับไปดูฝั่ง Cnet.com กันว่าเค้าจะว่ายังไงกับรีวิวชุดดูหนังรุ่นเล็กสุด (bookshelf) เอาใจคนที่ห้องขนาดไม่ใหญ่และงบไม่มากกันดูครับ โดยเราบอกไว้เลยว่างานนี้ CNET เค้าจับเอา Reference Premier รุ่นเล็กสุดไปเทียบกับลำโพงขึ้นชื่ออย่าง Pioneer Elite Andrew John ด้วยนะครับ



ซึ่งงานนี้ได้คะแนนเฉลี่ยไปทั้งสิ้น 8 คะแนน เต็ม 10
โดยคะแนนทุกด้านของ Reference Premier ชุดเล็กนี้ได้ 8 คะแนนหมดไม่ว่าจะเป็น Design, Feature, Sound Quality, Value
เราแปลและเรียบเรียงเป็นภาษาไทยให้อ่านง่ายๆแล้วครับ ตามไปอ่านกันได้เลย หรือใครอยากอ่านต้นฉบับก็ดูได้ตามลิ้งค์ครับ


===========================================

รีวิวต้นฉบับภาษาอังกฤษ: http://www.cnet.com/products/klipsch-reference-premiere-rp-160-home-theater-system/?utm_campaign=Feed%3A+cnet%2FYIff+%28CNET+Latest+Reviews%29&utm_medium=feed&utm_source=feedburner

รีวิวฉบับภาษาไทยในรูปแบบเว็บไซต์: http://www.lcdtvthailand.com/webboard/index.php?topic=86353.msg776723#msg776723

===========================================

Klipsch Reference Premiere RP-160 Home Theater System



The Good:
- จุดเด่นของ Klipsch Reference Premiere คือเทคโนโลยีฮอร์นโหลด (horn-loaded titanium tweeters) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีเฉพาะของ Klipsch

- ลำโพงทุกตัวในซีรี่ย์ Reference Premier มีความไว (Sensitivity) ที่ไม่ธรรมดา เรียกได้ว่าสูงที่สุดในบรรดาลำโพงบ้านในท้องตลาดก็ว่าได้ สูงจนเกือบไปเท่าลำโพง PA กันเลย
ค่า Sensitivity มากแปลว่าอะไรครับ นั่นก็คือยิ่งค่านี้มาก เราก็ไม่เปลือแอมป์ สามารถลดกำลังแอมป์ที่จะใช้ลงได้ เราสามารถใช้แอมป์กำลังต่ำๆมาขับลำโพงชุดนี้ให้ดังได้ดี เมื่อเทียบกับลำโพงยี่ห้ออื่นที่ค่านี้ต่ำๆ ที่ระดับ Volume เดียวกัน ลำโพง Klipsch จะให้เสียงดีังกว่าเสมอ โดยไปต้องนั่งเร่งแอมป์หรือจ่ายเงินไปกับ power / pre ให้เปลืองเงินนั่นเอง (ดังแล้วเสียงดีมั๊ยเดี๋ยวมาดูในหัวข้อถัดๆไปครับ)

The Bad:
1. รูปร่างหน้าตาของลำโพงแต่ละตัวนั่นมีขนาดและดีไซน์ที่ใหญ่กว่าลำโพงคู่แข่ง และดีไซน์ที่ดูทึมๆ ทึบๆ (สีดำทั้งตู้นั่นเอง) เมื่อเทียบกับคู๋แข่งทีลุคอาจจะนุ่มนวลกว่า และตัวเล็กกว่า

2. ราคาของลำโพง Surround ในซีรี่ย์ Reference PRemier ที่เป็นแบบไบโพลนั่นราคาค่อยข้างแพงและไม่สมดุลกับลำโพงตัวอื่นๆ ในระบบ (เนื่องจากลำโพงในชุดที่ทดสอบนี้ใช้คู่หน้าเป็นบุ๊กเชลฟ์ RP-160M ซึ่งราคาถูกกว่าลำโพงเซอราวด์ RP-250S ซะอีก แต่ถ้าเอาคู่หน้าเป็นตั้งพื้น ราคาเซอราวด์ก็ถือว่าไม่แพงเกินกว่าคู่หน้าครับ แต่ราคาก็ถือว่าสูงอยู่ดี ทางเลือกในบ้านเราที่พื้นที่หน้ากว้างห้องไม่ใหญ่นักก็อาจใช้ลำโพงบุ๊กเชลฟ์มาทำเป็นเซอราวด์แทนได้ครับ ประหยัดกว่า)






บทสรุป (The Bottom Line)

ลำโพง Klipsch Reference Premiere และซับวูฟเฟอร์ มีศักยภาพที่สามารถถ่ายทอดพลังเสียงในการดูหนังได้อย่างเต็มที่
โดยเฉพาะอย่างยิ่งจุดเด่นของลำโพงชุดนี้ก็คือ พละกำลัง (Power) และ ไดนามิค (Dynamic) ที่ทำได้อย่างน่าประทับใจเมื่อเทียบกับคู่แข่ง และนอกเหนือจากนั้นในการรับฟังเพลงก็ทำได้ดีเช่นกัน
ดังนั้นลำโพงชุดนี้ยังเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับคนที่หาลำโพงสำหรับดูหนัง ชอบดูหนัง action, หนังสงครามหรือหนังที่มี impact เสียงเบสหนักแน่น และรายละเอียดจัดจ้านครับ

คะแนนโดยรวม8.0 (Overall)

- Design: 8.0
- Features: 8.0
- Sound quality: 8.0
- Value: 8.0







ภายใต้ชื่อของ Klipsch ผู้ผลิตลำโพงสัญชาติอเมริกันรายใหญ่ที่สร้างชื่อเสียงมากจาก Home Theater วันนี้ Klipsch ปล่อยลำโพงซีรี่ย์ใหม่ล่าสุดในชื่อของ Reference Premiere

ในซีรี่ย์ใหม่นี้ Klipsch ออกแบบตัวตู้ รวมไปถึงหน้าตาซะใหม่หมดจดเลยทีเดียว นับตั้งแต่ veneer ปิดผิวแบบใหม่ ตัวตู้ลำโพง หน้ากาก และรวมไปถึง Tweeter Horn ซึ่งถือเป็นจุดขายของ Klipsch เองก็ได้รับการออกแบบฮอร์นใหม่ด้วยนะครับ ภาพลักษณ์ใหม่นั้นดูเด่น สะดุดตามากขึ้นเมื่อเทียบกับซีรี่ย์เก่าอย่าง Reference II ซึ่งเราเคยรีวิวและพบว่าจุดเด่นของซีรี่ย์ก่อนที่ทำให้เราตกหลุมรักลำโพง Klipsch ก็คือไดนามิค และเสียงเบส แต่อย่างไรก็ตามนะครับ ในซีรี่ย์ที่แล้วถึงจะมีข้อดี แต่ก็มีข้อเสียคือในบางระบบนั้นเสียงจะจัดไปและขาดความนุ่มนวล โดยเฉพาะกับดนตรีประเภท classical music ซึ่งถือว่าสอบตกอย่างสิ้นเชิงครับ
ทำให้ซีรี่ย์ก่อนนั้นลำโพง Klipsch ไม่นิยมนำไปใช้ฟังเพลงสำหรับคอ Audiophile ครับ
มาวันนี้นะครับ Reference Premiers ที่เราจะรีวิวทั้งระบบจะประกอบไปด้วย

- Klipsch RP-160M
- Klipsch RP-250C
- Klipsch RP-250S
- Klipsch R110SW










ราคารวมทั้งระบบประมาณ $2,599 หรือประมาณ 8-9 หมื่นบาท จะเห็นว่าราคานั่นไม่ค่อยเป็นมิตรกับคนเบี้ยน้อยหอยน้อยเท่าไรนักนะครับ แต่เมื่อพิจารณาราคาที่จ่ายไปกับสิ่งที่่ได้มาหลังจากเรารีวิวชุดนี้แล้ว เราก็พบว่าไม่ว่าคุณจะมองหาระบบสำหรับ Audiophile หรือระบบสำหรับ Home Theater ที่ให้กำลังเสียงหนักหน่วงแบบถล่มภูเขาเผากระท่อม ชุดนี้ทำได้ไม่เลวเลยครับ
หากคุณต้องการแค่ระบบ Stereo 2 channels เพื่อมาใช้ฟังเพลงในห้องนั้น ตัวลำโพง RP-160M ดอกวูฟเฟอร์ 6.5 นิ้วนี่ถือว่าทำได้คุ้มราคาสมค่าตัวของมันครับด้วยราคา $600 หรือ 2 หมื่นกว่าบาท





