30 Jan 2016
Review

ประสิทธิภาพเหนือชั้นด้วยแหล่งกำเนิดแสงเลเซอร์ !!? รีวิว Epson EH-LS10000 Hi-End Home Theater Projector


  • ชานม

ภาพ

การทดสอบคุณภาพของภาพ ผมขออ้างอิงเป็น 5 หัวข้อ ได้แก่ ความสามารถในการแสดงสีสัน, การถ่ายทอดระดับความเปรียบต่างของแสง, ประเด็นด้านภาพเคลื่อนไหว, การอัพสเกล (4K Enhancement), และระบบสามมิติ

ความสามารถในการแสดงสีสัน

การทดสอบคุณภาพของภาพ ผมขออ้างอิงเป็น 5 หัวข้อ ได้แก่ ความสามารถในการแสดงสีสัน, การถ่ายทอดระดับความเปรียบต่างของแสง, ประเด็นด้านภาพเคลื่อนไหว, การอัพสเกล (4K Enhancement), และระบบสามมิติ

ความสามารถในการแสดงสีสัน

จากข้อมูลข้างต้น จะเห็นว่าหลายๆ โหมดให้ผลลัพธ์ได้เที่ยงตรงดี แต่ที่โดดเด่นจะมีอยู่ 3 โหมด
โหมดภาพโหมดแรกที่อยากแนะนำคงไม่พ้น THX เห็นชื่อนี้ก็มั่นใจได้ว่าไม่ธรรมดา จากการทดสอบพบว่า อุณหภูมิสีเฉลี่ยอยู่ที่ราว 6434K White Balance แม้จะไม่เที่ยงตรงมากเท่ากับ AdobeRGB ก็อยู่ในเกณฑ์ดีมากทีเดียว ในส่วนของ Color Space จะอิงมาตรฐาน Rec.709 เหมาะสำหรับการรับชมคอนเทนต์ HDTV ที่กำลังแพร่หลายในปัจจุบัน อาทิ ภาพยนตร์บลูเรย์ (Full HD) รายการดิจิทัลทีวี ฯลฯ
ลำดับถัดมา คือ โหมด Digital Cinema ซึ่งได้ผลลัพธ์ที่เป็นคำตอบยืนยันชัดเจนว่า LS10000 สามารถแสดงขอบเขต Color Space ครอบคลุม DCI-P3 ได้จริงตามที่กล่าวอ้าง!

ทั้งนี้ DCI-P3 เป็นมาตรฐานที่ใช้อ้างอิงสำหรับโปรเจ็คเตอร์ในโรงภาพยนตร์ การรับชมภาพยนตร์ภายในบ้านเวลานี้คงยังไม่ได้อานิสงส์จากมาตรฐานนี้นัก เนื่องจากไม่มีคอนเทนต์วิดีโอตามบ้านที่อ้างอิงมาตรฐานนี้ แต่ก็น่าจะใช้เป็นโหมดภาพสำรองสำหรับการรับชม 4K Content ในอนาคตได้

โหมดภาพสุดท้าย ที่แนะนำเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะผู้ที่ต้องการโปรเจ็คเตอร์ที่มีคุณสมบัติใช้อ้างอิงในงานกราฟิก และการถ่ายภาพ คือ Adobe RGB

ความสามารถในการแสดงขอบเขต Color Space ของ LS10000 ในโหมดนี้ทำได้ครอบคลุมมาตรฐาน Adobe RGB ตามชื่อ ยิ่งไปกว่านั้นในโหมดนี้ยังให้ความเที่ยงตรงของ White Balance สูงมากๆ อีกด้วย เรียกว่าเปิดเครื่องปุ๊บก็ใช้อ้างอิงในขั้นตอน Post Production สำหรับงานถ่ายภาพหรืองานกราฟิกอื่นๆ ที่ต้องการความเที่ยงตรงของสีสันได้ยอดเยี่ยมไปเลย! สีดีกว่ามอนิเตอร์หลายๆ รุ่นอีกนะเนี่ย ฮา

