09 Sep 2016
Article

มาดูกัน….จอทีวีชนิดไหนมีโอกาสเกิด Burn In ???


  • lcdtvthailand

ทีวีในท้องตลาดบ้านเราก็มีหลายชนิดด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็น LED TV, Plasma TV, CRT TV, OLED TV และล่าสุดคือ QLED TV ซึ่งทีวีแต่ละประเภทนั้นก็มีข้อดี-ข้อจำกัดแตกต่างกันออกไป หนึ่งในข้อจำกัดที่เป็นที่ถกเถียงกันในวงกว้างคืออาการ Burn In ว่ามันเกิดขึ้นกับทีวีชนิดไหนได้บ้าง ? แล้วอาการของมันนั้นเป็นอย่างไร ? ร้ายแรงแค่ไหน ? บทความนี้จะช่วยให้คำตอบแก่ทุกท่าน

Burn In คืออะไร ?

Burn In แปลว่ารอยภาพไหม้ค้างติดหน้าจอ เป็นอาการที่สามารถเกิดขึ้นกับทีวีได้หากเราเปิดภาพนิ่งแช่ค้างไว้เป็นเวลานานโดยไม่มีการเคลื่อนไหวของภาพ ส่วนใหญ่ร่องรอยที่มักปรากฏติดหน้าจอก็มักจะเป็นพวกตัวอักษรหรือโลโก้ช่องรายการ จะเป็นรอยเงาขึ้นรูปเด่นชัดขึ้นมา โดยรอยภาพค้างติดหน้าจอเช่นนี้ก็มีตั้งแต่แบบชั่วคราว ซึ่งหากใช้งานทีวีแบบปกติไปซักพักก็จะหายไปเอง หรือหากร้ายแรงหน่อยก็จะเกิดขึ้นแบบถาวร ซึ่งจะทำให้เสียอรรถรสการรับชมทีวีเป็นอย่างยิ่ง  

Burn In คืออาการรอยภาพไหม้ค้างติดหน้าจอ จะเกิดขึ้นได้ง่ายหากเปิดพวกรายการที่มีโลโก้หรือตัวอักษรทิ้งค้างบนหน้าจอไว้เป็นเวลานาน

การใช้งานที่มีโอกาสเสี่ยงทำให้จอทีวีเกิด Burn In ?

  • รายการทีวีทั่วไปที่มักจะแสดงโลโก้ช่องรายการที่มุมจอด้านบนค้างเอาไว้ทั้งรายการ
  • ต่อคอมพิวเตอร์แล้วเปิดหน้า Desktop ทิ้งเอาไว้จนเกิดเป็นรอยปุ่ม Icon โปรแกรมต่างๆ
  • เปิดแช่โปรแกรมพรีเซนเทชั่นของคอมพิวเตอร์ที่มีพวกตัวอักษรหรือเส้นกรอบทิ้งเอาไว้
  • เกมส์ไม่ว่าจะเป็นคอนโซลหรือ PC ที่มีแถบค่าพลังและแถบเมนูแช่ค้างเอาไว้
OLED TV และ Plasma TV ที่ใช้หลักการเม็ดพิกเซลกำเนิดแสงได้เองมีโอกาสเกิด Burn In ส่วน QLED TV, LED TV และ LCD TV แทบจะไม่มีโอกาส Burn In เพราะตัวเม็ดพิกเซลไม่ได้ส่องสว่างเองโดยตรง

แล้วทีวีชนิดไหนมีโอกาสเกิด Burn In ?

OLED TV = มีโอกาสเกิด Burn In

  • เนื่องจากจอ OLED ตัวเม็ดพิกเซลสามารถกำเนิดแสงเองได้ จังหวะที่พวกโลโก้หรือตัวอักษรส่องสว่างออกมาทำให้เกิดความร้อนตรงจุดพิกเซลบริเวณนั้นเป็นพิเศษ ยิ่งหากฉากหลังเป็นสีดำสนิทตัดกับตัวอักษรหรือโลโก้สีขาวแบบคอนทราสต์อย่างสิ้นเชิงก็จะยิ่งสุ่มเสี่ยง หากเปิดทิ้งแช่ไว้นานๆก็จะเกิดอาการ Burn In จึงไม่แปลกที่เรายังไม่เห็นจอ OLED ในรูปแบบจอคอมพิวเตอร์ในท้องตลาดเสียที

