17 Jan 2014
Review

ประสิทธิภาพที่(ควร)ต้องอ้างอิงของ THX 3D Display ?? รีวิว Panansonic TH-P55VT50T 3D Plasma TV


  • ชานม

เพิ่มเติม

Smart VIERA มิได้จำกัดเฉพาะความบันเทิงบนโลกออนไลน์เท่านั้น แต่ยังรวมถึงความสามารถในการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์รูปแบบ Smart และการแชร์มีเดียไฟล์ผ่านระบบเน็ตเวิร์กด้วยมาตรฐาน DLNA หรือผ่านทางช่องต่อ USB โดยดำเนินการผ่านฟังก์ชั่น Media Player

หน้าจอหลักของ Media Player สามารถเข้าสู่หน้าจอนี้ได้ง่ายๆ เพียงกดปุ่ม Media Player ที่รีโมต

ฟอร์แม็ตที่รองรับมีดังต่อไปนี้  Photo – JPEG / Video – AVCHD, DivXPlus HD, WMV, MKV, AVI, MP4,
MOV, M4v, FLV, 3GP, VRO, VOB,TS,PS / Music – MP3, AAC, WMA, FLAC

Media Player หน้าจอหลักในส่วนของ Photo จะพรีวิวรูปของไฟล์ภาพที่บรรจุอยู่ภายใน Storage Devices ให้เห็น (ซึ่งรวมถึงภาพพรีวิวจากไฟล์วิดีโอด้วย) ขณะเดียวกันจะมีเสียงเพลงแบ็คกราวด์ให้ฟังเพลินๆ
การรับชมไฟล์ Video สามารถเลือกเสียง และซับไตเติลได้
หน้าจอในส่วนของ Music เมื่อรับฟังดนตรี สามารถแสดงชื่อเพลง อัลบั้ม ศิลปิน และโชว์ปกได้ (ถ้ามี)

ภาพ

Viewing ModesCTT
(70IRE)
Luminance**
Dynamic11394High
Normal8143Low
Cinema8023Low
THX Cinema6251Normal
THX Bright Room6137High
Game8176Low
Professional1
Professional2
6250Low

* Factory Settings, Eco Mode – Off
** Fixed Cell Light level

หมายเหตุ: ความหมายที่ใช้ในการอ้างอิงระดับความสว่าง (Luminance)
– Very High ให้ระดับความสว่างสูงมาก สามารถใช้งานในสภาพสู้แสง ภายในอาคารได้
– High ให้ระดับความสว่างค่อนข้างสูง สามารถใช้งานในห้องที่ค่อนข้างสว่าง (มีการควบคุมแสงแวดล้อมระดับหนึ่ง)
– Normal ระดับความสว่างปานกลาง เหมาะกับการใช้งานในห้องที่สามารถควบคุมแสงสว่างได้ดี แต่ไม่ถึงกับมืด
– Low ระดับความสว่างใกล้เคียง หรือสูงกว่า Home Theater Projector เล็กน้อย เหมาะกับการใช้งานในห้องที่ควบคุมแสงแวดล้อมได้เบ็ดเสร็จ เช่น ห้องมืดสนิท หรือสลัว

ลักษณะภาพ จากโหมดสำเร็จรูปของ TH-P55VT50T พร้อมอัตราการใช้พลังงานไฟฟ้า (อ้างอิงที่ Eco Mode – Off)

หมายเหตุ:เฉพาะ Professional1 มีการเปลี่ยนแปลงค่ากำหนดจากขั้นตอน Calibration Process นอกนั้นเป็นค่าเริ่มต้นจากโรงงาน

คุณภาพของภาพ 2D นั้น ต้องเรียกว่าให้ระดับความเที่ยงตรง (หรืออีกนัยหนึ่งจะว่า มีความเป็นธรรมชาติ) สูงที่สุดเครื่องหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นประเด็นในเรื่องของความถูกต้องของสีสัน หรือการไล่ระดับความสว่าง อันเป็นคุณสมบัติจากโหมดภาพที่รองรับการปรับตั้งค่าละเอียดมาก จริงอยู่แม้ในส่วนของ White Balance และ CMS อาจจะละเอียดไม่แตกต่างจากทีวีระดับเดียวกันนัก แต่จุดที่ต้องทึ่งคือการปรับ Gamma Point ที่ไม่แน่ว่าทีวีระดับท็อปทั่วไปจะรองรับในจุดนี้ นี่เป็นเหตุผลว่า เหตุใดมันจึงเป็นทีวีที่ให้ภาพในระดับอ้างอิงได้เป็นอย่างดีครับ ทว่าประเด็นที่กล่าวมาข้างต้นนี้ จะส่งผลดีก็ต่อเมื่อ TH-P55VT50T เครื่องนั้น ผ่านขั้นตอนการ Calibrated โดยละเอียดเท่านั้น… แล้วโหมดภาพสำเร็จรูป ที่ผู้ผลิตให้มา และเป็นจุดที่ส่งผลต่อศักยภาพที่ผู้ใช้ส่วนใหญ่จะได้รับล่ะ เป็นอย่างไร?

