ARTICLE
รีวิว Sharp 2T-C40CE1X FULL HD Smart TV รุ่นคุ้มค่า ดู YouTube, Netflix ในตัวได้
รีวิว Sharp 4T-C55CJ2X ทีวี 4K HDR ในงบหนึ่งหมื่นบาท ดู Netflix YouTube โหลดแอปฯ ได้
รีวิว Lenovo Qreator 27 จอ Monitor 4K HDR สุดเทพ เที่ยงตรงระดับอ้างอิง พร้อมฟีเจอร์สุดเทพตอบโจทย์ทุกการใช้งาน | LCDTVTHAILAND
รีวิว Sharp 4T-C60CK1X เต็มตากับ 4K HDR 60 นิ้ว ราคาเบาๆ แถมลูกเล่นเพียบตามสไตล์ Android TV
Klipsch T5 II True Wireless Sport หูฟัง True Wireless สายลุย เสียงดี ทนทาน แบตอึด ตามสไตล์อเมริกัน!! | LCDTVTHAILAND
Raid คืออะไร? พร้อมใช้ Seagate IronWolf ทำ Raid บน Asustor Nimbustor 4
HDD (Hard Disk Drive) คือที่เก็บบันทึกข้อมูลที่ทุกคนรู้จัก ไม่ว่าจะเป็นไฟล์เอกสาร ไฟล์เพลง ไฟล์รูป หรือคลิปวิดีโอต่างก็ถูกบันทึกข้อมูลงบน HDD ซึ่ HDD เหล่านี้ก็จะถูกติดตั้งลงบน PC ไม่ก็บน NAS เพียงแต่ถ้าเรามี HDD มากกว่า 1 ลูก เราก็อาจประยุกต์ใช้ HDD ลูกที่เหลือมาเป็นตัวแบ็คอัพข้อมูลจากลูกหลัก ซึ่งวิธีการแบ็คอัพข้อมูลก็ทำด้วยกันได้หลายวิธี ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือการทำ Raid
![]() Raid คือการใช้ HDD มากกว่า 1 ลูกขึ้นไปมาสร้างเป็นวิธีการบันทึกข้อมูลแบบใหม่ เช่น เวลาบันทึกข้อมูลลงบน HDD ปลายทาง HDD อีกลูกหนึ่งก็จะมีข้อมูลเหมือนกันทุกประการ หรือมัดรวมความจุของ HDD 2 ลูก ให้รวมกันแสดงผลเป็นลูกเดียว ซึ่งการทำ Raid ก็มีมากมายหลายแบบ แต่ละแบบก็มีจุดเด่นที่ต่างกันออกไปดังนี้
Raid 0 : Raid 0 คือการนำ HDD ตั้งแต่ 2 ลูกขึ้นไปมารวมกัน และใช้วิธีการบันทึกข้อมูลแบบกระจายลงบน HDD แต่ละลูก จึงมีจุดเด่นคือสามารถบันทึกข้อมูลได้ไวขึ้น แต่ก็มีข้อเสียด้วยเช่นกัน เพราะหากมี HDD ลูกใดลูกหนึ่งเสีย ข้อมูลก็จะหายทั้งหมด
![]() พื้นที่เก็บข้อมูล Raid 0 : HDD 1 (4TB) + HDD 2 (4TB) = 8TB
ข้อดี : ความเร็วในการอ่าน/เขียนข้อมูลเพิ่มขึ้น
ข้อเสีย : หากมี HDD ลูกใดลูกหนึ่งเสีย ข้อมูลทั้งหมดจะสูญหายทันที
Raid 1 : Raid 1 คือการนำ HDD แบบเลขคู่ ตั้งแต่ 2 ลูกขึ้นไป (2, 4, 6 ,8 …) มาใช้วิธีการบันทึกข้อมูลแบบ Mirror หมายความว่า HDD ลูกแรกมีข้อมูลอะไร HDD ลูกที่สองก็จะมีข้อมูลแบบนั้น
![]() พื้นที่เก็บข้อมูล Raid 1 : HDD 1 (4TB) + HDD2 (4TB) = 4 TB
ข้อดี : ความเร็วในการอ่านข้อมูลเพิ่มขึ้น หากมี HDD ลูกหนึ่งเสียข้อมูลก็ไม่สูญหาย
ข้อเสีย : พื้นที่การใช้งานลดน้อยลง เพราะต้องใช้ HDD ที่มีขนาดเท่ากันในการเก็บข้อมูล
