17 Jun 2014
Article

Motion Flow 100Hz 200Hz คืออะไร ??? และมีประโยชน์อย่างไร ???


  • lcdtvthailand

เคยไหมครับเวลาไปเดินตามโซนขายทีวีตามห้างต่างๆ แล้วพนักงานขายเชียร์ขายทีวีด้วยประโยคสุดคลาสสิค? ตัวนี้ 100Hz นะครับพี่? และแน่นอนครับเจ้า 100Hz นี่มันมีความหมายว่าอย่างไร นายโรมันเองก็จะไขความกระจ่างให้นะครับ

เคยไหมครับเวลาไปเดินตามโซนขายทีวีตามห้างต่างๆ แล้วพนักงานขายเชียร์ขายทีวีด้วยประโยคสุดคลาสสิค “ตัวนี้ 100Hz นะครับพี่” และแน่นอนครับเจ้า 100Hz นี่มันมีความหมายว่าอย่างไร นายโรมันเองก็จะไขความกระจ่างให้นะครับ แต่ก่อนอื่นผมคงต้องท้าวความไปถึงระบบทีวีในประเทศไทยและการส่งเฟรมภาพใน ปัจจุบันนี้ก่อนครับ

ประเทศไทยมีการส่งภาพแบบ Pal จึงทำให้ทีวีแสดงเฟรมภาพ 50 เฟรมภาพต่อวินาทีเป็นระบบ PAL (50Hz)ในขณะที่ประเทศอย่างญี่ปุ่นและอเมริกาเป็นแบบ NTSC จึงทำให้ทีวีสามารถแสดงแฟรมภาพได้ 60 เฟรมภาพต่อวินาที (60Hz) และแน่นอนยิ่ง Hz สูงๆภาพเคลื่อนไหวก็ยิ่งดี เพราะใน 1 วินาที ยิ่งสามารถแสดงเฟรมภาพได้มากเท่าไหร่ ภาพเคลื่อนไหวก็จะเนียนขึ้น ลื่นไหลขึ้น และกระพริบ+กระตุกน้อยลงครับ

Motionflow 100Hz คือการแสดงเฟรมภาพได้สูงถึง 100 เฟรมภาพต่อวินาที เป็นเทคนิคการคำนวณแทรกเฟรมภาพใหม่ 1 เฟรมภาพระหว่าง 2 เฟรมภาพต้นฉบับครับ (ดูรูป) ส่งผลให้ภาพเคลื่อนไหวและในฉากแพนกล้องเนียนขึ้น ดังนี้เมื่อสัญญาณทีวีบ้านๆเราส่งมาแบบ Pal และทีวีจะทำการแทรกเฟรมภาพแบบ 50 เฟรมต่อวินาที และจะแทรกเฟรมให้อัตโนมัติ เป็น 50X2 = 100 Hz การกระกระตุกของภาพเคลื่อนไหวก็จะน้อยลง

ประโยชน์ที่ได้รับคือการรับชมที่ได้อรรถรสมากขึ้นเพราะพวกหนังแอ็คชั่น หรือกีฬาที่มีการเคลื่อนไหวเร็วๆ รุ่นที่มีเทคโนโลยี Motionflow 100Hz ในปัจจุบันนี้ได้แก่ EX500 EX700 NX700

หมายเหตุ: ถ้าเราดู DVD จากอเมริการเป็น 60Hz/NTSC แสดงเฟรมภาพแบบ 60 เฟรมภาพต่อวินาที เมื่อเราเปิดใช้งาน Motionflow 100Hz การแสดงเฟรมภาพก็จะถูกแปลงให้เป็น 120 เฟรมภาพต่อวินาที คิดง่ายๆคือ 60×2 = 120 Frame Per Second (120Hz)

Motionflow 200Hz คือการแสดงเฟรมภาพได้สูงถึง 200 เฟรมภาพต่อวินาที เป็นเทคนิคการคำนวณแทรกเฟรมภาพใหม่ 3 เฟรมภาพระหว่าง 2 เฟรมภาพต้นฉบับครับ (ดูรูป) ส่งผลให้ภาพเคลื่อนไหวและในฉากแพนกล้องยิ่งเนียนขึ้นเข้าไปอีก หลักการเดียวแบบ Motionflow 100Hz แต่แทรกจำนวนเฟรมภาพมากยิ่งขึ้นครับ ในปัจจุบันนี้ Sony BRAVIA NX800 เป็นรุ่นไฮเอนด์ที่สุดและเทคโนโลยีล้ำสมัยที่สุดของ Sony มีเทคโนโลยี Motionflow 200Hz ครับ

หมายเหตุ: ถ้าเราดู DVD จากอเมริกาเป็น 60Hz/NTSC ซึ่งแสดงภาพแบบ 60 เฟรมภาพต่อวินาที เมื่อเราเปิดใช้งาน Motionflow 200Hz การแสดงเฟรมภาพก็จะถูกแปลงให้เป็น 240 เฟรมภาพต่อวินาที คิดง่ายๆคือ 60×4 = 240 Frame Per Second (240Hz)

