23 Jan 2014
Review

หล่อเข้มดุดันกว่าเดิม Wireless ภาค 3 !! รีวิว Sennheiser RS220 Wireless Stereo Headphones


  • lcdtvthailand

ช่องต่อ

ดูดีไซน์กันไปแล้วมาในส่วนของช่องต่อของ RS220 กันบ้างดีกว่าครับ อยากรู้จังว่าจะมีช่องต่อแบบไหนมาให้เราได้เลือกใช้งานกันบ้างนะ งั้นเราไปดูกันเลยดีกว่า

เป็นไงล่ะ!! ช่องต่อที่อยู่ทางด้านหลังของ Transmitter ใส่มาให้อย่างอุ่นหนาฝาคลั่งเลยทีเดียว

โดยช่องต่อที่ให้มาใน Transmitter ก็มีดังนี้

1. ช่องต่ออแดปเตอร์ขนาดกำลังไฟ 9 โวลต์/ 1 แอมป์
2. ช่องต่อสัญญาณเสียงแบบอนาล็อก Input/Output อย่างละ 1 ชุด
3. ช่องต่อสัญญาณเสียงแบบดิจิตอล (Coaxial) ทั้ง Input/Output อย่างละ 1 ช่อง
4. ช่องต่อสัญญาณเสียงแบบดิจิตอล (Optical) ทั้ง Input/Output อย่างละ 1 ช่อง
5. ปุ่ม Volume สำหรับปรับระดับเสียง
6. ปุ่ม Pairing

ด้านข้างของหูฟังแต่ละข้างจะมีช่องสำหรับใส่ถ่านชนิด AAA ซ่อนอยู่อย่างแนบเนียนข้างละ 1 ก้อนแหนะ
และเจ้านี่ก็คือแถบโลหะที่จะทำหน้าที่ในการชาร์จไฟเข้าไปยังตัวหูฟัง โดยแถบโลหะที่ว่านี้ จะอยู่บนตัว Transmitter และตัวหูฟัง
ส่วนของไฟแสดงสถานะต่างๆ นั้นถือว่าบอกรายละเอียดได้ชัดเจน ว่าเราใช้งานฟังก์ชันไหนอยู่ สำหรับปุ่ม Power และปุ่มเปลี่ยนฟังก์ชันการเชื่อมต่อเป็นแบบสัมผัสอีกด้วย

เสียง

ดูรูปลักษณ์ภายนอกกันไปแล้ว คราวนี้เรามาเริ่มทดสอบคุณภาพเสียงของ RS220 ด้วยการใช้ไฟล์เสียงระดับ Audiophile และไฟล์เสียงระดับ Lossless กันเลยดีกว่าครับ ก่อนอื่นกระผมก็ต้องขอบอกไว้ก่อนว่าหูฟัง Sennheiser รุ่น RS220 นั้นเป็นหูฟังไรสายแบบ Uncompressed Digital Audio Transmission หรือพูดง่ายๆ ก็คือมันเป็นหูฟังแบบไร้สายที่ส่งสัญญาณแบบไม่มีการบีบอัดข้อมูลเสียงเลยแม้แต่นิดเดียว

ก่อนที่จะเริ่มสัมผัสถึงจิตวิญญาณของเสียงได้นั้น เราต้องจัดแจงเสียบสายเข้ากับตัวเครื่องเล่นให้เรียบร้อย จากนั้นก็ทำการกดปุ่ม Power ที่ตัวหูฟังได้ทันที โดยจะมีไฟแสดงสถานะสีน้ำเงินโชว์ขึ้นมาทันที แสดงว่าหูฟังพร้อมส่งกระแสคลื่นเสียงมาที่หูของเราแล้ว จากที่เปิดหูฟังเรียบร้อยแล้วกระผมได้ทำการเปิดด้วยเพลงทั่วๆ ไปสักพักหนึ่ง เพื่อที่จะเบิร์นตัวไดรเวอร์ของหูฟังให้ขยับตัวเด้งดึ๋งๆ ก่อนที่จะไปทดสอบพลังเสียงและสมรรถนะกันอย่างจริงจัง
แผ่นที่นำมาใช้ในการทดสอบในการฟังครั้งนี้ นอกจากนี้ยังรวมถึงไฟล์เพลงจำพวก
WAV, Flac เป็นต้น

