Design – การออกแบบ

ท่อเปิด Bass-reflex ด้านหลังของ LS50 นั้นค่อนข้างแปลก นอกจากมิได้เป็นท่อทรงกลมแล้ว วัสดุยังมีคุณสมบัติอ่อนหยุ่นคล้ายยาง หาใช่ท่อพลาสติกทื่อๆ แข็งๆ เหมือนลำโพงทั่วไป ซึ่งมีเหตุผลครับ… รูปทรงรีดังกล่าวเป็นผลเนื่องมาจากผลการวิจัยพฤติกรรมการไหลของของเหลวด้วยคอมพิวเตอร์หรือ CFD (Computational Fluid Dynamics) จนได้ข้อมูลลักษณะของท่อเปิดที่ให้การเคลื่อนตัวของแรงดันอากาศเป็นไปอย่างลื่นไหล ลดการรบกวนของมวลอากาศไหลวนที่ปลายท่อ

นี่เป็นอีกจุดจากประสบการณ์ออกแบบลำโพงของ KEF ที่ส่งเสริมให้ลำโพงรุ่นนี้ “ไม่ธรรมดา”
โครงสร้างตัวตู้โค้งมนที่ดูสวยเงางาม แผงหน้าผลิตจากวัสดุสังเคราะห์ออกแบบขึ้นรูปด้วยคอมพิวเตอร์เพื่อผลในแง่ลดทอนการหักล้าง อันเกิดจากเสียงส่วนเกินที่สะท้อนกับแผงหน้าไปรบกวนกับเสียงหลัก ผิวของวัสดุในส่วนนี้จะมีเท็กเจอร์ละเอียด ให้ความรู้สึกด้านและสากๆ ผิดกับตัวตู้ส่วนหลังที่เป็นสีมันเงา ส่วนตัวผมชอบรุ่นตัวตู้สีขาวสะอาดตา ตัดด้วยสีน้ำเงินของตัวขับเสียง Uni-Q ที่ไม่เหมือนใคร แต่ตัวตู้สีขาวนี้ต้องระมัดระวังมากกว่าสีดำเพราะจะเปื้อนง่ายกว่า แต่ไม่ว่าสีไหน ก็ดูสวยงามแบบแหวกแนวดีมาก

ภายในตัวตู้ LS50 ยังพิถีพิถันมากเป็นพิเศษ เมื่อเคาะดูจะรับรู้ได้เลยว่า “แน่นหนา” ทุกด้าน ไม่ได้เสริมแค่ด้านใดด้านหนึ่ง ส่งผลถึงน้ำหนักที่มากกว่าลำโพงมินิมอนิเตอร์ทั่วไปมาก มีการดามตัวตู้ด้วยเทคนิคที่เรียกว่า CLD (Constrained Layer Damping) ที่นอกจากใช้เพื่อเสริมความแกร่งแล้วยังผนวกวัสดุที่ทำหน้าที่แดมป์ป้องกันการสั่นสะเทือนไปพร้อมๆ กัน

เช่นเดียวกับความมั่นคง แข็งแรง รองรับสายลำโพงขนาดหน้าตัดใหญ่และหนักได้

นี่กระมังที่เรียกว่า “ไม่พยายามให้เด่น แต่ก็ดูเด่น” ในรุ่นตัวตู้สีขาวจะมองเห็นลางๆ ต้องมองในมุมที่มีแสงสะท้อนดีๆ



หรือบางสภาพแวดล้อมที่ส่งผลกระทบทำให้เบสบวม