แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Topics - keamglad

หน้า: 1 [2] 3 4 5
19
ขายแล้วครับ  ขอบคุณสำหรับพื้นที่ครับ

21
ขายแล้วครับ  ขอบคุณสำหรับพื้นที่ครับ

28
ลูกค้าฝากขาย MordauntShort 906: 7500
Mordauntshort 905C: 4800
Mordauntshort 902: 4800

สภาพดีมากๆๆๆ สวยงามเหมือนใหม่ ใช้งานปกติ ขายเพราะได้ชุดใหม่ rf52, rc52, rs52 มาแทนครับ

เหมาทั้งชุด 15,000 บาทถ้วน

ของอยู่จันทบุรี








ติดต่อ 089-9695946
line id: keamgladnan

29
ขายแล้วครับ  ขอบคุณสำหรับพื้นที่ครับ

31
Review Home Theater - Klipsch Reference Premier จาก CNET.com



หลังจากที่เมืองไทยมีการเปิดตัว Klipsch Reference Premier อย่างเป็นทางการกับสื่อมวลชนไปเป็นที่เรียบร้อยแล้วนั้น ตอนนี้ที่เมืองนอก ก็เริ่มมีรีวิว Klipsch Reference Premier ทยอยออกกันมาให้อ่านเรื่อยๆแล้วนะครับตั้งแต่ AVSforum จนตอนนี้ก็มีเว็บไซต์ชื่อดังอีกแห่งเข็นรีวิวออกมาอีกแล้ว นั่นคือ Cnet.com

ก็เช่นเคยครับไปดูฝั่ง Cnet.com กันว่าเค้าจะว่ายังไงกับรีวิวชุดดูหนังรุ่นเล็กสุด (bookshelf) เอาใจคนที่ห้องขนาดไม่ใหญ่และงบไม่มากกันดูครับ โดยเราบอกไว้เลยว่างานนี้ CNET เค้าจับเอา Reference Premier รุ่นเล็กสุดไปเทียบกับลำโพงขึ้นชื่ออย่าง Pioneer Elite Andrew John ด้วยนะครับ



ซึ่งงานนี้ได้คะแนนเฉลี่ยไปทั้งสิ้น 8 คะแนน เต็ม 10
โดยคะแนนทุกด้านของ Reference Premier ชุดเล็กนี้ได้ 8 คะแนนหมดไม่ว่าจะเป็น Design, Feature, Sound Quality, Value
เราแปลและเรียบเรียงเป็นภาษาไทยให้อ่านง่ายๆแล้วครับ ตามไปอ่านกันได้เลย หรือใครอยากอ่านต้นฉบับก็ดูได้ตามลิ้งค์ครับ


===========================================

รีวิวต้นฉบับภาษาอังกฤษ: http://www.cnet.com/products/klipsch-reference-premiere-rp-160-home-theater-system/?utm_campaign=Feed%3A+cnet%2FYIff+%28CNET+Latest+Reviews%29&utm_medium=feed&utm_source=feedburner

รีวิวฉบับภาษาไทยในรูปแบบเว็บไซต์: http://www.lcdtvthailand.com/webboard/index.php?topic=86353.msg776723#msg776723

===========================================

Klipsch Reference Premiere RP-160 Home Theater System



The Good:
- จุดเด่นของ Klipsch Reference Premiere คือเทคโนโลยีฮอร์นโหลด (horn-loaded titanium tweeters) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีเฉพาะของ Klipsch

- ลำโพงทุกตัวในซีรี่ย์ Reference Premier มีความไว (Sensitivity) ที่ไม่ธรรมดา เรียกได้ว่าสูงที่สุดในบรรดาลำโพงบ้านในท้องตลาดก็ว่าได้ สูงจนเกือบไปเท่าลำโพง PA กันเลย
ค่า Sensitivity มากแปลว่าอะไรครับ นั่นก็คือยิ่งค่านี้มาก เราก็ไม่เปลือแอมป์ สามารถลดกำลังแอมป์ที่จะใช้ลงได้ เราสามารถใช้แอมป์กำลังต่ำๆมาขับลำโพงชุดนี้ให้ดังได้ดี เมื่อเทียบกับลำโพงยี่ห้ออื่นที่ค่านี้ต่ำๆ ที่ระดับ Volume เดียวกัน ลำโพง Klipsch จะให้เสียงดีังกว่าเสมอ โดยไปต้องนั่งเร่งแอมป์หรือจ่ายเงินไปกับ power / pre ให้เปลืองเงินนั่นเอง (ดังแล้วเสียงดีมั๊ยเดี๋ยวมาดูในหัวข้อถัดๆไปครับ)

The Bad:
1. รูปร่างหน้าตาของลำโพงแต่ละตัวนั่นมีขนาดและดีไซน์ที่ใหญ่กว่าลำโพงคู่แข่ง และดีไซน์ที่ดูทึมๆ ทึบๆ (สีดำทั้งตู้นั่นเอง) เมื่อเทียบกับคู๋แข่งทีลุคอาจจะนุ่มนวลกว่า และตัวเล็กกว่า

2. ราคาของลำโพง Surround ในซีรี่ย์ Reference PRemier ที่เป็นแบบไบโพลนั่นราคาค่อยข้างแพงและไม่สมดุลกับลำโพงตัวอื่นๆ ในระบบ (เนื่องจากลำโพงในชุดที่ทดสอบนี้ใช้คู่หน้าเป็นบุ๊กเชลฟ์ RP-160M ซึ่งราคาถูกกว่าลำโพงเซอราวด์ RP-250S ซะอีก แต่ถ้าเอาคู่หน้าเป็นตั้งพื้น ราคาเซอราวด์ก็ถือว่าไม่แพงเกินกว่าคู่หน้าครับ แต่ราคาก็ถือว่าสูงอยู่ดี ทางเลือกในบ้านเราที่พื้นที่หน้ากว้างห้องไม่ใหญ่นักก็อาจใช้ลำโพงบุ๊กเชลฟ์มาทำเป็นเซอราวด์แทนได้ครับ ประหยัดกว่า)






บทสรุป (The Bottom Line)

ลำโพง Klipsch Reference Premiere และซับวูฟเฟอร์ มีศักยภาพที่สามารถถ่ายทอดพลังเสียงในการดูหนังได้อย่างเต็มที่
โดยเฉพาะอย่างยิ่งจุดเด่นของลำโพงชุดนี้ก็คือ พละกำลัง (Power) และ ไดนามิค (Dynamic) ที่ทำได้อย่างน่าประทับใจเมื่อเทียบกับคู่แข่ง และนอกเหนือจากนั้นในการรับฟังเพลงก็ทำได้ดีเช่นกัน
ดังนั้นลำโพงชุดนี้ยังเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับคนที่หาลำโพงสำหรับดูหนัง ชอบดูหนัง action, หนังสงครามหรือหนังที่มี impact เสียงเบสหนักแน่น และรายละเอียดจัดจ้านครับ

คะแนนโดยรวม8.0 (Overall)

- Design: 8.0
- Features: 8.0
- Sound quality: 8.0
- Value: 8.0







ภายใต้ชื่อของ Klipsch ผู้ผลิตลำโพงสัญชาติอเมริกันรายใหญ่ที่สร้างชื่อเสียงมากจาก Home Theater วันนี้ Klipsch ปล่อยลำโพงซีรี่ย์ใหม่ล่าสุดในชื่อของ Reference Premiere

ในซีรี่ย์ใหม่นี้ Klipsch ออกแบบตัวตู้ รวมไปถึงหน้าตาซะใหม่หมดจดเลยทีเดียว นับตั้งแต่ veneer ปิดผิวแบบใหม่ ตัวตู้ลำโพง หน้ากาก และรวมไปถึง Tweeter Horn ซึ่งถือเป็นจุดขายของ Klipsch เองก็ได้รับการออกแบบฮอร์นใหม่ด้วยนะครับ ภาพลักษณ์ใหม่นั้นดูเด่น สะดุดตามากขึ้นเมื่อเทียบกับซีรี่ย์เก่าอย่าง Reference II ซึ่งเราเคยรีวิวและพบว่าจุดเด่นของซีรี่ย์ก่อนที่ทำให้เราตกหลุมรักลำโพง Klipsch ก็คือไดนามิค และเสียงเบส แต่อย่างไรก็ตามนะครับ ในซีรี่ย์ที่แล้วถึงจะมีข้อดี แต่ก็มีข้อเสียคือในบางระบบนั้นเสียงจะจัดไปและขาดความนุ่มนวล โดยเฉพาะกับดนตรีประเภท classical music ซึ่งถือว่าสอบตกอย่างสิ้นเชิงครับ
ทำให้ซีรี่ย์ก่อนนั้นลำโพง Klipsch ไม่นิยมนำไปใช้ฟังเพลงสำหรับคอ Audiophile ครับ
มาวันนี้นะครับ Reference Premiers ที่เราจะรีวิวทั้งระบบจะประกอบไปด้วย

