26 Oct 2020
Review

รีวิว LG 48CX ครั้งแรกของ OLED 48 นิ้ว จอเล็กสเปคอย่างโหด จัดเต็มฟีเจอร์เพื่อเกมเมอร์


  • ชานม

– Game Mode –

ปีก่อนๆ LG TV รองรับ G-Sync พอมาปีนี้ก็ได้รับมาตรฐาน AMD FreeSync Premium เพิ่มเติม เป็นการการรันตีว่า เมื่อเล่นเกม สามารถแสดงผลภาพ 4K HDR พร้อม VRR (40-120Hz) โดยคุณสมบัตินี้ในส่วนของทีวี สามารถเปิดใช้งานได้ที่ตัวเลือก Additional Settings > AMD FreeSync Premium

สำหรับคอนเทนต์เกม AMD FreeSync Premium Pro Supported Games สามารถตรวจสอบรายชื่อได้ >>ที่นี่<<

การใช้งาน 4K 120Hz และ VRR (FreeSync Premium) กับ LG CX ให้เต็มประสิทธิภาพ พีซีจำเป็นต้องติดตั้ง Graphic Card ระดับสูง ที่รองรับ HDMI 2.1 ปัจจุบันยังมีจำนวนน้อยมาก (ในภาพอ้างอิงกับ AMD Radeon RX 5700 XT สามารถเปิด FreeSync ได้ก็จริง แต่ถ้าจะดันเฟรมเรตให้ถึง 120 FPS ต้องกำหนด Render Resolution ที่ 1080p)

ส่วนเครื่องเกมคอนโซลเจนเนอเรชั่นใหม่ ที่มาพร้อม HDMI 2.1 อาทิ PS5, Xbox Series X มีแนวโน้มว่าจะรองรับ 4K 120Hz VRR ร่วมกับ LG CX ซึ่งประเด็นนี้จะยืนยันได้ก็ต่อเมื่อทีมงานได้เครื่องคอนโซลมาทดสอบ หากมีโอกาสจะอัพเดทข้อมูลอีกครั้งครับ… อย่างไรก็ดีการทดสอบกับรุ่นเก่า Xbox One S สามารถเปิดใช้ 120Hz FreeSync ได้ แต่จำกัดที่ 1080p (CX ไม่รับ 1440p เมื่อเชื่อมต่อกับ One S และเมื่อเปิด VRR จะไม่รองรับการแสดงผลแบบ HDR ซึ่งเป็นข้อจำกับของ One S)

Instant Game Response เป็นตัวเลือกช่วยให้ทีวีตอบสนองกับสัญญาณภาพจาก เกมคอนโซล หรือ พีซี ได้รวดเร็วยิ่งขึ้น ผลลัพธ์ คือ Input Lag จะต่ำลง เหมาะกับการเล่นเกมมากยิ่งขึ้น (Input Lag ต่ำสุดอยู่ที่ 13.1 ms – อ้างอิงโหมดภาพ Game)

ดุลสีของ CX โหมดภาพ Game ยังติดโทนเย็นเหมือนเคย อุณหภูมิสีเฉลี่ย 9000K ใครที่จริงจังเรื่องสีสันอิงตามต้นฉบับ สามารถปรับเปลี่ยนตัวเลือก Color Temperature จาก Medium เป็น Warm2 ความเที่ยงตรงของดุลสีที่ได้จากโหมด Game จะใกล้เคียงมาตรฐานอ้างอิงมากขึ้น (ภาพคล้าย ISF Expert Bright Room แต่ผลลัพธ์ Input Lag จะเหมาะกับการเล่นเกมมากกว่า)

Sound – เสียง

สเปคแจ้งว่า ระบบเสียงของ 48CX ติดตั้งลำโพงแบบ 2.2 แชนเนล กำลังขับรวม 40 วัตต์ ซึ่งเหมือนกับรุ่น C9 ปีที่แล้ว อย่างไรก็ดีหากเทียบกับ 65C9 (อ่านรีวิวได้ ที่นี่) พบว่า น้ำเสียงของ 48CX จะบางกว่าเล็กน้อย เบสลึกก็น้อยกว่าบ้าง ซึ่งน่าจะเป็นปัจจัยเรื่องของขนาด อาจจะเป็นปริมาตรของ chamber หรือตัวขับเสียงที่ใช้ต่างออกไป ก็เป็นได้ แต่กระนั้นถ้าเทียบกับระบบเสียงของทีวีขนาดเท่าๆ กัน ถือว่า 48CX ให้เสียงได้ดีทีเดียว ปริมาณเบสพอเหมาะ เสียงไม่ก้องอุดอู้คลุมเครือ รายละเอียดชัดเจน โดยรวมถือว่าตอบสนองได้ทั้งการรับชมรายการทีวี ภาพยนตร์ หรือฟังเพลงทั่วไป