อย่างไรก็ตามการแทรกเฟรมภาพด้วยเทคโนโลยี Motionflow ในบางทีภาพเคลื่อนไหวอาจจะไม่เป็นธรรมชาติมากนัก แต่เจ้า Motionflow เราสามารถปรับได้ 3 ระดับคือ Off / Low / High โดยเราสามารถเลือกระดับที่ภาพเคลื่อนไหวลื่นไหลมากขึ้นและยังคงความเป็น ธรรมชาติไว้ได้มากที่สุดครับ โดยที่ผมแนะนำคือระดับ Low เพราะภาพเคลื่อนไหวลื่นไหลขึ้นกว่าแบบปิดการใช้งาน Motionflow และยังคงความเป็นธรรมชาติได้มากที่สุดครับ!!!

สำหรับหน้าที่ 2 ไปดู 7 เกร็ดความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยี 100Hz ครับ

หมายเหตุ: 100Hz ของแต่ละค่ายก็จะเรียกต่างกันนะครับ

1. Sony = Motion Flow

2. LG = TruMotion

3. samsung = Motion Plus

4. Philips = HD Natural Motion

5. JVC = Clear Motion

6. Panasonic = Intelligent Frame Creation (Plasma) ถ้า LCD = Motion Picture Pro

7. Toshiba = Clear scan

8. Sharp =  Fine Motion Advance

ที่ให้เครดิต Motion Flow ขึ้นหัวเพราะถือว่าเป็นต้นตำรับครับ ผมติดตามมาตั้งแต่รุ่น D Series ของ Sony ปี 2007 ที่เขย่าวงการด้วย Motion Flow ครับ ในขณะนั้นพวก LCD TV Full HD ก็เทพแล้วครับ มี 100Hz เข้ามาเลยเป็นจุดขายที่สำคัญในช่วงปี 2008-2009 ทันที

7 เกร็ดความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยี 100Hz 200Hz

1. หากเราเล่นเกมส์เช่น Winning หรือ Street Fighter แนะนำให้ปิด Motion Flow 100Hz เพราะ Video Processor จะทำงานในการคำนวณแทรกเฟรมภาพ จะทำให้เกิด Input Lag ได้ คือกดยิงแล้วกว่าลูกจะออกจากเท้าต้องรออีกเสี้ยววินาที มีอากากร Delay เนื่องจากรอชิพมันคำนวณแทรกเฟรมภาพ ไม่ Real Time

2. ถ้าใช้ Game Mode (Sony, LG, Samsung มีหมด) Motion Flow จะถูกปิดอัตโนมัติเพื่อป้องกัน Input Lag

3. หากเล่นเกมส์ภาษา RPG ภาพแหล่ม ก็สามารถเปิด Motion Flow ให้ภาาพลื่นไหล มีมิติสวยงามได้

4. ระดับของ Motion Flow ที่เหมาะสมผมว่า Low คือ ภาพมีมิติขึ้นเล้กน้อย ภาพเคลื่อนไหวดีขึ้นเล็กน้อย โดยยังไม่ศูนย์เสียความเป็นธรรมชาติจนเกินไปนัก

5. เทคโนโลยีการใช้กระพริบของหลอด Backlight เพื่อสร้าง “แถบดำ” แทรกในเฟรมภาพต้นฉบับเรียกว่า “Scanning Backlight” หรือ “Blinking Backlight” ช่วยลดอาการ “ลาก” เป็นเงาภาพได้ ในขณะนี้ทีวีที่ใช้เทคโนโลยี Scanning Backlight ผสานกับวิธีการแทรกเฟรมภาพ Frame Interpolation ได้แก่ LG LH50, Toshiba ZV600, Philips PFL9704, Sony X450 เป็นต้น

6. ถ้าดูหนังแล้วเปิด Motion Flow แล้วรู้สึกมึนๆเพราะไม่ชินกับแนวภาพก็ปิดไปซะ

7. ถ้าดูหนังจากแผ่น Blu-ray Disc ที่ Output 24p ให้ปิด Motion Flow ก็ได้ถ้าหากต้องการภาพต้นฉบับแท้ๆ ไม่มีการปรุงแต่งแทรกเฟรม พวก Real Cinema Mode ในทีวีจะ Output โชว์ 1080p/24Hz โดยการใช้วิธี 5:5 Pull Down ซึ่งเอาเฟรมภาพนึงมาฉายซ้ำกันถึง 5 ครั้ง 24×5 = แสดงได้ 120 เฟรมภาพต่อวินาที ลดอาการกระพริบได้ดีนักแล และยังคงความเป็นต้นฉบับของหนังที่เรียกว่า Real Cinema ไว้ได้ด้วย