- Klipsch RP-160M
- Klipsch RP-250C
- Klipsch RP-250S
- Klipsch R110SW










ราคารวมทั้งระบบประมาณ $2,599 หรือประมาณ 8-9 หมื่นบาท จะเห็นว่าราคานั่นไม่ค่อยเป็นมิตรกับคนเบี้ยน้อยหอยน้อยเท่าไรนักนะครับ แต่เมื่อพิจารณาราคาที่จ่ายไปกับสิ่งที่่ได้มาหลังจากเรารีวิวชุดนี้แล้ว เราก็พบว่าไม่ว่าคุณจะมองหาระบบสำหรับ Audiophile หรือระบบสำหรับ Home Theater ที่ให้กำลังเสียงหนักหน่วงแบบถล่มภูเขาเผากระท่อม ชุดนี้ทำได้ไม่เลวเลยครับ
หากคุณต้องการแค่ระบบ Stereo 2 channels เพื่อมาใช้ฟังเพลงในห้องนั้น ตัวลำโพง RP-160M ดอกวูฟเฟอร์ 6.5 นิ้วนี่ถือว่าทำได้คุ้มราคาสมค่าตัวของมันครับด้วยราคา $600 หรือ 2 หมื่นกว่าบาท





Design and features
การออกแบบของลำโพงในซีรี่ย์นี้ยังคงยืนหยัดอยู่กับธีมคอนเซป สีดำ และดอกลำโพงสีทองแดง แต่มีการปรับปรุงตัวตู้และผิวลำโพงใหม่ให้มันดูทันสมัย และลดการใช้พลาสติกแบบรุ่นเก่าลงครับ

หากเคยใช้ลำโพง Klipsch มาก่อนนะครับ คงทราบดีว่าจุดเด่นสำคัญของเค้าก็คือ Tractrix Klipsch horn ในซีรี่ย์นี้ก็ยังคงจุดเด่นเช่นเดิมครับเพียงแต่ได้รับการออกแบบและปรับปรุงตู้ฮอร์นใหม่ให้ดีกว่าเดิม
โดยดอกลำโพงทวีตเตอร์เสียงแหลมที่ถูกบรรจุอยู่ในตู้ฮอร์นนั้นใช้วัสดุแบบ Titanium "LTS" (Linear Travel Suspension) ขนาด 1 นิ้ว โดยออกแบบตู้ฮอร์นใหม่ให้เสียงดีขึ้นและลดความหยาบของเสียงที่กัดหูลงครับ

เมื่อมาพิจารณาที่ตู้ลำโพง RP-160 นั้น เราบอกตรงๆว่าตอนแรกไม่คิดว่าลำโพงบุ๊กเชลฟ์จะมีขนาดใหญ่ได้ขนาดนี้
กับขนาดดอกลำโพง cerametallic ขนาด 6.5 นิ้วที่ถูกติดตั้งอยู่ในตู้นั้นต้องบอกเลยว่า ขาตั้งลำโพงที่เรามีนั้นเกือบจะวางไม่พอครับ
แต่ถึงขนาดจะใหญ่ไปสักนิด แต่ขนาดของดอกลำโพง cerametallic 6.5 นิ้วที่ติดตั้งไว้นี่คือหัวใจสำคัญเลยครับที่ทำให้ลำโพงตัวนี้ให้เสียงเบสได้มีไดนามิคและมีอิมแพค
โดย RP-160M ตัวนี้เคลมความถี่ที่สามารถตอบสนองได้เอาไว้ที่
45Hz to 25kHz (+/- 3dB).
จะเห็นได้เลยว่าในระบบที่เรากำลังทดสอบนี้ RP-160M เป็นพระเอกของงานไม่ว่าจะดูหนังหรือฟังเพลง

แต่มาลองมองลำโพงแชนแนลอื่นในระบบกันดู ก็จะประกอบไปด้วย RP-250C ลำโพงเซ็นเตอร์ขนาดเล็กสุดในซีรี่ย์ Reference Premier ราคา 450$ หรือประมาณ 16,000-18,000 บาท
RP-250C มีขนาดกระทัดรัดมากครับ ด้วยขนาดไม่ใหญ่มากทำให้สามารถติดตั้งในห้องที่มีพื้นที่จำกัดได้ดี ไม่ว่าจะเป็นชั้นวางทีวีเล็กๆ หรือใครจะเอาไปไว้ในคอนโด ห้องนอน หรือวางซ่อนก็สะดวกดีครับ โดย RP-250C ใช้ดอกลำโพง Cerametallic ขนาด 5.25 นิ้วสองดอก และใช้ดอกทวีตเตอร์เสียงแหลมหนึ่งดอก

และลำโพงเซอราวด์ที่ค่อนข้างแพงไปนิดสำหรับเรา (แพงกว่าคู่หน้า) นั่นคือ RP-250S สนนราคาอยู่ที่ 900$ ต่อคู่หรือประมาณ 31,000-33,000 บาท ตัวนี้ใช้ดอกลำโพง 5.25 นิ้วสองดอก และดอกทีวตเตอร์เสียงแหลมสองดอก หันหน้ายิงเสียงออกจากกันเติมเต็มเสียงเซอราวด์ในระบบ Home Theater ให้ทั่วห้องได้ดีกว่าลำโพงบุ๊กเชลฟ์ทั่วๆไป แต่สำหรับใครที่งบจำกัด ก็สามารถเอาบุ๊กเชลฟ์ RP-150M มาใช้แทนได้ครับ

และสุดท้ายที่จะขาดไปไม่ได้ที่จะมาเติมเต็มเสียงต่ำในระบบ Home Theater ให้สนุกนั่นคือ ซับวูฟเฟอร์อย่าง Klipsch R-110SW สนนราคาอยู่ที่ $649
โดย R-110SW subwoofer มีกำลังขับที่ 450-watt (Peak) ใช้ดอกวูฟเฟอร์เสียงเบสขนาดเล็ก 10 นิ้ว cerametallic woofer
โดยซับวูฟเฟอร์นี้ขนาดใหญ่ที่สุดในระบบที่รีวิวชุดนีัแล้ว โดยมีน้ำหนักประุมาณ 39 ปอนด์ 18 กิโล








Setup


การเซ็ทอัพนั้นเราจัดวางลำโพงและใช้ AVR Marantz NR1605 ก็เพียงพอต่อความต้องการของลำโพงแล้ว
เราใช้วิธีจูนเสียงโดยการ manual โดยตั้งลำโพงคู่หน้าเป็น "small" ตั้งค่าความถี่ซับวุฟเฟอร์และคู่หน้าที่ 60Hz และตั้ง 80Hz สำหรับลำโพงเซ็นเตอร์และเซอราวด์

หลังจากทดลองฟังเสียง คำเดียวที่เรานึกออกก็คือ "Powerful" หรือทรงพลังนั่นเอง
คำกล่าวนี้อธิบายความเป็นตัวตนของลำโพง Klipsch Reference Premier ได้ดีที่สุดแล้ว
เสียงทีไ่ด้นั้นมาเต็ม และไม่ได้ดูต้องเค้น หรือต้องเร่งแอมป์ให้เสียงดังเหมือนระบบอื่นๆที่เราเคยเจอเช่น เสียงเซ็นเตอร์เบาบ้าง เสียงระเบิดค่อย นุ่มไม่มีอิมแพคบ้าง ตัวนี้ไม่มีปัญหาเหล่านี้เลยครับ และยิ่งเราเร่ง volume เข้าไปมากเท่าใด เสียงก็ก็ยิ่งทวีความหนักหน่วงและสนุกมากขึ้นเท่านั้นโดยไม่มีทีท่าของความเพี้ยนหรือความเบลอบวมเอาไม่อยู่ของเสียงเบสและรายละเอียดเสียงแหลมแต่อย่างใด



