04 Jan 2016
Review

Oppo บลูเรย์สไตล์ !! รีวิว Oppo BDP-103 4K Ready Universal Player


  • ชานม
Dual HDMI กับแนวทางแบบ Split A/V แยกการเชื่อมต่ออุปกรณ์ภาพและเสียง

Dual HDMI Output with “ARC”

Dual HDMI Out ดูจะเป็นเทรนด์หลักสำหรับ BD Player ระดับสูงในปัจจุบัน จากประโยชน์ในการส่งสัญญาณภาพ และเสียงผ่าน HDMI Out ออกไป 2 ทาง พร้อมๆ กัน หรือจะแยก (Split A/V) ก็ได้ เพื่อประสิทธิภาพทางแบนด์วิธ ไปจนถึงการเป็นตัวเลือกเพื่อแก้ไข HDMI Standard Compatibility จากปัญหาการคาบเกี่ยวของมาตรฐาน HDMI จากอุปกรณ์รุ่นเก่ากับรุ่นใหม่ เช่น ปัญหาการรองรับระบบ 3D Video ของทีวี กับ AVR ที่ไม่สัมพันธ์กัน ฯลฯ

ล่าสุดในส่วนของ Oppo รุ่นใหม่นั้น ยังคง Dual HDMI ไว้เช่นเดิม แต่เสริมความสามารถในส่วนของการรองรับฟังก์ชั่น Audio Return Channel (ARC) หรือกระบวนการรับสัญญาณเสียงจากทีวี ผ่านการส่งกลับมาทางสาย HDMI อันเป็นการตอกย้ำประโยชน์ด้านการแก้ไขปัญหาการรองรับมาตรฐาน HDMI ของอุปกรณ์ให้สูงขึ้นไปอีก

เดิมทีการใช้งานฟังก์ชั่น HDMI ARC นั้น ทั้ง ทีวี และ AVR จะต้องรองรับมาตรฐานดังกล่าวด้วยกันทั้งคู่ การใช้งานจึงจะสมบูรณ์ (ดังรูปทางซ้ายมือ) แต่หากอุปกรณ์ใด อุปกรณ์หนึ่งไม่รองรับ ARC ย่อมไม่สามารถใช้งานฟังก์ชั่นนี้ได้ (จำเป็นต้องอาศัยสายสัญญาณออดิโอรูปแบบอื่น หากต้องการให้เสียงทีวีไปออกที่ชุดโฮมฯ) ปัญหาเช่นนี้ ถือเป็นปัญหาคลาสิกในแง่ความเหลื่อมล้ำของอุปกรณ์ HDMI ที่พบได้บ่อย คือ ทีวีเครื่องใหม่ มี ARC แต่ AVR เป็นเครื่องเก่า ไม่รองรับ ARC แบบนี้ Oppo 103/105 ช่วยท่านได้…

การที่ทาง Oppo เพิ่มฟังก์ชั่น ARC เข้ามาในตัวเพลเยอร์ (พร้อม Dual HDMI เดิม) นั้น สามารถแก้ไขปัญหาในจุดนี้ กล่าวคือ ถึงแม้ว่า AVR จะไม่รองรับฟังก์ชั่น ARC แต่ 103/105 จะรับหน้าที่เป็น “ตัวกลาง” รับสัญญาณเสียงจากทีวีด้วยหลักการ ARC และส่งสัญญาณเสียงจากทีวีนั้น ผ่านออกไปยัง AVR ในรูปแบบการเชื่อมต่อสัญญาณออดิโอผ่านสาย HDMI ปกติ (ดังรูปขวามือ) การเชื่อมต่อแนวทางนี้จึงมิได้ซับซ้อน หรือเพิ่มภาระใดๆ เพราะใช้ HDMI เส้นเดิมกับที่ส่งสัญญาณเสียงจากเพลเยอร์ไปยัง AVR (ใช้จำนวน HDMI เท่ากับ 2 เส้น ตามลักษณะการเชื่อมต่อแบบ A/V Split Dual HDMI) ผลเกี่ยวเนื่องอาจไปเพิ่มอัตราการใช้พลังงานไฟฟ้าเพิ่มขึ้นหน่อย เพราะจำเป็นต้อง Power On 103/105 ตลอดเวลาที่ใช้งาน ARC แต่ได้ความสะดวกในแง่การเชื่อมต่อรับสัญญาณเสียงจากทีวีเพิ่มเข้ามา