เมื่อเบิร์นเจ้า RS220 ทิ้งไว้จนได้ที่ ก็มาเริ่มทดสอบด้วยเพลง “November Rain ของ Gun N” Roses” ซึ่งแผ่นที่กระผมนำมาทดสอบนั้นเป็นเวอรชั่น Cover ใหม่มาในแนวเพลง Jazz ฟังสบายๆ ชิวๆ เข้ากับช่วงฤดูฝนเลยครับ 

โดยจากที่ได้ทดลองฟังคุณภาพของเสียงที่ได้จาก RS220 อย่างเช่นเสียงแซกโซโฟนและเสียงเครื่องดนตรีชิ้นอื่นๆ นั้นถือว่าเปล่งออกมาได้ค่อนข้างเป็นธรรมชาติและสมจริงมากมายเหมือนยังกับว่ามีคนมาเป่าแซกโซโฟนให้ฟังอยู่ตรงหน้าเราเลย ส่วนรายละเอียดของคนร้องสื่ออกมาได้อย่างคมเข้มและสดใส ไม่ว่าจะเป็นการออกเสียง “ส และ ซ” ถือว่าเปิดกว้างและถอดน้ำเสียงไปได้ไกล

ต่อมากระผมก็ได้ลองฟัง RS220 กับเพลง “Donna Donna (Original Version) ของ Joan Baez” ซึ่งเป็นเพลงแนวขับร้องที่ผสมผสานกับการคลอเคลียของเสียงดนตรีนิดๆ และจะมีเสียงแซกโซโฟนเด่นขึ้นมาเป็นช่วงๆ โดยส่วนตัวแล้วกับเพลงแนวนี้เจ้า RS220 ถือว่าฟังได้อย่างเพลินๆ และคล่องหูเลยครับ เพราะว่ารายละเอียดของเสียงร้องในสเกลเสียงต่ำไปยันเสียงสูงทำออกมาได้ดีกว่าที่คิดไว้มากๆ

หลังจากที่ทดลองกับ Audiophile ไปแล้ว เปลี่ยนมาทดสอบกับไฟล์บ้านๆ อย่างไฟล์ Flac กันบ้างดีกว่า โดยกระผมได้เลือกใช้เพลงแนว Alternative Rock เพื่อที่จะได้ทดสอบพลังเบสและเสียงโดยรวมที่ขับออกจาก RS220 ซึ่งเป็นหูฟังแบบ Open-aire ว่าแรงเตะของเสียงเบสจะหนักหน่วงกันสักเพียงไหน?

กระผมเลยขอจัดด้วยเพลง “We Want War ของ These New Puritans” ซึ่งเป็นเพลงที่มีจังหวะมันส์มาก ซึ่งจังหวะของเพลงนี้จะประกอบไปด้วยเสียงเบสและเสียงกลองหลากหลายประเภท แถมเสียงคนร้องนั้นจะออกแนวหลอนๆ ผมว่าถ้าใครยังไม่เคยฟังต้องลองแล้วล่ะครับ ผลที่ได้จากการตีลังกาฟังก็พบว่ารายละเอียดของเบสและเสียงกลองที่แสดงออกมามีความกระชับและแม่นยำใช้ได้เลย ไม่ครวญครางเวิ่นเวิ้อจนเกินไป!!!

ก่อนจะไปยังหน้าสุดท้ายขอแถมเพลงไทยอีกสักเพลงสักเพลงแล้วกันครับ นั่นก็คือเพลง “ทุ้มอยู่ในใจ (Acoustic Version)” ซึ่งเป็นเพลงประกอบภาพยนตร์ Suck Seed โดยเพลงนี้เป็นอีกหนึ่งเพลงที่กระผมชอบมากเลย เมื่อนำมาฟังกับ RS220 ก็ฟังได้นุ่มละมุนหูตามสไตล์เพลง Acoustic ที่ฟังได้เรื่อยๆ นั่นล่ะครับ ^^