ผู้เขียน หัวข้อ: ท่อแบ่งออกเป็นกี่ประเภท และแต่ละประเภทมีหน้าที่อย่างไร?  (อ่าน 159 ครั้ง)

ออฟไลน์ Marple

  • Flat TV member
  • *
  • กระทู้: 25
    • ดูรายละเอียด
โดยจะแบ่งออกเป็น 4 ประเภทใหญ่ๆ ได้แก่

1. ท่อเหล็ก


               -ท่อประปาเหล็กอาบสังกะสี โดยท่อประเภทนี้จะทำจากเหล็กกล้า แล้วนำไปอาบสังกะสี จึงทำให้ทนทานต่อการเกิดสนิม ข้อดีคือสามารถทำเกลียวได้ง่าย โดยมีหลายความหนาให้เลือก
               -ท่อเหล็กร้อยสายไฟ มีไว้เพื่อป้องกับอันตรายที่อาจเกิดขึ้นกับสายไฟ ซึ่งมีความหนาบางหลายแบบให้เลือก ได้แก่ EMT, IMC และ RSC โดยแบ่งประเภทตามการใช้งานร้อยสายไฟ


2. ท่อพีวีซี (PVC)


              -เป็นท่อที่ทำมาจากเม็ดพลาสติกโพลิไวนิลคลอไรด์ (Poly Vinyl Chloride) ถูกนำมาใช้ทดแทนท่อเหล็ก ให้คุณสมบัติการใช้งานที่ครอบคลุม และเลี่ยงปัญหาสนิมขึ้นจากการใช้งานเป็นเวลานาน อีกทั้งยังมีราคาท่อ PVC ที่ถูกกว่า แต่ก็มีความทนทานน้อยกว่าเมื่อเทียบกับท่อเหล็ก
              -ในแง่ของการใช้แงาน จะใช้สีเป็นเกณฑ์ในการแบ่งการใช้งาน

  • สีฟ้า ใช้กับงานประปา
  • สีเหลือง ใช้กับงานระบบไฟฟ้าแบบฝังกำแพง
  • สีขาว ใช้กับงานระบบไฟฟ้าแบบเดินท่อลอย
  • สีเทา ใช้กับงานเกษตร
3. ท่อพีพีอาร์ (PPR)


               -จุดเด่นหลักๆของท่อ PPR (Polypropylene Random Copolymer) คือสามารถเชื่อมข้อต่อกับท่อเป็นเนื้อเดียวกันได้โดยใช้ความร้อน ซึ่งช่วยลดปัญหาการรั่วซึม ส่วนใหญ่แล้วท่อ PPR จะถูกใช้ในงานระบบประปา ซึ่งมีคุณสมบัติในการทนต่อความร้อนได้ดีกว่าท่อPVC จึงสามารถใช้กับท่อน้ำร้อนได้ นอกจากนี้ยังมีอายุการใช้งานที่ยาวนาน และสามารถทนแรงดันได้สูง และยังแข็งแรงกว่าท่อ PVC

4. ท่อพีอี (PE)


              -ท่อ PE นั้นทำมาจาก Polyethylene thermoplastic จึงทำให้มีความหนาแน่นและยืดหยุ่นสูง สามารถโค้งงอได้ดี ไม่แตกหักง่าย สะดวกต่อการใช้งานสามารถม้วนเก็บได้ และใช้ข้อต่อน้อยมาก ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท
                              1. ท่อ HDPE  (High Density PolyEthyiene) ซึ่งผลิตมาจากเรซินพอลิเอทิลีนชนิดความหนาแน่นสูง โดยตัวท่อจะมีสีดำ หากคาดเส้นสีฟ้าจะใช้สำหรับงานระบบประปา หากคาดเส้นสีส้มจะใช้สำหรับงานไฟฟ้า
                              2. ท่อ LDPE (Low Density PolyEthyiene) ซึ่งผลิตมาจากโพลีเอทิลีน ตัวท่อจะมีสีดำ มีคุณสมบัติในการม้วนงอยืดหยุ่นและนิ่มกว่า HDPE แต่จะไม่ทนต่อความร้อน
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 18, 2021, 07:35:20 pm โดย Marple »