ลูกเล่นปลีกย่อยอื่นๆ ของ Oppo Universal Media Player เครื่องนี้ มีอะไรน่าสนใจกันบ้างครับ

ปุ่ม Resolution ที่รีโมต เป็น Shortcut สำหรับเลือกโหมดความละเอียดในการอัพสเกลได้ กรณีเลือกโหมดที่จอภาพไม่รองรับ แล้วจอมืด ให้กดปุ่มนี้ซ้ำเป็นระยะ พร้อมกับดูลำดับตัวเลือก Resolution ที่จอแสดงผลหน้าเครื่อง เพื่อกลับไปเป็นโหมดความละเอียดอื่นที่จอภาพรองรับได้
ปุ่ม Option เป็นการเรียก Shortcut Menu ขึ้นมา เช่น กรณีรับชม BD สามารถดูรายละเอียดคอนเทนต์
ขยับตำแหน่งซับไตเติล เรียกเมนูปรับภาพ (Picture Adj.) ซูมภาพ และปรับเปลี่ยนมุมกล้องได้
หากกดปุ่ม Audio ที่รีโมต ก็สามารถตรวจสอบตัวเลือกระบบเสียงที่บันทึกมากับคอนเทนต์นั้นๆ
พร้อมให้ปรับเปลี่ยนได้เลย (ใช้กับ MKV ก็ได้)
และเมื่อกดปุ่ม Subtitle ก็จะมีรายการซับไตเติลทั้งหมด ขึ้นมาให้เลือกเช่นเดียวกัน รวดเร็วกว่าการที่ต้องย้อนกลับไปเลือกที่หน้า Top Menu หรือ Pop-up Menu

Sound – เสียง

ดังที่ทราบว่า Oppo 103 มาพร้อมกับช่องต่อ Audio Analog 7.1 Out นั่นเป็นการแสดงในเบื้องต้นว่า เพลเยอร์เครื่องนี้สามารถถอดรหัส Digital Surround Sound แล้วเอาต์พุตออกทางอะนาล็อกได้ในตัว ไม่ต้องพึ่ง Surround Decoder ภายนอก ความสามารถนี้รวมถึงการถอดรหัส HD Audio อย่าง DTS-HD, DD True HD เช่นเดียวกับระบบเสียง Surround Hi-res อย่าง Multi-channel DSD จาก SACD ก็ไม่เว้น

หมายเหตุ: กรณีเชื่อมต่อสัญญาณจากอุปกรณ์ภายนอก มายัง HDMI In ของ Oppo 103/105 จะสามารถใช้อานิสงส์จากภาคถอดรหัสเสียงดิจิทัลในตัวเพลเยอร์เพื่อแปลงสัญญาณออกทางอะนาล็อก 5.1/7.1 ได้ แต่ระบบเสียงที่รองรับผ่าน HDMI In ของ 103/105 จะจำกัดเฉพาะระบบเสียงเซอร์ราวด์พื้นฐาน อย่าง DTS และ Doby Digital เท่านั้น

แต่เหนือสิ่งอื่นใด คือ การผนวกระบบ Speaker Configuration ที่ช่วยให้การเชื่อมต่อซิสเต็มเครื่องเสียง และระบบลำโพงรอบทิศทาง เป็นไปได้อย่างยืดหยุ่น เต็มศักยภาพ ทั้งการชดเชยบาลานซ์ระดับเสียง ดีเลย์ระยะห่าง และ Bass Management ให้สอดคล้องกับสภาพใช้งานจริง (เดิมทีฟังก์ชั่นนี้จะมีเฉพาะกับ AV Processor / AVR) การที่ Oppo ผนวกระบบดังกล่าวมาในตัวเพลเยอร์ จึงได้อานิสงส์ชัดเจนมากกับการใช้งานร่วมกับซิสเต็มเครื่องเสียงแบบ Pure Analog (Multi-channel Pre+Power Amp) ไปจนถึง Active Speakers กับการใช้งานในรูปแบบ Surround Multi-channel ร่วมกับซับวูฟเฟอร์