Raid 5 : Raid 5 คือการนำ HDD ตั้งแต่ 3 ลูกขึ้นไปมาทำงานร่วมกัน ใช้วิธีการบันทึกขัอมูลแบบกระจายไปยังทุกลูก และยังมีการสำรองข้อมูลแบบ Parity Bit ในอัตราส่วน N:1 เอาไว้ มีคุณประโยชน์คล้ายคลึงกับ Raid 0 แต่จะมีจุดเด่นตรงที่ยังสามารถกู้ข้อมูลคืนได้ด้วย
![]() พื้นที่เก็บข้อมูล Raid 5 : HDD 1 (4TB) + HDD2 (4TB) + HDD3 (4TB) = 8TB
ข้อดี : ความเร็วในการอ่าน/เขียนข้อมูลเพิ่มขึ้น หาก HDD ลูกใดลูกหนึ่งเสียหาย ข้อมูลก็จะยังไม่หายไป (สูงสุด 1 ลูก)
ข้อเสีย : พื้นที่ HDD จะหายไป 1 ลูก
Raid 6 : Raid 6 คือการนำ HDD ตั้งแต่ 4 ลูกขึ้นไปมาทำงานร่วมกัน ใช้วิธีการบันทึกข้อมูลแบบกระจายไปยังทุกลูก และยังมีการสำรองข้อมูลแบบ Parity Bit ในอัตราส่วน N:2 ความสามารถโดยรวมคล้ายกับ Raid 5 แต่มีความปลอดภัยของข้อมูลสูงกว่า
![]() พื้นที่การเก็บข้อมูล Raid 6 : HDD 1 (4TB) + HDD2 (4TB) + HDD3 (4TB) + HDD4 (4TB) = 8TB
ข้อดี : ความเร็วในการอ่าน/เขียนข้อมูลเพิ่มขึ้น หาก HDD เสียหายพร้อมกันถึง 2 ลูก ข้อมูลก็ยังอยู่ ไม่สูญหายไป
ข้อเสีย : พื้นที่ HDD จะหายไปเลย 2 ลูก
Raid 10 : คือการนำ HDD จำนวนเลขคู่ ตั้งแต่ 4 ลูกขึ้นไป (4, 6, 8, ….) มารวมกัน บันทึกข้อมูลแบบกระจายไปแต่ละลูก พร้อมกับสำรองข้อมูลแบบ 1:1
![]() พื้นที่การเก็บข้อมูล Raid 10 : HDD 1 (4TB) + HDD2 (4TB) + HDD3 (4TB) + HDD4 (4TB) = 8TB
ข้อดี : ความเร็วในการอ่าน/เขียน ข้อมูลเพิ่มขึ้น
ข้อเสีย : สูญเสียพื้นที่ในการจัดเก็บข้อมูลไปแบบครึ่งต่อครึ่ง
พอทราบว่า Raid แต่ละแบบมีความหมายว่าอะไรแล้ว คราวนี้เราก็ลองมาทำ Raid บน NAS อย่าง Asustor Nimbustor 4 กันดูบ้าง วิธีการทำก็ไม่อยากทำตามขั้นตอนได้ดังนี้
1. เข้าไปที่ Storage Manager
![]() ในหน้า ADM เลือกแอปฯ Storage Manager
2. เลือกแถบ Volume
![]() ด้านซ้ายมือเลือกแถบ Volume
3. เลือกหัวข้อ Create > Advance Setup
เมื่อคลิก Next ตรงหน้า Advance Setup ไป เราก็จะพบกับหน้าต่าง ให้เลือกว่าต้องการทำ Raid แบบไหน โดย Raid ที่ขึ้นมาให้เลือกก็จะแปรผันไปตาม HDD ที่ยังไม่พร้อมใช้งานที่เหลืออยู่ภายใน NAS เมื่อเลือกได้แล้วว่าต้องการสร้าง Raid แบบไหน ก็คลิกเลือกได้เลย อย่างในตัวอย่างนี้ผู้เขียนได้เลือกทำ Raid 1
พอเลือกได้แล้วก็จะเข้าสู่หน้าต่างเลือก HDD สำหรับการทำ Raid จากข้อมูลการทำ Raid ที่ให้ไว้ด้านบน Raid 1 จะต้องใช้ HDD อย่างน้อย 2 ลูก ซึ่งตรงนี้ก็จะมีคำอธิบายกำกับเอาไว้ด้วย และหากเรายังมี HDD เหลือก็ยังสามารถทำเป็น Spare Drive ได้ด้วย เผื่อในกรณีที่มี HDD ที่เราทำ Raid เอาไว้เกิดเสียหายขึ้นมา ตัว HDD ที่เราเลือกใช้ทำ Spare Drive ก็จะถูกระบบดึงมาใช้งานทันที
