08 May 2019
Review

รีวิว Oppo UDP-205 Universal Player !!? ไฮเอ็นด์จัดเต็มในยุค 4K HDR พร้อม DAC ที่ไม่ได้ให้มาเล่นๆ


  • ชานม

Picture – ภาพ

คุณสมบัติด้านภาพ ไม่ว่าจะเป็นหัวใจหลักอย่างชิพประมวลผล ไปจนถึงตัวเลือกตั้งค่าด้านภาพต่างๆ ของ 205 ไม่มีความแตกต่างจาก 203 แนวทางการตั้งค่าจึงไม่ต่างกัน ในจุดนี้สามารถอ้างอิงตามที่ผมได้ลงรายละเอียดไว้แล้วในรีวิว 203

การใช้วงจรอัพสเกลของ 205 สามารถกำหนด Output Resolution โดยเลือกที่เมนู (หรือกดปุ่ม Resolution ที่รีโมต) ได้สูงสุดที่ UHD 60p (3840 x 2160) หรือกรณีที่ต้องการ “บายพาส” วิดีโอสเกลเลอร์ภายใน 205 (เพื่อไปใช้งานสเกลเลอร์ที่ทีวีแทน) ให้เลือก Source Direct

ตัวเลือกชดเชยด้านภาพแบบละเอียดในส่วน Picture Adjustment ของ 205 สามารถเก็บไว้ในหน่วยความจำแยกอิสระได้ 3 โหมด เช่น อาจตั้ง Mode 1 สำหรับเวลารับชม Full HD Content, Mode 2 สำหรับ HD Content, และ Mode 3 สำหรับ SD Content เป็นต้น (ไม่ต่างจาก 203)

หากพูดถึงระบบฮาร์ดแวร์ของ 205 ที่เกี่ยวเนื่องกับการแสดงภาพโดยตรง อย่างชิพประมวลผล เป็นรุ่นเดียวกับ 203 ผลลัพธ์อย่างคุณภาพของภาพจึงใกล้เคียงกันมาก อย่างไรก็ดีด้วยการแยกภาคจ่ายไฟสำหรับวงจรเสียงอะนาล็อกออกมาต่างหาก ตัวแปรที่จะรบกวนวงจรภาพก็ย่อมจะลดทอนลง ในจุดนี้จึงส่งผลดีกับภาพอยู่บ้าง แต่ที่ดูมีความต่างอย่างมีนัยสำคัญ คือ “คุณภาพเสียง”

Sound – เสียง

ดังที่เรียนไปตั้งแต่ตอนต้นว่า จุดที่ 205 ได้รับการอัพเกรดขึ้น หลักใหญ่สำคัญคือเรื่องของเสียง โดยมี DAC เป็นหัวใจหลัก ซึ่ง DAC chip ที่ถูกนำมาใช้งานกับ 205 คือ ES9038PRO เป็นชิพรุ่นเรือธงของ ESS Technology ณ ปัจจุบัน แน่นอนคำถามที่ตามมาคงไม่พ้นว่า มันต่างจากชิพตัวอื่นอย่างไร? หากทำการเทียบสเป็กกับ DAC ของ ESS ด้วยกัน เจนเนอเรชั่นเดียวกันอย่าง ES9028PRO และเจนฯ ก่อนอย่าง ES9018S จะได้ข้อมูลดังตารางด้านล่าง

ข้อสังเกตเรื่องความต่างทางสเป็ก คงไม่พ้นระดับสัญญาณรบกวนและค่าความเพี้ยนรวม (140dB DNR & -122dB THD) ที่ “รุ่นท็อป” ทำได้ดีกว่า และโดยศักยภาพสามารถรองรับฟอร์แม็ตเสียงไฮเรซรายละเอียดสูงขึ้น อย่าง DSD ได้สูงสุดถึง DSD1024 (Native) ส่วน PCM ได้ที่ 768kHz (w/oversampling)

นอกจากค่าทางสเป็กที่ดีขึ้น เราจะเห็นตัวเลือกพิเศษที่เกี่ยวข้องกับการตั้งค่า DAC เพิ่มเข้ามาด้วย คือ (Digital) Filter Characteristics จำนวนถึง 7 แบบด้วยกัน แต่ละแบบให้คาแรคเตอร์เสียงที่ต่างกันเล็กน้อย ตรงนี้คงแล้วแต่รสนิยมและคุณลักษณะของแต่ละซิสเต็ม ไม่มีผิดถูก เป็นทางเลือกไปทดลองเสียงกันดูเองครับ แต่ถ้าถามว่าใช้แบบไหน ส่วนตัวผมชอบ Mini Phase Fast

จากการตรวจสอบในสเป็กพบว่า USB DAC ของ 205 รองรับฟอร์แม็ตดิจิตอลออดิโอสูงสุดที่ DSD512 และ PCM 2ch/768kHz