ลองฟัง Klipsch Reference Premier VS Pioneer Elite Andrew Jones

เราเริ่มทดสอบโดยเปิดเพลง "heartbeat" ของ "Elektro Kardiogramm" จากอัลบั้ม "Tour de France"
เบสที่ได้ให้อารมแบบเป็นลูก กระชับ เหมือนประเหนึ่งเป็นลูกเหล็กลูกเล็กๆกระแทกไปตามจังหวะดนตรี ด้วยอาณิสงค์ของ RP-160M และ R-110SW ช่วงหลังเราลองปิดซับ ให้ RP-160M นั้นทำงานเป้นคู่หน้าอย่างเดียวโดยไม่พึ่งเสียงต่ำจากซับวูฟเฟอร์ เราก็ยังพบว่าเพลง heartbeats นั้นยังคงหนักแน่นและเร้าใจอยู่ดีครับ
จุดเด่นที่เรายอมรับอย่างนึงจากชุดนี้นะครับคือเสียงเบสที่ได้นั้นค่อนข้างกระชับ หนักแน่น เร้าใจ และฟังสนุกมากครับเมื่อเทียบกับลำโพงบุ๊กเชลฟ์ยี่ห้ออื่นในระดับเดียวกัน

เราลองเปลี่ยนเพลงมาเล่นคอนเสิรต์ของ Steven Wilson's เพลง "Hand.Cannot.Erase." เพลงนี้เป็นแบบความละเอียดสูงและเล่นจากแผ่นบลูเรย์ ซึ่ง Wilson ไม่ใช่แค่สุดยอดนักดนตรี แต่เค้ายังเป็นนักเรียบเรียงและ mix รายละเอียดและเสียงเพลงของเค้าเองได้เยี่ยมด้วย เมื่อเราเอาบทเพลงเหล่านี้มาเล่นผ่านลำโพง Reference Premiere นั้นเรารุ้สึกเลยว่าลำโพงนั้นล่องหนและเหมือนเราไปยืนอยู่ท่ามกลางวงดนตรีนั้นจริงๆ

เวทีเสียงที่ได้นั้นเหมือนเราไปยืนอยู่ขอบเวที และเสียงนักร้องและเครื่องดนตรีต่างๆนั้นเหมือนอยู่ในตำแหน่งที่สูงกว่าหัวเรานิดหน่อย
ความรู้สึกแยกแยะตำแหน่งของดนตรีแบบนี้นั้น เรารู้สึกได้ว่าใกล้เคียงเหมือนกับที่เราได้เคยทดสอบจากระบบ Dolby Atmos 7.1 และ 9.1 Channels แต่คราวนี้จากการบันทึกเสียงดนตรีที่ยอดเยี่ยมจากแผ่นบลูเรย์ และลำโพงทั้ง 5.1 ตัวที่ถ่ายทอดออกมาโดยปราศจากลำโพงแชนแนลเพดาน แต่เราก็ยังได้ยินและได้บรรยากาศคล้ายๆกับเสียงนั้นถูกบรรเลงมาจากบนเวทีครับ
โดยเรายกเครดิตในบรรยากาศของเสียงดังกล่าวให้ไปที่ลำโพงไบโพล RP-250S ที่จัดวางดอกลำโพงแบบรูปตัว V และกระจายเสียงออกไปทั่วทั้งห้อง ทำให้ได้บรรยากาศที่สมจริงกว่าครับ
เพลงที่เราเล่น "Hand.Cannot.Erase." มีช่วงจังหวะที่ดนตรีโหมขึ้นลงที่ค่อนข้างมาก จากเงียบไปดัง และจากดังลงมาเงียบ แต่ลำโพงทั้ง 5.1 ตัวของ Reference Premier ก็ทำหน้าที่ได้ดีและสมกับคุณภาพของแผ่นที่บันทึกมาเป็นอย่างดีครับ

แผ่นบลูเรย์แผ่นนี้มิกซ์มาแบบให้เสียงนักร้องนำมาออกที่ลำโพงเซ็นเตอร์ เพราะฉะนั้นไม่ว่าเราจะนั่งเยื้องไปทางซ้าย หรือขวาของห้อง เราก็จะยังรู้สึกเหมือนกับว่านักร้องมายืนร้องเพลงให้เราฟังที่กึ่งกลางห้องอยู่ดีครับ
Klipsch RP-250C ลำโพงเซ็นเตอร์ที่เราใช้นั้นให้เสียงร้องที่ยอดเยี่ยม มีเนื้อมีหนัง ใส และชัดถ้อยชัดคำมากๆตัวนึงที่เราเคยฟังลำโพงเซ็นเตอร์ในท้องตลาดมา
แต่เราลองเปรียบเทียบโดยถอด RP-250C ออกและเอาลำโพงเซ็นเตอร์ตัวใหม่อย่าง Pioneer Elite SP-EC73 Andrew Jones เข้ามาแทน ต้องบอกตรงๆว่าเสียงที่ได้นั้น RP-250C เสียงจะใส ชัดเจนแต่บางกว่า ส่วน SP-EC73 จะมีเนื้อมีหนังและเสียงพูดหนากว่า เสียงจะออกแนวเปิดและเป็นธรรมชาติฟังง่ายกว่า
ก็นับว่ายกแรกระหว่างลำโพง Klipsch RP-250C กับ Pioneer Elite SP-EC73 Andrew Jones Center นั้น Klipsch แพ้ไปนะครับ

มาที่ยกสองกันบ้าง เราลองเทียบลำโพง RP-160M กับ Pioneer Elite SP-EBS73-LR Andrew Jones bookshelf speakers ดูบ้าง เราพบว่าทั้งการดูหนังและฟังเพลงนั้น Klipsch RP-160M ทำได้ดีกว่ามากในแง่ของไดนามิคของเสียง อิมแพค ที่ดูมีชีวิตชีวาและฟังสนุก กระแทกกระทั้นกว่า Pioneer Elite SP-EBS73-LR
แต่มองในอีกแง่มุมนึงนะครับ Pioneer Elite SP-EBS73-LR มีความโปร่ง และติดบางมากกว่า ซึ่งบางคนที่ชอบฟังอะไรใส่ๆ อคูสติก กรุ๊งกริ๊งๆ ก็อาจจะชอบแนวนี้ก็ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการฟังเพลง Hi-Res อย่างไฟล์เพลงนามสกุล FLAC อย่างเพลง Wilco's "Yankee Hotel Foxtrot" ที่เราจะได้ยินรายละเอียด ความใสของเครื่องดนตรีอย่างเพอร์คัสชั่น และเสียงเปียโนจากลำโพง Pioneer Elite SP-EBS73-LR มากกว่า
ส่วน RP-160M นั้นดีเทล รายละเอียดเหล่านี้อาจจะถูกไดนามิคและเนื้อเสียงที่หนากว่าบดบังไปบ้างครับ
แต่โดยสรุปนะครับ ทีมงานทดสอบเราก็ชอบและเลือก RP-160M มากกว่า Pioneer Elite SP-EBS73-LR





ทีนี้มาดูลองเทียบระบบ 5.1 ที่ได้จากการรับชมคอนเสิรต์โดยเทียบกับลำโพงอย่าง Pioneer Elite Andrew John กันบ้างนะครับ
โดยทั้ง Pioneer และ Klipsch ต่างก็ยอดเยี่ยมด้วยกันทั้งคู่ สองตัวนี้ศักยภาพพอๆกันไม่ได้ทิ้งกันแต่อย่างใดครับ

แต่อย่างไรก็ดีก็มีความแตกต่างเล็กน้อยตรงที่ลำโพง Klipsch แนวเสียงและกลิ่นอายของเสียงจะออกไปทางแนว Rock หรือดิบๆ แนวเสียงดุดันๆมากกว่า ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของลำโพง Klipsch อยู่แล้วครับ
แต่กลับกัน ลำโพงของ Pioneer Elite นั้นจะให้เสียงที่ดูราบเรียบและดูเป็นธรรมชาติ ฟังง่ายๆ สบายๆ ใสๆ มากกว่าครับ

แต่ตัวลำโพง Pioneer เองแม้จะตัวเล็กกว่า แต่ก็ขับยากกว่า และต้องการกำลังแอมป์มากกว่าลำโพง Klipsch
โดยในการทดสอบนั้นเราเร่ง Volume ที่ระดับเดียวกัน แต่ลำโพง Pioneer เสียงจะค่อยกว่าระดับนึงเลยทีเดียว (เป็นเพราะค่า Sensitivity ของ Klipsch ที่สูงกว่ามาก)
AVR Marantz NR1605 ที่เราใช้นั้น เมื่อต่อกับลำโพง Pioneer Elite ก็ต้องเร่ง Volume สูงกว่าปกติที่ใช้กับ Klipsch จึงจะได้เสียงที่ระดับเดียวกันครับ