Design and features
การออกแบบของลำโพงในซีรี่ย์นี้ยังคงยืนหยัดอยู่กับธีมคอนเซป สีดำ และดอกลำโพงสีทองแดง แต่มีการปรับปรุงตัวตู้และผิวลำโพงใหม่ให้มันดูทันสมัย และลดการใช้พลาสติกแบบรุ่นเก่าลงครับ

หากเคยใช้ลำโพง Klipsch มาก่อนนะครับ คงทราบดีว่าจุดเด่นสำคัญของเค้าก็คือ Tractrix Klipsch horn ในซีรี่ย์นี้ก็ยังคงจุดเด่นเช่นเดิมครับเพียงแต่ได้รับการออกแบบและปรับปรุงตู้ฮอร์นใหม่ให้ดีกว่าเดิม
โดยดอกลำโพงทวีตเตอร์เสียงแหลมที่ถูกบรรจุอยู่ในตู้ฮอร์นนั้นใช้วัสดุแบบ Titanium "LTS" (Linear Travel Suspension) ขนาด 1 นิ้ว โดยออกแบบตู้ฮอร์นใหม่ให้เสียงดีขึ้นและลดความหยาบของเสียงที่กัดหูลงครับ

เมื่อมาพิจารณาที่ตู้ลำโพง RP-160 นั้น เราบอกตรงๆว่าตอนแรกไม่คิดว่าลำโพงบุ๊กเชลฟ์จะมีขนาดใหญ่ได้ขนาดนี้
กับขนาดดอกลำโพง cerametallic ขนาด 6.5 นิ้วที่ถูกติดตั้งอยู่ในตู้นั้นต้องบอกเลยว่า ขาตั้งลำโพงที่เรามีนั้นเกือบจะวางไม่พอครับ
แต่ถึงขนาดจะใหญ่ไปสักนิด แต่ขนาดของดอกลำโพง cerametallic 6.5 นิ้วที่ติดตั้งไว้นี่คือหัวใจสำคัญเลยครับที่ทำให้ลำโพงตัวนี้ให้เสียงเบสได้มีไดนามิคและมีอิมแพค
โดย RP-160M ตัวนี้เคลมความถี่ที่สามารถตอบสนองได้เอาไว้ที่
45Hz to 25kHz (+/- 3dB).
จะเห็นได้เลยว่าในระบบที่เรากำลังทดสอบนี้ RP-160M เป็นพระเอกของงานไม่ว่าจะดูหนังหรือฟังเพลง

แต่มาลองมองลำโพงแชนแนลอื่นในระบบกันดู ก็จะประกอบไปด้วย RP-250C ลำโพงเซ็นเตอร์ขนาดเล็กสุดในซีรี่ย์ Reference Premier ราคา 450$ หรือประมาณ 16,000-18,000 บาท
RP-250C มีขนาดกระทัดรัดมากครับ ด้วยขนาดไม่ใหญ่มากทำให้สามารถติดตั้งในห้องที่มีพื้นที่จำกัดได้ดี ไม่ว่าจะเป็นชั้นวางทีวีเล็กๆ หรือใครจะเอาไปไว้ในคอนโด ห้องนอน หรือวางซ่อนก็สะดวกดีครับ โดย RP-250C ใช้ดอกลำโพง Cerametallic ขนาด 5.25 นิ้วสองดอก และใช้ดอกทวีตเตอร์เสียงแหลมหนึ่งดอก

และลำโพงเซอราวด์ที่ค่อนข้างแพงไปนิดสำหรับเรา (แพงกว่าคู่หน้า) นั่นคือ RP-250S สนนราคาอยู่ที่ 900$ ต่อคู่หรือประมาณ 31,000-33,000 บาท ตัวนี้ใช้ดอกลำโพง 5.25 นิ้วสองดอก และดอกทีวตเตอร์เสียงแหลมสองดอก หันหน้ายิงเสียงออกจากกันเติมเต็มเสียงเซอราวด์ในระบบ Home Theater ให้ทั่วห้องได้ดีกว่าลำโพงบุ๊กเชลฟ์ทั่วๆไป แต่สำหรับใครที่งบจำกัด ก็สามารถเอาบุ๊กเชลฟ์ RP-150M มาใช้แทนได้ครับ

และสุดท้ายที่จะขาดไปไม่ได้ที่จะมาเติมเต็มเสียงต่ำในระบบ Home Theater ให้สนุกนั่นคือ ซับวูฟเฟอร์อย่าง Klipsch R-110SW สนนราคาอยู่ที่ $649
โดย R-110SW subwoofer มีกำลังขับที่ 450-watt (Peak) ใช้ดอกวูฟเฟอร์เสียงเบสขนาดเล็ก 10 นิ้ว cerametallic woofer
โดยซับวูฟเฟอร์นี้ขนาดใหญ่ที่สุดในระบบที่รีวิวชุดนีัแล้ว โดยมีน้ำหนักประุมาณ 39 ปอนด์ 18 กิโล








Setup


การเซ็ทอัพนั้นเราจัดวางลำโพงและใช้ AVR Marantz NR1605 ก็เพียงพอต่อความต้องการของลำโพงแล้ว
เราใช้วิธีจูนเสียงโดยการ manual โดยตั้งลำโพงคู่หน้าเป็น "small" ตั้งค่าความถี่ซับวุฟเฟอร์และคู่หน้าที่ 60Hz และตั้ง 80Hz สำหรับลำโพงเซ็นเตอร์และเซอราวด์

หลังจากทดลองฟังเสียง คำเดียวที่เรานึกออกก็คือ "Powerful" หรือทรงพลังนั่นเอง
คำกล่าวนี้อธิบายความเป็นตัวตนของลำโพง Klipsch Reference Premier ได้ดีที่สุดแล้ว
เสียงทีไ่ด้นั้นมาเต็ม และไม่ได้ดูต้องเค้น หรือต้องเร่งแอมป์ให้เสียงดังเหมือนระบบอื่นๆที่เราเคยเจอเช่น เสียงเซ็นเตอร์เบาบ้าง เสียงระเบิดค่อย นุ่มไม่มีอิมแพคบ้าง ตัวนี้ไม่มีปัญหาเหล่านี้เลยครับ และยิ่งเราเร่ง volume เข้าไปมากเท่าใด เสียงก็ก็ยิ่งทวีความหนักหน่วงและสนุกมากขึ้นเท่านั้นโดยไม่มีทีท่าของความเพี้ยนหรือความเบลอบวมเอาไม่อยู่ของเสียงเบสและรายละเอียดเสียงแหลมแต่อย่างใด



ลองฟัง Klipsch Reference Premier VS Pioneer Elite Andrew Jones

เราเริ่มทดสอบโดยเปิดเพลง "heartbeat" ของ "Elektro Kardiogramm" จากอัลบั้ม "Tour de France"
เบสที่ได้ให้อารมแบบเป็นลูก กระชับ เหมือนประเหนึ่งเป็นลูกเหล็กลูกเล็กๆกระแทกไปตามจังหวะดนตรี ด้วยอาณิสงค์ของ RP-160M และ R-110SW ช่วงหลังเราลองปิดซับ ให้ RP-160M นั้นทำงานเป้นคู่หน้าอย่างเดียวโดยไม่พึ่งเสียงต่ำจากซับวูฟเฟอร์ เราก็ยังพบว่าเพลง heartbeats นั้นยังคงหนักแน่นและเร้าใจอยู่ดีครับ
จุดเด่นที่เรายอมรับอย่างนึงจากชุดนี้นะครับคือเสียงเบสที่ได้นั้นค่อนข้างกระชับ หนักแน่น เร้าใจ และฟังสนุกมากครับเมื่อเทียบกับลำโพงบุ๊กเชลฟ์ยี่ห้ออื่นในระดับเดียวกัน

