ผู้เขียน หัวข้อ: WHO เรียก โควิดกลายพันธุ์ใหม่ โอไมครอน ยกเป็นสายพันธุ์ น่ากังวล  (อ่าน 84 ครั้ง)

ออฟไลน์ deam205

  • Hologram 3D TV member
  • ******
  • กระทู้: 18,992
    • ดูรายละเอียด
    • อีเมล์

ศาสตราจารย์ทูลิโอ เด โอลิเวรา ผู้อำนวยการศูนย์นวัตกรรมและการรับมือโรคระบาดของแอฟริกาใต้ บอกว่าไวรัสโควิดชนิดใหม่นี้มีการกลายพันธุ์ของยีนรวมทั้งสิ้นถึง 50 ตำแหน่ง ซึ่งถือว่าผิดปกติอย่างยิ่งและทำให้มันมีความแตกต่างจากเชื้อโควิดกลายพันธุ์อื่น ๆ ที่เคยพบมาเป็นอย่างมาก

การกลายพันธุ์แบบเหนือความคาดหมายนี้ จัดเป็นการกลายพันธุ์ของโปรตีนบนส่วนหนามของไวรัสถึง 32 ตำแหน่ง ซึ่งส่วนดังกล่าวมีความสำคัญยิ่ง ในการเป็นกุญแจที่ไวรัสใช้ไขประตูเข้าสู่เซลล์ร่างกายมนุษย์

นอกจากนี้ยังพบการกลายพันธุ์ที่ส่วนตัวรับ (receptor binding domain) ซึ่งไวรัสใช้จับยึดกับเซลล์ของคนเราถึง 10 ตำแหน่งด้วย ในขณะที่เชื้อโควิดกลายพันธุ์ที่ร้ายแรงอย่างสายพันธุ์เดลตา มีการกลายพันธุ์ในส่วนนี้เพียง 2 ตำแหน่งเท่านั้น

ผู้เชี่ยวชาญระบุว่า การกลายพันธุ์อย่างรุนแรงในลักษณะนี้ น่าจะเกิดขึ้นจากการติดเชื้อในผู้ป่วยเพียงรายเดียว โดยร่างกายของผู้ป่วยที่เป็นต้นตอของการกลายพันธุ์ดังกล่าว ไม่สามารถต่อสู้ต้านทานกับเชื้อโรคได้

การที่เชื้อไวรัส B.1.1.529 มีการเปลี่ยนแปลงจนแตกต่างไปอย่างมาก เมื่อเทียบกับเชื้อโควิดสายพันธุ์ดั้งเดิมซึ่งมีต้นกำเนิดที่นครอู่ฮั่นของจีน ทำให้มีความเป็นไปได้สูงว่า วัคซีนโควิดที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันจะใช้ไม่ได้ผลกับเชื้อกลายพันธุ์ตัวนี้ และหากมีการแพร่ระบาดลามออกไปเป็นวงกว้าง ก็จะยิ่งทำให้สถานการณ์โควิดในหลายประเทศ ซึ่งกำลังเผชิญกับการระบาดระลอก 4 เลวร้ายยิ่งขึ้น

WHO เรียก โควิดกลายพันธุ์ใหม่ "โอไมครอน" ยกเป็นสายพันธุ์ "น่ากังวล"
ส่วนการกลายพันธุ์ในอีกหลายสิบตำแหน่งที่นักวิทยาศาสตร์ไม่เคยเห็นมาก่อนนั้น ยังคงต้องรอการตรวจสอบจากห้องปฏิบัติการอีกนานหลายสัปดาห์ จึงจะสามารถบอกได้ว่ายีนเหล่านั้นมีผลทำให้เชื้อโควิดดังกล่าวมีฤทธิ์ร้ายแรง เหนือกว่าเชื้อกลายพันธุ์ชนิดอื่น ๆ ที่เคยพบมาก่อนหรือไม่

บัญชีทวิตเตอร์ของรัฐบาลแอฟริกาใต้เผยแพร่ข้อความว่ารัฐบาลสามารถ "สกัดความรุนแรงของเชื้อไวรัสกลายพันธุ์ชนิดใหม่ด้วยการฉีดวัคซีนซึ่งจะช่วยควบคุมการกลายพันธุ์ในยีนได้" และบอกด้วยว่าการร่วมมือกันจะช่วยให้จัดการกับเชื้อไวรัสได้ ข้อความดังกล่าวเผยแพร่พร้อมภาพอินโฟกราฟิกที่ชี้ให้เห็นประโยชน์ของการฉีดวัคซีน

ปัจจุบันมีชาวแอฟริกาใต้เพียง 24% ที่ได้รับวัคซีนครบโดส