เราเริ่มรับชมภาพยนตร์ด้วยหนังคลาสสิคอย่าง "Saw"
ที่คนแปลกหน้าสองคนมาพบกัน และต้องโดนไล่ล่าและทรมานจากฆาตรกรโรคจิต
ต้องบอกไว้เลยว่าลำโพง Klipsch Reference Premiere ทั้งชุดนี้ดึงเราเข้าไปบรรยากาศของความน่ากลัว ความสยอง และหดหู่ของห้องทรมาน บรรยากศนักโทษถูกผูกไว้กับโซ่ ถูกทรมาน
เรายอมรับจริงๆว่าที่การดูภาพยนตร์
ลำโพงทั้งหมดถ่ายทอดเสียงและบรรยากาศได้ดีโดยเฉพาะ R-110SW ซับวูฟเฟอร์ที่ทำงานหนักกว่าใคร เพราะต้องส่งความถี่ต่ำเพื่อคลุมบรรยากาศห้องให้ดูสมกับเป็นหนังสยองขวัญและดูน่ากลัวเกือบตลอดทั้งเรื่องครับ
เสียงเบสของ R-110SW นั้นทำงานได้ดีครับ สามารถแผ่ความถี่ต่ำได้ต่อเนื่องไม่มีสะดุดและรู้สึกบวมเบลอ ที่สำคัญเสียงเบสนั้นล่องหน และไม่สามารถระบุตัวตนของซับวูฟเฟอร์ได้ นับเป็นข้อดีอีกข้อนึงที่เราชอบครับ



และก็สรุปส่งท้ายนะครับระหว่างลำโพง Klipsch Reference Premier กับลำโพง Pioneer Elite Andrew John บทสรุปที่เราได้นั้นคือ Pioneer Elite จะมีความโปร่ง บาง และใส เสียงออกแนวเป็นธรรมชาติกว่า
ส่วน Reference Premier เสียงจะ Rock เบสหนัก และขึงขัง ให้เสียงออกแนวดุดันมีพละกำลัง จริงจังมากกว่า เหมาะกับการรับชมภาพยนตร์มากกว่าครับ ในด้านการฟังเพลงหรือคอนเสริต์นั้น Klipsch ก็ยังทำได้ดี แต่ก็อาจจะทำได้ดีเป็นพิเศษสำหรับแนวเพลงที่มีจังหวะและมี Impact dynamic มากๆครับ

สุดท้ายนี้ Klipsch Reference Premier เมื่อจับคู่กับซับวูฟเฟอร์อย่าง R110SW นั้นสร้างความประทับใจให้เราได้มากครับ ถ้าได้ลองฟังเราเชื่อนะครับว่า ใครที่ชอบและรักการดูหนัง จะต้องชอบและหยุดฟังแน่นอน เพราะเสียงที่ได้จากลำโพงรุ่นเล็กสุดของ Reference Premier นั้นทั้งมีน้ำหนักเสียง มีอิมแพค เหมาะกับหนังแอคชั่นและดูหนังสนุกมากๆ เราเชื่อว่าใครที่มีโอกาศฟังจะต้องชอบแน่นอนครับ













============================================
Line ID: keamgladnan

Tel No: 089-9695946

Web site: http://www.lcdtvthailand.com/webboard/index.php?topic=86353.0
============================================

32
ขายแล้วครับ ขอบคุณสำหรับพื้นที่และโอกาศครับ

33
ปิดการขายครับ ขอบคุณสำหรับโอกาสและพื่นที่ครับ

34
ขาย Subwoofer 12 นิ้ว Cerwinvega XLS12S ราคา 9500 บาท
ใช้งานได้ดี กล่อง คู่มือ ครบ อายุการใช้งาน 2 ปี (หมดประกันแล้ว)

ติดต่อ 089-9695946
line ID: keamgladnan
facebook.com/whatthatsoundstore


35
วันนี้เรามี Review ลำโพงคู่หน้ารุ่นเรือธงใหม่ล่าสุดจากเว็บไซด์ชื่อดังอย่าง avsforum.com มาฝากกันครับ

โดยครั้งก่อนมีรีวิว Klipsch R115-SW กันไปแล้ว  วันนี้กลับมาพร้อมกับรีวิวลำโพงรุ่นท๊อป Klipsch Reference Premier RP-280F และก็เหมือนเดิมครับ เราแปลเป็นภาษาไทยมาให้อ่านกันง่ายๆแล้วตามรายละเอียดด้านล่าง   ตามไปอ่านกันได้เลยครับ



============================================

รีวิวต้นฉบับภาษาอังกฤษ: www.avsforum.com/forum/89-speakers/2012897-klipsch-rp-280f-tower-speakers-official-avs-forum-review.html

https://www.facebook.com/whatthatsoundstore

============================================


รีวิว Klipsch RP-280F

RP-280F จัดได้ว่าเป็นลำโพงที่มีขนาดใหญ่ และทรงพลังที่สุดในซีรี่ย์ Reference Premier ครับ โดยตัวนี้จะมาแทน RF-82 II ในรุ่น Reference II
โดย Klipsch นั้นเป็นบริษัทลำโพงสัญชาติอเมริกันที่สร้างชื่อเสียงเป็นที่โด่งดังมาจากลำโพงแบบฮอร์นที่ใช้ฟังเพลงตามบ้าน เป็นหลัก (Horn-loaded) โดยลำโพงฮอร์นของ Klipsch จัดได้ว่าเป็นลำโพงที่มีเอกลัษณ์เฉพาะตัวที่ไม่เหมือนใคร โดยลำโพงฮอร์นของ Klipsch นั้นเริ่มต้นมานับรวมถึงปัจจุบันก็ 69 ปีแล้ว
นอกเหนือจากนั้น Klipsch ยังต่อไลน์การผลิตไปมุ่งเอาดีทางด้านการดูหนัง โดยผลิตลำโพงที่ใช้ตามโรงหนังอีกด้วยครับ

ปัจจุบัน Klipsch ออกลำโพงสำหรับ Home Theater และ Audio สำหรับฟังเพลงรุ่นใหม่ล่าสุดในชื่อของ Reference Premier series
โดยในซีรี่ย์นี้มีลำโพงขนาดและแบบต่างๆกันถึง 10 รุ่น โดยความตั้งใจของ Klipsch นั้นตั้งใจจะเอารุ่นนี้มาแทนที่รุ่นเดิมนั่นคือ Reference II (แต่ก็มีบางรุ่นใน Reference II ที่ยังมีผลิตอยู่ เช่น RC-64 II, RF-7 II)
โดยซีรี่ย์ Reference Premier  ตัวใหม่นี้ได้ทำการปรับปรุงหลายอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นการออกแบบตัวตู้ วัสดุที่ใช้ทำฮอร์นโหลด หน้าตาลำโพง ไปจนกระทั่งวัสดุปิดผิว  โดยซีรี่ย์ Reference Premier นี้ตั้งใจจะให้เป็นรุ่นสูงสุดใน Reference line และเป็นสินค้าหลัก (คอร์บิสสิเนส) ของบริษัทอีกด้วยครับ  เรียกว่าทุ่มสุดตัวกันไปเลยกับซีรี่ย์ใหม่นี้

ในรีวิวนี้เราจะจับเอาลำโพงรุ่นเรือธงของซีรี่ย์ Reference Premier อย่าง RP-280F ซึ่งต่อไปเราจะเรียกย่อๆว่า RP280F โดยราคาขายต่อคู่ตัวนี้อยู่ที่ประมาณ 1350 เหรียญ (ราคาเมืองนอก) เทียบกับเงินบาทตอนนี้ก็ประมาณ 47,000 บาท 
ส่วนราคาบ้านเรานำเข้าโดยผู้จำหน่ายอย่างเป็นทางการ (Sound Replublic) นั้นราคาตั้งอยู่ที่ 62,900 บาท ซึ่งราคาซื้อจริงๆก็จะมีส่วนลดแตกต่างกันไปตามร้านหรือสถานที่ซื้อครับ
โดยในการทดสอบนี้เราจะทดสอบแบบ 2  channels (เอามาใช้ฟังเพลง) โดยลองต่อซับวูฟเฟอร์ และแบบไม่ใช้ซับวูฟเฟอร์