หมายเหตุ: 
– โหมดภาพที่รองรับการปรับตั้งค่ากำหนดด้านภาพแบบละเอียด คือ Professional1 และ Professional2 โดยทั้ง 2 โหมดนี้จะไม่ปรากฏในตัวเลือก Viewing Mode จนกว่าผู้ใช้ตั้งค่า Advance(isfccc) เป็น On เสียก่อน (เป็นหัวข้อย่อยใน Setup)
– การปรับอุณหภูมิสี รองรับแบบพื้นฐาน คือ 2-point และแบบละเอียด 10-point calibration process


TH-P55VT50T เป็นพลาสมาทีวีที่ได้มาตรฐาน THX 3D Display โดยศักยภาพก็ย่อมไม่ทำให้เสียชื่อ THX แน่นอนว่าคงมิได้อิงเฉพาะการรับชมแบบ 3D แต่รูปแบบ 2D นับเป็นประเด็นหลัก ที่ THX น่าจะให้ความสำคัญมาก่อนเสียด้วยซ้ำ ผลพลอยได้ในประเด็นนี้ที่ชัดเจน คือ โหมดภาพอ้างอิง 2 โหมด… THX Cinema และ THX Bright Room โดยชื่อน่าจะบอกวัตถุประสงค์การใช้งานได้ค่อนข้างชัดเจน กล่าวคือ ทั้งคู่เป็นโหมดภาพที่เหมาะสำหรับใช้รับชมภาพยนตร์ ต่างกันตรงที่ THX Cinema เหมาะกับสภาพแวดล้อมห้องโฮมเธียเตอร์ (ควบคุมแสงแวดล้อมได้ดี) ส่วน THX Bright Room เหมาะกับห้องที่ค่อนข้างสว่าง เท่าที่ตรวจสอบดูพบว่าให้สีสันความเที่ยงตรงอยู่ในระดับที่น่าสนใจ ภาพอาจจะติดโทนเหลืองเล็กน้อย (เพราะอุณหภูมิสีตำกว่า 6500K) แต่ก็ให้ความนุ่มนวล อบอุ่นดี กระนั้นการปรับภาพพื้นฐานบางอย่างเพิ่มเติมเล็กน้อย เพื่อให้แม็ตช์กับสภาวะใช้งานของผู้ใช้โดยตรง ก็เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับโหมดสำเร็จรูป สามารถดูแนวทางเบื้องต้น >>ตามนี้<<

ภาพโดยรวมจากโหมดสำเร็จรูป พบว่าระดับ Brightness ที่เกี่ยวข้องกับ Shadow Detail มาค่อนข้างต่ำไปนิดหนึ่ง เมื่อเปิดรับชมโดยอ้างอิงค่าเริ่มต้น อาจพบว่ารายละเอียดในที่มืดติดจมอยู่บ้าง แต่มิได้เป็นปัญหาใดๆ เพราะสามารถแก้ไขได้ไม่ยากด้วยการปรับตั้งระดับ Brightness ให้ถูกต้อง (แนวทางเบื้องต้น ผู้ใช้สามารถดำเนินการปรับภาพด้วยตนเอง ตามลิงค์ที่ให้ไว้ในย่อหน้าก่อน)

อย่างไรก็ดี ถึงแม้กำหนดปรับภาพพื้นฐานได้ถูกต้องแล้ว แต่เนื่องจากโหมดภาพสำเร็จรูปหลายๆ โหมด รวมถึงโหมดที่ให้ความเที่ยงตรงสูงที่สุดอย่าง Professional1/2 มีศักยภาพในการให้ระดับความสว่างไม่สูงนัก และทุกโหมดภาพของ TH-P55VT50T ไม่รองรับการกำหนดระดับ Cell Light เพิ่มเติม (กำหนดปรับเปลี่ยนได้อย่างมาก คือ การเพิ่มระดับ Contrast ซึ่งช่วยยกระดับความสว่างสูงสุด ขึ้นได้นิดหน่อย) การรับชมในบางสภาพแวดล้อม (ที่ไม่เหมาะสม) ย่อมส่งผลต่อการรับชมให้รู้สึกว่าภาพมืดทึม ขาดความจะแจ้งสดใสไปบ้าง หากเป็นเช่นนี้ มิใช่ความผิดปกติของทีวี หากเป็นผลกระทบจากสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม การคำนึงถึงปัจจัยอย่างระดับความสว่างภายในห้อง ตำแหน่งตั้งวางที่เกี่ยวเนื่องกับทิศทางของแหล่งกำเนิดแสงภายนอก ฯลฯ จึงเป็นสิ่งที่ต้องคำนึงถึง หากต้องการประสิทธิภาพสูงสุดจากทีวี แนวทางนี้เป็นสิ่งที่ควรกระทำกับทีวีทุกรูปแบบ ทุกเครื่อง ไม่เฉพาะแต่พลาสมาทีวีเครื่องนี้เท่านั้น

อัตราการใช้พลังงานของโหมด Dynamic ที่ให้ระดับความสว่าง (Luminance) สูงสุด; อ้างอิงที่ Eco Mode Off Luminance per watt อาจดูน้อย เมื่อเทียบกับ LED TV ขนาดเดียวกัน (55″ ที่มีอัตราการใช้พลังงานราว 100 วัตต์ นิดๆ) แต่ถ้าเทียบกับมาตรฐาน Plasma TV ด้วยกัน นับว่าอยู่ในเกณฑ์ดี

กระนั้นหากมีความจำเป็น โหมดภาพสำเร็จรูปอีกโหมดหนึ่งที่อาจมีความจำเป็นต้องใช้สำหรับการใช้งานในพื้นที่ที่ค่อนข้างสว่าง หรือคุมแสงได้ลำบาก คือ Dynamic โดยเป็นโหมดที่ให้ระดับความสว่างสูงที่สุด จึงใช้เมื่อต้องการสู้กับแสงแวดล้อม แต่ความเที่ยงตรงจะเป็นรองโหมดอื่นๆ อยู่มาก หากให้ความสำคัญกับประเด็นเรื่องความถูกต้อง (มากกว่าถูกใจ) โหมด THX Bright Room ที่ให้ระดับความสว่างต่ำกว่าเล็กน้อย จะตอบสนองการใช้งานได้ดีกว่า Dynamic (ย้ำว่า กรณีที่ต้องการใช้งานในสภาพแวดล้อมค่อนข้างสว่าง)