อย่างไรก็ดีฟอร์แม็ตที่แพร่หลายในปัจจุบันส่วนใหญ่จะเป็น DSD64 (สูงสุด DSD256 มีประปราย) ส่วน PCM สูงสุดที่พอหาได้ไม่ลำบากมากนัก คือ 24-bit/352.8kHz ซึ่งฟอร์แม็ตไฮเรสเหล่านี้จะสามารถดึงศักยภาพของ 205 ออกมาได้เด่นชัดมากยิ่งขึ้น อันเป็นอานิสงส์จาก ESS ES9038PRO DAC และความพิถีพิถันของอุปกรณ์ด้านเสียงอื่นๆ ที่ติดตั้งอยู่ภายใน

คุณสมบัติด้านเสียงของ 205 ที่กล่าวมานี้ จะส่งผลกับคุณภาพเสียงเมื่อรับฟังทางช่องสัญญาณ Analog Audio Output (โดยเฉพาะ 2-channel output) และ Headphone Out เป็นสำคัญ ซึ่งคำแนะนำสำหรับท่านใดที่นำ 205 ไปใช้ร่วมกับ “ซิสเต็มฟังเพลง” (2.0/2.1 แชนเนล) การเปิดใช้ฟังก์ชั่น “Pure Audio” ร่วมด้วย จะช่วยขับเน้นความบริสุทธิ์ของเสียงด้วยการลดทอนหรือปิดการทำงานวงจรในส่วนอื่นที่ไม่เกี่ยวกับเสียงลง

จากการทดสอบ 2-ch Analog Output ระหว่าง 205 และ 203 กับการรับฟัง SACD อัลบั้ม 2011 HK AV Show พบว่า 205 ให้น้ำเสียงที่กลมกล่อมกว่า ความหยาบกร้านน้อยกว่า รายละเอียดดูเด่นชัด ส่วนหนึ่งเป็นผลของความสงัดจากระดับแบ็คกราวด์น้อยส์ที่ต่ำกว่า

การรับฟังระบบเสียง Multi-ch Audio ผ่านทางช่องต่อ Multi-ch Analog Output ของ 205 ก็จะได้รับอานิสงส์ด้านคุณภาพเสียงที่ดีขึ้นกว่า 203 เช่นเดียวกัน แต่การเชื่อมต่อรับฟังด้วยวิธีนี้อย่าลืมการตั้งค่าที่หัวข้อ Speaker Configuration ด้วย เพื่อให้ได้เสียงรอบทิศทางจากลำโพงรายล้อมที่มีอิงตามสภาพการติดตั้งจริง โดยพิจารณา Bass Management (กำหนด Speaker Size และตั้ง Crossover Freq.), Speaker Distance และ Level Trim

ย้ำอีกที เช่นเดียวกับรุ่น 203 ว่าการเชื่อมต่อสัญญาณเสียงทางช่อง Multi-ch Analog Audio Output ของ 203 ยังไม่รองรับระบบเสียง Dolby Atmos / DTS:X เสียงที่ได้จะเป็น Dolby True HD หรือ DTS:HD 7.1 แชนเนล เท่านั้น การรับชมเสียงรอบทิศทางของภาพยนตร์จึงแนะนำว่า เชื่อมต่อทาง HDMI ดีที่สุดครับ

สำหรับท่านที่มีเป้าหมายเน้นการใช้งานในระบบโฮมเธียเตอร์เป็นหลัก คงไม่ได้ประโยชน์จากคุณภาพ DAC ที่กล่าวไปข้างต้น อย่างไรก็ดีคุณสมบัติพิเศษของ 205 อย่าง HDMI Audio Jitter Reduction ไม่อาจมองข้ามได้เพราะจะให้ความลงตัวทางเสียงเหนือกว่า 203

กรณีที่เชื่อมต่อสัญญาณแบบ Dual HDMI (แยกภาพ-เสียง) ฟีเจอร์ HDMI Audio Jitter Reduction ของ 205 จะถูกเปิดใช้งานโดยอัตโนมัติ ผลลัพธ์จึงส่งอานิสงส์ไปถึงระบบเสียงรอบทิศทางจากทั้งภาพยนตร์ คอนเสิร์ต หรือแม้แต่ระบบเสียง Stereo/Multi-ch Audio จากเพลงระดับ Hi-res (SACD, DVD-Audio) เมื่อเชื่อมต่อสัญญาณทาง HDMI

เมื่อเทียบกับ 203 ความสงัดของ 205 ช่วยให้การแยกแยะตำแหน่งทิศทางเสียงรอบทิศทางทำได้ดีกว่า ส่วนการรับฟังแบบ 2 แชนเนล ให้มิติตัวตนของชิ้นดนตรีมีความชัดเจนมากกว่า สามารถจับความแตกต่างได้ไม่ยาก อย่างไรก็ดีคุณสมบัติของ DAC ภายใน AVR หรือ Pre Processor ที่นำมาใช้งานร่วมด้วยจะส่งผลลัพธ์แตกต่างกันอยู่บ้าง แต่จะได้คุณภาพเสียงที่ดีขึ้นจาก 203 ไม่มากก็น้อยแน่นอนครับ

