09 Sep 2015
Review

4K สวยเนี้ยบ ดีไซน์บางเฉียบ เด่นล้ำด้วย Android 5.0 !!? รีวิว Sony 65X9000C


  • ชานม

ภาพ

Sony 65X9000C Pre Calibration Data

Picture ModeCTTGammaLuminanceBacklightColorPower
avgavgfL TempW
Vivid142081.39138.6MaxCool233
Standard91421.673.730Neutral123
Cineama Pro65362.2883.235Expert1150
Cinema Home65462.138335Expert1149
Sports90862.24130.7MaxNeutral233
Animation90881.717530Neutral138
Photo-Custom66222.2572.230Expert1140
Game65662.2271.735Expert1162
Graphics65602.2271.635Expert1162
Custom65622.2384.135Expert1188
Custom (calibrated)65942.3750.719Expert1121
หมายเหตุ: มาตรฐานอุณหภมิสี คือ 6500K, ระดับ Reference Gamma อยู่ที่ราว 2.2 – 2.4 (Power และ ITU BT.1886)

Sony ไม่ทำให้ผิดหวังเช่นเคยสำหรับโหมดภาพจากโรงงาน ซึ่งคุณภาพของภาพ (Out of the box picture quality) ให้ความเที่ยงตรงสูง เรียกว่าผลลัพธ์ดีกว่าทีวีบางยี่ห้อที่ปรับภาพแล้วเสียอีก ทั้งนี้โหมดภาพที่ให้ผลลัพธ์ดีที่สุด คือ Cinema Pro ซึ่งจะเหมาะกับการใช้งานในสภาพแวดล้อมทั่วไปที่คุมแสงได้ หรือใช้งานตอนกลางคืน จุดเด่นคือดุลสีที่เที่ยงตรงใกล้เคียงมาตรฐาน D65 มาก ซึ่งผลลัพธ์ตรงนี้เหมือนกับรุ่น X9300C

ในกรณีที่ต้องการใช้งานในห้องหับที่สว่างขึ้น หรือใช้งานในเวลากลางวัน สามารถเลือกใช้งานโหมดภาพ Cinema Home ได้อีกโหมดหนึ่ง ผลลัพธ์จะคล้ายคลึงกับ Cinema Pro ต่างกันเพียงจุดเดียว คือ ระดับ Gamma ซึ่งในส่วนของพารามิเตอร์ปรับภาพอย่าง Contrast, Black Level, Color, Tint สำหรับ 2 โหมดนี้ ดีอยู่แล้ว อาจไม่มีความจำเป็นต้องปรับแต่งเพิ่มเติม สามารถอ้างอิงใช้งานได้เลยครับ

ถึงแม้โหมดภาพจากโรงงานจะให้ภาพที่ดี ทว่า Sony ก็ยังเปิดโอกาสให้ปรับภาพละเอียดเพิ่มได้

ในอดีตถึงแม้ทีวีของ Sony จะให้สมดุลสีได้ดีกว่ามาตรฐานทีวีทั่วไป แต่การไฟน์จูนให้ได้ผลลัพธ์ที่เฟอร์เฟ็กต์ยิ่งขึ้น ยังจำกัดแค่ 2P White Balance เท่านั้น อย่างไรก็ดีสำหรับทีวีเจนฯ ใหม่ ประจำปี 2015 เปิดโอกาสให้ไฟน์จูนอุณหภูมิสีละเอียดเพิ่มเติมถึงระดับ “10P” เลยทีเดียว แน่นอนว่า 10P White Balance จะช่วยให้ได้ผลลัพธ์ในแง่ของสมดุลแสงขาวที่เข้าใกล้อุดมคติมากยิ่งขึ้น

ทว่าจะยังไม่รองรับการไฟน์จูนละเอียดในส่วนของ CMS จุดที่สามารถดำเนินการได้มีเพียงการปรับเปลี่ยน Color Space ให้สัมพันธ์กับมาตรฐานคอนเทนต์ที่ต้องการรับชม ซึ่ง Sony 4K TV เจนฯ ใหม่อย่าง X9000C (และ X9300C) สามารถปรับเปลี่ยนตัวเลือก Color Space ได้ถึง 3 โหมด คือ sRGB/BT.709, DCI และ BT.2020

แม้ว่าตัวเลือก DCI และ BT.2020 จะให้ระดับเรนจ์สีที่กว้างกว่า BT.709 ก็จริง ทว่า Native Color Space ของพาเนล 65X9000C (รวมถึงรุ่นสูงกว่าอย่าง 65X9300C) ยังทำได้ไม่ถึง BT.2020 จริงๆ นะครับ ซึ่งความสามารถตรงนี้ก็ไม่ต่างจากพาเนล 4K TV อื่นๆ ในปัจจุบัน อย่างไรก็ดีหากอ้างอิงเปรียบเทียบกับรุ่นสูงกว่า 65X9300C จะพบว่า ตัวเลือกที่ให้เรนจ์สีที่กว้างที่สุด ให้ขอบเขต Color Gamut กว้างกว่ารุ่น 65X9000C อยู่เล็กน้อย

