07 May 2014
Review

ถ้าโรงหนังไม่เวิร์คก็จัดหนัก (แบบงบไม่บาน) ดูหนังจอยักษ์ที่บ้านเลยเป็นไง !! รีวิว Acer P1340W 3D Home Projector


  • ชานม

3D Home Projector

Acer P1340W

ถ้าโรงหนังไม่เวิร์คก็จัดหนัก (แบบงบไม่บาน) ดูหนังจอยักษ์ที่บ้านเลยเป็นไง !!

ช่วงที่กำลังปั่นต้นฉบับอยู่นี้ เห็นมีข่าวผู้บริโภคไปร้องเรียน สคบ. กันเยอะเกี่ยวกับโรงภาพยนตร์ ไม่ว่าจะค่าตั๋ว ค่าของกินเล่นแพง หรือไม่ก็ฉายโฆษณาเยอะ ไปจนถึงเรื่องแอร์ไม่เย็นบ้างล่ะ ฯลฯ 


ทำไมคนถึงชอบไปดูหนังในโรงฯ ผมเชื่อว่าประเด็นหนึ่งเพราะอยากได้รับประสบการณ์ความอลังการจากภาพบนจอขนาดใหญ่เต็มตา ซึ่งถ้าหากเป็นเมื่อก่อน การชมภาพยนตร์จอใหญ่ๆ อย่างไรเสียก็ต้องไปที่โรงภาพยนตร์ เพราะหาจอใหญ่ๆ ดูที่บ้านไม่ได้ แต่วันนี้ตัวเลือกจอภาพขนาดใหญ่ สำหรับใช้งานในบ้านมีจำนวนตัวเลือกเพิ่มมากขึ้น พร้อมๆ กับระดับราคาที่ลดต่ำลงพอให้จับต้องได้ สังเกตได้จากจอภาพแบบ Flat Panel ที่แฟนๆ LCDTVTHAILAND คุ้นเคยกันดี เดี๋ยวนี้ขนาด 60 70 ไล่ไปจนถึง 80 กว่านิ้ว มีให้เห็นกันเกร่อในงาน Expo ต่างๆ แต่ถึงกระนั้น เพดานราคาก็ดูเหมือนจะห่างจากจอขนาดเล็กอยู่มาก เรียกว่าขนาดยิ่งใหญ่ ราคาก็ยิ่งสูงขึ้น สูงขึ้น เป็นเงาตามตัว…
 


อลังการกับภาพจอใหญ่แบบเดียวกับโรงภาพยนตร์ที่บ้าน… เป็นไปได้หรือไม่?
 

ถึงกระนั้นก็ยังมีอีกตัวเลือกหนึ่ง ที่สามารถขยายประสบการณ์รับชมให้ใหญ่ขึ้นได้มาก ในขณะที่งบประมาณมิได้แปรผันพุ่งปรี๊ดตามความใหญ่แต่อย่างใด… หากจะให้ชี้ชัดกว่านั้น ผมกำลังจะบอกว่า เดี๋ยวนี้ใครที่อยากชมจอใหญ่ระดับ 100 นิ้ว ก็ทำได้ เพียงกำเงินไป 2 หมื่น ไปซื้อ “โปรเจ็กเตอร์” ก็จะได้สิทธิ์นั้นทันที !

2 หมื่นบาท หากเป็นเมื่อก่อนคงได้แค่โปรเจ็กเตอร์พรีเซนเทชั่น ความละเอียดต่ำๆ ดูหนังก็คงไม่ได้น้ำได้เนื้อ ระดับคอนทราสต์ก็ไม่ค่อยได้เรื่องได้ราวนัก เน้นสว่างโล่อย่างเดียว แต่เดี๋ยวนี้ 2 หมื่น ได้โปรเจ็กเตอร์ความละเอียดระดับ High Definition แล้วครับ และยังรองรับ 3D อีกต่างหาก เอาไปดูแบบมิติ “ทะลุจอ” กันเลย…
 


Acer P1340W Home Entertainment 3D DLP Projector
พระเอกของงานนี้ มาในลักษณะ “ขาว” ได้ใจทั้งเซ็ต

General Specification*

Model    P1340W   
Projection SystemDLP
Native ResolutionWXGA
(1280×800)
HDMI Input1
3D SystemActive
Resolution SupportUp to
1920×1200
Horizontal Frequency31-99 kHz
Vertical Scan Rate23-120Hz
Brightness2700
ANSI Lumen
Lamp Type190W
Lamp Life
(STD/Ex.ECO)
5000/7000
hours
Lens Shift
Throw Ratio1.5-1.65
Image Size (Diagonal)44″-230″
Zoom Ratio1:1.1
Audible Noise
(STD/ECO)
30/26 dB
Speaker2W
Power Consumption
Standby
240W
N/A
Weight2kg
Price20,900
(ราคาตั้ง)
*คุณสมบัติทางเทคนิค อ้างอิงจากเอกสารเผยแพร่ของผู้ผลิต

ดีไซน์

Acer P1340W เป็นโปรเจ็กเตอร์ที่ใช้เทคโนโลยี Single-chip DLP (Digital Light Processing) กับ Native Resolution 1280×800 pixels (WXGA) เหนือกว่าโปรเจ็กเตอร์พรีเซนเทชั่นราคาประหยัดทั้งหลายที่มีความละเอียดแค่ 800×600 หรือ 1024×768 pixels เท่านั้น P1340 จึงรองรับสัญญาณรายละเอียดสูง ระดับ HD ได้ดีกว่า

