29 Dec 2013
Review

คุ้มค่า ด้วยฟังก์ชั่นครบครัน นำสมัย !!! รีวิว Yamaha RX-V675 4K Ready Network AVR


  • ชานม

งแม้จะเป็นรุ่นราคาไม่สูง แต่ 675 ก็มีความสามารถทางด้านภาพเทียบเคียงกับ AVR รุ่นใหญ่เลยทีเดียว โดยรุ่นนี้ผนวก Video Scaler ที่สามารถปรับปรุงอัพสเกลรายละเอียดได้สูงถึงระดับ 4K และอนาคตเมื่อมี 4K Player ออกมา ก็สามารถเชื่อมต่อสัญญาณผ่าน AVR เครื่องนี้ได้ (Pass-through) จอไม่มืดครับ ที่เหลือก็เพียงรอ 4K TV เป็นที่แพร่หลาย คงจะได้ใช้งานกันเต็มศักยภาพต่อไป ทว่าตอนนี้หากยังใช้งาน Full HD TV อยู่ ก็ยังได้อานิสงส์จาก Video Scaler เช่นกันครับ

ซึ่งในจุดนี้ไม่ว่ารับชมจากคอนเทนต์ดิจิทัล (เชื่อมต่อสัญญาณทาง HDMI) หรืออะนาล็อก (เชื่อมต่อสัญญาณทาง Composite/Component) ผ่าน AVR เครื่องนี้ ก็สามารถอัพสเกลขึ้นได้ แล้วเอาต์พุตออกไปยังจอภาพผ่าน HDMI Out

การใช้งาน Video Scaler จาก 675 ก็เพียงแค่กำหนดตัวเลือก Processing ในหัวข้อ Video Mode ไม่ต้องตั้งค่าอื่นใดเพิ่มเติมอีก จากนั้นไม่ว่าระบบภาพมาจากแหล่งสัญญาณใดหากเชื่อมต่อผ่าน AVR เครื่องนี้ จะได้รับการ “อัพสเกล” ขึ้นแล้วครับ

แต่การปรับปรุงลดทอนสัญญาณรบกวน (ที่เกิดจากขั้นตอนกระบวนการบีบอัดข้อมูล) จะยังไม่ชัดเจนมากนัก และไม่สามารถกำหนดระดับการให้น้ำหนักปรับแก้ได้ แต่ถึงกระนั้นการทีจะมีตัวเลือกมากมายให้ผู้ใช้กำหนดเอง หากกำหนดระดับ Noise Reduction ไม่เหมาะสม ก็จะไปลดทอนรายละเอียดของภาพลงได้ เมื่อดูจากภาพรวมแล้วนับว่า Video Scaler ของ 675 สามารถตอบสนองการใช้งานได้ดีในแบบสำเร็จรูปครับ

หมายเหตุ: การทดสอบภาพจากการอัพสเกลนี้ อ้างอิงผลเมื่อรับชมกับจอทีวีระดับ Full HD เท่านั้น มิได้อ้างอิงถึงผลลัพธ์เมื่ออัพสเกลขึ้นถึงระดับ 4K

Sound – เสียง

การรายงานคุณภาพเสียงนั้น จะขอแบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนแรก คือ ผลจากการใช้งานระบบช่วยเหลือในการติดตั้ง ว่าได้มาตรฐาน เที่ยงตรง และแก้ปัญหาให้กับผู้ใช้อย่างไร อันจะส่งผลเกี่ยวเนื่องกับผลลัพธ์ที่ตามมาในส่วนที่ 2 คือ คุณภาพเสียง

จากการทดสอบผลลัพธ์การตั้งค่าลำโพงพื้นฐานจากระบบ YPAO พบว่า ให้ความแม่นยำอยู่ในเกณฑ์ดีมาก ทั้งในเรื่องการกำหนด Distance เพื่อชดเชยการหน่วงเวลาจากระยะลำโพงที่อยู่ใกล้ไกลจากจุดนั่งฟังแตกต่างกัน ความละเอียดอยู่ที่ 0.05m แน่นอนว่าการกำหนดดีเลย์สำหรับซับวูฟเฟอร์จะให้ความเที่ยงตรงกว่าการให้ระยะด้วยการวัดจากตลับเมตร (โดยปกติระยะ Distance ของซับวูฟเฟอร์ที่ถูกกำหนดจากระบบฯ มักจะมีค่ามากกว่าระยะห่างจริงที่สังเกตด้วยสายตาหรือวัดจากตลับเมตร เนื่องจากระบบฯ อาจทำการชดเชยหน่วงเวลาเสียงของซับวูฟเฟอร์ เพื่อเหตุผลทางเฟส)