เราลองเปลี่ยนเพลงมาเล่นคอนเสิรต์ของ Steven Wilson's เพลง "Hand.Cannot.Erase." เพลงนี้เป็นแบบความละเอียดสูงและเล่นจากแผ่นบลูเรย์ ซึ่ง Wilson ไม่ใช่แค่สุดยอดนักดนตรี แต่เค้ายังเป็นนักเรียบเรียงและ mix รายละเอียดและเสียงเพลงของเค้าเองได้เยี่ยมด้วย เมื่อเราเอาบทเพลงเหล่านี้มาเล่นผ่านลำโพง Reference Premiere นั้นเรารุ้สึกเลยว่าลำโพงนั้นล่องหนและเหมือนเราไปยืนอยู่ท่ามกลางวงดนตรีนั้นจริงๆ

เวทีเสียงที่ได้นั้นเหมือนเราไปยืนอยู่ขอบเวที และเสียงนักร้องและเครื่องดนตรีต่างๆนั้นเหมือนอยู่ในตำแหน่งที่สูงกว่าหัวเรานิดหน่อย
ความรู้สึกแยกแยะตำแหน่งของดนตรีแบบนี้นั้น เรารู้สึกได้ว่าใกล้เคียงเหมือนกับที่เราได้เคยทดสอบจากระบบ Dolby Atmos 7.1 และ 9.1 Channels แต่คราวนี้จากการบันทึกเสียงดนตรีที่ยอดเยี่ยมจากแผ่นบลูเรย์ และลำโพงทั้ง 5.1 ตัวที่ถ่ายทอดออกมาโดยปราศจากลำโพงแชนแนลเพดาน แต่เราก็ยังได้ยินและได้บรรยากาศคล้ายๆกับเสียงนั้นถูกบรรเลงมาจากบนเวทีครับ
โดยเรายกเครดิตในบรรยากาศของเสียงดังกล่าวให้ไปที่ลำโพงไบโพล RP-250S ที่จัดวางดอกลำโพงแบบรูปตัว V และกระจายเสียงออกไปทั่วทั้งห้อง ทำให้ได้บรรยากาศที่สมจริงกว่าครับ
เพลงที่เราเล่น "Hand.Cannot.Erase." มีช่วงจังหวะที่ดนตรีโหมขึ้นลงที่ค่อนข้างมาก จากเงียบไปดัง และจากดังลงมาเงียบ แต่ลำโพงทั้ง 5.1 ตัวของ Reference Premier ก็ทำหน้าที่ได้ดีและสมกับคุณภาพของแผ่นที่บันทึกมาเป็นอย่างดีครับ

แผ่นบลูเรย์แผ่นนี้มิกซ์มาแบบให้เสียงนักร้องนำมาออกที่ลำโพงเซ็นเตอร์ เพราะฉะนั้นไม่ว่าเราจะนั่งเยื้องไปทางซ้าย หรือขวาของห้อง เราก็จะยังรู้สึกเหมือนกับว่านักร้องมายืนร้องเพลงให้เราฟังที่กึ่งกลางห้องอยู่ดีครับ
Klipsch RP-250C ลำโพงเซ็นเตอร์ที่เราใช้นั้นให้เสียงร้องที่ยอดเยี่ยม มีเนื้อมีหนัง ใส และชัดถ้อยชัดคำมากๆตัวนึงที่เราเคยฟังลำโพงเซ็นเตอร์ในท้องตลาดมา
แต่เราลองเปรียบเทียบโดยถอด RP-250C ออกและเอาลำโพงเซ็นเตอร์ตัวใหม่อย่าง Pioneer Elite SP-EC73 Andrew Jones เข้ามาแทน ต้องบอกตรงๆว่าเสียงที่ได้นั้น RP-250C เสียงจะใส ชัดเจนแต่บางกว่า ส่วน SP-EC73 จะมีเนื้อมีหนังและเสียงพูดหนากว่า เสียงจะออกแนวเปิดและเป็นธรรมชาติฟังง่ายกว่า
ก็นับว่ายกแรกระหว่างลำโพง Klipsch RP-250C กับ Pioneer Elite SP-EC73 Andrew Jones Center นั้น Klipsch แพ้ไปนะครับ

มาที่ยกสองกันบ้าง เราลองเทียบลำโพง RP-160M กับ Pioneer Elite SP-EBS73-LR Andrew Jones bookshelf speakers ดูบ้าง เราพบว่าทั้งการดูหนังและฟังเพลงนั้น Klipsch RP-160M ทำได้ดีกว่ามากในแง่ของไดนามิคของเสียง อิมแพค ที่ดูมีชีวิตชีวาและฟังสนุก กระแทกกระทั้นกว่า Pioneer Elite SP-EBS73-LR
แต่มองในอีกแง่มุมนึงนะครับ Pioneer Elite SP-EBS73-LR มีความโปร่ง และติดบางมากกว่า ซึ่งบางคนที่ชอบฟังอะไรใส่ๆ อคูสติก กรุ๊งกริ๊งๆ ก็อาจจะชอบแนวนี้ก็ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการฟังเพลง Hi-Res อย่างไฟล์เพลงนามสกุล FLAC อย่างเพลง Wilco's "Yankee Hotel Foxtrot" ที่เราจะได้ยินรายละเอียด ความใสของเครื่องดนตรีอย่างเพอร์คัสชั่น และเสียงเปียโนจากลำโพง Pioneer Elite SP-EBS73-LR มากกว่า
ส่วน RP-160M นั้นดีเทล รายละเอียดเหล่านี้อาจจะถูกไดนามิคและเนื้อเสียงที่หนากว่าบดบังไปบ้างครับ
แต่โดยสรุปนะครับ ทีมงานทดสอบเราก็ชอบและเลือก RP-160M มากกว่า Pioneer Elite SP-EBS73-LR





ทีนี้มาดูลองเทียบระบบ 5.1 ที่ได้จากการรับชมคอนเสิรต์โดยเทียบกับลำโพงอย่าง Pioneer Elite Andrew John กันบ้างนะครับ
โดยทั้ง Pioneer และ Klipsch ต่างก็ยอดเยี่ยมด้วยกันทั้งคู่ สองตัวนี้ศักยภาพพอๆกันไม่ได้ทิ้งกันแต่อย่างใดครับ

แต่อย่างไรก็ดีก็มีความแตกต่างเล็กน้อยตรงที่ลำโพง Klipsch แนวเสียงและกลิ่นอายของเสียงจะออกไปทางแนว Rock หรือดิบๆ แนวเสียงดุดันๆมากกว่า ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของลำโพง Klipsch อยู่แล้วครับ
แต่กลับกัน ลำโพงของ Pioneer Elite นั้นจะให้เสียงที่ดูราบเรียบและดูเป็นธรรมชาติ ฟังง่ายๆ สบายๆ ใสๆ มากกว่าครับ

แต่ตัวลำโพง Pioneer เองแม้จะตัวเล็กกว่า แต่ก็ขับยากกว่า และต้องการกำลังแอมป์มากกว่าลำโพง Klipsch
โดยในการทดสอบนั้นเราเร่ง Volume ที่ระดับเดียวกัน แต่ลำโพง Pioneer เสียงจะค่อยกว่าระดับนึงเลยทีเดียว (เป็นเพราะค่า Sensitivity ของ Klipsch ที่สูงกว่ามาก)
AVR Marantz NR1605 ที่เราใช้นั้น เมื่อต่อกับลำโพง Pioneer Elite ก็ต้องเร่ง Volume สูงกว่าปกติที่ใช้กับ Klipsch จึงจะได้เสียงที่ระดับเดียวกันครับ




เราเริ่มรับชมภาพยนตร์ด้วยหนังคลาสสิคอย่าง "Saw"
ที่คนแปลกหน้าสองคนมาพบกัน และต้องโดนไล่ล่าและทรมานจากฆาตรกรโรคจิต
ต้องบอกไว้เลยว่าลำโพง Klipsch Reference Premiere ทั้งชุดนี้ดึงเราเข้าไปบรรยากาศของความน่ากลัว ความสยอง และหดหู่ของห้องทรมาน บรรยากศนักโทษถูกผูกไว้กับโซ่ ถูกทรมาน
เรายอมรับจริงๆว่าที่การดูภาพยนตร์
ลำโพงทั้งหมดถ่ายทอดเสียงและบรรยากาศได้ดีโดยเฉพาะ R-110SW ซับวูฟเฟอร์ที่ทำงานหนักกว่าใคร เพราะต้องส่งความถี่ต่ำเพื่อคลุมบรรยากาศห้องให้ดูสมกับเป็นหนังสยองขวัญและดูน่ากลัวเกือบตลอดทั้งเรื่องครับ
เสียงเบสของ R-110SW นั้นทำงานได้ดีครับ สามารถแผ่ความถี่ต่ำได้ต่อเนื่องไม่มีสะดุดและรู้สึกบวมเบลอ ที่สำคัญเสียงเบสนั้นล่องหน และไม่สามารถระบุตัวตนของซับวูฟเฟอร์ได้ นับเป็นข้อดีอีกข้อนึงที่เราชอบครับ