Features

RP-280F เป็นลำโพงแบบ 2 ทางแบบตั้งพื้น
ใช้ดอกลำโพงทวีตเตอร์แบบ horn-loaded ขนาด 1 นิ้ว
และใช้ดอกลำโพงเสียงกลางและเสียงต่ำแบบ 8 นิ้วข้างละสองดอก (Dual) มีค่าความไวอยู่ที่ 98dB (จัดได้ว่าไวมาก)
ตัวลำโพงมีน้ำหนักข้างละ 62.5 ปอนด์ (28.35 กิโลกรัมต่อข้าง)

สัดส่วนของลำโพงเมื่อเทียบกับ RF-82 II ก็ใหญ่กว่าในทุกมิติครับ โดยเฉพาะที่ชัดเจนคือความลึก ที่เพิ่มขึ้นมากกว่าตัวเก่าแบบชัดเจน
สูง:  109.4 cm
หน้ากว้าง:  26.8 cm
ลึก:  46.5 cm

ตัวตู้ลำโพงใช้ไม้แบบ MDF
สีมีให้เลือกสองสีนั่นคือสี Ebony (ดำ) และสีเชอรี่ โดยบ้านเรานั้นผู้นำเข้าเอาเข้ามาจำหน่ายเฉพาะสี Ebony
ด้านหน้าลำโพงจะไม่ใช่แผงหน้าพลาสติกแบบรุ่นเก่าอีกแล้ว แต่จะโชว์ผิวไม้แทน โดยแผงหน้าจะมีการลบเหลี่ยมมุมแบบใหม่ไม่ใช่สี่เหลี่ยมแบบทื่อๆเหมือนเดิม โดยเหลี่ยมมุมแบบใหม่นี้จะช่วยลดเสียงสะท้อนและความผิดเพี้ยนของเสียงได้

แผงหน้ากากลำโพงใช้เป็นแบบแม่เหล็กเหมือนเดิม
โดยเราคิดว่าลำโพงรุ่นนี้ถอดหน้ากากลำโพงออก โชว์ดอกลำโพงจะดูสวยกว่าใส่ไว้ครับ (ประสบการณ์ส่วนตัวของเราคือใส่ไว้ได้ประโยชน์อย่างนึงคือช่วยกันฝุ่นได้ดี)

Klipsch เคลมเอาไว้ว่า RP-280F ตอบสนองความถี่ได้ตั้งแต่ 32 Hz - 25 KHz (+/- 3 dB) ตัวเก่า Rf-82 II ตอบสนองความถี่ได้ (33 Hz - 24 KHz) เท่ากับว่า RP-280F ตอบสนองความถี่ต่ำได้ลึกกว่า 1 Hz และตอบสนองความถี่สูงได้มากกว่า 1000 Hz (หูมนุษย์รับรู้เสียงสูงได้ราวๆ 20 KHz)

ค่าความไวอยู่ที่  98 dB (เท่า Rf-82 II) สามารถรองรับกำลังขับได้ตั้งแต่ 150 Watts (RMS กำลังขับใช้งานทั่วๆไป) ไปจนถึง 600 watts (peak: กำลังขับชั่วขณะใดขณะหนึ่ง) ที่ 8 ohms

RP-280F ตัดความถี่เสียงกลางต่ำให้ทำงานที่ดอกวูฟเฟอร์ 8 นิ้ว และตัดความถี่เสียงสูงที่ดอกทวีตเตอร์ที่  1750 Hz (นั่นคือความถี่ที่สูงกว่า 1750 Hz จะทำงานที่ดอกทวีตเตอร์ และความถี่ที่ต่้ำกว่านั้นจะมาออกที่ดอกวูฟเฟอร์ 8 นิ้วนั่นเองครับ)  และสามารถรองรับการต่อสายแบบ Bi-Amping และ Bi-Wiring
RP-280F เป็นแบบตู้เปิด จึงมีท่อระบายลมอยู่ด้านหลัง (rear-mounted Tractrix port)

อีกสิ่งหนึ่งที่เปลี่ยนแปลงไปนั่นก็คือดอกลำโพงเสียงสูง (ไทเทเนียมทวีตเตอร์) นั้นถูกติดตั้งอยู่ในท่อฮอร์นแบบใหม่ ซึ่งถูกออกแบบมาเป็นแบบวงกลมด้วยวัสดุยาง (Molded rubber) โดยรุ่นเก่าเป็นท่อฮอร์นแบบพลาสิก ABS

ด้วยวัสดุยางและดีไซน์แบบใหม่นี้เองที่ช่วยลดเสียงสะท้อนที่อาจเกิดขึ้นจากเสียงย่านความถี่สูงได้ ซึ่งเสียงสะท้อนตรงนี้ทาง Klipsch เองบอกว่าเป็นต้นเหตของเสียงสูงที่หยาบ กัดหูและมี color ผิดเพี้ยนไปจากเสียงดนตรีจริงๆที่ควรจะเป็นครับ



Setup
ลำโพง RP-280F คู่นี้ถูกส่งมาถึงแล้วแบบสภาพสมบูรณ์มากๆครับ  ใหม่แกะกล่อง และเมื่อเปิดกล่องออกมาก็แพ๊กมาอย่างดี มีโฟมที่หัว ท้าย และตรงกลาง สามารถแกะออกมาใช้งานง่ายดี
โดยจะสามารถต่อสไปร์คที่ฐาน หรือจะไม่ต่อก็จะมียางรองมาเป็นฐานมาให้เลยครับ ใช้งานง่าย สามารถเคลื่อนย้ายและลากได้นิดๆหน่อยๆแบบไม่เป็นรอยครับ

SYSTEM
Sources: PC (Windows 8) running Tidal and iTunes

Amplification and Processing:
Crestron Procise PSPHD pre/pro
Crestron Procise ProAmp 7x250 Watts
MiniDSP DDRC-88A Dirac Live processor

Cables
Monoprice 12-gauge OFC speaker cables
Mediabridge Ultra Series subwoofer cable
Mediabridge Ultra Series HDMI cable

Subwoofers
Klipsch R-115SW subwoofers (2)

แอมป์ที่ใช้ขับ Crestron Procise PSPHD นั้นสามารถรองรับการถอดรหัสเสียง digital ได้ ดังนั้นเราจะสามารถเล่นเพลงโดยส่งสัญญาณ digital จากคอมเข้าไปที่ amp ให้ DAC ทำงานได้เองได้เลย  และในการทดลองฟังนี้เราใช้ miniDSP DDRC-88A with Dirac Live ในการช่วยปรับ EQ ให้เสียงสมบูรณ์ยิ่งขึ้น

เริ่มต้นต่อสายลำโพงเข้ากับตัวลำโพง โดยใช้ต้นทางเล่นเพลงจากคอม Windows และใช้ app iTunes, Tidal
โดยต่อคอมเข้าแอมป์ Crestron Procis PSPHD โดยใช้ HDMI ปกติธรรมดาทั่วๆไป

RP-280F ตัวนี้สามารถต่อแบบ bi-amp สำหรับใครที่อยากเบิ้ลกำลังขับเข้าไปนะครับ แต่เนื่องจาก Crestron ProAmp ตัวนี้ให้กำลังขับที่มากเกินพอ เราจึงต่อแบบธรรมดา

การจัดวาง RP-280F ตัวนี้ เราเลือกที่จะจัดวางห่างจากผนังประมาณ 2 feet (ประมาณ 60 เซนติเมตร) เนื่องจากตัวนี้ท่อลม (rear-mounted Tractrix ports) นั้นอยู่ด้านหลัง เราจึงเลือกที่จะวางลำโพงให้มีพื้นที่ห่างจากผนังด้านหลังสักเล็กน้อยครับ

และระยะห่างจากผนังด้านข้างของลำโพงวัดจากจากดอกลำโพงคือ 28 นิ้ว  และวัดระยะจากจุดนั่งฟังถึงตัวลำโพงอยู่ที่ประมาณ 76 นิ้ว

ส่วนซับ Klipsch R-115SW subwoofers (เคยรีวิวไปครั้งก่อน: http://www.lcdtvthailand.com/webboard/index.php?topic=86353.msg775781#msg775781)
ที่เราจะเพิ่มเข้าไปในระบบนั้น จะช่วยเพิ่มแรงกระแทก และเสียงเบสในช่วงฐานความถี่ต่ำในการฟังเพลงแบบ 2.2 channels ให้คึกคักยิ่งขึ้นครับ
โดยเราจะวางซับไว้ด้านหน้า ข้างลำโพง RP-280F ที่มุมซ้าย และมุมขวาของห้อง และเราใช้ Dirac Live room ซึ่งเป็นฟังชั่นของ DDRC-88A  ในการช่วยปรับจูนเสียงให้เสียงออกมาดีที่สุดครับ