หมายเหตุ: แม้ว่า Native Resolution เป็นอัตราส่วน 16:10 แต่สามารถปรับให้รับชมในอัตราส่วน 16:9 อันเป็นมาตรฐานสำหรับคอนเทนต์ HD ได้ และการหาจอฉายมาใช้งานนั้น หากหาอัตราส่วน 16:10 มาไม่ได้ ก็สามารถใช้งานจอฉายอัตราส่วน 16:9 (ซึ่งหาได้ง่ายกว่า) ทดแทนได้เช่นเดียวกัน แต่จะมีข้อกำหนดเล็กน้อย



P1340W มีขนาดไม่ถึงกับเล็กจิ๋ว แต่ก็ไม่ใหญ่ จัดวางตำแหน่งเลนส์ฉายเยื้องไปทางขวา
ส่วนฝั่งซ้ายเป็นตำแหน่งช่องพัดลมระบายความร้อน


ซูมให้เห็นเลนส์ฉายกันชัดๆ สามารถย่อขยาย และปรับโฟกัสโดยการหมุนแมนนวลได้เช่นเดียวกับโปรเจ็กเตอร์ทั่วไป แต่ยังไม่สามารถปรับชดเชยตำแหน่งเลนส์ (Lens Shift) เหมือนรุ่นใหญ่ที่มีราคาสูง ส่วนวงกลมสีดำเล็กๆ เยื้องไปทางมุมบนขวา คือ IR Receiver
 

การรับสัญญาณจากรีโมตนั้น เท่าที่ทดสอบดู พบว่ามุมรับสัญญาณกว้างดีครับ และไม่ได้รับได้เฉพาะแต่ด้านหน้าที่เห็นตำแหน่งเซ็นเซอร์ IR อยู่นี้ แต่ด้านหลังก็รับได้ (เข้าใจว่าคงจะมีเซ็นเซอร์ด้านหลังด้วย) ตรงนี้จะช่วยให้จัดวางโปรเจ็กเตอร์ได้ยืดหยุ่น เพราะรับสัญญาณสั่งการจากรีโมตได้หลายมุมนั่นเอง



ด้านบน นอกจากจุดปรับโฟกัสเลนส์ด้านหน้าแล้ว เยื้องไปด้านหลังเป็นจุดจัดวางปุ่มควบคุมสำคัญต่างๆ บนตัวเครื่อง ไม่ว่าจะเป็นสวิตช์ On/Standby, Menu, Source ฯลฯ
ส่วนด้านหลังที่เป็นจุดเชื่อมต่อสายต่างๆ (จะกล่าวถึงอีกครั้งช่วง “ช่องต่อ” ครับ)
 

รีโมตขนาดกะทัดรัดสีขาว แม้จะเล็กแต่ก็สามารถควบคุมฟังก์ชั่นหลักๆ ได้ครบ แต่ขัดใจนิดนึงตรงที่ปุ่มไม่มี Backlit จึงไม่สามารถเรืองแสงในที่มืด ดังนั้นเมื่อเวลาใช้งานในสภาพแวดล้อมที่ดีที่สุดสำหรับโปรเจ็กเตอร์ คือ ห้องมืด จึงใช้งานค่อนข้างลำบาก แต่ดูจากระดับราคาแล้วก็พอหยวนๆ ครับ
 

หมายเหตุ: ปุ่ม  e  บนรีโมต และที่ตัวโปรเจ็กเตอร์ จะมีบทบาทสำคัญในการใช้งานโปรเจ็กเตอร์เครื่องนี้ เนื่องจากใช้เรียก empowering Menu ขึ้นมา เพื่อใช้เป็น shortcut ในการตั้งค่าต่างๆ แทนการเข้าไปเลือกใน Menu หลักครับ (ดูรายละเอียดเพิ่มเติม หน้า 2)



แว่น 3D อุปกรณ์เสริมสำคัญ ขาดไม่ได้สำหรับการรับชมคอนเทนต์สามมิติ แน่นอนว่าเป็นรูปแบบ 3D Active Shutter Glasses ที่อาศัยแบ็ตเตอรี่ให้พลังงานแก่วงจรอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อทำหน้าที่เปิดปิดชัตเตอร์แว่นสลับตาซ้ายและตาขวา อันเป็นรูปแบบหลักที่ใช้งานกับโปรเจ็กเตอร์บ้านทั่วไป และเป็นเทคโนโลยีเดียวกับ 3D TV บางรุ่น

ขนาดโครงสร้างของแว่นอาจจะดูหนาเล็กน้อย แต่ก็ไม่ได้รู้สึกเทอะทะมากมายอะไร
บอดี้สีขาว วัสดุงานประกอบดูดี เข้ากับโปรเจ็กเตอร์เลยล่ะ


การรับสัญญาณจะอาศัยเทคนิค IR Sync แต่ไม่ต้องกังวลว่าการรับสัญญาณจะต้องหันหน้าตรงเข้าหาโปรเจ็กเตอร์อย่างเดียวจนทำให้นั่งชมได้แค่ไม่กี่มุม จากการใช้งานพบว่าจะนั่งอยู่ข้างหลัง เยื้องไปข้างหน้า หรือนั่งอยู่ใต้โปรเจ็กเตอร์ตรงๆ ก็ยังรับสัญญาณได้ครับ และการซิงก์สัญญาณก็ไม่ใช่จะหลุดกันง่ายๆ ด้วย อย่างเวลาคนเดินผ่านหน้านี่ไม่มีหลุด (ตรงนี้ทำได้ดีกว่าทีวี 3D Active บางรุ่นเสียอีก)

เดี๋ยวรายละเอียดการใช้งาน 3D จะไปกล่าวเพิ่มเติมอีกทีช่วงท้ายครับ
ไปดู “ช่องต่อ” กันก่อน