15 Apr 2014
Article

Basic Home Theater FAQ – รู้จักกับระบบโฮมเธียเตอร์


  • lcdtvthailand

เชื่อว่าสถานที่ ที่มนุษย์ใช้เวลาส่วนใหญ่เป็นที่พักพิง จากพื้นฐานที่ให้ทั้งความอุ่นใจ และความปลอดภัยทางกาย คงไม่มีที่ใดดีไปกว่า บ้าน” และด้วยความพร้อมของสถานที่ หากจะมีกิจกรรมที่เชื่อมโยงคนในบ้าน ให้มีปฏิสัมพันธ์กันอย่างพร้อมหน้า ย่อมจะสร้างความอบอุ่นแน่นแฟ้น พร้อม ๆ กับการทำหน้าที่ช่วยผ่อนคลายความเคร่งเครียดจากงานที่ทำมาตลอดวัน… หากอาศัยความบันเทิงที่สามารถรับชมได้จากที่บ้าน โดยอุปกรณ์ที่เรียกว่า โฮมเธียเตอร์ ความต้องการข้างต้น คงมิใช่ความฝัน

วัตถุประสงค์บทความนี้ เป็นหนึ่งใน ชุดข้อมูลความรู้โฮมเธียเตอร์เบื้องต้น” สำหรับทุกท่านที่สนใจ หรือผู้ที่เพิ่งเริ่มสนใจ แต่ยังจับต้นชนปลายไม่ถูก ให้มีแนวทางประกอบการตัดสินใจในการเลือกโฮมเธียเตอร์สักชุดหนึ่ง



 “
โฮมเธียเตอร์ คือ อะไร ?”

 
โฮมเธียเตอร์ คือ หนึ่งใน “ระบบ” ที่ใช้สร้างความบันเทิงในบ้านพักอาศัย โดยเน้นนำเสนอความบันเทิงดังกล่าว ในรูปแบบของ ภาพ และ เสียง คำว่าระบบ (System) ให้นัยของการ “ผสานรวม” การทำงานของอุปกรณ์ต่าง ๆ เข้าด้วยกัน จึงจะสามารถตอบสนองการใช้งานได้อย่างสมบูรณ์ตามประสงค์

พื้นฐาน “ระบบ” ดังกล่าวประกอบไปด้วย แหล่งโปรแกรมทาง ภาพ และ/หรือ เสียง ที่ผ่านการแปรรูปให้สามารถนำมารับชมผ่านอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์โฮมเธียเตอร์ เพื่อสร้างความบันเทิงในบ้าน 

แหล่งโปรแกรมทางภาพ และเสียง ที่คุ้นเคยกันดี ยกตัวอย่างเช่น รายการโทรทัศน์ ภาพยนตร์ เกม เพลง วิทยุ ภาพถ่าย ฯลฯ โดยทั้งหมดได้รับการแปรสภาพให้อยู่ในรูปแบบ (Format) ที่สามารถรับชมในบ้านพักอาศัย โดยบันทึกในรูปแบบของสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (โดยอาศัยหลักการทางดิจิทัล และ/หรือ อะนาล็อก) เพื่อความยืดหยุ่นในการรับชม แต่หลักการนี้ จำเป็นต้องพึ่งอุปกรณ์ในการแปลงข้อมูลกลับมาเป็นภาพ และเสียง เช่นเดียวกับสื่อต้นทาง

หมายเหตุ:กระบวนการแปลงข้อมูลทางไฟฟ้า ให้กลับมาเป็น ภาพ และ เสียง ที่มนุษย์สามารถรับรู้ และเข้าใจได้ เรียกได้ว่าเป็นขั้นตอน เล่นกลับ” (Playback)

 “อุปกรณ์โฮมเธียเตอร์ ประกอบด้วยอะไรบ้าง ?”


จากหลักการข้างต้น จึงเท่ากับว่า อุปกรณ์โฮมเธียเตอร์ ก็คืออุปกรณ์เล่นกลับ (Playback Devices) สำหรับระบบภาพ และเสียง ในบ้านพักอาศัย อุปกรณ์ดังกล่าวสามารถแยกย่อยออกเป็นหมวดหมู่ได้ 3 กลุ่ม ใหญ่ ๆ คือ 1) อุปกรณ์ต้นทาง (Sources) หรือแหล่งโปรแกรม อย่างเช่น อุปกรณ์จำพวกเพลเยอร์ต่าง ๆ  2) อุปกรณ์นำเสนอทางด้านภาพ (Video) จากจอภาพลักษณะต่าง ๆ และ 3) อุปกรณ์นำเสนอทางด้านเสียง (Audio) หรือก็คือ ซิสเต็มเครื่องเสียง และลำโพงโฮมเธียเตอร์นั่นเอง

