แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Messages - PostDD

หน้า: 1 ... 732 733 [734] 735 736 ... 969
13196
บริการสั่งอาหารตามสั่งและเครื่องดื่ม ครัวบ้านยาย ผ่าน GrabFood ได้แล้ว
- สั่งเมนูโปรดของคุณได้ง่ายๆ ผ่าน ...
http://bit.ly/3IVdkQY

13197
EIC มอง กนง. คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 0.5% ตลอดปี 2022 เนื่องจากเงินเฟ้อที่เร่งตัวมาจากปัจจัยอุปทานเป็นสำคัญ และมีแนวโน้มกลับเข้าสู่กรอบนโยบายในปีหน้า

กนง. มีมติเป็นเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 0.5% ต่อปี

กนง. ประเมินว่า เศรษฐกิจไทยในปี 2022 และ 2023 จะขยายตัวได้ต่อเนื่องที่ 3.2% และ 4.4% ตามลำดับ แม้มาตรการคว่ำบาตรรัสเซียจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย ผ่านการปรับขึ้นของราคาพลังงานและสินค้าโภคภัณฑ์ และอุปสงค์ต่างประเทศที่ชะลอลง ด้านอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยปี 2022 จะปรับสูงขึ้นเกินกรอบเป้าหมาย ก่อนจะทยอยลดลง และกลับเข้าสู่กรอบเป้าหมายในช่วงต้นปี 2023 จากราคาพลังงานและอาหารที่คาดว่าจะไม่ปรับสูงขึ้นต่อเนื่อง

โดยอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปี 2022 และ 2023 คาดว่าจะอยู่ที่ 4.9% และ 1.7% ตามลำดับ ทั้งนี้คณะกรรมการประเมินว่าอัตราเงินเฟ้อที่ปรับสูงขึ้น เป็นผลจากปัจจัยด้านอุปทาน (cost-push inflation) เป็นหลัก ในขณะที่แรงกดดัน เงินเฟ้อด้านอุปสงค์ (demand-pull inflation) ยังอยู่ในระดับต่ำ จึงเห็นควรให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้เพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจให้มีความต่อเนื่อง

EIC คาด กนง. จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 0.5% ตลอดปี 2022 เนื่องจาก 1) กนง. มีแนวโน้มจะให้ความสำคัญกับภาวะเศรษฐกิจในประเทศ ซึ่งยังคงเปราะบางและอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าช่วงก่อน COVID-19 โดย EIC ได้ปรับลดคาดการณ์การขยายตัวทางเศรษฐกิจของไทยในปี 2022 ลงเหลือ 2.7% จากกำลังซื้อของครัวเรือนที่มีแนวโน้มลดลงตามอัตราเงินเฟ้อที่จะเร่งตัวสูงขึ้น ขณะที่ราคาพลังงานและวัตถุดิบที่เพิ่มขึ้นจะส่งผลให้ต้นทุนของภาคธุรกิจเพิ่มขึ้น ผลกำไร (profit margin) ลดลง และอาจชะลอการลงทุนจากเดิม นอกจากนี้ จำนวนนักท่องเที่ยวมีแนวโน้มฟื้นตัวช้ากว่าประมาณการเดิม จากผลของสงครามรัสเซีย-ยูเครน โดยนักท่องเที่ยวบางส่วนอาจชะลอการเดินทางจากภาวะเงินเฟ้อและการบริโภคที่จะได้รับผลกระทบ 2) อัตราเงินเฟ้อของไทยที่เร่งตัวขึ้นนั้น ส่วนใหญ่มาจากปัจจัยอุปทาน ขณะที่ปัจจัยด้านอุปสงค์ยังอ่อนแอ อีกทั้งเงินเฟ้อที่สูงขึ้นคาดว่าจะเป็นเพียงระยะเวลาหนึ่ง และจะปรับลดลงเข้าสู่กรอบเป้าหมายได้ในปีหน้า ขณะที่อัตราเงินเฟ้อคาดการณ์ในระยะปานกลางก็ยังยึดเหนี่ยวอยู่ในกรอบเป้าหมาย และ 3) ภาระหนี้ที่สูงขึ้น โดยเฉพาะหนี้ครัวเรือนไทย ทำให้การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยมีแนวโน้มกระทบต่อการบริโภคและการลงทุนมากกว่าในอดีต