และก็สรุปส่งท้ายนะครับระหว่างลำโพง Klipsch Reference Premier กับลำโพง Pioneer Elite Andrew John บทสรุปที่เราได้นั้นคือ Pioneer Elite จะมีความโปร่ง บาง และใส เสียงออกแนวเป็นธรรมชาติกว่า
ส่วน Reference Premier เสียงจะ Rock เบสหนัก และขึงขัง ให้เสียงออกแนวดุดันมีพละกำลัง จริงจังมากกว่า เหมาะกับการรับชมภาพยนตร์มากกว่าครับ ในด้านการฟังเพลงหรือคอนเสริต์นั้น Klipsch ก็ยังทำได้ดี แต่ก็อาจจะทำได้ดีเป็นพิเศษสำหรับแนวเพลงที่มีจังหวะและมี Impact dynamic มากๆครับ

สุดท้ายนี้ Klipsch Reference Premier เมื่อจับคู่กับซับวูฟเฟอร์อย่าง R110SW นั้นสร้างความประทับใจให้เราได้มากครับ ถ้าได้ลองฟังเราเชื่อนะครับว่า ใครที่ชอบและรักการดูหนัง จะต้องชอบและหยุดฟังแน่นอน เพราะเสียงที่ได้จากลำโพงรุ่นเล็กสุดของ Reference Premier นั้นทั้งมีน้ำหนักเสียง มีอิมแพค เหมาะกับหนังแอคชั่นและดูหนังสนุกมากๆ เราเชื่อว่าใครที่มีโอกาศฟังจะต้องชอบแน่นอนครับ

และสุดท้ายสามารถสอบถามราคา Klipsch Reference Premier ได้ทุกรุ่น รวมไปถึงซับวูฟเฟอร์ที่เราได้โดยตรงครับ ส่งฟรีถึงบ้าน






















« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 17, 2016, 03:58:38 pm โดย keamglad »

ออฟไลน์ keamglad

  • OLED TV member
  • *****
  • กระทู้: 3,720
  • https://www.facebook.com/whatthatsoundstore
    • ดูรายละเอียด
    • https://www.facebook.com/whatthatsoundstore
    • อีเมล์
วันนี้เราอยากจะพูดถึงแนวเสียงของ AVR ครับ หรือชื่อเต็มๆคือ Audio Video Receiver ขึ้นชื่อว่า AVR ข้อดีของมันก็คือความง่าย และครบเครื่องไม่ว่าจะดูหนัง ฟังเพลง ต่อกับ Ipod, iphone หรือฟังวิทยุ internet radio, fm, am ซึ่งกับคนใช้ทั่วๆไป หรือเหมาะใช้ในครอบครัวเป็นอย่างมาก ซึ่งแบรนด์ผู้ผลิต AVR แต่ละยี่ห้อ ก็มีแนวเสียงที่ต่างกันไปไม่มากก็น้อย แถมจำนวนวัตต์ที่ใช้แม้จะวัตต์เท่ากันก็ให้คุณภาพเสียงและขับลำโพงได้ไม่เท่ากันครับ

นิยามของเรา AVR ที่เราชอบที่สุดอาจไม่ใช่ AVR ที่นิยมที่สุดหรือเสียงดีที่สุดนะครับ แต่เราจะดูภาพรวม โดยไม่มองถึงฟังกฺ์ชั่นเพราะมันสามารถพัฒนาตามทันกันได้ แต่เราจะโฟกัสไปที่โทนเสียงหลักๆของยี่ห้อที่เราชอบมากกว่า

***** เรื่องความชอบ และรสนิยมเรื่องเสียงเพลง ภาพยนตร์นั้น เป็นเรื่องปัจเจกนะครับ เป็นความชอบส่วนบุคคล ไม่มีถูกมีผิดครับ บางทีเพื่อนๆอาจชอบแตกต่างกันไป แล้วแต่ประสบการณ์ และรสนิยม
แล้วเพื่อนๆละครับ ชอบเสียง AVR ตัวไหนกันบ้าง??? มาลองจัดอันดับกันดูครับ

==================================================================

อันดับหนึ่ง: Harman Kardon
เนื่องจากเราชอบดูหนัง Action, สงคราม และฟังเพลงหนักๆ เบสแน่นๆ กระชับ หนักแบบนี้เราเชื่อว่าไม่มีแบรนด์ไหนทื่ให้เสียงแนวนี้ได้ดีไปกว่า HK อีกแล้วครับ

ข้อดี เบสหนักกว่ายี่ห้ออื่น และถ้าเทียบเงินที่จ่ายไปต่อวัตต์
HK เป็นแบรนด์ที่ถือว่าให้ความคุ้มค่าสูงมากครับ เพราะจ่ายเงิน 2-3 หมื่นบาทแต่ได้วัตต์สูงถึง 100-125 watts แถมวัตต์ที่ได้ก็เป็นวัตต์อเมริกันที่เรี่ยวแรงดี กำลังสำรองสูงมากด้วย

ข้อเสีย เสียงกลาง และเสียงแหลมของ HK นั้นจัดได้ว่าไม่ดี ไม่ทอดยาว ไม่หวาน ติดออกแนวดิจิตอลและแข๊งๆ และบรรยากาศการแพนเสียงในแต่ละ channels นั้นสู้คู่แข่งไม่ได้เลยแม้แต่น้อยครับ

จุดเด่น: ราคาต่อวัตต์คุ้มค่า เบสหนักมากๆออกเป็นลูกไม่มีบวมเบลอ ขาร๊อคต้องชอบ


=============================================

อันดับสอง: Pioneer
ด้วยสไตล์โทนเสียงหนักแน่น เบสหนัก (แต่ก็ไม่หนักเท่า HK) ทำให้ดูหนัง Action ฟังเพลงหนักๆได้ดีเช่นกัน

ข้อดี โทนเสียงหนักแน่น เสียงกลางดี การแพนเสียงใช้ได้ แม้จะสู้ yamaha ไม่ได้ก็ตาม และกำลังวัตต์ค่อนข้างสูง

ข้อเสีย เสียงแหลม ความกรุ๊งกริ๋ง ระยิบระยับ และการแพนเสียงแต่ละแชนแนลจะยังสู้ Yamaha ไม่ได้

จุดเด่น: วัตต์สูง ราคาก็สูงด้วย เรียกได้ว่าเป็นแอมป์ที่ให้แนวเสียงที่ครบเครื่อง หนักแน่น ดูหนังสนุกเลยทีเดียว ให้ความสมดุลเกือบทุกย่านเสียงก็ว่าได้ ดูหนังยอดเยี่ยมไม่แพ้ใครครับ


=============================================

อันดับสาม: Anthem
สุดยอดแอมป์สัญชาติแคนาดานี้ ให้โทนเสียง เบส ความหนักแน่นสุดๆ พอๆกับ HK เลย แถมยังให้บรรยากาศการโยนเสียง ความระยิบระยับ เสียงกลางแหลมได้เยี่ยมมากๆด้วย ตัวนี้ใช้อุปกรณ์ชั้นเยี่ยม คัดมาแต่ของดีๆครับ

ข้อดี โทนเสียงหนักแน่น กลางแหลมสุดยอด การแพนเสียงเยี่ยม แถมวัตต์ก็กำลังสำรองสูงส่งมาก เรียกว่าเป็นที่หนึ่ง ไม่แพ้ใครในใต้หล้า

ข้อเสีย ราคาค่อนข้างสูงมาก

จุดเด่น: AVR เจ้านี้ทุกอย่างเยี่ยมไปหมด เบส กลาง แหลม แถมเครื่องในใช้อุปกรณ์คุณภาพ ยกเว้นราคาที่สูงพอๆกับข้อดีของมัน
ถ้าไม่นับเรื่องราคา ให้เลือกหนึ่งตัวฟรีๆ เราเลือกตัวนี้ครับ


=============================================

อันดับสี่: Sherwood
แอมป์สัญชาติอเมริกันรายนี้ ทำตลาดระดับโลกและในไทยไม่ค่อยเปรี้ยงนัก แต่คุณภาพนั้นใครที่ลองใช้จะรู้ครับว่าไม่แพ้ใคร