การให้นำหนัก Level ของลำโพงหลักแต่ละแชนเนลทำได้บาลานซ์เท่าเทียมกันดี ความแตกต่างไม่เกิน +/- 0.5dB ระบบอาจจะให้น้ำหนักซับวูฟเฟอร์ขึ้นจากปกตินิดนึง เพื่อให้เสียงที่เร้าอารมณ์ขึ้นโดยเฉพาะเมื่อรับชมภาพยนตร์

ในส่วนของการกำหนดจุดตัดความถี่สำหรับลำโพงที่ถูกกำหนดเป็น Small จะอ้างอิงจุดตัดความถี่เพียงจุดเดียว นั่นหมายถึงระบบจะใช้จุดตัดความถี่โดยอิงจากลำโพงที่เล็กที่สุด ตอบสนองความถี่ต่ำได้น้อยที่สุดในระบบ ดังนั้นหากมีการผสมรวมลำโพงหลายขนาดในระบบ ลำโพงที่มีขนาดกลางค่อนไปทางใหญ่ (ยังไม่อาจเรียกว่าเป็นลำโพงใหญ่) จึงถูกกำหนดจุดตัดความถี่ค่อนข้างสูงตามลำโพงที่มีขนาดเล็กไปด้วย อย่างไรก็ดีระบบฯ จะยังคงให้ความกลมกลืนของดุลเสียงจากจุดตัดความถี่เสียงของลำโพงโดยรวมได้ดีอยู่

In room Frequency Response – No EQ vs YPAO:Flat
675 + Front R Speaker + SW @ Listening Position (Far-field)
1/6 Octave smoothing

* ผลการตอบสนองความถี่ที่แสดงนี้ รวมผลกระทบจากสภาพแวดล้อมเข้ามาด้วย เพื่อเป็นการประเมินศักยภาพของระบบ Auto Speaker Calibration ในการปรับแก้ชดเชยแก้ไขปัญหาดุลเสียงจากการบิดเบือนโดยสภาพแวดล้อม

ภายหลังจากดำเนินขั้นตอน YPAO แล้ว (Parametric EQ – On) ดุลเสียงของลำโพงจะเปลี่ยนไปแน่นอนครับ แต่จะเปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้น หรือแย่ลง คงต้องพิจารณาจากลักษณะของซิสเต็ม และผลลัพธ์ภายใต้สภาพแวดล้อมใช้งานจริงดู ซึ่งอาจไม่จำเป็นต้องใช้ Parametric EQ หากซิสเต็มให้ความเที่ยงตรงดีอยู่แล้ว

ในส่วนของการทดสอบผลของ Parametric EQ จากเคสนี้ หากดูจากกราฟตอบสนองความถี่ อาจไม่มีความแตกต่างชัดเจนนัก เนื่องจากสภาพแวดล้อมทดสอบ แม้ไม่ถึงกับเพอร์เฟ็กต์ 100% แต่ไม่ได้สร้างผลกระทบร้ายแรงกับดุลเสียงของลำโพงมากมายนัก ความเปลี่ยนแปลงจาก Parametric EQ ในเคสนี้จึงไม่ชัดแจ้ง ผลที่เกิดขึ้น ถึงแม้ความถี่บางช่วงถูกปรับให้สมูทขึ้นบ้างเล็กน้อย แต่ยังมิได้รวมถึงการแก้ไขปัญหาในย่านความถี่ต่ำลึกจากผลกระทบของ Room Mode ที่เกิดขึ้นช่วงราว 35Hz

โดยทั่วไปกับซิสเต็มบ้านๆ พบว่าการใช้งาน Parametric EQ ช่วยปรับปรุงให้เสียงของซิสเต็มมีความเที่ยงตรงขึ้น คำแนะนำคือ หากใช้งาน ให้เลือก YPAO:Flat จะให้ผลลัพธ์ความเที่ยงตรงดีกว่า YPAO:Natural ที่จะลดทอนศักยภาพการตอบสนองความถี่ย่านสูงของลำโพงลง

แล้วถ้าหากพิจารณากันที่ลีลาน้ำเสียงของ AVR ระดับราคาราว 2 หมื่น เครื่องนี้แบบเพียวๆ ล่ะ ทำได้ดีเพียงใด?