คุณสมบัติด้านเสียงที่เพิ่มเติมเข้ามากับ LG TV ประจำปี 2020 คือสามารถนำลำโพงไร้สาย Bluetooth มาใช้เป็นลำโพงเซอร์ราวด์ด้านหลัง เพื่อเสริมเอฟเฟ็กต์เสียงโอบล้อมรอบตัวผู้ฟัง โดยเป็นการทำงานประสานกับลำโพงในตัวของทีวี และในส่วนของตัวเลือก Sound Out ยังสามารถใช้งานช่องเสียงออกพร้อมกันได้หลายแบบ เพิ่มความยืดหยุ่นได้ดี

48CX ยังมี HDMI eARC สามารถใช้อัพเกรดระบบเสียงภายนอกไปยังชุดโฮมเธียเตอร์หรือซาวด์บาร์ รองรับเสียงรอบทิศทางถึงระดับ Lossless ถึง Dolby Atmos/TrueHD โดยเปิดใช้งานฟีเจอร์นี้ได้ที่เมนู Sound > Additional Settings > eARC ทั้งนี้ซิสเต็มโฮมเธียเตอร์หรือซาวด์บาร์ที่นำมาใช้งานร่วม จะต้องรองรับ eARC เช่นเดียวกัน จึงจะสามารถใช้งานฟีเจอร์นี้ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

Conclusion – สรุป

ถือเป็นอีกทางเลือก สำหรับใครที่ไม่ต้องการจอใหญ่ นัยว่าเน้นคุณภาพ ไม่เน้นขนาดใหญ่โต จะใช้เป็นทีวีในห้องเล็กก็ไม่กินที่ตั้งวาง คุณภาพของภาพโดดเด่น ดำลึกไร้ซึ่งแสงลอดตามสไตล์ OLED โหมดภาพ Filmmaker Mode ให้สีสันเที่ยงตรงดี จะเอาไปใช้เป็นมอนิเตอร์อ้างอิงก็ได้ แต่ที่พิเศษคือคุณสมบัติจาก HDMI 2.1 ที่เอื้อต่อการเล่นเกม ทั้ง 4K 120Hz, VRR (FreeSync/G-Sync), Instant Game Mode (Low Input Lag) รองรับ eARC อัพเกรดเชื่อมต่อชุดโฮมเธียเตอร์ระบบเสียงรอบทิศทางแบบ Lossless พูดได้ว่าให้ความครบครันแบบจิ๋วแต่แจ๋วอย่างแท้จริง

ข้อดีของ LG OLED48CX

1. ขนาดเล็กที่สุดในบรรดา OLED TV ของ LG ดีไซน์อิงมาจากปีที่แล้ว จอบางเฉียบ ฐานตั้งอยู่กึ่งกลางประหยัดที่วาง
2. เพิ่ม Filmmaker Mode สมดุลสีมีความเที่ยงตรงดีมาก เหมาะใช้รับชมในห้องคุมแสง
3. HDMI 2.1 ทั้ง 4 ช่อง รองรับ 4K HDR 120Hz, Variable Refresh Rate (VRR), Auto Low Latency Mode (ALLM) และ eARC 1 ช่อง
4. VRR (40-120Hz) รองรับทั้งมาตรฐาน FreeSync Premium และ G-Sync
5. เพิ่มจำนวนแอปวิดีโอสตรีมมิ่งหลากหลาย, Apple TV จัดเต็มคอนเทนต์ 4K Dolby Vision/Atmos
6. รีโมทแบบ Air Mouse ควบคุมใช้งานทีวีและอุปกรณ์ต่อพ่วงอื่นๆ ได้สะดวกรวดเร็ว

ข้อเสียของ LG OLED48CX

1. CalMAN AutoCAL ยังให้ผลลัพธ์ไม่เที่ยงตรงดีนัก ต้องรอปรับปรุง แต่สามารถดำเนินการปรับภาพแบบ Manual แทนได้ 
2. การใช้งานเป็นมอนิเตอร์ ต้องระวังเรื่องการเปิดภาพนิ่งค้างไว้ตำแหน่งเดิมต่อเนื่องเป็นเวลานาน 
3. ต้องเปลี่ยนภาษาเมนูเป็นไทย จึงจะรับคำสั่งเสียงภาษาไทยได้, การจับคำไทยปนอังกฤษยังไม่ดีนัก

คะแนน

ดีไซน์ (Design)
8.50
ภาพ 2 มิติ ก่อนปรับภาพ (2D Picture Pre-Calibrated)
8.75
ภาพ 2 มิติ หลังปรับภาพ (2D Picture Post-Calibrated)
9.00
ภาพ 2 มิติ (HDR)
9.00
เสียง (Sound)
8.25
การเชื่อมต่อ (Connectivity)
9.00
ลูกเล่น (Features)
8.75
ความคุ้มค่า (Value)
8.50
คะแนนตัดสิน (Total)
8.70

คะแนน LG OLED48CX

8.7

หมายเหตุ : มาตรฐานคะแนนปี 2020

ราคาเปิดตัว LG OLED48CX
49,990 บาท