ข้อดี โทนเสียงบาล้านซ์มาดี ทั้งเบส กลางแหลม และการแพนเสียงแต่ละแชนแนลก็ไม่ขี้เหร่ (โดยเฉพาะตัว R977 กลางแหลมยอดเยี่ยมมากๆ ฟังเพลงประหนึ่ง Int amp ราคาไม่เกิน 25,000 ก็ไม่ปาน) การแพนเสียงใช้ได้ ไม่ได้ดีเหมือน Yamaha แต่ก็ดีกว่า HK

ข้อเสีย บาล้านซ์ทุกโทนเสียงดี ทำให้ไม่มีโทนไหนที่โดดเด่นออกชัดๆ แถวบ้านเรียกเรียบๆ ไม่โดดเด่น แต่คุณภาพดี

จุดเด่น: บาล้านซ์ทุกโทนเสียงมาดี เหมือนเอาแอมป์ทุกยี่ห้อมายำแล้วผสมรวมกัน ราคาก็ไม่แรง (ยกเว้นตัว R977)


=============================================

อันดับห้า: Onkyo
แอมป์สัญชาติพี่ยุ่นเจ้านี้ มาในแนวกลมกล่อม ทั้งโทนเสียงเบส กลาง แหลม บรรยากาศการแพนเสียงก็เยี่ยมยอด ไม่ได้เน้นเสียงเบสตุ๊บตั๊บแบบ HK แต่มีมาให้พอใช้ เสียงกลางดีกว่าทุกย่าน ใครชอบดูหนังทั่วๆไป และฟังเพลงไม่หนักมา ตัวนี้น่าจะชอบ ปลายแหลมระยิบระยับมีให้พองามไม่บาดหู

ข้อดี โทนเสียงกลางเด่น แพนเสียงใช้ได้ (ยังแพ้ yamaha) ปลายแหลมดี

ข้อเสีย เบสยังไม่สะใจเรา

จุดเด่น: เหมาะกับคนชอบเสียงกลาง และดูหนังสนุกได้บรรยากาศ แต่ไม่เน้นความอึกทึกครึกโครม ฟังเพลงร้องใสๆดี


=============================================

อันดับหก: Yamaha
แอมป์พี่ยุ่นยักษใหญ่รายนี้ให้บรรยากาศในการดูหนังได้อย่างเยี่ยมยอด ไม่แพ้ใครในโลก ใครชอบบรรยากาศเล็กๆน้อยๆระยิบระยับต้องชอบครับ

ข้อดี การแพนเสียงแต่ละ Channels ดีมากที่สุด เวลาดูหนังสยองขวัญประหนึ่งไปยืนอยู่ท่ามกลางบรรยากาศนั้นเอง ให้ความรู้สึกขนลูกและเก็บรายละเอียดเสียงเล็กๆน้อยๆ เสียงแหลม นู้นนี่นั่นได้ดีมาก

ข้อเสีย เบสบางไปนิด ความถี่ต่ำถ้าฟังดีๆจะออกแนวลอยๆ ฟุ้งๆหน่อย ไม่ออกเป็นลูกๆกระชับเหมือน HK ถ้าจับกับลำโพงเสียงแหลมดีๆเช่น Klipsch เวลาฟังเพลงเสียงอาจบาดหูได้นะครับ

จุดเด่น: เหมาะกับคนรักการดูหนัง เหมาะกับเป็นแอมป์สำหรับครอบครัว ไม่เน้นโครมคราม แต่เน้นบรรยากาศในการดูหนังที่สมจริง เด็กดูได้ผู้ใหญ่ดูดี โดยเฉพาะหนังสยองขวัญจะได้บรรยากาศสมจริงมากๆ


=============================================

อันดับเจ็ด: Denon
แอมป์ยี่ห้อนี้จุดเด่นคือเสียงแหลม ความเฟี้ยวฟ้าวจัดจ้านถือว่าสุดยอด

ข้อดี เสียงแหลม ความระยิบระยับ รายละเอียดดีมากๆ เสียงกลางพอใช้ได้ แต่เสียงเบสอาจจะติดบางไปหน่อย

ข้อเสีย เบสบางไปหน่อย เบสที่ได้ถ้าฟังดีๆจะออกแนวลอยๆ ฟุ้งๆหน่อย คล้ายๆ yamaha

จุดเด่น: เหมาะกับคนรักการดูหนังเป็นชีวิตจิตใจ และชอบเสียงกรุ๊งกริ้งๆ ของเสียงแหลม ชอบเสียงระยิบระยับ ชอบเก็บรายละเอียดชนิดที่ว่ายิงปืนออกไปแล้ว มีเสียงปลอกกระสุนปืนหล่นลงพื้นกี่นัดต้องเป๋ะขนาดนั้น


=============================================

อันดับแปด: Marantz
แอมป์ยี่ห้อนี้จุดเด่นคือความอบอุ่น นุ่มนวล ถ่ายทอดกรรมพันธ์ DNA มาจากการฟังเพลง และการดีไซน์ตัวเครื่องนั่นสวยงามและคลาสสิค

ข้อดี เสียงกลางอบอุ่น เสียงเบสเยอะนุ่มหนา แต่เบสไม่ใช่แนว HK ที่เยอะและหนัก กระชับ แต่เป็นเยอะในแง่ของความนุ่ม ถ้าคิดไม่ออกว่าเสียงแนวไหนก็ให้นึกถึงเสียงลำโพง polk ทำนองนั้น
ใช้ฟังเพลงลูกทุ่งผู้ชายสมัยเก่าๆหน่อยดี
เสียงกลาง แหลม และการแพนเสียงถือว่าใช้ได้ ไม่เป็นรองยี่ห้ออื่นแต่อย่างใด

ข้อเสีย เบสเยอะ และหนา บางครั้งอาจขาดความกระชับและหนักแน่นในสไตล์หนังแอคชั่น

จุดเด่น: เหมาะกับคนที่ชอบโทนเสียงนุ่มๆ เอนหลังนั่งฟังสบายๆแบบผ่อนคลาย ไม่เน้นโครมคราม หน้าตา รูปลักษณ์ การดีไซน์ตัวเครื่องนั่นสุดยอด คลาสสิค เข้าขั้นงานชิ้นเอก


=============================================




« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 08, 2015, 09:45:13 am โดย keamglad »

ออฟไลน์ keamglad

  • OLED TV member
  • *****
  • กระทู้: 3,720
  • https://www.facebook.com/whatthatsoundstore
    • ดูรายละเอียด
    • https://www.facebook.com/whatthatsoundstore
    • อีเมล์
จัดส่ง RF-7 II สีดำหนึ่งคู่ไปดอนเมือง

ตอนนี้ RF-7 II ร้านเรามีทั้งสีดำและสีเชอรี่ครับ ซึ่งสีเชอรี่จัดว่าเป็นของหายากในบ้านเราก็ว่าได้เพราะส่วนใหญ่ที่นำเข้ามาโดยตัวแทนจะเน้นสีดำเป็นหลัก นานๆถึงจะมีเชอรี่เข้ามาสักที สวยแปลกตา ไม่เหมือนใคร ให้อารมณ์เนื้อไม้แท้ๆ vintage และ limited มากๆครับ