Performance
RP-280F ถือเป็นลำโพงที่จัดได้ว่าอยู่ในระดับใหญ่พอสมควรครับ
โดยในวินาแรกที่เราเริ่มเสียบสายลำโพงเข้าไปนั้น  RP-280F สร้างความประทับใจให้เราด้วยความรื่นหู (smoothness) ให้รายละเอียดที่ระยิบระยับ (detailed) ให้อิมเมจ และซาวด์สเตจที่ชัดเจน  และแน่นอนสุดท้ายที่ประทับใจมากๆคือ อิมแพคที่ได้จาก เสียงเบส  และเสียงที่บิด volume นิดเดียวก็ดังโดยไม่ต้องไปเร่งหรือเค้นแอมป์มากเหมือนลำโพงที่กินวัตต์ทั่วๆไป

เราเริ่มทดสอบโดยวัดเสียงที่ระยะใกล้ลำโพง (nearfield) ความถี่ที่วัดได้อยู่ที่ประมาณ 36 Hz
ด้วยค่าความไวระดับ 98 dB จึงจัดได้ว่า RP-280F เป็นลำโพงที่ขับได้ง่ายมากๆ แอมป์กำลังขับไม่มากก็ขับตัวนี้ได้แล้วครับ แถมลำโพงตัวนี้ยังสามารถตอบสนองช่วงความถี่ได้กว้างมากๆ เรียกว่าครอบคลุมช่วงความถี่ต่ำระดับที่ซับวูฟเฟอร์ทำงาน (32 Hz) ไปจนย่านสูงเกินกว่าที่หูมนุษย์จะได้ยินไปจนถึง - 25 KHz
เมื่อเราทำการปรับ EQ ให้เหมาะสม พบว่าย่านเสียงต่ำที่วัดได้นั้นสามารถลงได้ลึกถึง 24 Hz เลยทีเดียว ซึ่งเสียงย่านความถี่ต่ำที่ได้นั้นไม่เพียงแค่ลงได้ลึก แต่ยังเร่งได้ดังโดยยังกระชับไม่พร่าเพี้ยนอีกด้วยครับ

และด้วยศักยภาพของแอมป์ที่เราใช้ (ProAmp - 250 watts) บวกกับประสิทธิภาพของ RP-280f นั้นเราลองเร่งเสียงดูและมันสามารถทำระดับเสียงได้ดังในระดับพอๆกับคอนเสิรต์ หรือปาร์ตี้ย่อมๆเลยทีเดียวครับ  แต่ถึงกระนั้นในการใข้งานจริงๆทั่วไปนั้นไม่จำเป็นต้องเร่งขนาดนั้นก็ได้บรรยากาศของเสียงดนตรีที่มีคุณภาพจากลำโพงคู่นี้แล้ว

หลังจากนั้นเราลองเล่นเสียงที่มีความถี่ 24 Hz ที่ระดับความดัง 96 dB โดยผ่านลำโพงคู่นี้ดู  จากการวัดค่าที่ได้เราพบว่าไม่พบความเพี้ยน (distortion) จากความถี่และความดังระดับนี้ครับ กลับกันเรารู้สึกได้ถึงเบสลึกและเสียงเบสที่ยังมีพละกำลังดีมากๆด้วย

RP-280F นั้นนอกเหนือจากจุดเด่นเรื่องเสียงต่ำที่เราคิดว่ามีพละกำลังดีและลงได้ลึกแล้ว ยังมีจุดเด่นที่ทำได้ดีไม่แพ้กันนั้นคือย่านเสียงกลาง และเสียงสูง
ย่านเสียงกลางนั้นทำงานได้เที่ยงตรง กระจ่างชัดเฉกเช่นเดียวกับซีรี่ย์ที่ผ่านมา แม้ว่าตัวนี้จะเป็นแค่ลำโพงสองทาง ยังไม่ใช่ลำโพงแบบสามทางแท้ๆก็ตาม
ส่วนย่านเสียงสูงนั้น ทวีตเตอร์นั้นทำงานได้เนียนและดีขึ้นกว่าเดิมโดยปราศจากความกระด้าง กัดหูเหมือนเสียงแหลมที่ได้จากฮอร์นในซีรี่ย์ Reference II ครับ

หลังจากนั้นเราลองเพิ่มซับวูฟเฟอร์ R-115SW เข้าไปสองตัว (dual subwoofer) การผสมผสานของ RP-280F และซับวูฟเฟอร์แบบคู่ หลังจากผ่านการปรับ EQ ด้วย Dirac Live room correction เล่นที่ความดังระดับนึงแล้ว เสียงต่ำลงได้ลึกไปถึง 18 Hz  ในห้องฟังสตูดิโอของเราถูกปกคลุมด้วยเสียงความดังระดับ 100 dB แบบสบายๆ โดยเสียงยังคงน่าฟัง ไม่มีอาการกัดหูหรือปวดหัวใดๆครับ

ในการเซ็ทอัพซับวูฟเฟอร์ เราตั้ง crossover เอาไว้ที่ 50 Hz (ความถี่ต่ำกว่า 50 Hz ลงมาจะทำงานที่ซับ ซึ่งเราถือว่าเหมาะสมสำหรับการฟังเพลง และการใช้ซับวูฟเฟอร์ขนาดใหญ่ถึงสองตัวแบบนี้ ที่จะต้องการให้ความถี่ต่ำจริงๆเท่านั้นทำงานที่ซับวูฟเฟอร์ โดยไม่มีเสียงต่ำจากซับที่อาจจะขาดความกระชับและอวบอ้วนมากวนย่าน upperbass หรือเสียงกลาง)



Listening

RP-280F คู่นี้ทำให้เรารู้สึกว่าการฟังเพลงทั่วๆไปที่เราเคยฟังนั้น มีความสุนทรีย์น่าฟัง และทำให้ฟังได้นานขึ้นกว่าปกติด้วยคุณภาพของเสียงจากลำโพงที่ถือว่ายอดเยี่ยมทั้ง อิมเมต ซาวด์สเตจที่กว้าง ไดนามิค อิมแพคที่กระแทกกระทั้น และยังให้เสียงชัดเจน ใสในระดับที่น่าพอใจสำหรับการฟังเพลงครับ

หลังจากฟังเพลงแบบจริงจังไปสักพัก  เราลองเล่นและเปลี่ยนเพลงไปแต่ละเพลงโดยเล่นเพลงนึงไม่ต่ำกว่าสองครั้ง

บทเพลง Bill Laswell's "Thomupa" จากอัลบั้ม Sacred System Chapter Two ทำให้ลำโพง RP-280F ตัวนี้แสดงศักยภาพในตัวมันได้อย่างเต็มที่และสุดยอดในเรื่องของความกระชับ รวดเร็วของเสียงเบสและตัวโน๊ตดนตรีที่ไม่ยืดยาดและตามทันในทุกท่วงทำนอง

เครื่องดนตรีแต่ละชนิดไม่ว่าจะเป็นกลอง ทรัมเป็ท และเบสจากซินทิไซเซอร์ นั้นจัดเรียงและให้รายละเอียดสอดประสานกันอย่างน่าประทับใจ โดยดีเทลของเครื่องดนตรีแต่ละชิ้นยังคงชัดเจนและเที่ยงตรงอย่างที่บันทึกมาอย่างไม่มีที่ติครับ ด้วยความแม่นยำของจังหวะช่องไฟ ตัวโน๊ต และเครื่องดนตรีนี้เองทำให้อิมเมจที่ได้สำหรับลำโพงคู่นี้นั้นชัดเจนและน่าประทับใจมากๆ

เมื่อเปรียบเทียบแทร๊กเดิมนี้โดยเอาซับวุฟเฟอร์ R115SW ออก  ความแตกต่างที่เราพบก็คือเสียงเบสลดลง เสียงเบสไลน์จากกีตาร์เบสชัดเจนน้อยลง
แต่กระนั้นด้วยเสียงเบสจากตัว RP-280F ก็เพียงพอที่จะบรรเลงเสียงโดยไม่ต้องพึ่งซับวูฟเฟอร์ได้สบายๆครับ ไม่ได้ขาดอรรถรสของเสียงดนตรีแต่อย่างใด