จากคุณสมบัติข้างต้น ใครที่มีกล้องดีๆ เก็บค่าสีได้กว้างขวาง ก็จะได้ใช้งานเต็มศักยภาพกันเสียที หากเป็นเมื่อก่อนถ่ายมาแล้วรายละเอียดบางอย่างจะถูกมอนิเตอร์ทั่วๆ ไปจำกัดเอาไว้ บัดนี้ LS10000 จะปลดปล่อยสีสันที่ไม่เคยได้เห็นอย่างตื่นตาตื่นใจและดูสมจริงกว่าเคย และไม่ต้องกังวลกับอายุการใช้งานของโปรเจ็คเตอร์ การันตีด้วยแหล่งกำเนิดแสงแบบเลเซอร์ 3 หมื่นชั่วโมง พร้อมระบบตรวจสอบและปรับชดเชยอัตโนมัติตามอายุ จะติก็ตรงการใช้งานโปรเจ็คเตอร์ในห้องมืดดูจะไม่เหมาะกับสภาพแวดล้อมการทำงานเท่าใดนัก
โหมดภาพสำเร็จรูปจาก LS10000 หลายๆ โหมด ให้ความเที่ยงตรงสูงก็จริง ทว่าหากต้องการความเที่ยงตรงสูงสุดตามอุดมคติ สามารถคาลิเบรทเพิ่มเติมได้ เช่น รองรับการปรับ White Balance แบบ 2-point (ที่หัวข้อ RGB) และ CMS (ที่หัวข้อ RGBCMY)
นอกจากนี้ยังสามารถไฟน์จูน Gamma แบบละเอียดได้ด้วย จะอิงมาตรฐาน Gamma สำหรับงานภาพยนตร์หรือคอมพิวเตอร์กราฟิก หรือจะชดเชยตามสภาพแสงรบกวน ก็เลือกปรับเอาตามสะดวก สมกับเป็นรุ่นท็อป!
แน่นอนหลังจากคาลิเบรตแล้ว คุณภาพของภาพก็ยอดเยี่ยมกระเทียมดองยิ่งขึ้นไปอีก ซึ่งโหมด THX ผลลัพธ์ชัดเจนมากโดยเฉพาะ White Balance
ส่วนความเปลี่ยนแปลงภายหลังคาลิเบรตของ Adobe RGB อาจไม่มากเท่า เนื่องจากค่าเริ่มต้นจากโรงงานมาดีมาก แต่ผลลัพธ์โดยรวมก็ไปในแนวทางที่ดีขึ้นครับ

การถ่ายทอดระดับความเปรียบต่างของแสง

จุดเด่นของ LS10000 ที่ได้รับการกล่าวขานถึง คือ การถ่ายทอดไดนามิกเรนจ์จากความเปรียบต่างของแสงได้สูงมาก จุดหนึ่งที่ทาง Epson เคลมมา คือ การถ่ายทอดสีดำที่ดำมืดสนิทระดับ 0 lm ในจุดนี้หากทดสอบด้วย Full Black Pattern พบว่า มืดจริง ไม่มีแสงสว่างใดๆ เล็ดลอดออกมาจากหน้าเลนส์ทั้งสิ้น

ซึ่งเคล็ดลับความดำสนิทแบบ 0 lm อยู่ที่การตั้งค่าตัวเลือก Dynamic Contrast

การที่ LS10000 สามารถปรับลดระดับแสงลงจนมืดสนิทได้ เป็นเพราะแหล่งกำเนิดแสงแบบ Dual Laser มิใช่เกิดจาก Lens Iris ดังนั้นการสลับระหว่างฉากมืด (Full Black) และสว่าง (Full White) จึงทำได้แบบฉับไว ไม่วูบวาบเหมือนโปรเจ็คเตอร์ที่ใช้ Lens Iris ในการคุมระดับ Black Level ซึ่งตอบสนองได้ช้ากว่า

อย่างไรก็ดีในการรับชมภาพยนตร์จริง ผลลัพธ์จาก Dynamic Contrast อาจไม่ได้เพิ่มความเปรียบต่างของแสงได้ชัดเจนมากเท่ากับการทดสอบด้วย Test Pattern แต่ก็สามารถสังเกตได้ว่า Black Level ดีกว่าโปรเจ็คเตอร์ทั่วไป

หมายเหตุ:

– บางท่านอาจรู้สึกว่าสายตาต้องทำงานหนักจากระดับความเปรียบต่างของแสง สามารถ Off ตัวเลือก Dynamic Contrast ได้ ซึ่งกรณีที่เลือกโหมดภาพแบบ THX และ AdobeRGB ตัวเลือก Dynamic Contrast จะถูก Off เอาไว้อยู่แล้ว ผลลัพธ์จะคล้ายกับการรับชมโปรเจ็คเตอร์ทั่วไป ทั้งนี้ถึงแม้จะไม่ได้เปิดใช้งาน Dynamic Contrast แต่ Black Level ของ LS10000 ก็ยังดีกว่าโปรเจ็คเตอร์หลายๆ เครื่องอยู่ดี           