------------------------------------------------------------------------

*** ต่อไปนี้เป็นพรีวิว และความรู้สึกๆเล็กๆน้อยๆของงานนี้ครับ ***

ลูกค้าผมรายนี้กำลังเลือก Amp อยู่ จริงๆตัวนี้ควรใช้ Power + Pre-Pro ขับนะครับ แต่ลูกค้าอยากใช้ AVR มาลองขับดูเพราะอยากเล่นตัวเดียวจบ ลูกค้าเลยไปตระเวนฟังมาเกือบทุกยี่ห้อแล้วแต่ไม่เคยฟังแนวเสียง Harman Kardon
เราเลยลองยกเจ้า Harman Kardon 370 กำลังขับ 125 วัตต์ไปให้ลูกค้าลองเสียงเปิดซิงเจ้า RF-7 II กันถึงบ้านครับ
งานนี้ก็ได้มีการบอกลูกค้าไว้แล้วว่า อย่าคาดหวังอะไรนะครับกับแอมป์ราคาแค่ 30,000 บาท รายละเอียดมันไม่ค่อยมี มันได้แค่น้ำหนักเสียง กำลังสำรอง กับเบสหนัก
หลังจากติดตั้งกันเรียบร้อยก็ลองเปิดคอนเสริต์ Metallica เปิดหนัง 007 ดู เร่งเสียงไปประมาณ -15 ถึง -20 ดูกันไปสักพัก ตอนแรกก็ไม่คิดว่าจะขับไหวครับ แต่เป็นเพราะความไว Sensitivity ของมัน RF-7 II ที่มากถึง 101 dB (เยอะยังกะลำโพง PA) ก็อย่างที่เห็นในรูปครับเซ็นเตอร์ตัวเล็กนิดเดียว (รอ Klipsch RC-64 II มาประจำการอยู่) ซับก็ไม่มี แต่เสียงออกมาล้นห้อง เบสยังกับมีซับวูฟเฟอร์ 12 นิ้วยังไงยังงั้น เรื่องน้ำหนักเสียงนี่หายห่วง ดูหนังมันมากๆ แต่ติอย่างเดียวคือรายละเอียดไม่ค่อยมีเพราะ AVR มันไปได้แค่นั้นจริงๆ ถ้าใครชอบเบสหนัก หรือลำโพงที่ใช้บางไม่มีเนื้อ แหลมดีอยู่แล้วน่าจะชอบ AVR แบบนี้นะ เพราะมันลดความสดของแหลม และเพิ่มเนื้อเบส เพิ่ม Impact





แต่ถึงอย่างนั้นผมก็สังเกตว่าเสียงที่ได้จาก AVR 370 ตัวนี้ขับ Klipsch RF-7 II แม้มันจะไม่เต็ม 100 ผมเดาๆฟังจากเสียงน่าจะรีดประสิทธิภาพของลำโพงมาได้สัก 40-50% แต่มันก็ได้อะไรออกมาเยอะกว่าที่ปกติผมเคยเอามันไปขับ Klipsch Reference II หรือ Reference Premier รุ่นอื่นซะอีก (ปกติผมใช้ AVR 370 ขับ RF-82 II และ RP-280F) โดยเฉพาะในแง่ของเบสที่หนักเหมือนมีค้อนปอนด์มาทุบกันโครมๆอยู่ในห้อง และเสียงแหลมที่มันชัด ใส มีเกนเสียง มีเนื้อ มีรายละเอียดพรั่งพรูออกมาเยอะกว่าลำโพงตัวอื่นที่ผมเคยเอา AVR ตัวนี้ไปขับเยอะมากๆเลย นี่ขนาดแอมป์มันเอาลำโพงไม่อยู่ยังได้ขนาดนี้ (คงเป็นเพราะทวีตเตอร์ขนาดใหญ่ 1.75" รุ่นพิเศษที่ถูกติดตั้งอยู่เฉพาะรุ่นนี้)

สรุปคือลองเอา AVR 370 มาขับเล่นๆขำๆ ก็ได้อะไรขำๆ คือได้ความมันแบบการดูหนัง Action ในระดับที่ดีเอามันเอาตูมตามแบบในโรงหนังนี่ก็ดูสนุกใช้ได้เลย แต่สำหรับคนที่ชอบรายละเอียดอาจจะผิดหวังสักหน่อยเพราะมันอั้นมาจาก AVR แต่ก็พิสูจน์ให้เห็นความไวของลำโพงว่า RF-7 II เนี่ยมันไวมากนะ เอา AVR ที่ราคาแค่นี้ วัตต์ 125 วัตต์มาลองเทสลองขับมันเล่นๆ มันก็ยังใช้ดูหนังในห้องความกว้าง 40 ตรม ได้แบบไม่ต้องเค้นแอมป์อะไรเลย แถมดังจนภรรยาเจ้าของบ้านอุทานว่ายังกับโรงหนัง





จริงๆถ้าได้แอมป์ที่รายละเอียดดีๆเช่น Denon, Yamah, Onkyo หรือไปใช้ Power ดีๆอย่าง Emotiva, Rotel, Anthem, Parasound ยิ่งไปกันได้เป็นปี่เป็นขลุ่ยเลย (2 ตัวหลังนี้ขออนุญาติเอ่ยชื่อนะ ไม่ได้เชียร์ของนะครับ เพราะไม่ได้ขาย ไม่ได้เป็นตัวแทนด้วย)
ฝรั่งมันชอบเอา Emotiva มาขับ แต่บ้านเรามันไม่มีตัวแทนและหาซื้อลำบาก จริงๆถ้างบจำกัดเราเชียร์ผลงานคนไทยอย่าง Magnet ก็ไม่น่าเกลียดเลยครับเช่น MA320 Pheonix, Medusa หรือจะหาแอมป์ไทยยี่ห้ออื่นราคาย่อมเยาว์ก็ไปกันได้ดีครับ อย่างน้อยขึ้นชื่อว่ามีลำโพงระดับนี้แล้ว หาแอมป์ดีๆมาขับมัน ผมว่ามันให้อะไรได้เต็มที่ แสดงศักยภาพออกมาได้ดีกว่าใช้ AVR ขับพอสมควรครับ

และก็ยืนยันครับว่า RF-7 II ตัวนี้เป็นลำโพงอีกตัวนึงที่สุดยอดในแง่การดูหนังจริงๆ ถ้าชอบคู่หน้า + เซ็นเตอร์แบบใหญ่ๆ แผงหน้าดุดันเร้าใจ ดอกขนาด 10 นิ้ว และทวีตเตอร์ใหญ่ๆขนาด 1.75 นิ้ว เบสหนัก กลางแหลมให้เสียงสมจริง เปียโนเป็นเปียโน ไวโอลินเป็นไวโอลิน ขอให้ได้ลองครับ ยิ่งได้เซ็นเตอร์คู่บุญอย่าง RC-64 II ด้วยแล้วแค่หาแอมป์มาขับมันให้ได้เต็มที่แล้วกัน ที่เหลือก็เตรียมตัวเตรียมใจไว้สำหรับความมันเวลาดูหนังครับ

ราคาและรายละเอียด Klipsch Reference II ทุกรุ่น http://www.whatthatsound.com/category/5/klipsch/klipsch-reference-ii-series

































« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 02, 2015, 07:13:28 pm โดย keamglad »

ออฟไลน์ keamglad

  • OLED TV member
  • *****
  • กระทู้: 3,720
  • https://www.facebook.com/whatthatsoundstore
    • ดูรายละเอียด
    • https://www.facebook.com/whatthatsoundstore
    • อีเมล์
เมื่อวานเรามีโอกาสได้ไปจัดส่งลำโพงตั้งพื้น Klipsch RF82 II และลำโพงไบโพลอย่าง Klipsch RS52 II ไปชลบุรีด้วยตนเองครับ

ลำโพงตั้งพื้นรุ่นใหญ่ขนาดดอกวูฟเฟอร์ถึง 8 นิ้ว อย่าง RF82 II ที่จับกับแอมป์อย่าง Onkyo 3030 ของเจ้าของห้อง ที่เราได้ทดลองฟังแป๊ปนึง

แม้จะใหม่มากทั้งแอมป์ และใหม่ทั้งลำโพงที่เพิ่งแกะกล่องสดๆร้อนๆ แต่เสียงที่ได้ไม่มีอาการบาดหู และไม่มีอาการเบสบวมเบลอไม่กระชับแต่อย่างใด เสียงดนตรีฟังมีจังหวะจะโคนและกระชับ เสียงร้องมีมวลและอบอุ่นพอประมาณ ที่เด่นชัดที่สุดน่าจะเป็นเบส และแรงกระแทกที่เหมาะกับการเอาไปฟังเพลงมีจังหวะมากๆ
ส่วนหนึ่งที่ต้องยกความดีความชอบให้นั่นคือ เส้นสายที่เจ้าของให้ความสำคัญเลือกใช้และอคูสติกของห้องฟังที่ถือได้ว่ายอดเยี่ยมและเหมาะแก่การเป็นห้องดูหนังฟังเพลง และยิ่งได้อุปกรณ์ดีๆเข้าไปตั้งก็ยิ่งทำให้สามารถแสดงศักยภาพของอุปกรณ์แต่ละชิ้นได้ตั้งแต่ชั่วโมงแรกที่ลองฟังกันเลยทีเดียว
นี่ยิ่งถ้าได้เบิรน์อีกสัก 80-100 ชม. คิดว่าเสียงน่าจะน่าฟังและดีกว่านี้ขึ้นอีกมากครับ

