ผู้เขียน หัวข้อ: คอแลน  (อ่าน 361 ครั้ง)

ออฟไลน์ wavebkn22

  • New member
  • *
  • กระทู้: 1
    • ดูรายละเอียด
    • อีเมล์
คอแลน
« เมื่อ: พฤษภาคม 13, 2020, 04:57:45 pm »

คอแลน
คอแลน ชื่อสามัญ Korlan

คอแลน ชื่อวิทยาศาสตร์ Nephelium hypoleucum Kurz จัดอยู่ในวงศ์เงาะ (SAPINDACEAE)


 
คอแลน มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า คอลัง กะเบน สังเครียดขอน (ภาคใต้), มะแงว มะแงะ หมักงาน บักแงว หมักแวว หมักแงว หมากแงว (ภาคตะวันออก), ลิ้นจี่ป่า (ภาคตันออกเฉียงใต้) เป็นต้น ผลไม้ชนิดนี้จัดอยู่ในวงศ์เดียวกับลิ้นจี่ ลำไย เงาะ มามอนซีโย

คอแลน เป็นผลไม้เมืองร้อน ลักษณะคล้ายกับลิ้นจี่แต่เนื้อด้านในจะคล้ายกับเงาะ เนื้อมีรสเปรี้ยว ส่วนเมล็ดมีพิษไม่สามารถรับประทานได้

ลักษณะของคอแลน
ต้นคอแลน เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ไม่ผลัดใบ สูงประมาณ 10-20 เมตร เปลือกเรียบ มีสีน้ำตาลคล้ำ เรือนยอดเป็นพุ่มค่อนข้างทึบ ลักษณะของใบคอแลน เนื้อหนา ใบสีเขียว ออกเป็นช่อติดเรียงสลับยาวประมาณ 20-30 เซนติเมตร โดยใบย่อยเป็นรูปขอบขนานแกมรูปไข่กลับถึงรูปรี ติดตรงข้าม 1-3 คู่ โคนใบมนและเบี้ยว ขอบใบเรียบ หลังใบเกลี้ยงเป็นมัน ส่วนท้องใบสีจาง
ต้นคอแลน

ดอกคอแลน มีขนาดเล็ก มีสีขาวอมเขียว ออกรวมกันเป็นช่อตามปลายกิ่ง ทุกส่วนของช่อดอกจะมีขนสีเทาทั่วไป โคนกลีบรองดอกจะติดกันเป็นรูปถ้วยปากกว้าง ปลายแยกเป็น 5 แฉก ส่วนกลีบดอกไม่มี มีเกสรตัวผู้ 5 อัน มีรังไข่กลมและมีขนปกคลุม
ผลคอแลน ลักษณะเป็นรูปรีถึงกลม เส้นผ่านศูนย์กลางกว้างประมาณ 1.5-2 เซนติเมตร และยาวประมาณ 2.5-3 เซนติเมตร ลักษณะของผิวจะขรุขระ เป็นปมเล็ก ๆ กระจายไปทั่ว ผลอ่อนจะเป็นสีเขียว ส่วนผลแก่จัดจะออกเป็นสีแดงเข้ม โดยในผลจะมีเมล็ด 1 เมล็ด และมีเนื้อเยื่อใส ๆ และน้ำหุ้มเมล็ดอยู่
ผลคอแลน


คอแลนไม้คอแลน
 
รูปคอแลนลูกคอแลน
ในปัจจุบันคอแลนเป็นผลไม้ที่หารับประทานได้ยากและใกล้จะสูญพันธุ์ เพราะไม่ค่อยมีคนปลูก เนื่องจากไม่เป็นที่นิยมในการรับประทานเท่าไหร่ อาจจะเป็นเพราะมันมีรสเปรี้ยว แต่ภายหลังเกษตรกรก็ได้หันมาปลูกคอแลนที่มีรสหวานและลูกใหญ่ขึ้นมาทดแทนพันธุ์เดิม
สรรพคุณของคอแลน
ช่วยทำให้ชุ่มคอ
ช่วยกระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มกัน ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ และเพิ่มพลังงาน
ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด มันจึงเหมาะอย่างมากสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน
ช่วยเสริมสร้างสมาธิ แก้ปัญหาสมาธิสั้น
ช่วยลดความเครียด
ช่วยในการย่อยอาหาร
ใช้เป็นยาระบาย
ช่วยต่อสู้กับเชื้อหวัดและไวรัสไข้หวัดใหญ่