06 Jan 2016
Review

3D Blu-ray ตัวเก๋าราคาไม่แรง – รีวิว Pioneer BDP-450 แยกภาพ แยกเสียง!!


  • Dear_Sir

Picture – ภาพ

ตามปกติแล้วถ้าเราต่อเครื่องเล่น Blu-Ray Player ระดับเริ่มต้นก็จะต่อเพียงแค่ HDMI ช่องเดียว ซึ่งสัญญาณภาพ และสัญญาณเสียงก็จะไปพร้อมๆ กัน ผ่านทางช่อง HDMI ช่องนั้น โดยปลายทางอาจจะต่อตรงเข้าทีวี หรือจะต่อเข้ากับ AV Receiver ก็สุดแล้วแต่การใช้งานของแต่ละคน แต่อย่างไรก็ดีถ้าเรามี AV Receiver ที่บ้านก็ควรจะต่อแบบแยกสัญญาณภาพ และเสียงออกจากกัน เพื่อให้ได้คุณภาพของภาพ และเสียงในระดับสูงสุด ซึ่ง BDP-450 ออกแบบช่องต่อ HDMI Out มาสองช่องก็ด้วยสาเหตุนี้ โดยการต่อก็ง่ายๆ สัญญาณภาพให้ต่อเข้าที่ HDMI ช่องแรก (Main) ส่วนสัญญาณเสียงให้ต่อเข้าที่ HDMI ช่องที่สอง (Sub) จากนั้นก็ตั้งค่า HDMI Mode เป็น Separate และ HDMI Audio Out เป็น Bitstream ซึ่งปลายสายของช่อง Main ก็ต่อเข้าทีวีได้เลย ส่วนปลายสายของช่อง Sub ก็ต่อเข้า AVR

เชื่อมต่อตามภาพได้เลย
ตั้งค่า HDMI Mode เป็น Separate

เชื่อมต่ออินพุต เอาท์พุตเรียบร้อยแล้ว ก็เริ่มใส่แผ่นบลูเรย์ดูกันเลยดีกว่า ซึ่งถ้าว่ากันตามตรงแล้วภาพที่เปิดจากเครื่องเล่นบลูเรย์ทั่วไป จะมีอาการดรอปในเรื่องของสีสัน และคุณภาพของภาพลง แต่ถ้าเราได้เปิดกับเครื่องเล่น BDP-450 เราจะไม่เจอกับปัญหานี้เลย เพราะในเครื่องนี้มีชิพ QDEO ที่ประมวลภาพออกมาแล้วได้ภาพที่สีสันสดอิ่ม รายละเอียดดี สมกับที่คนส่วนใหญ่กล่าวขวัญถึง ยิ่งถ้าได้เปิดกับทีวีดีๆ ด้วยแล้วยิ่งทำให้ได้ภาพที่ดียิ่งขึ้นเข้าไปใหญ่

ภาพยนตร์ X-Men ช่วงนี้กำลังไล่ดูภาคหลังๆ เพื่อฟื้นความทรงจำ
มีสทีคฉากนี้เป็นฉากอ้างอิงที่ดีฉากหนึ่ง เพราะในภาพเดียวมีการไล่โทนสี ไล่แสง รวมทั้งผิวคน
ก็ต้องชมเชยชิพประมวลผล QDEO ที่ทำให้ได้ภาพที่มีรายละเอียดครบถ้วน

สำหรับโหมดภาพที่มาพร้อมกับเครื่อง BDP-450 มีทั้งหมด 5 โหมด ประกอบไปด้วย LCD, PDP, Projector, Professional และ Custom โดยโหมดภาพที่ผมแนะนำให้ใช้เลยก็คือโหมด LCD ครับ เนื่องจากโหมดอื่นเท่าที่ทดลองมาจะพบนอยส์บ้าง โทนสีไม่เป็นธรรมชาติบ้าง

โหมดนี้แนะนำเลยครับ
กับแผ่นบลูเรย์สามมิติเองก็ให้รายละเอียดที่ดีเช่นกัน แต่สีสันดูจะดรอปลงเล็กน้อย
เปิดฟังกับคอนเสิร์ตก็มันส์ไม่หยอก

อย่างไรก็ดีเพื่อที่จะตอบปัญหาคาใจของผู้อ่านทุกคน ในการทดสอบนี้ผมจึงใช้ทั้งแผ่นบลูเรย์แท้ๆ กับแผ่นแบบบลูเรย์กุ๊กกู๋ เพื่อทดสอบด้าน Cinavia Protection กันด้วย สำหรับแผ่นบลูเรย์แท้ๆ ผมคงไม่ต้องพูดถึงเพราะต้องเล่นได้อยู่แล้ว แต่กับแผ่นกุ๊กกู๋เท่าที่ผมเปิดมา 2-3 แผ่นก็พบว่า BDP-450 เล่นได้ปกติดีครับ เว้นเสียแต่ว่าในบางแผ่น ผมจะพบปัญหาในการเรียกพวก Popup Menu ขณะเล่นไม่ได้เท่านั้น

ภาพจากแผ่นกุ๊ก กุ๊ก กู๋

*อนึ่งทางทีมงานสนับสนุนให้ใช้แผ่นแท้นะครับ การใช้แผ่นกุ๊กกู๋ในรีวิวนี้ก็เพื่อทดสอบด้าน Cinavia Protection เท่านั้น

Features – ลูกเล่น

เอาล่ะครับดูภาพ ฟังเสียงกันไปแล้วก็ถึงคราวที่จะต้องมาพูดกันถึงความสามารถเสริม หรือฟีเจอร์ที่มีอยู่ในเครื่องนี้กันบ้าง ฟีเจอร์แรกที่จะพาไปดูกันก็คือฟีเจอร์ด้านการเล่นไฟล์ประเภทต่าง ๆ ทั้งภาพเคลื่อนไหว เสียง และภาพนิ่ง ซึ่งไฟล์ที่เราใช้ทดสอบกันก็มี .MKV, .FLAC, .MP3, .JPG, .PNG ซึ่งบันทึกอยู่ใน External hard disk ผ่านทางพอร์ต USB 2.0

หลังจากต่อ External hard disk เข้ากับพอร์ต USB ที่ด้านหน้าแล้วก็จะมีเมนู USB1 ปรากฏขึ้นมา
การเล่นไฟล์ .MKV เล่นได้ไม่มีปัญหาครับ ภาพมา เสียงออก ซับไตเติ้ลขึ้น
การเล่นไฟล์เสียงความละเอียดสูงอย่าง FLAC ก็ทำได้ลื่นไหลเช่นกัน