นับว่าโดดเด่นไม่น้อยสำหรับ AVR งบเท่านี้ เสียงฟังดูเปิดเผย ชัดเจน เรียกว่าไม่ใช่แนวที่จะพบเจอในเรื่องของความคลุมเครือ อันเป็นเอกลักษณ์ของ Yamaha แต่เสียงก็ไม่ได้บางอย่างที่หลายๆ คนเข้าใจ (หากดำเนินการอย่างถูกต้อง) การรับฟังระบบเสียงรอบทิศทางจากภาพยนตร์ ให้มวลบรรยากาศเสียงโอบบล้อมได้ดีโดยไม่จำเป็นต้องพึ่งระบบ CINEMA DSP ซึ่งสามารถเติมเต็มพื้นที่ทดสอบราว 25 ตร.ม. ได้ ไม่มีปัญหา (ระดับวอลลุ่มใช้งาน จะอยู่ที่ราว -30 ถึง -20dB) หากเน้นฟังเพลง 2 แชนเนลด้วย การพิจารณาฟีเจอร์ Bi-amp จะช่วยให้ได้ผลลัพธ์ที่ชัดขึ้น ในประเด็นการให้น้ำหนักเสียง ย่านต่ำจะให้โฟกัสได้ดีขึ้นอีกเล็กน้อย

หมายเหตุ: ผลลัพธ์ที่อ้างถึงในบทความนี้ เป็นการอ้างอิงในสภาพแวดล้อมทดสอบ ทั้งนี้ปัจจัยภายนอก หรือตัวแปรแวดล้อมบางอย่างที่เปลี่ยนแปลงแตกต่างไป ผลลัพธ์สุดท้ายจึงอาจเปลี่ยนไปได้

Conclusion – สรุป

หากพิจารณากันที่คุณสมบัติด้านลูกเล่นหลากหลาย Yamaha RX-V675 สามารถให้ได้ครบครันไม่แพ้รุ่นใหญ่ ทั้งรองรับอนาคตกับระบบ 4K สามารถอัพเกรดฟังก์ชั่นการเชื่อมต่อไร้สายทั้ง WiFi และ Bluetooth เพิ่มเติมได้ และด้วยศักยภาพที่มีในการถ่ายทอดเสียงเอฟเฟ็กต์จากภาพยนตร์ และดนตรี กับงบประมาณราว 2 หมื่น ต้นๆ ความคุ้มค่าของ 675 จึงโดดเด่น ไม่เป็นรองใคร

คะแนน

ดีไซน์ (Design)
8.00
ภาพ 2 มิติ ก่อนปรับภาพ (2D Picture Pre-Calibrated)
8.25
เสียง (Sound)
8.00
ลูกเล่น (Features)
8.25
การเชื่อมต่อ (Connectivity)
8.50
ความคุ้มค่า (Value)
8.50
คะแนนตัดสิน (Total)
8.25

คะแนน Yamaha RX-V675 4K Ready Network AV Receiver

8.25

  • รูปลักษณ์ที่คุ้นตา กับคอนเซ็ปต์การออกแบบที่เน้นปัจจัยเรื่องของคุณภาพเสียง แนวทางอาจไม่ชัดเจนเหมือน AVENTAGE Series แต่มีส่วนช่วยให้ผลลัพธ์โดดเด่นตามงบประมาณที่คุ้มค่า
  • มาพร้อม 4K Video Scaler/Pass-through & HDMI Up-conversion รองรับการใช้งานทั้งปัจจุบัน และอนาคต มีส่วนช่วยปรับปรุงจุดบกพร่องบางอย่างของคอนเทนต์ให้ดูดีขึ้น
  • คุณภาพเสียงให้ความเปิดเผย ไม่คลุมเครือ เมื่อ Bi-amp แล้ว สมรรถนะของลำโพงคู่หน้าจะสูงขึ้น ในส่วนของ YPAO ให้ความช่วยเหลือในการติดตั้งระบบลำโพงได้เป็นอย่างดี Parametric EQ อยู่ในเกณฑ์ใช้ได้
  • ลูกเล่นการใช้งานครอบคลุมเท่าทันยุคสมัย ไม่ละทิ้งฟีเจอร์ AirPlay รวมถึงการเชื่อมต่อ iDevices แบบ Digital Direct ทาง USB ส่วนการใช้งานร่วมกับ Android Devices สามารถส่งสัญญาณเสียงผ่าน AV Controller App ไปฟังได้เช่นเดียวกับ AirPlay / รองรับไฟล์ WAV/FLAC ที่ 192kHz/24-bit
  • ช่องต่อหลากหลายครบครัน ทั้งดิจิทัล และอะนาล็อกอินพุต มี HDMI Input ถึง 6 ช่อง รองรับ MHL และ USB Input 1 ช่อง ด้านหน้า สามารถอัพเกรดเพิ่มเติม WiFi และ Bluetooth adapter ในอนาคตได้
  • พิจารณาจากความครบครันของฟีเจอร์ และศักยภาพที่ได้รับ นับว่าเป็นตัวเลือกที่ให้ความคุ้มค่าน่าสนใจทีเดียว

by ชานม !
2013-09

ราคาตั้ง Yamaha RX-V675
26,900 บาท

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมโทร
ส่วนการตลาดฝ่ายเครื่องเสียงเอวี – พีเอ
บริษัท สยามดนตรียามาฮ่า จำกัด
โทร. 02-2152626-39 ต่อ 1234, 1250