– สามารถจำกัดความสว่างสูงสุดไม่ให้จ้าเพื่อลดทอนความเปรียบต่างของแสงลงได้ผ่านตัวเลือก Lens Iris แต่ไม่แนะนำครับ (การทำหน้าที่ของ Lens Iris สำหรับ LS10000 จึงตรงข้ามกับโปรเจ็คเตอร์ทั่วไป เพราะส่งผลกับ Maximum Luminance ไม่ใช่ส่งผลกับระดับ Black Level)

ประเด็นด้านภาพเคลื่อนไหว

LS10000 มีอัตรา Refresh Rate สูงสุดถึง 240Hz สำหรับการรับชมคอนเทนต์ 2D สูงกว่าโปรเจ็กเตอร์ ทีวี หรือมอนิเตอร์ทั่วๆ ไปที่ 60 – 120Hz ถึง 2 – 4 เท่า ถามว่า Refresh Rate สูงขนาดนี้ส่งผลกับการรับชมอย่างไร? จุดนี้สัมพันธ์ไปถึงการตอบสนองต่ออัตราเฟรมเรตของภาพเคลื่อนไหวนั่นเอง (คนละอย่างกับกระบวนการแทรกเฟรม หรือ Frame Interpolation นะครับ)

ผลพลอยได้จะส่งผลในการรับชมคอนเทนต์ 24p ที่รองรับ 10:10 Pull-down จึงลดทอนปัญหาภาพสะดุดจากกระบวนการ 3:2 Pull-down ได้เป็นอย่างดี ถึงแม้จะไม่ได้เปิดใช้งาน Frame Interpolation แต่ภาพเคลื่อนไหวจากภาพยนตร์บลูเรย์เมื่อรับชมกับ LS10000 ก็ยังให้ความต่อเนื่องที่ดีมาก

อย่างไรก็ดีหากต้องการความลื่นไหลมากขึ้นจากการประมวลผลเพิ่มอัตราเฟรมเรตด้วยการแทรกเฟรมภาพเคลื่อนไหวจำลอง ฟังก์ชั่น Frame Interpolation ของ LS10000 ก็ให้ผลลัพธ์ที่ดีเช่นเดียวกัน มีให้เลือก 3 ระดับ คือ Low, Normal และ High เรียงตามปริมาณการประมวลผลแทรกเฟรมเพิ่ม

ระดับ Low จะช่วยลดอาการภาพสั่น ภาพเบลอ จากคอนทนต์เฟรมเรตต่ำได้ดีตามการประมวลผลแทรกเฟรมจำลองที่ไม่มาก ในขณะที่ภาพเคลื่อนไหวโดยรวมจะยังคงดูเป็นธรรมชาติไม่ต่างจากต้นฉบับ ส่วน High จะประมวลผลแทรกเฟรมมากที่สุด ภาพเคลื่อนไหวจะดูไหลลื่นไปเลย ผลลัพธ์หากเทียบกับฟังก์ชั่นเดียวกันบนทีวี จะพบว่า artifacts จากเฟรมภาพจำลองที่ระดับ High จะน้อยกว่า แต่ยังสังเกตุเห็นความบกพร่องได้บ้างในบางช่วงครับ ส่วน Normal ออกจะครึ่งๆ กลางๆ ไปหน่อย เหมือนระดับการแทรกเฟรมไม่คงที่ เดี๋ยวเร็ว เดี๋ยวช้า จุดนี้หากชอบภาพเคลื่อนไหวแบบลื่นๆ ก็เลือกระดับ High ไปเลยดีกว่า แต่ถ้าชอบภาพเคลื่อนไหวที่ใกล้เคียงกับต้นฉบับก็เลือก Low

อย่างไรก็ดี Frame Interpolation ของ LS10000 มีข้อจำกัด เพราะสามารถเปิดใช้งานได้กับคอนเทนต์ 1080/24p (ทั้ง 2D และ 3D) และ 1080/60p เท่านั้น หากคอนเทนต์ต้นฉบับมีความละเอียดแตกต่างไปจากนี้ จะไม่สามารถเปิดใช้งานฟังก์ชั่นแทรกเฟรมได้