01 Jan 2014
Review

ประติมากรรม “หลักศิลา” กับประสิทธิภาพที่ต้องจารึก Sony KDL-HX855 3D LED TV


  • ชานม

เพิ่มเติม

Power Saving ระบบประหยัดพลังงาน เลือกได้ 2 ระดับ คือ Low และ High หลักๆ ก็คือการลดระดับ Backlight ลงนั่นเอง ดังนั้นการลดทอนพลังงานไฟฟ้าด้วย Power Saving จึงมีอัตราส่วนแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับโหมดภาพที่ใช้ เช่น ถ้าใช้งานกับโหมด Vivid ที่กำหนดระดับ Backlight ไว้สูงมากจากโรงงาน ผลจาก Power Saving ก็จะมากกว่าโหมด Cinema ที่กำหนดระดับ Backlight จากโรงงานมาต่ำกว่า เป็นต้น

หมายเหตุ: ในรูปเป็นการอ้างอิงในโหมด Custom

กระนั้นในการรับชมจริง การกำหนดระดับ Power Saving – High ระดับความสว่างของทีวีจะลดต่ำลงมาก (Backlight = 0) ในบางสภาพแวดล้อมการรับชม อาจพบว่าทีวีแสดงภาพที่มืดทึมเกินไป (เพราะความสว่างจอภาพสู้แสงแวดล้อมไม่ไหว) ตรงนี้แนะนำให้ใช้ฟังก์ชั่น Light Sensorแทน เพราะระบบจะกำหนดระดับ Backlight ให้อัตโนมัติ โดยอิงตามสภาพแสงแวดล้อม หากสภาพแสงแวดล้อมต่ำ การกำหนดระดับ Backlight ก็จะต่ำ (ไม่ต้องสู้กับแสงแวดล้อม) ทีวีจึงไม่ต้องเสียพลังงานไปกับความสว่างส่วนเกินที่ไม่จำเป็น และยังช่วยถนอมสายตาดีอีกด้วย

ในส่วนของการกำหนด Power Saving นั้น น่าจะเหมาะเมื่อตั้งใจลดระดับการสูญเสียพลังงาน ในกรณีที่มิได้ต้องการรับชมทีวีแบบจริงจัง โดยกำหนดเป็น High หรือจะปิดการแสดงภาพไปเลยก็ได้ (Picture Off ต่างจากสถานะ Standby ตรงที่ฟังก์ชั่นอื่นๆ ของทีวียังทำงานตามปกติ) เหมาะกับกรณีที่ต้องการฟังเสียงอย่างเดียว จึงไม่จำเป็นต้องเปิดแสดงภาพไปแบบทิ้งๆ ขว้างๆ ช่วยลดอัตราการใช้พลังงานได้มากยิ่งขึ้น และยังถนอมอายุการใช้งานของจอภาพได้ดีอีกด้วย

ภาพ

55HX855 มาพร้อมกับ Scene Mode มากมายเช่นเคย ดังภาพ ซึ่งแต่ละโหมดจะพยายามกำหนดค่าพื้นฐานให้เอื้อกับรูปแบบการใช้งานให้อ้างอิงเลือกใช้ได้ง่ายๆ หรือจะเรียกว่าเป็นโหมดสำเร็จรูปก็ได้ ขณะเดียวกันก็รองรับการกำหนดตั้งค่าต่างๆ ในแบบแมนนวล เพื่อให้เหมาะสมลงตัวกับคอนเทนต์มากที่สุด รวมถึงรองรับการปรับแต่งให้การถ่ายทอดภาพมีความเที่ยงตรงยิ่งขึ้น ในระดับอ้างอิง

Scene ModesCTT * (70IRE)
General8785
Cinema6178
Sports8633
Music8792
Animation8749
Photo8781
Game8841
Graphics6190

* Pre-cal Colour Temperature
(Power Saving/Light Sensor – Off)

 การทดสอบความเที่ยงตรงเบื้องต้นโดยดูจากอุณหภูมิสี และ Color Gamut พบว่าโหมด Graphics ให้ความเที่ยงตรงที่สุด รองมาคือ Cinema แม้ว่าอุณหภูมิสีทั้งคู่จะค่อนข้างต่ำ จึงติดอมเหลืองอยู่บ้าง (ทั้งคู่อ้างอิงค่า Color Temp จากโรงงานที่ Warm2) แต่ก็ถือว่าใกล้เคียง D65 อย่างไรก็ดีในโหมด Graphics จะไม่สามารถเปิดโหมดชดเชยบางรูปแบบ เช่น Motionflow, Noise Reduction และ Enhancer ต่างๆ ซึ่งก็เหมาะสำหรับใช้งานเป็นมอนิเตอร์ที่ต้องการอ้างอิงความเป็นออริจินัล อย่างเช่น งาน Graphics กระนั้นในการรับชมภาพยนตร์ แนะนำโหมดภาพ Cinema เนื่องจากมีฟีเจอร์ชดเชยที่อาจจำเป็นต้องใช้ จึงให้ความยืดหยุ่นมากกว่าครับ

หมายเหตุ: 
– 55HX855 มีทริกเล็กๆ ที่เพิ่มระดับความเที่ยงตรงของอุณหภูมิสีให้ใกล้เคียง D65 มากขึ้นจากค่ากำหนดโรงงาน แบบง่ายๆ โดยการกำหนดตั้งค่า Color Temp: Warm2 ร่วมกับ Clear White: Low แม้จะไม่ถึงกับเพอร์เฟ็กต์ แต่ก็ให้ผลลัพธ์ที่ดีขึ้น
– 55HX855 รองรับการปรับอุณหภูมิสีละเอียด (แบบ 2-point calibration process) ซึ่งให้ระดับความเที่ยงตรงได้โดดเด่นไม่น้อย ทว่าไม่รองรับการปรับ CMS

เปรียบเทียบรายละเอียดของภาพ และสีสัน ระหว่างโหมด Vivid, Standard และ Custom (Calibrated)
55HX855 สามารถแสดงรายละเอียดในที่มืดได้ดีตั้งแต่แรก โดยไม่จำเป็นต้องปรับแต่งใดๆ (หากเลือก Scene Mode ที่เหมาะสม ในภาพเป็น Scene Mode: Cinema) ดังนั้นฟีเจอร์อย่าง Adv. Contrast Enhancer ย่อมไร้ประโยชน์อย่างสิ้นเชิง ! นอกจากไม่ช่วยให้ภาพดีขึ้นแล้ว กลับจะบิดเบือนต้นฉบับ โดยเฉพาะการไล่ระดับความสว่าง ทำให้สูญเสียความเป็นธรรมชาติไป
การควบคุมระดับ Black Level นั้น ยังเป็นรองรุ่นท็อปปีก่อนอย่าง HX925 ที่ใช้โครงสร้างแบบ Full LED Local Dimming จึงควบคุมการหรี่ หรือเปิดปิด LED Backlight ได้อิสระ และครอบคลุมทั้งจอได้มากกว่า กระนั้นศักยภาพของ Dynamic Edge LED Local Dimming จาก HX855 ก็ตอบสนองการใช้งานได้ดี เมื่อใช้งานพร้อมกับ Light Sensor ที่ควบคุมระดับ Backlight โดยอิงตามสภาพแสงภายนอกไปพร้อมกัน มีส่วนช่วยลดทอนปัญหา Backlight Leakage และควบคุมการแสดงระดับสีดำได้ดี เมื่อเทียบเคียงกับมาตรฐาน Edge LED