![]() เลือกจำนวน HDD ให้ตรงตาม Raid ที่เลือก
![]() ทำ Spare Drive ได้
ถัดจากนั้นจะเป็นการเลือกระบบ File System ระหว่าง EXT4 กับ Btrf โดยจุดแตกต่างหลักๆ ก็คือ Btrf File System จะรองรับการทำงานร่วมกับฟีเจอร์ Snapshots ด้วย *ในการสร้าง Raid ข้อมูลบน HDD ที่เลือกไว้จะถูกลบออกทั้งหมด
![]() ในการสร้าง Raid ตัว HDD ที่เลือกไว้จะถูกล้างข้อมูลทั้งหมด
สร้าง Raid เรียบร้อยคราวนี้ก็มาดูที่หน้า Overview ก็จะเห็นได้ว่ามีพื้นที่พร้อมใช้งานที่เกิดจากการสร้าง Raid 1 เอาไว้เพิ่มเข้ามา เท่านี้ก็เป็นอันเรียบร้อยสำหรับการสร้าง Raid แล้วครับ
นอกจากการทำ Raid จะเป็นการช่วยปกป้องข้อมูลอย่างหนึ่งแล้ว การเลือกประเภทของหน่วยความจำ ก็มีความสำคัญไม่แพ้กัน เพราะ NAS ถูกออกแบบมาสำหรับการใช้งานแบบ 24x7 หน่วยความจำที่เอามาใช้บน NAS อาจเป็น HDD หรือ SSD ก็ได้ แต่ขอแนะนำให้เลือกใช้แบบ HDD จะดีกว่า เพราะหากหน่วยความจำแบบ SSD เกิดเสียหายขึ้นมาโอกาสในการกู้ข้อมูลกลับคืนมาน้อยมาก ต่างกับ HDD ที่มีโอกาสกู้คืนได้ โดยเฉพาะ HDD แบบเฉพาะทางอย่าง Seagate IronWolf
![]() Seagate IronWolf และ IronWolf Pro เป็น HDD ที่ออกแบบมาสำหรับใช้งานกับ NAS โดยเฉพาะ รองรับการทำงานแบบ 24x7 ความแตกต่างหลักๆ ระหว่าง IronWolf กับ IronWolf Pro อยู่ที่ความจุเริ่มต้น และความจุสูงสุด รวมไปถึงการรองรับ Workload ที่ตัว IronWolf Pro สามารถทำได้มากกว่า
IronWolf : รับประกัน 3 ปี กู้ข้อมูลฟรี 1 ครั้ง การใช้งาน 1 – 8 bays รองรับ workload 180TB/Year
ความจุเริ่มต้น 1 TB, 2TB, 3 TB, 4 TB, 6TB, 8TB, 10 TB, 12 TB
IronWolf Pro : รับประกัน 5 ปี ภายใน 3 ปี กู้ข้อมูลฟรี 1 ครั้ง การใช้งานสูงสุด 24 bays
รองรับ workload 300TB/Year ความจุเริ่มต้น 4TB, 6TB, 8TB, 10TB, 12TB, 14TB, 16TB, 18TB
การรับประกันของ Seagate IronWolf และ IronWolf Pro มีความพิเศษเป็นอย่างมาก ภายในระยะเวลา 3 ปี นับตั้งแต่วันที่ซื้อ หาก HDD เกิดมีความเสียหาย ใช้งานไม่ได้ สามารถส่ง HDD ไปที่ Seagate กู้ข้อมูลได้ฟรีๆ เลย 1 ครั้ง โดย Seagate กล้ารับประกันเลยว่าข้อมูลที่กู้กลับคืนมาได้อย่างน้อยๆ ก็คือ 95% เพราะทาง Seagate จะส่งให้ห้องแล็ปเฉพาะทางในการกู้ข้อมูลโดยเฉพาะเลย
![]() จะเห็นได้ว่าทั้งตัว NAS และ HDD เองต่างก็มีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน โดยเฉพาะหัวใจหลักอย่าง HDD ที่เป็นส่วนสำคัญในการเก็บข้อมูล ควรเลือกใช้งานให้ถูกประเภท และมีการรับประกันที่น่าไว้วางใจไม่อย่างนั้นเกิดวันดีคืนดี ข้อมูลเสียหายขึ้นมา เดี๋ยวจะร้องเสียดายทีหลัง
|