เราลองเปลี่ยนเพลงมาเเพลงจังหวะมันๆบ้าง โดยเล่น Snoop Dogg จากอัลบั้ม Bush
เพลงนี้เป็นแนว funky disco rap ซึ่งเพลงแนวนี้มีจังหวะและเดินเบสชัดเจน และรวดเร็ว ถ้าเป็นลำโพงบางตัวที่หนา ช้าไม่กระชับอาจจะเจอปัญหาเสียงบวมเบลอ และตามโน๊ตไม่ทัน เสียงกลืนไปเลยก็มีครับ
จากแทร๊กแรกที่เราเล่น "California Roll," features Stevie Wonder
เสียงเต็มไปด้วยพละกำลัง กระฉับกระเฉงในระดับนึง
หลังจากนั้นเราลองหยุด และต่อซํบ R115SW เข้าไป เสียงที่ได้ต่างจากตอนแรกพอสมควร ในเรื่องของเบสที่กระชับ หนัก มีอิมแพค ฟังสนุก
สำหรับแนวเพลงนี้เราคิดว่าซับวูฟเฟอร์ช่วยให้การฟังเพลงมันและเพราะขึ้นอีกเยอะมากๆครับ

หลังจากนั้นเราก็ลองเล่นอีกสองเพลงต่อเนื่องเพื่อทดสอบเสียงดูสิว่าเจ้า RP-280F นี้จะยังทำให้เราประทับใจได้อีกหรือเปล่าเมื่อมาเจอกับเพลงเร็วๆหนัก ร๊อคๆ อย่างเพลงของ Ministry เพลง Just One Fix" and "TV II"
ซึ่งเพลงของวงนี้จุดเด่นคือเพลงที่เล่นในสตูดิโอนั้นนั้นให้บรรยกากาศไม่ต่างจากในสตูดิโอ  เมื่อเร่งเสียงขึ้นไปดังระดับนึงและด้วยระบบของเรากับลำโพงคู่นี้ก็ดึงเราเข้าไปสู่บรรยากาศประหนึ่ง Live music ดีๆที่เหมือนได้วง Ministry มาเล่นตรงหน้า ได้บรรยากาศเหมือนเราไปยืนอยู่ตรงหน้าเวที และเห็นคนที่มันเต็มที่พร้อมจะกระโดดเล่น surf ลงมาจากเวทีเลยทีเดียว

ส่วนเพลง "TV II"  นั้นมีสปีดที่เร็วมากๆ หนักและมีรายละเอียดในเพลงเยอะมาก  เพลงนี้เองก็โชว์ศักยภาพของลำโพง RP-280F ได้ว่าสามารถตอบสนองเสียงกีตาร์ที่เร็วๆ โหดๆ และซับซ้อนมากได้เป็นอย่างดี

แต่สองเพลงที่ผ่านมานั้นเรากลับไม่พบความแตกต่างของการใช้ซับวูฟเฟอร์และไม่ใช้ อาจจะเป็นเพราะเสียงความถี่ต่ำในเพลงของ Ministry นั้นตอบสนองได้ดีจากลำโพง RP-280F โดยไม่ต้องพึ่งเสียงความถี่ต่ำจากซับวูฟเฟอร์แต่อย่างใด

มาที่เพลงถัดไปอย่าง "Inertia Creeps" ของ Massive Attach อัลบั้ม Mezzanine  วง Triphop ชื่อดังที่เด่นในเรื่องสไตล์เพลงเนิบๆ ช้าๆ โชว์เสียง electronic sound ที่ซับซ้อน 
เราไม่มีคำพูดอะไรมาก แต่อยากให้ใครที่ได้มีโอกาศได้ลอง RP-280F เราอยากให้ลองใช้เพลงนี้ทดสอบดู เพราะเพลงนี้โชว์ศักยภาพของลำโพง เสียงเบส ลงลึก ความซับซ้อนของดนตรีอิเล็กทรอนิกส์ได้อย่างไม่ต้องมีคำอธิบายใดๆครับ
แต่เพลงนี้เมื่อต่อซับ R115SW เข้าไปกลับพบว่าได้บรรยากาศและมีอรรถรสดีกว่าฟังแบบไม่มีซับครับ (ความเห็นส่วนตัวของผู้แปลคิดว่าเพลงแนวอิเล็กทรอนิกส์จะฟังดีเมื่อมีซับวูฟเฟอร์และเบสลึกๆหนักๆครับ)

ถัดมาเราเปิดเพลงของ The Beastie Boys
เพลงแนว funky อย่าง "Ricky's Theme" มีทั้งกลอง เบสไลน์ที่ชัด และเสียงสังเคราะห์ เพลงนี้ก็พิสูจน์ได้ดีว่าอิมเมจของเครื่องดนตรีแต่ละชิ้นชัดเจนจนออกมาเป็นรูปร่าง และบอกตำแหน่งได้ว่าใครเล่นอะไรอยู่ตำแหน่งไหนจริงๆ
และแนวเพลงแบบนี้ถ้าถ้าเสียบซับวูฟเฟอร์เข้าไปจะพบว่าเบสหนา ชัด มีอิมแพคขึ้นแบบชัดเจน ต่างจากเพลงอื่นๆที่เติมซับเข้าไปแล้วไม่พบความแตกต่างมากถึงขนาดนี้


มาถึงตรงนี้นะครับ เราไม่แน่ใจว่าภาพลักษณ์ในอดีตที่ผ่านมาของลำโพง Klipsch ที่เป็นลำโพงดูหนังที่เสียงติดแข๊ง หนัก และอาจจะไม่ค่อยถูกในคอออดิโอไฟล์ (audiophiles) ที่จะหาซื้อลำโพง Klipsch มาฟังเพลงแบบจริงจังเท่าไร่  แต่วันนี้เราอยากบอกเหลือเกินว่าด้วยข้อดีของตัวลำโพงเอง ถ้าคนรักเสียงดนตรี หรือคอออดิโอไฟล์จะใช้ลำโพงคู่นี้มาใช้ฟังเพลงแนว "คลาสสิค" แล้วละก็ รับรองว่าไม่ผิดหวังครับ

ในปี 1975 วง Deutsche Grammophon recording ของ Beethoven's Symphony No. 5, บรรเลงโดย Vienna Philharmonic ควบคุมวงโดย Carlos Kleiber ถูกจัดให้เป็นเพลงคลาสสิคชั้นดีตลอดกาลที่ผมมักนิยมใช้ในการทดสอบลำโพง โดยในอดีตผมมีโอกาศได้ฟังสองสามครั้งกับลำโพงตัวอื่นที่เราได้ทำการรีวิวไปแล้ว
มาวันนี้อยากจะบอกว่า Klipsch RP-280F สามารถสอบผ่านกับบทเพลงนี้ได้แบบสวยงามครับ

ความเห็นส่วนตัวของผมแนวเพลงคลาสสิคแบบนี้ ระหว่างต่อซับวูฟเฟอร์กับไม่ใช้ซับวูฟเฟอร์นั้น เราคิดว่าไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญครับ
กล่าวคือซํบวูฟเฟอร์ไม่ได้ช่วยเพิ่มรายละเอียดเสียงของเครื่องดนตรีแนวนี้ได้เหมือนแนวเพลงอื่นๆ กลับกันเครื่องดนตรี โน๊ต จังหวะของเสียงดนตรีในแนวคลาสสิคัลนั้นกลับต้องการความเหมาะสมของเสียงเบส รายละเอียด และอิมแพคที่พอดีๆ มากกว่าเน้นเสียงหนักๆเหมือนเพลงแนวร๊อค rap หรือดนตรีอิเล็กทรอนิกส์ครับ

สิ่งสำคัญที่สุดที่ทำให้ลำโพง RP-280F นั้นตอบสนองเพลงแนวคลาสสิคได้ดีนั่นคือเสียงกลางต่ำที่มีอิมแพคพอเหมาะพอดีกับแนวเพลงแบบนี้
นอกนั้นเพลงแนวนี้ยังมีช่วงที่เงียบ และช่วงที่ดนตรีโหมขึ้นหนักๆมาก
ซึ่ง RP-280F นั้นตอบสนองความหนักแน่นในช่วงดนตรีแบบนี้ได้แบบถือว่าสอบผ่าน
แต่จริงๆที่เราเคยรีวิว มันก็มีลำโพงที่สามารถบรรเลงบทเพลงแนวคลาสสิคได้ดีกว่า Klipsch อยู่นะครับ ไม่ใช่ว่า Klipsch จะทำได้ดีที่สุด แต่แน่นอนว่าลำโพงที่เล่นเพลงคลาสสิคได้ดีกว่านั้นราคาก็สูงกว่า Klipsch RP-280F ด้วยเช่นกันนะครับ