ทั้งนี้สำหรับการรับชมร่วมกับมาตรฐานคอนเทนต์ปัจจุบัน ที่ Color Space ยังคงอ้างอิงมาตรฐาน BT.709 แนะนำให้ใช้ตัวเลือก Color Space ของ 65X9000C ไว้ที่ Auto หรือ sRGB/BT.709 เพราะตัวเลือกที่สูงกว่านี้อาจส่งผลให้การถ่ายทอดดุลสีดูผิดเพี้ยน (สีสดจัดเกินจริง) ได้ครับ

หลังจากการไฟน์จูนปรับภาพละเอียด ผลลัพธ์ทำได้เที่ยงตรงยิ่งขึ้น โดยเฉพาะในส่วนของ White Balance ถึงแม้ CMS จะไฟน์จูนไม่ได้ ทว่าเมื่อส่วนอื่นได้รับการปรับภาพลงตัวแล้ว CMS ก็จะได้รับอานิสงส์ในทางที่ดีขึ้นบ้างเช่นกัน
ความพิเศษเฉพาะของโหมดภาพ Cinema Pro/Home อีกประการ ที่เด่นกว่าโหมดอื่นๆ คือ ฟีเจอร์ Mastered in 4K หรือ การอัพสเกลอัตโนมัติสำหรับการรับชม Mastered in 4K Content (อาทิแผ่นบลูเรย์ภาพยนตร์บางไตเติลจากค่าย Columbia Pictures)
อย่างไรก็ดี สำหรับผลลัพธ์การอัพสเกลแบบอัตโนมัติด้วย Mastered in 4K พบว่า อาจจะเน้น Sharpness มากอยู่สักหน่อย จึงทำให้ Noise เห็นชัดเจนขึ้นมาด้วย (อ้างอิงจากแผ่นบลูเรย์ภาพยนตร์ Mastered in 4K: Spider-man) แต่ก็สามารถไฟน์จูนในแบบ Manual เพิ่มเติมเพื่อผลลัพธ์ที่ดีที่สุดได้

และถึงแม้จะไม่ใช้ฟังก์ชั่น Matered in 4K ทว่ามาตรฐานวงจรอัพสเกลของ 4K TV ยุคใหม่ก็ทำได้ดีกว่ายุคก่อนๆ แบบสัมผัสได้ไม่ยาก ผลลัพธ์นั้นพูดเลยว่าการรับชม Blu-ray 1080P กับ 4K TV อาทิ Sony 65X9000C (และ 65X9300C) ทำได้น่าประทับใจมากทีเดียว ภาพยังคงดูคมชัด ไม่รู้สึกเบลอมากเหมือนสมัยก่อน และด้วยระบบจัดการสัญญาณรบกวนที่ดีจึงได้ Sharpness ที่ไม่ขับเน้นให้สัญญาณรบกวนเด่นชัดขึ้นมาด้วย แต่อีกจุดหนึ่งที่ได้รับการพัฒนาขึ้น ไม่กล่าวถึงมิได้เพราะส่งผลกับคุณภาพการรับชมโดยตรง คือ “โมชั่น”

ผลการอัพสเกลจาก Sony 4K TV เจนฯ ใหม่ดูจะได้อานิสงส์จากเทคโนโลยีโมชั่นที่ให้ความคมชัดยิ่งขึ้นแม้เป็นภาพเคลื่อนไหว อาจเป็นเพราะการตอบสนองของพาเนลที่ดีขึ้นด้วยอีกส่วนหนึ่ง นอกจากนี้ผู้ผลิตยังเปิดโอกาสให้ทำการไฟน์จูนในส่วนของ MotionFlow ได้ด้วย จากการทดสอบพบว่า หากปรับ Smoothness ไปที่ราวๆ 3 และปรับ Film Mode ไปที่ Low จะให้ผลลัพธ์ที่บาลานซ์ดี กล่าวคือ ช่วยลดอาการภาพสะดุด แต่ก็ไม่จำลองแทรกเฟรมให้ไหลลื่นมากเสียจนเกิด artifacts รบกวน ในส่วนของ Clearness จะคงรายละเอียดของภาพเคลื่อนไหวให้คมชัด ไม่เบลอ แต่ยิ่งเพิ่มมากเท่าไหร่ ความสว่างจะยิ่งลดลงเท่านั้น ในจุดนี้แม้ปรับไว้ในระดับต่ำก็ยังคงให้ความคมชัดของภาพเคลื่อนไหวได้ดีอยู่