และลำโพงเซอราวด์แบบไบโพลอย่าง RS52 II ที่ให้เสียงบรรยากาศของภาพยนตร์ได้กว้างและคลอบคลุมห้องใหญ่ๆได้สบายครับ





















« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 01, 2015, 06:19:14 pm โดย keamglad »

ออฟไลน์ keamglad

  • OLED TV member
  • *****
  • กระทู้: 3,720
  • https://www.facebook.com/whatthatsoundstore
    • ดูรายละเอียด
    • https://www.facebook.com/whatthatsoundstore
    • อีเมล์


จัดส่ง Onkyo HT-S9700 ไปบ้านคุณ ปรีดิวิชญ์ พนมยงค์
ที่ลาดพร้าว พร้อมขาตั้งเซอราวด์ S8 แบบปรับเลื่อนได้

โดยห้องของคุณปรีดิวิชญ์ทำเป็นห้องพักผ่อนไว้ที่ชั้นสาม ตกแต่งทุกอย่างไว้แล้วอย่างลงตัวไม่ว่าจะเป็นโซฟาหนัง มุมบาร์เครื่องดื่มชิวๆ ทุกส่วนในห้องถูกออกแบบไว้อย่างดี เรียกว่าครบทุกอย่างแล้วแต่ขาดระบบเสียง ซึ่งเจ้าของห้องเลือกที่จะใช้ชุด Home Theater รุ่นนี้เพราะให้เสียงที่ดีในระดับนึง ราคาไม่แพง ขนาดเล็ก แต่ได้ฟังก์ชั่นทุกอย่างมาครบหมดแบบไม่ต้องหาอะไรมาเติมอีก รวมทั้งยังรองรับ Dolby Atmos และเป็น 7.1 อีกด้วย



เห็นห้องแบบนี้แล้วก็ทำให้ผมรู้สึกดีไปอีกแบบนะครับ ใครว่าห้องดูหนังฟังเพลงที่ดี จะต้องซีเรียสปิดทึบ มืดตึบ ดูอึดอัดอย่างเดียว บางทีเรายอมลดความซีเรียสของอุกปรณ์เครื่องเสียงลง ยอม Trade-off บางอย่างไป แต่แลกกับอะไรหลายๆอย่างเช่นบรรยากาศที่ชิวเอ้าได้ แฮ้งเอ้าได้แบบสบายๆกันเอง หิวก็ลุกไปหาอะไรกิน หาอะไรดื่ม เมื่อยก็นอนเหยียดไปบนโซฟา ง่วงนอนก็เอนหลังหลับไปได้แบบชิวๆ เราอาจจะลืมเรื่องสวีทสปอร์ตไปก่อน ลืมเรื่องศักยภาพของลำโพง เบสอาจจะไม่ต้องหนักที่สุด กลางแหลมอาจจะไม่ต้องหวานนุ่มทอดยาวจนสุดตัวโน๊ต หรือไม่ต้องกังวลเรื่องอคูสติกมากจนเกินไปนัก
ผลลัพธ์คือได้ห้องอเนกประสงค์ที่ใช้งานได้หลากหลาย ดูหนังฟังเพลง และใช้ชีวิตแบบสบายๆแบบมีรสนิยมและบาล้านการใช้ชีวิตในหลายๆอย่าง รวมทั้งการตกแต่งก็สบายตา สวย ทำกิจกรรมต่างๆในห้องได้หลากหลาย ภาพและเสียงในการดูหนังที่ถือว่าไม่ขี้เหร่และใช้ได้ในระดับนึงเลยทีเดียว
เพราะบางทีชีวิตคนเราก็ไม่ต้องเดินไปสุดทางเสมอไป ตึงบ้าง หย่อนบ้าง เดินสายกลางบ้างก็มีความสุขดี ใช่มั๊ยครับ?

===========================================

โดยชุด Home Theater Onkyo 9700 นี้เป็นรุ่นท๊อปของซีรี่ย์ ทั้ง AVR ลำโพง ซับวูฟเฟอร์ และสายลำโพง โดยตัวนี้ AVR ให้กำลังขับค่อนข้างสูงจนสามารถเปลี่ยนลำโพงคู่หน้าไปเป็นตั้งพื้นรุ่นใหญ่ๆได้เลย หากเบื่อ ไม่พอใจ เปลี่ยนคู่หน้า เซ็นเตอร์ใหญ่ๆหน่อย เปลี่ยนเซอราวด์เป็นแบบไบโพล่า ใช้ซับที่ดอกใหญ่ขึ้น รองรับความถี่ต่ำมากขึ้น กระแทกกระทั้นมากขึ้น เรียกว่าก้าวข้ามความเป็นชุด Home Theater In The Box ไปแล้ว เพราะสามารถอัพเกรดได้ในอนาคต
http://www.whatthatsound.com/product/51/onkyo-ht-s-9700

ส่วนขาตั้งรุ่น S8 เป็นขาตั้งรุ่นพิเศษที่ถูกออกแบบมาใช้กับลำโพงเซอราวด์ที่มีขนาดเล็ก น้ำหนักไม่เกิน 6-7 กิโลกรัม และพิเศษตรงปรับเลื่อนขึ้นลงได้ ราคาย่อมเยาแค่ 2500 บาทครับ
http://www.whatthatsound.com/…/stand-surround-s-8-sattlelite

























« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 05, 2015, 06:27:56 am โดย keamglad »

ออฟไลน์ keamglad

  • OLED TV member
  • *****
  • กระทู้: 3,720
  • https://www.facebook.com/whatthatsoundstore
    • ดูรายละเอียด
    • https://www.facebook.com/whatthatsoundstore
    • อีเมล์
มีคนเคยบอกว่า ดูผู้ชายให้ดู 3 อย่าง 1.บ้านที่เค้าอยู่ 2.รถที่เค้าขับ 3.งานที่เค้าทำ
ครั้งนึงผมเคยเดินหลงทางแถวลาดพร้าวและถามคนแถวนั้นว่า "คาร์เนกี้ ฮอลล์" ไปทางไหน เค้าตอบกลับมาว่า..."คุณก็ต้องซ้อม ซ้อม แล้วก็ซ้อม"



วลีนั้น มันดังก้องในหัวผม ครั้งแล้วครั้งเล่า ผลักดันให้ผมลุกขึ้นมาถีบตัวเอง ทำตามฝัน ไม่มามัวนั่งรอโอกาศ
เหมือนกับบ้านหลังนี้ ความฝันที่ผมคิดว่ามันไกลเกินเอื้อม

ใช่่ครับ ทุกคนต้องวิ่งตามความฝัน?
และแล้วก็ถึงวันนี้ วันที่ผมลุยทำร้านมาครบปีนึงแล้ว
น้ำพักน้ำแรงที่ทุ่มเทลงไป เหนื่อยแต่ก็ดีใจครับ
วันนี้ภูมิใจมากที่จะบอกกับทุกคนว่า

"อาทิตย์ก่อนเอาของไปส่งลูกค้า เห็นห้องสวยดีเลยขอเค้าถ่ายรูปห้องตอนติดตั้งเสร็จแล้วมาลงครับ"

ขอขอบคุณเจ้าของบ้าน คุณปรีดิวิชญ์ พนมยงค์ ครับ แฮ่ ๆ

ปล ห้องลูกค้าใช้ Onkyo HT-S9700 ทั้งชุดคร้าบบ







--------------------------------------------------------------------------------
บรรยากาศหลังการติดตั้ง :http://goo.gl/l4RSlC
บรรยากาศก่อนการติดตั้งคลิ๊กชมที่นี่ได้ครับ : http://goo.gl/QuXdtR
--------------------------------------------------------------------------------

ชุด Home Theater In The Box เล็ก ก็จริง แต่สามารถเซ็ทอัพและติดตั้งได้ลงตัว ไม่เกะกะ แถมสวยเข้ากับห้องได้หลากหลาย และอนาคตยังสามารถอัพเกรดลำโพงได้ทุกตัวด้วยนะครับเพราะ AVR รองรับ feature ต่างๆครบครันแถมกำลังขับก็สูงอีกด้วย

โดยห้องนี้ใช้ขาตั้งลำโพงเซอราวด์ S8 แบบพิเศษที่ถูกออกแบบมาใช้กับลำโพงเซอราวด์ที่มีขนาดเล็ก น้ำหนักไม่เกิน 6-7 กิโลกรัม และพิเศษตรงปรับเลื่อนขึ้นลงได้ ไม่เกะกะ ราคาย่อมเยาแค่ 2500 บาทครับ

