21 Jan 2020
Review

รีวิว Sony 55X9500G Full LED ตัวท็อปรองรับ AirPlay ใช้งานครอบคลุมจักรวาล!!


  • lcdtvthailand

เพิ่มเติม

ส่วนสำคัญจุดแรกของการทำให้ทีวี X9500G เป็นศูนย์กลางในการควบคุมอุปกรณ์ต่างๆ ในบ้านได้นั้น จะต้องทำการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตในอยู่ในเครือข่ายเดียวกันไม่ว่าจะเป็นตัวทีวีเองหรืออุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ ที่มีสัญลักษณ์ว่า Work with Google Assistant หรือ Work with Apple HomeKit นั้นถือว่าใช้งานได้กับทีวี Sony ที่เป็น Android TV ได้แทบทุกรุ่น (การสั่งงาน Google Assistant ที่สมบูรณ์แบบจำเป็นต้องตั้งค่าเมนูให้เป็นภาษาอังกฤษเพื่อใช้งานคำสั่งเสียง แต่เราสามารถพูดภาษาไทยสั่งงานได้ปกติครับ)

สามารถใช้งานได้หลากหลายอุปกรณ์ไม่ว่าจะเป็นกล้องวงจรปิด, หลอดไฟ, เครื่องดูดฝุ่น หรือว่าซาวด์บาร์

หลังจากนั้นทำการล็อกอิน Email ของเราลงไปในทีวี Sony X9500G และแอปพลิเคชั่น Google Home (หากใครยังไม่มีสามารถดาวน์โหลดได้ทั้ง Google Play Store และ App Store ได้เลยฟรี!!) 

ล็อกอินด้วยรหัส Gmail ทั้ง 2 อุปกรณ์ ทีวีและแอปพลิเคชั่น Google Home บนสมาร์ทโฟน

ขั้นตอนแรกเมื่อล็อกอิน Google Home เรียบร้อยแล้วทำการสร้างบ้านใหม่ของเราขึ้นมา 1 หลังเป็นการจำลองว่าภายในบ้านเรานั้น มีอุปกรณ์หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าเครื่องไหนบ้างที่รองรับ IoT หรือกำลังเชื่อมต่ออยู่ใน Wi-Fi อยู่ในวงแลนเดียวกันรึเปล่า หากมีก็จะปรากฏชื่อของอุปกรณ์นั้นขึ้นมาทันที เท่านี้ก็เป็นอันว่าเราสามารถสั่งงานอุปกรณ์อัจฉริยะของเราผ่านทีวี Sony 55X9500G ได้แบบสบายๆ ไม่ต้องใช้รีโมทเลย

สร้างบ้านขึ้นมาก่อน จากนั้นเพิ่มอุปกรณ์เข้าไปในบ้าน
อย่าลืมเชื่อมต่ออุปกรณ์ทั้งหมดให้อยู่ในวง Lan หรือ Wi-Fi เดียวกัน อย่าลืมเชื่อมต่ออุปกรณ์ทั้งหมดให้อยู่ในวง Lan หรือ Wi-Fi เดียวกัน
สร้างบ้านขึ้นมาก่อน จากนั้นเพิ่มอุปกรณ์เข้าไปในบ้าน
ที่สามารถสั่งงานได้โดยไม่ใช้รีโมทเพราะว่าตัวทีวีเค้ามี รูไมโครโฟนรับเสียงนั่นเอง!! (สังเกตสัญลักษณ์ไฟสีส้มหากติดอยู่แปลว่าทีวีพร้อมรับคำสั่งเสียงแล้ว)

แต่หากใครที่ทำตามเบื้องต้นแล้วไม่เจอแบบที่บอกแล้วก็ลองเข้าไปเพิ่มอุปกรณ์ตามแบรนด์หรือยี่ห้อด้วยตัวเองได้เลยผ่านการตั้งค่าในแค่ละแอปพลิเคชั่นของแต่ละยี่ห้อของเครื่องใช้ไฟฟ้าเสียก่อนเช่น Mi Home, Philips Hue เมื่อทำเส็จแล้วค่อยมาทำการซิงค์อุปกรณ์ต่างๆใน Google Home อีกที

ค้นหาหรือซิงค์อุปกรณ์อัจฉริยะตามแบรนด์หรือยี่ห้อที่เรามีได้เลยครับ

อีกหนึ่งอย่างที่ถือเป็นเทคนิคการใช้งานคำสั่งเสียงเพื่อควบคุมเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านที่แม่นยำคือ เราควรแบ่งห้องของอุปกรณ์ต่างๆ ไว้แต่ละห้องเพื่อการสั่งงานที่แม่นยำและกันความสับสนของชื่ออุปกรณ์ได้ หรือหากต้องการสั่งงานเครื่องใช้ไฟฟ้าชิ้นไหนก็ให้พูดชื่อลงเพื่อเป็นการระบุว่าเราต้องการสั่งงานเฉพาะของชิ้นนี้เท่านั้นก็ถือว่าทำได้ง่ายครับ