Conclusion – สรุป

หากเป้าหมายของท่าน คือ ต้องการหาเครื่องเล่นที่ครบครันทั้งประโยชน์ใช้สอย รองรับฟอร์แม็ตแผ่นดิสก์หลากหลาย พร้อมคุณสมบัติด้านภาพระดับ 4K และเสียงระดับ Hi-res เท่าทันยุคสมัย โดยที่เน้นเกรดของอุปกรณ์สูงสุด Oppo UDP-205 คือตัวเลือกอันดับหนึ่ง ที่ยังไม่มีตัวเปรียบเทียบ ณ เวลานี้

จุดเด่นของ Oppo UDP-205

– ความโดดเด่นของพื้นฐานโครงสร้าง ไปจนถึงเกรดอุปกรณ์ภายใน พูดได้ว่า “ไม่มีตัวเปรียบเทียบได้เลย” ในเรนจ์ระดับเดียวกัน ณ ปัจจุบัน
– รองรับฟอร์แม็ตออดิโอ-วิดีโอ หลากหลาย ทั้งแผ่นดิสก์เกือบทุกฟอร์แม็ตที่เคยมีจำหน่ายในอดีตและปัจจุบัน ไปจนถึงมีเดียไฟล์รูปแบบต่างๆ ผ่านทาง USB 3.0 และ Network (Ethernet/Wi-Fi) ที่สำคัญมี USB DAC พร้อม Headphone Amp คุณภาพสูงมาด้วย
– การเล่น 4K HDR Blu-ray Disc ให้ผลลัพธ์ยอดเยี่ยมทั้งภาพเสียง รองรับ HDR10 และล่าสุด Dolby Vision ไปจนถึงระบบเสียง Dolby Atmos, DTS:X และ Auro-3D (ผ่านทาง HDMI Bitstream)
– วิดีโอสเกลเลอร์ศักยภาพโดดเด่น รองรับ 4K 60Hz
– ช่องต่อสัญญาณครบครัน อาทิ HDMI 2.0 Out 2 ช่อง แยกสัญญาณภาพ-เสียง ซึ่งในส่วนของเสียงเพิ่มความพิเศษยิ่งขึ้นด้วย HDMI Audio Jitter Reduction เหนือกว่า 203 และเพิ่มเติม Digital Audio Input เพื่อเพิ่มประโยชน์ใช้งาน DAC คุณภาพสูง พร้อมอะนาล็อกออดิโอเอาต์แยกสำหรับระบบเสียงสเตริโอและมัลติเชนเนล และ Headphone Amp ซึ่งหาได้ยากกับเพลเยอร์อื่นใดในปัจจุบัน
– คุณภาพเสียงอะนาล็อกไม่ธรรมดาด้วย 32-bit HyperStream DAC จาก ESS Technology

จุดด้อยของ Oppo UDP-205

– ตัวเลือกการปรับแต่งภาพ-เสียงมีมาก และบางหัวข้อหากตั้งไม่แม็ตช์กับอุปกรณ์ร่วม อาจส่งผลกับการใช้งาน เช่น ภาพ-เสียงไม่ออกเป็นต้น (หากไม่มั่นใจ แนะนำให้ตั้งไว้ที่ Auto)
– พบปัญหาเล่น DVD Video Zone 3 ไม่ได้ (ฟ้องว่า Wrong Region) แนะนำแผ่นที่ไม่มีปัญหาควรเป็น Zone 1 (US) หรือแผ่น All Zone ส่วน Full HD Blu-ray ควรเป็น Zone A (4K UHD Blu-ray ไม่มีล็อคโซน เล่นได้ทั้งหมด)
– Online Content ถูกตัดออกไป แต่ความสามารถนี้ Smart TV ยุคปัจจุบันทดแทนได้
– การเล่นไฟล์บางชนิด (เช่น ISO) ถือว่าผิดกฏหมายสากล ปัจจุบันสามารถทำการดัดแปลงให้รองรับได้ แต่จะอยู่นอกเหนือการรับประกัน

*การทดสอบ อ้างอิง Official Firmware: UDP20X-45-0605

คะแนน

ดีไซน์ (Design)
8.75
ดีไซน์ (Design)
9.00
ดีไซน์ (Design)
9.25
ดีไซน์ (Design)
9.25
ดีไซน์ (Design)
9.00
ดีไซน์ (Design)
8.50
ดีไซน์ (Design)
8.90

คะแนน Oppo UDP-205 4K HDR Blu-ray Player

8.9