หมายเหตุ:การนำเสนอความบันเทิงในปัจจุบัน มิได้จำกัดแค่ ภาพ และ เสียง เพียงอย่างเดียว แต่เริ่มมีการพัฒนาให้ความสนใจกับการรับรู้ทาง “กลิ่น” และ “สัมผัส” ด้วยเช่นเดียวกัน ดังจะพบได้จากโรงภาพยนตร์แบบ 4D แต่ระบบดังกล่าว คงยังมิใช่มาตรฐานที่จะใช้งานในบ้านพักอาศัยในเร็ววันนี้


 “อุปกรณ์ต้นทาง (Sources) คืออะไร ?” 
 

ต้นทางของความบันเทิง ก็คือ “แหล่งโปรแกรม” โดยเน้นที่คอนเทนต์ หรือสื่อบันเทิงสำหรับใช้งาน รับชมหรือฟัง ในบ้านพักอาศัยเป็นหลัก อาจประกอบไปด้วยภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว เสียง อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือทั้งหมดก็ได้ และอาจรวมไปถึงส่วนเสริมปลีกย่อยอื่น ๆ เช่น ระบบโต้ตอบกับผู้ใช้ (Interactive) ฯลฯ เพื่อให้ผู้ชมได้สัมผัสกับความบันเทิงนั้นได้เต็มอรรถรสยิ่งขึ้น แต่การที่ผู้ใช้จะสัมผัสกับความบันเทิงในรูปแบบเหล่านี้ ที่อยู่ในรูปแบบของสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (อาจเป็นแผ่นดิสก์ ไฟล์ การออกอากาศ (Broadcast) ส่งข้อมูลมาตามสาย หรือออนไลน์ทางอินเทอร์เน็ต ฯลฯ) จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์เฉพาะ ที่ตรงกับฟอร์แม็ตของสื่อนั้น ๆ ในการ “เล่นกลับ” !

อุปกรณ์ข้างต้น ยกตัวอย่างเช่น ทีวีจูนเนอร์ (ใช้รับชมรายการฟรีทีวี) กล่องรับสัญญาณดาวเทียม-เคเบิลทีวี บลูเรย์-ดีวีดีเพลเยอร์ คอมพิวเตอร์ (สำหรับเล่นเกม และมัลติมีเดียไฟล์) เกมคอนโซล กล้องบันทึกภาพนิ่ง-วิดีโอ โมบายมัลติมีเดีย (สมาร์ทโฟน และเครื่องเล่นเพลง-วิดีโอ หรือเกม แบบพกพา) ฯลฯ จะเห็นว่ามีจำนวนมากมายหลากหลาย และชนิดของฟอร์แม็ตก็ไม่หยุดนิ่ง คือ มีการเพิ่มเข้ามาเรื่อย ๆ ตามแต่จะมีการคิดค้นสร้างสรรค์ขึ้นมา

 “แล้วจะเลือกอุปกรณ์ต้นทางใด มาใช้งานในระบบโฮมเธียเตอร์ดี ?”  

ในเมื่อมีอุปกรณ์ต้นทางที่หลากหลาย แล้วผู้บริโภคจะเลือกอย่างไร ? คำตอบนั้นอยู่ที่ว่าท่านจะเลือก “แหล่งโปรแกรม” ใด มาสร้างความบันเทิงในบ้าน เมื่อเลือกแหล่งโปรแกรมได้แล้ว อุปกรณ์เล่นกลับในระบบโฮมเธียเตอร์จะถูกกำหนดไปโดยปริยาย

อย่างไรก็ดี คำตอบของคำถามว่าแหล่งโปรแกรมใด เหมาะใช้งานกับระบบโฮมเธียเตอร์มากที่สุด คงไม่อาจฟันธงได้ เพราะเป็นเรื่องของความเหมาะสมของสถานการณ์ วิจารณญาณ ไปจนถึง “ไลฟ์สไตล์” ของแต่ละบุคคลว่า จะเลือกเสพสื่ออย่างไร… ซึ่งในประเด็นนี้ ไม่มีสูตรสำเร็จ ใครชอบอะไร แบบไหน ก็จัดไปครับ

กระนั้นผมได้รวบรวมข้อมูลเชิงเปรียบเทียบ เพื่อใช้อ้างอิงประกอบการตัดสินใจเลือกแหล่งโปรแกรมเข้ามาใช้งานในระบบโฮมเธียเตอร์ โดยใช้เกณฑ์ทางด้าน คุณภาพของ “ภาพ” และ “เสียง” ซึ่งเป็นข้อมูลที่สามารถใช้ประเมินความพึงพอใจใน “คุณภาพ” ที่จะได้รับเมื่อรับชมผ่านระบบโฮมเธียเตอร์ในเบื้องต้นได้ แต่อย่างทีเรียนไปว่า นี่มิใช่ข้อมูลประกอบการตัดสินใจที่จำเป็นที่สุด เรื่องของรสนิยม ความชอบ เป็นสิ่งที่ประเมินได้ยาก