Plasma TV = มีโอกาสเกิด Burn In

  • Plasma TV จัดว่าเป็น “ต้นตำหรับแห่งการเบิร์นอิน” เพราะโครงสร้างพิกเซลบรรจุก๊าซที่ช่วยส่องสว่างไว้ข้างใน ซึ่งจะแผ่ความร้อนสูงเมื่อเปล่งแสงสีออกมา จึงเกิดรอยภาพไหม้ค้างติดหน้าจอได้ง่าย เป็นอีกหนึ่งเหตุผลหลักที่ Plasma TV เลิกได้รับความนิยมจนเลิกผลิตไปในที่สุด

LED TV = แทบไม่มีโอกาส Burn In

  • LED TV คือทีวีที่ใช้หลอดไฟ LED ในการส่องสว่างให้แสงลอดผ่านฟิลเตอร์แม่สีเพื่อกำเนิดเป็นภาพสีสันต่างๆ เม็ดพิกเซลเฉพาะจุดไม่ได้ส่องสว่างเองโดยตรงเหมือนพวก Plasma และ OLED TV ดังนี้ไม่ว่าจะเปิดภาพนิ่งแช่ค้างไว้นานแค่ไหนก็ไม่มีโอกาสเกิด Burn In นอกจากทีวีแล้วก็ยังนิยมเอามาทำเป็นจอโน๊ตบุ๊คและคอมพิวเตอร์มอนิเตอร์อีกด้วย

QLED TV = แทบไม่มีโอกาส Burn In

  • QLED TV คือเวอร์ชั่นอัพเกรดของ LED TV กล่าวคือใช้เทคโนโลยี Quantum Dot มาเสริมพลังภาพให้สีสันสดสวยขึ้น ความสว่างมากขึ้น มุมมองการรับชมดีขึ้น เพื่อให้แสดงภาพสวยสมจริงสูงสุด โดยหลักการกำเนิดภาพยังอิงมากจาก LED TV ซึ่งไม่มีจุดพิกเซลที่ส่องสว่างเองโดยตรงและอีกทั้งให้ระดับความร้อนที่ต่ำมาก จึงแทบไม่มีโอกาส Burn In
QLED TV แทบจะไม่มีโอกาสเกิด Burn In จึงเต็มที่กับการใช้งานและสบายใจได้ 100%

สรุป

ทีวีบางประเภทก็ยังมีข้อจำกัดเรื่องของรอยภาพไหม้ค้างติดหน้าจอหรือ Burn In อยู่ แต่สำหรับ Samsung QLED TV นั้นแทบจะไม่มีโอกาสเกิดขึ้น และ Samsung ยังรับประกันการซ่อมให้ฟรีหากผู้ใช้ซื้อทีวีไปแล้วพบเจอปัญหา Burn In นอกจากนี้ก็ยังทำให้ผู้ครอบครองรู้สึก100% Worry-Free อีกเด้ง เพราะระหว่างการรับชมรายการโปรดก็ไม่ต้องมานั่งห่วงหน้าพะวงหลังว่าเปิดภาพค้างไว้นานเกินไปจนอาจเกิดรอย Burn In เป็นเงาประทับค้างบนหน้าจอจนเสียอารมณ์ ฉะนั้นไม่ว่าจะนั่งดูรายการโปรดจนเผลอหลับไปแล้วเปิดทีวีค้างไว้, เล่นเกมส์แบบนันสต็อป หรือแม้ต่อคอมพิวเตอร์ทำงาน ก็สามารถเต็มที่กับทุกกิจกรรมทีวี ให้ทุกการใช้งานคือความสุข 100% ซึ่งนี่แหละคือการบรรลุปลายทางของการเสพทีวีที่แท้จริง ดูข้อมูลสินค้าเพิ่มเติมได้ที่ http://www.samsung.com/th/tvs/qled-tv

บทความประชาสัมพันธ์

Credit : Samsung