=========================================
สั่งซื้อหรือดูรายละเอียดได้ที่นี่เลย
http://www.whatthatsound.com/product/51/onkyo-ht-s-9700

ขาตั้งรุ่น S8: http://www.whatthatsound.com/…/stand-surround-s-8-sattlelite

============================================












« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 08, 2015, 09:13:55 am โดย keamglad »

ออฟไลน์ keamglad

  • OLED TV member
  • *****
  • กระทู้: 3,720
  • https://www.facebook.com/whatthatsoundstore
    • ดูรายละเอียด
    • https://www.facebook.com/whatthatsoundstore
    • อีเมล์


จัดส่ง Klipsch RB-61 II และ RC-62 II ไปให้ลูกค้าย่านปิ่นเกล้าครับ
ลูกค้าท่านนี้อยู่บนคอนโดและมีพื้นที่จำกัด จึงเลือกลำโพงบุ๊กเชลฟ์เป็นหลัก โดยใช้คู่หน้าและเซ็นเตอร์เข้าเซ็ทกันด้วยดอกขนาด 6.5 นิ้ว
โดยเฉพาะเซ็นเตอร์ RC-62 II เนี่ยยืนยันเลยว่าของดีคุ้มค่าคุ้มราคามากจริงๆ เสียงดีกว่า RC-52 II เยอะ แต่ราคาเพิ่มขึ้นไม่เท่าไร่ ใครมีไว้ เก็บไว้ให้ดีครับ ตอนนี้ของบ้านเราใกล้จะหมดแล้ว ใช้แล้วไม่ชอบเอาลำโพงมาปาหน้าได้เลย ฮา (แต่ปาแล้วห้ามเก็บคืนนะ)

ปล ห้องลูกค้าวิวสวยมว๊ากกกกกก ครับ ใครได้เห็นวิวแบบนี้จะอึ้ง สตั๊นไป 10 วิ ถ้าฤดูหนาวอากาศดีๆ หมอกบางๆรับรองฟิน


















« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 08, 2015, 06:42:08 pm โดย keamglad »

ออฟไลน์ keamglad

  • OLED TV member
  • *****
  • กระทู้: 3,720
  • https://www.facebook.com/whatthatsoundstore
    • ดูรายละเอียด
    • https://www.facebook.com/whatthatsoundstore
    • อีเมล์
จัดส่ง Klipsch RC-64 II ไปให้ลูกค้าที่ดอนเมืองครับ
ลูกค้านำไปติดตั้งและใช้งานร่วมกันกับ Klipsch RF-7 II  
เซ็ทนี้จัดว่าเป็นสุดยอดแผงหน้า ทั้งลำโพงคู่หน้าดอกใหญ่ถึง 10 นิ้ว และเซ็นเตอร์ดอกใหญ่ 6.5 นิ้วเรียงกันสี่ดอก



ลูกค้ารอย้ายห้อง และเลือกแอมป์ใหม่อยู่ว่าจะเอา Yamaha 3050 หรือจะใช้ Poweramp มาขับ  ระหว่างรอแอมป์ใหม่ลูกค้าใช้ AVR ในชุด In The Box Onkyo ht-s5405 มาขับเล่นไปพลางๆก่อน  (เออ มันก็ขับได้แฮะ ใช้ดูหนังได้แบบโครมครามได้นะ ขนาด AVR แถมในชุด in the box ทั้งชุดราคาแค่หมื่นกว่าบาท)

แสดงวาค่า Sensitivity ที่สูงๆของลำโพงมันก็ช่วยได้ระดับนึงในเรื่องการขับง่าย ไม่เลือกแอมป์ จะเอาอะไรมาขับมันก็ดังก็ได้หมด  เพียงแต่เรื่องคุณภาพนั้นต้องบอกกันตรงๆว่า เอาแอมป์ที่มันสมน้ำสมเนื้อและขับมันได้เต็มที่หน่อยมาขับ เสียงมันจะไปได้อีกไกลลิบๆๆๆๆๆกว่านี้อีกเยอะครับ



*** ทั้ง Klipsch RF-7 II และ Klipsch RF-64 II เป็นลำโพง Made in USA แท้ๆ ประกอบและทำใน Hope Arkansas เป็นงาน Handmade ทุกชิ้น มีสีให้เลือกสองสีคือ สีดำและเชอรี่
ผิวลำโพงทั้งสองสีมีความแตกต่างกันตรงถ้าเป็นสีดำจะเป็นลายไม้แบบออกเงาๆหน่อย (ดูตามรูป) ส่วนสีเชอรี่จะเป็นลายไม้เชอรี่คนละเกรดกับสีเชอรีปกติ สีจะติดออกส้มๆเงาๆและมีดีเทล

-----------------------------------------------------------------------------------------

สนในดูรายละเอียดและสั่งซื้อ Klipsch RC-64 II ได้ที่นี่ทั้งสองสี

RC-64 II สีดำ: http://www.whatthatsound.com/product/22/klipsch-reference-rc-64-ii-black

RC-64 II สีเชอรี่: http://www.whatthatsound.com/product/23/klipsch-reference-rc-64-ii-cherry






























« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 12, 2015, 06:04:12 pm โดย keamglad »

ออฟไลน์ keamglad

  • OLED TV member
  • *****
  • กระทู้: 3,720
  • https://www.facebook.com/whatthatsoundstore
    • ดูรายละเอียด
    • https://www.facebook.com/whatthatsoundstore
    • อีเมล์
เมื่อวานมีโอกาศกลับไปเยี่ยมห้องลูกค้าเก่าของเราที่ชลบุรี
ผมเลยถ่ายรูปห้องฟังสวยๆและ Klipsch RP-450C ลำโพงเซ็นเตอร์หน้าตาดี เสียงเยี่ยมๆตัวนี้มาฝากกันครับ (System ลูกค้าใช้ Klipsch RP-260F, RP-450C, RP-240S, R-110SW, Anthem310, Power Adcom)



ตัวนี้ใช้ดอกลำโพงขนาด 5.25 นิ้วสี่ดอก ค่าความไวสูงถึง 97 dB การทำงานจะตัดความถี่แบบสองชั้น นั่นคือ 58 - 500 Hz สองดอกและ 501 - 1500 Hz อีกสองดอก สูงกว่า 1500 Hz ทวีตเตอร์ทำงาน
ซึ่งดีไซน์การตัดความถี่แบบใหม่นี้จะไม่เหมือนกับลำโพง Center รุ่นเก่าอย่าง RC-42,52,62 II ที่จะตัดความถี่ 1500 Hz แค่ชั้นเดียว (ต่ำกว่า 1500 Hz ทำงานพร้อมกันสองดอก สูงกว่า 1500 Hz เป็นหน้าที่ของทวีตเตอร์)

การแยกส่วนกันทำงานของดอกลำโพง และมีมากถึงสี่ดอกนอกจากจะช่วยให้ลดภาระการทำงานในแต่ละช่วงความถี่แล้ว ยังช่วงให้เสียงทำงานสอดประสานกันได้อย่างดีเยี่ยมและให้เสียงพูดและ effect จากภาพยนตร์ได้อย่างชัดเจน ลดความเพี้ยนได้ดีกว่าซีรี่ย์เก่าอีกด้วย

สนใจสินค้า Klipsch RP-450C สามารถสั่งซื้อและดูรายละเอียดได้ที่นี่: http://www.whatthatsound.com/…/klipsch-reference-premier-rp…



















Spec:
SENSITIVITY: 97dB @ 2.83V / 1m*
POWER HANDLING (CONT/PEAK): 150W/600W
NOMINAL IMPEDANCE: 8 Ohms Compatible
HIGH FREQUENCY DRIVER: 1" Titanium LTS Tweeter with Hybrid Tractrix Horn
LOW FREQUENCY DRIVERS: Quad 5.25" Cerametallic Cone Woofers
CROSSOVER FREQUENCY: 500Hz/1500Hz
INPUTS: Single Binding Posts
HEIGHT: 6.81" (17.3 cm)
WIDTH: 31.13" (79.1 cm)
DEPTH: 14.51" (36.8 cm)
WEIGHT: 35.7 lb (16.19 kg)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 24, 2015, 10:47:35 am โดย keamglad »