ทีนี้ลองมาเปลี่ยนแนวมาฟังแนวแจ๊สกันดูบ้างครับ โดยใช้เพลงของ Herbie Hancock's อัลบั้ม Head Hunters.
ทั้งอัลบั้มตั้งแต่เพลงแรกนั้นคือ "Chameleon" ไปยันเพลงสุดท้าย "Vein Melter,"

อัลบั้มนี้และลำโพง RP-280F ทำให้ขากระดิก และโยกหัวได้แบบเพลินไปกับบทเพลงได้ตลอดทั้งอัลบั้มแบบไม่มีเบื่อ ด้วยความชัดเจนของเสียง และความกระชับแน่นของเสียงเบส ทำให้แนวแจ๊สนั้นเป็นอีกแนวนึงที่เล่นได้ดีกับ RP-280F ครับ
น่าสนใจอย่างนึงคือแนวเพลงแจ๊สนั้นถ้าต่อซับวูฟเฟอร์เข้าไป กลับไม่ช่วยเพิ่มเบสและความไพเราะให้บทเพลงได้เท่าไร่ครับ แม้จะเร่ง volume เข้าไปมากๆก็ไม่รู้สึกถึงความน่าฟังเมื่อเทียบกับการไม่ใช้ซับวูฟเฟอร์

สิ่งที่น่าประหลาดใจที่สุดของเราคือ horn-loaded tweeters นั้นสามารถตอบสนองเสียงแหลมไม่ว่าจะจากคีย์บอร์ด ซินทิไซเซอร์ หรือเครื่องดนตรีที่มีเสียงแหลมสูงๆ ได้อย่างดี โดยไม่มีความกระด้างหรือกัดหูเหมือนซีรี่ย์ก่อนๆแล้วครับ จึงนับว่าจุดนึงที่ Reference Premier พัฒนาขึ้นมากๆนั่นคือสามารถให้เสียงแหลมที่ฟังสบายขึ้น  แต่ตอบสนองความถี่สูงได้มากขึ้นกว่าตัวเก่า

มาตบท้ายกันด้วยเพลงโหดๆ กัดหูอย่างเพลงแนว industrial music อย่าง  Nine Inch Nails  เพลง "Closer (Unrecalled)"
เสียงต่างๆไม่ว่าจะเอฟเฟค กลอง และสารพัดเครื่องดนตรีอิเล็กทรอนิกที่ระดมมาในบทเพลงแนวนี้ไม่ได้ทำให้การแยกแยะชิ้นดนตรีมั่วหรือตีกันแต่อย่างใด แต่กลับกันยังสามารถตอบสนองเสียงเบสลึกๆได้โดยไม่กลบเสียงกลางสูง ทำให้โดยรวมแล้วเวทีเสียงที่ได้จากลำโพงคู่นี้กว้างใหญ่จนดูเหมือนลำโพงล่องหนไปเลยทีเดียวครับ




บทสรุป

Klipsch RP-280F  เป็นลำโพงที่พัฒนาขึ้นต่อยอดจาก RF-82 II และทำได้ดีมากๆในการฟังเพลง 2 channels ไม่ว่าจะเป็นการฟังเพลงแนว Audiophile หรือฟังเพลงทั่วๆไป ซึ่งก็ลบข้อสบประมาทในซีรี่ย์ก่อนอย่าง Reference II ที่ถูกนักฟังเพลงแบบจริงจังดูถูกไว้ว่า Klipsch ฟังเพลงไม่ได้เรื่องได้แล้วนะครับ
และยิ่งกว่านั้นด้วยความไวและคุณสมบัติของลำโพงที่ให้เสียงได้ดังมาก มันยังสามารถเร่งเสียงได้ดังมากๆในระดับปาร์ตี้ย่อมๆ ได้ประหนึ่งกำลังร๊อคและเมามันไปกับลำโพง PA ดีๆนี่เองครับ

หากใครคิดจะเลือกลำโพงฟังเพลงแบบ 2 channels RP-280F ก็เป็นตัวเลือกที่ดีตัวนึงครับสำหรับการฟังเพลง แต่มีข้อจำกัดนิดนึง เนื่องจากตัวลำโพงค่อนข้างมีขนาดใหญ่ ดังนั้นใครที่มีห้องเล็กๆก็อาจจะเสียงล้นหรือพบปัญหาเบสเกินได้  ยกเว้นว่าจะมีห้องฟังเล็กแต่มีคุณสมบัติและอคูสติกดีก็สามารถใช้ตัวนี้ได้ครับ
อย่างไรก็ตามเราแนะนำให้ใช้การปรับ EQ ช่วยเพื่อให้ได้เสียงที่ดีที่สุด
เมื่อจับคู่กับซับวูฟเฟอร์อย่าง R115SW จะยิ่งช่วยเติมเต็มประสิทธิภาพให้ตัวลำโพง RP-280F ทำงานได้ดีขึ้น มีอิมแพคมากขึ้น เบสลงลึกขึ้น
และ RP-280F ตัวนี้ขับง่ายและจับคู่ได้กับ AVR, integrated amp ตัวไหนก็ได้ที่พอมีกำลังขับไม่ต้องสูงมากก็สามารถขับได้ครับ


และการออกแบบตู้ฮอร์นแบบใหม่ (Tractrix cone tweeter) โดยใช้ยางมาแทนพลาสติก ABS
Klipsch ได้ลดข้อด้อยเรื่องเสียงแหลมที่อาจจะฟังดูเครียด แข๊ง ไม่ธรรมชาติในซีรี่ย์ก่อนๆไปได้แล้ว
จากที่เราลองฟังดูเสียงแหลมนั้นเที่ยงตรง ไม่มีการเติมแต่ง หรือเพี้ยนจากที่ควรจะเป็นครับ เสียงแหลมจากทวีตเตอร์ที่ถูกติดตั้งในลำโพงตู้ฮอร์นในซีรี่ย์นี้
ชัดเจน น่าฟังและสมกับราคาลำโพงครับ
ดังนั้นใครที่ติดภาพลักษ์เดิมๆของลำโพง Klipsch ที่ว่าเสียงต้องแข๊ง เสียงดิจิตอล หยาบ ฟังแล้วแสบหู เครียด มาลองฟังซีรี่ย์ Reference Premier ตัวใหม่นี้ก็ตกใจครับว่า Klipsch ลบข้อด้อยเหล่านั้นทิ้งไปหมดแล้ว คงเหลือแต่เสียงแหลมที่ทอดยาวและเป็นธรรมชาติน่าฟังมาแทนครับ

อย่างไรก็ดีนะครับ รีวิวนี้บอกเล่าตัวตนของลำโพง Klipsch RP-280F แค่ครึ่งเดียวเท่านั้น นั้นคือการฟังเพลงสองแชนแนล แต่เรายังไม่ได้เราถึงตัวตนในด้านการดูภาพยนตร์ที่ในซีรี่ย์ที่แล้วนั้นขึ้นชื่อลือชาว่า Klipsch นั้นไม่แพ้ใครในเรื่องการดูหนังครับ

ซึ่งเร็วๆนี้ เราจะกลับมาพร้อมกับรีวิวอีกครึ่งนึงที่ยังบอกเล่าไม่ครบ นั่นคือการรับชมภาพยนตร์ในระบบ  7.1
โดยเราจะเติมเซ็นเตอร์ Klipsch RP-450C
และลำโพงบุ๊กเชลฟ์เซอราวด์ข้าง Klipsch RP-160M 
และลำโพงไบโพลเซอราวด์หลัง Klipsch RP-250S

ตอนนี้เราได้ทอสอบไปแล้วนิดหน่อย เราก็ยังไม่อยากจะพูดนะครับว่า Klispch RP-280F นั้นสุดยอดในเรื่องการดูหนังมากๆ 
แต่อดใจอีกนิด รอรีวิวฉบับเต็มเร็วๆนี้ แล้วมาดูกันทีละจุดว่าอีกครึ่งด้านที่เหลือของ Klipsch Reference Premier นั้นจะทำหน้าที่ในการดูหนังได้ดีเหมือนอย่างการฟังเพลงหรือเปล่า

พบกันเร็วๆนี้กับรีวิว Klipsch Reference Premier 7.1 HomeTheater ครับ

============================================
facebook.com/whatthatsoundstore
============================================


36
ขายแล้วครับ ขอบคุณสำหรับพื้นที่และโอกาศครับ

หน้า: 1 [2] 3 4 5