19 Feb 2020
Review

รีวิว BenQ TK800M 4K HDR Projector ปรับเปลี่ยนเพิ่มความคุ้มค่า ภาพดียิ่งขึ้น พร้อมรองรับ HLG !!


  • ชานม

ช่องต่อ

จำนวนช่องต่อรับสัญญาณของ TK800M ยังคงเหมือนกับรุ่น TK800 ประกอบไปด้วย HDMI Input จำนวน 2 ช่อง

โดย HDMI In 1 เป็น Version 2.0 (with HDCP 2.2) รองรับสัญญาณภาพความละเอียดสูงสุดที่ 4K/60Hz พร้อม HDR แนะนำให้เชื่อมต่อ 4K HDR Blu-ray Player หรือ 4K HDR PC/Game Console ที่ช่องนี้ ส่วน HDMI In 2 เป็น Version 1.4 (with HDCP 1.4) รองรับสัญญาณภาพความละเอียดสูงสุดที่ 4K/30Hz หรือ 1080p/60Hz

ช่องรับสัญญาณภาพลำดับถัดมา คือ VGA (PC) In เผื่อว่าจำเป็นต้องใช้เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์รุ่นเก่าๆ รองรับความละเอียดสูงสุด 1920 x 1200 @60Hz สามารถรับและส่งสัญญาณเสียงอะนาล็อกทางช่อง Audio In/Out แบบ 3.5 mm ได้ด้วย

และยังมี USB, DC 12V Trigger และ RS232 สำหรับการเชื่อมต่อหลากหลาย รองรับระบบ Home Automation

หลายท่านคงสงสัยว่า ช่องต่อ USB ที่ TK800M มีไว้ทำอะไร? กรณีที่ใช้งานร่วมกับอุปกรณ์เสริม Wireless HDMI Dongle หรือ Google Chromecast ช่องต่อ USB จะเอาไว้จ่ายกระแสไฟ DC 5V นั่นเอง

เพิ่มเติม

TK800M ได้รับการปรับปรุงโครงสร้างเลนส์ฉายให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น การแสดงภาพจะคมชัดและมีอัตราคลาดสีน้อยลง
แต่การปรับโครงสร้างเลนส์ก็ทำให้ระยะฉายเปลี่ยนแปลงไปบ้าง เช่น หากต้องการฉายกับจอรับภาพขนาด 100 นิ้วเท่าเดิม TK800M จะต้องการระยะถอยไกลขึ้นเล็กน้อย จากเดิม 3.25 ม. ในรุ่น TK800 เป็น 3.32 ม. นอกจากนี้ระยะซูมที่สั้นลงการปรับตั้งตำแหน่งโปรเจ็คเตอร์จะทำได้ไม่ยืดหยุ่นเท่าเดิม แต่ประเด็นนี้คงไม่ส่งผลกับการใช้งานในห้องตามบ้านทั่วไปนัก
จุดหนึ่งที่เห็นได้ชัดว่า TK800M ได้รับการปรับปรุงดีขึ้นกว่ารุ่น TK800 คือ พื้นที่แสงลอดที่บริเวณขอบจอรับภาพ อาจพูดได้ว่ารุ่นใหม่แทบไม่เป็นประเด็นปัญหาแต่อย่างใด ยิ่งถ้าใช้งานกับจอรับภาพที่ใช้กรอบหุ้มกำมะหยี่ใหญ่หน่อยก็จะไม่เห็นแสงลอดนี้
รุ่น TK800M เพิ่มตัวเลือก LampSave ในหัวข้อ Light Mode โดยจะยืดอายุของแหล่งกำเนิดแสงได้ยาวนานกว่า Economic และตัวเลือกอื่นๆ ดังนี้ Normal = 4000 hrs, SmartEco = 8000 hrs, Economic = 10000 hrs, LampSave = 15000 hrs แต่แน่นอนว่าต้องแลกกับระดับความสว่างที่ลดลง และบางจังหวะอาจรู้สึกความสว่างวูบวาบบ้าง

ภาพ

TK800 ติดตั้ง Digital Micro Mirror Device (Single-DMD) chip ขนาด 0.47 นิ้ว พร้อมเทคโนโลยี 4K XPR ซึ่งอาศัย Optical Actuator ทำงานขยับตำแหน่งพิกเซลรวดเร็วมากจนสามารถสร้างเป็นภาพนิ่ง (frame) ที่มีรายละเอียดจำนวนพิกเซลเพิ่มขึ้น 4 เท่า รวมกันทั้งสิ้นจะได้ความละเอียดเท่ากับ 8.3 ล้านพิกเซล ตรงตามมาตรฐาน 4K (UHD) จากการรับรองของ Consumer Technology Association หรือ CTA
การรับชมคอนเทนต์แบบ SDR จะสามารถเลือกโหมดภาพสำเร็จรูปได้ 5 (+ 2 User) Mode
ผล Lab Test ยืนยันได้ว่า เกือบทุกโหมดภาพของ TK800M (ยกเว้น Bright) ให้สมดุลสีโอเค โหมด Cinema ออกไปทางโทนอุ่นเล็กน้อย แต่ดุลสีก็ใกล้เคียงมาตรฐานอ้างอิง D65 มากกว่าโหมดอื่น ความสว่างแม้ไม่สูงที่สุดแต่ก็ดูสบายตากว่า ในขณะที่โหมด Vivid TV จะอมฟ้านิดๆ แต่ก็ตอบสนองการใช้งานได้ดีเพราะสู้แสงรบกวนในห้องที่ไม่คุมแสงได้ดีกว่า
ทดสอบใช้งานในห้องรับแขกไม่ได้ปิดม่านกันแสงจากภายนอก กับจอรับภาพแบบ Matte White พบว่า ศักยภาพของ TK800M ทำได้ดีทีเดียวกับความสว่างระดับ 3000 ลูเมน หากจะให้ดีกว่านี้คงต้องเปลี่ยนจอรับภาพเป็นแบบ Ambient Light Rejecting (ALR) Screen คอนทราสต์จะดูโดดเด่นยิ่งขึ้น แต่จะดีที่สุดสำหรับโปรเจ็คเตอร์ทุกเครื่อง คือ ใช้งานในห้องมืด คุมแสง 100% ครับ