เปรียบเทียบรูปแบบแหล่งโปรแกรมในระบบโฮมเธียเตอร์ที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน*
 แหล่งโปรแกรมอุปกรณ์คุณภาพ
ภาพ**
คุณภาพ
เสียง**
หมายเหตุ
 
 

ฟรีทีวี
(อะนาล็อก)
 

เสาอากาศ+จูนเนอร์
 

ต่ำ
 

ต่ำ
 

ฟรี (ในการรับสื่อ)
 
ดาวเทียม/เคเบิลทีวี
 
จาน+รีซีฟเวอร์รับดาวเทียม/เคเบิล
 
ต่ำ ~ สูงต่ำ ~ สูงมาตรฐานปัจจุบันรองรับภาพ HD 
เสียง Surr
(แต่จำกัดเพียงบางช่อง)
 

AV Formats

 
DVD-V Disc
 
 DVD Player
 
ปานกลาง
 
สูง
 
มาตรฐานหลัก (ยุคก่อน) จากอุตสาหกรรมภาพยนตร์
 
Blu-ray Disc
 
 BD Player
 
สูงสุด
 
สูงสุด
 
มาตรฐานหลักจากอุตสาหกรรมภาพยนตร์
รองรับภาพ 3D/HD
เสียง Surr
 
 
 
เกมคอนโซล PS3, Xbox, Wiiปานกลาง ~ สูงสุดปานกลาง ~ สูงรองรับภาพ 3D/HD
เสียง Surr
มัลติมีเดียไฟล์
 
 PC, Smart TV
Mediaplayer***
Digital Camera & Camcorder
ต่ำ ~ สูงสุด
 
ต่ำ ~ สูงสุด
 

รองรับภาพ 3D/HD
เสียง Surr และ Hi-res
 
Audio Formats
 
วิทยุ AM/FM
 
เสาอากาศ+จูนเนอร์
AVR 
 

 
ขึ้นกับคุณภาพการรับสัญญาณ
 
ฟรี (ในการรับสื่อ)
 
CD/SACD
 
 CD/SACD Player
 

 
สูง ~ สูงสุด
 
มาตรฐานหลักจากอุตสาหกรรมเพลง
รองรับเสียง Surr และ Hi-res (SACD)
Online Formats
 
Internet Radio
 
 PC, AVR
Smart TV Mediaplayer***
 

 
ต่ำ ~ ปานกลาง
 
ฟรี (ในการรับสื่อ)
 
YouTube,
Other VDO Streaming 
 PC, Smart TV Mediaplayer***ต่ำ ~ สูงสุดต่ำ ~ สูงฟรี (YouTube)
รองรับภาพ 3D/HD 

หมายเหตุ:
– *
อ้างอิงจากมาตรฐานคอนเทนต์ที่แพร่หลายในปัจจุบัน (2011~2012)


– **
มาตรฐานที่ใช้อ้างอิงคุณภาพของภาพ

ต่ำ = มาตรฐานความละเอียดต่ำกว่า Standard Definition (240i/p, 360i/p)

ปานกลาง = มาตรฐานเทียบเท่า Standard Definition (480i/p, 576i/p)

สูง = HD Standard (720p – 1080i)

สูงสุด = Full HD Standard (1080p)

สำหรับ 4K ยังไม่ถือเป็นมาตรฐานสำหรับตลาดคอนซูเมอร์ (ทั้ง HW และ SW) ในปัจจุบัน จึงไม่นำมาพิจารณาเวลานี้


– **
มาตรฐานที่ใช้อ้างอิงคุณภาพเสียง

ต่ำ = Low quality lossy formats (low bitrate compressed formats)

ปานกลาง = High quality lossy formats (compressed formats up to 16-bit/48kHz)

สูง = 2-ch Lossless Format (PCM) หรือ Surround Lossy (Dolby/DTS up to 16-bit/48kHz)

สูงสุด = Lossless Format (2-ch & multi-ch) รวมถึงระบบเสียง HD Surround (DD TrueHD/DTS-HD MA) up to 24-bit/192kHz

– *** Mediaplayer ในที่นี้ หมายถึง อุปกรณ์ดิจิทัลมัลติมีเดียยุคใหม่ เช่น Smart Phone, iDevices, HD Player, etc.