แบ่งห้องหรือตั้งชื่ออุปกรณ์จะช่วยให้การสั่งงานด้วยเสียงแม่นยำมากขึ้น

สำหรับการเปลี่ยนชื่ออุปกรณ์บน Google Home นั้นมีดังนี้

1.เลือกอุปกรณ์ที่ต้องการเปลี่ยนชื่อ

2.เข้าไปที่เมนูตั้งค่า (เป็นรูปฟันเฟือง)

3.กดเข้าไปแถบหัวข้อที่ (สังเกตจะมีชื่อุปกรณ์เก่าขึ้นอยู่)

4.ตั้งชื่ออุปกรณ์ตามที่เราต้องการ เพื่อใช้ในการพูดสั่งงานด้วยเสียงผ่าน Google Assistant

หากใครที่ทำตามทั้งหมดแล้วแต่ยังไม่สามารถสั่งงานด้วยคำพูดภาษาไทยให้ลองทำตามนี้ดูครับ

1.เข้าไปในส่วนของการตั้งค่า Google Assistant

2.เลือกหัวข้อ ภาษาสำหรับพูดคุยกับ Assistant

3.หากเข้ามาแล้วเจอเพียงแต่ภาษาอังกฤษ ให้ทำการเพิ่มภาษาไทยเข้าไปครับ

เป็นไงกันบ้างครับวิธีทำไม่ยากแบบที่คิดใช่มั้ยครับแต่เจ้า Google Assistant ยังทำหน้าที่ได้มากกว่านั้นครับหากเราใช้งานร่วมกับลำโพงซาวด์บาร์อย่าง Sony HT-Z9F ที่รองรับการทำงานร่วมกับ Google Assistant ได้เช่นกันทำให้เราสามารถสั่งเปิดเพลงผ่าน Spotify ผ่านคำสั่งเสียงได้แบบเท่ๆ สบายๆ ด้วยระบบเสียงที่อัพเกรดจากตัวทีวีให้ดีขึ้นมาอีกระดับนึง โดยใช้ตัวทีวีเป็นศูนย์กลางในการสั่งงานต่อให้เราปิดทีวีอยู่ก็สามารถสั่งงานได้

สั่งเปลี่ยนเพลงเพิ่มลดเสียงทำได้ง่ายมาก

หรือเราจะสั่งเปิดปิดไฟด้วยคำสั่งเสียงทีวี Sony เค้าก็ทำได้เช่นกันเพียงแต่ต้องเปลี่ยนหลอดไฟภายในบ้านของเราให้เป็นแบบอัจฉริยะเสียก่อน ดูจากตัวอย่างที่ผมใช้ภายในบ้านคือ หลอดไฟ Philips Hue ผมสามารถสั่งเปิดปิดรวมไปถึงเปลี่ยนสีต่างๆ ก็ทำได้ผ่านคำสั่งเสียงเช่นกัน อยากได้ไฟสีอะไร สว่างประมาณไหนก็พูดกับทีวีได้เลย

สั่งเปิดปิดหรือเปลี่ยนสีหลอดไฟ

และสุดท้ายกำลังเข้ากับวิกฤตการณ์บ้านเราในช่วงนี้เลยครับฝุ่น P.M 2.5 กำลังมาแรงเกิดนั่งดูหนังหรือซีรีส์อยู่แล้วรู้สึกหายใจไม่สะดวก เราก็แค่พูดกับตัวทีวี X9500G ได้แบบทันทีโดยไม่ต้องเสียงเวลาหารีโมทหรือเอื้อมไปเปิดเครื่องฟอกอากาศที่ตั้งอยู่อีกที่เลย ถือว่าสะดวกสบายมาก

ผมลองสั่งงานเปิดเครื่องฟอกอากาศ
เปิดปิดเครื่องฟอกอากาศได้จริงด้วย

เอาล่ะหนีออกมาจากเรื่องสมาร์ทโฮมกันบ้างดีกว่าตัวทีวี Sony 55X9500G ก็ยังสามารถใช้งานได้หลากหลายเช่นกันเนื่องจากเป็น Android TV เวอร์ชั่นล่าสุด 9.0 หากใครที่ใช้มือถือไม่ว่าจะเป็น Android หรือ iOS ก็ไม่ต้องกังวลว่าจะใช้งานไม่ได้เพราะเค้ามีทั้ง Chromecast Built-in และล่าสุดรองรับ AirPlay2 แล้วเรียกว่าครอบคลุมทุกอุปกรณ์แล้วสำหรับทีวี Sony 

Android TV เวอร์ชั่นล่าสุด 9.0 ใช้งานรวดเร็วตอบสนองไว

รองรับการทำงานร่วมกับ Apple HomeKit และ AirPlay2 แล้ว ทำให้สามารถโยนหนังหรือภาพหน้าจอของมือถือไอโฟนขึ้นไปบนทีวีได้แบบไม่ต้องง้อ AirScreen เหมือนเมื่อก่อนแล้วแถมยังรองรับความละเอียดแบบ 4K Dolby Vision อีกด้วย (มีเฉพาะ Android TV จากแบรนด์ Sony เท่านั้นนะครับ)

สามารถใช้งานร่วมกับแอปพลิเคชั่น True ID ได้ด้วยจะดูบอลหรือรายการคุณภาพเลือกได้ตามสะดวก