ทั้งนี้ EIC มองว่า การดำเนินนโยบายการเงินที่ตึงตัวอย่างรวดเร็วของธนาคารกลางสหรัฐฯ อาจเป็นความเสี่ยงต่อเศรษฐกิจโลก (Recession risk) ซึ่งจะกระทบต่ออุปสงค์และการส่งออกไทยในระยะต่อไปได้

โดย EIC คาดว่า ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) มีแนวโน้มปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในทุกรอบการประชุมที่เหลือ
ของปีนี้ (รวม 7 ครั้งในปี 2022) และมีโอกาสสูงที่ Fed จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 50 bps ในการประชุมเดือนพฤษภาคมและมิถุนายนปีนี้ เนื่องจากคาดว่าอัตราเงินเฟ้อในสหรัฐฯ จะยังคงอยู่ในระดับสูงต่อเนื่อง ทั้งนี้การเร่งขึ้นดอกเบี้ยเพื่อสกัดเงินเฟ้อของ Fed อาจส่งผลให้เศรษฐกิจสหรัฐฯ มีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอย (Recession) จากต้นทุนการกู้ยืมและภาระดอกเบี้ยของทั้งธุรกิจและผู้บริโภคที่จะปรับสูงขึ้น ซึ่งจะกระทบต่อการบริโภค การลงทุน และการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ ผ่าน 4 ช่องทาง ได้แก่ 1) ต้นทุนการกู้ยืมของทั้งภาคธุรกิจและผู้บริโภคสูงขึ้น 2) ภาระหนี้ที่อยู่ในระดับสูงมีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้น 3) ฐานะการเงินและความสามารถในการทำกำไรของภาคธุรกิจมีแนวโน้มปรับแย่ลง และ 4) ราคาสินทรัพย์ เช่น อสังหาริมทรัพย์ รวมถึงผลตอบแทนจากตลาดหลักทรัพย์มีแนวโน้มลดลง นอกจากนี้ การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยที่เร็ว ได้ส่งผลให้ส่วนต่างระหว่างอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปี และ 2 ปี (2-10 spread) ปรับลดลง จนมีโอกาสที่จะเกิดภาวะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะยาวอยู่ต่ำกว่าอัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะสั้น (Inverted yield curve) ซึ่งมักจะตามมาด้วยภาวะเศรษฐกิจถดถอย (Recession) โดยจากสถิติในอดีต พบว่าภาวะเศรษฐกิจถดถอยมักจะเกิดหลังจากการติดลบของ 2-10 spread ประมาณ 1-2 ปี ทั้งนี้สำหรับในกรณีฐานคาดว่าภาวะ Recession ในสหรัฐฯ อาจจะยังไม่เกิดขึ้นในปีหน้า แต่ก็ต้องจับตาดูการขึ้นดอกเบี้ยนโยบายของ Fed อย่างต่อเนื่อง

KEY POINTS

กนง. มีมติเป็นเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 0.5% ต่อปี พร้อมทั้งประเมินเศรษฐกิจไทยในปี 2022 และ 2023 จะขยายตัวที่ 3.2% และ 4.4% ตามลำดับ ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) วันที่ 30 มีนาคม 2022 กนง. มีมติเป็นเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 0.5% ต่อปี โดยคณะกรรมการประเมินว่าเศรษฐกิจไทยในปี 2022 และ 2023 จะขยายตัวได้ต่อเนื่อง แม้มาตรการคว่ำบาตรรัสเซียจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย ผ่านการปรับขึ้นของราคาพลังงานและสินค้าโภคภัณฑ์ และอุปสงค์ต่างประเทศที่ชะลอลง ด้านอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยปี 2022 จะปรับสูงขึ้นเกินกรอบเป้าหมาย ก่อนจะทยอยลดลงและกลับเข้าสู่กรอบเป้าหมายในช่วงต้นปี 2023 จากราคาพลังงานและอาหารที่คาดว่าจะไม่ปรับสูงขึ้นต่อเนื่อง ทั้งนี้คณะกรรมการประเมินว่าอัตราเงินเฟ้อที่ปรับสูงขึ้นเป็นผลจากปัจจัยด้านอุปทาน (cost-push inflation) เป็นหลัก ในขณะที่แรงกดดันเงินเฟ้อด้านอุปสงค์ (demand-pull inflation) ยังอยู่ในระดับต่ำ จึงเห็นควรให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ เพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจให้มีความต่อเนื่อง

เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัว 3.2% ในปี 2022 และ 4.4% ในปี 2023 (จากประมาณการเดิมในเดือนธันวาคม 2021 ที่ 3.4% และ 4.7% ในปี 2022 และ 2023) จากการฟื้นตัวของอุปสงค์ในประเทศ และภาคการท่องเที่ยว โดยผลของการระบาดของ COVID-19 สายพันธุ์โอมิครอน (Omicron) ต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจไม่มากเท่าระลอกก่อนหน้า ทั้งนี้แม้มาตรการคว่ำบาตรรัสเซียส่งผลให้ต้นทุนสินค้าสูงขึ้น แต่จะไม่กระทบแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโดยรวม อย่างไรก็ดี การขยายตัวของเศรษฐกิจยังมีความเสี่ยงจากปัญหาการขาดแคลนวัตถุดิบในบางอุตสาหกรรมที่อาจยืดเยื้อ และผลกระทบจากค่าครองชีพและต้นทุนที่สูงขึ้นต่อภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจในกลุ่มเปราะบาง โดยคณะกรรมการจะติดตามพัฒนาการของสถานการณ์ดังกล่าวอย่างใกล้ชิด
อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปี 2022 และ 2023 คาดว่าจะอยู่ที่ 4.9% และ 1.7% ตามลำดับ (จากประมาณการเดิมในเดือนธันวาคม 2021 ที่ 1.7% และ 1.4%) โดยอัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มที่จะเพิ่มสูงขึ้นกว่า 5% ในไตรมาสที่ 2 และ 3 ในปีนี้ จากราคาพลังงานและการส่งผ่านต้นทุนในหมวดอาหารเป็นหลัก ก่อนที่จะปรับลดลงเข้าสู่กรอบเป้าหมายในปี 2023 ส่วนหนึ่งจากราคาพลังงานที่คาดว่าจะไม่ปรับสูงขึ้นต่อเนื่อง อย่างไรก็ดี อัตราเงินเฟ้อยังมีความเสี่ยงจากราคาน้ำมันที่มีโอกาสสูงกว่าที่ประเมินไว้ และการส่งผ่านต้นทุนของผู้ประกอบการที่อาจมากกว่าคาด โดยคณะกรรมการประเมินว่าอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้นเป็นผลจากแรงกดดันเงินเฟ้อด้านอุปทาน (cost-push inflation) ในขณะที่แรงกดดันเงินเฟ้อด้านอุปสงค์ (demand-pull inflation) ยังอยู่ในระดับต่ำจากรายไดที่เพิ่งเริ่มฟื้นตัว นอกจากนี้ ธปท. ได้จัดทำเครื่องชี้แนวโน้มเงินเฟ้อจาก common components ของอัตราเงินเฟ้อทั่วไป ซึ่งล่าสุดบ่งชี้ว่าแรงกดดันเงินเฟ้อยังไม่น่ากังวลนัก ขณะที่อัตราเงินเฟ้อคาดการณ์ในระยะปานกลางก็ยังยึดเหนี่ยวอยู่ในกรอบเป้าหมาย ทั้งนี้คณะกรรมการจะติดตามพัฒนาการเงินเฟ้ออย่างใกล้ชิด เพื่อให้มั่นใจว่าอัตราเงินเฟ้อคาดการณ์ในระยะปานกลางยังสอดคล้องกับเป้าหมายนโยบายการเงิน
กนง. ประเมินว่า ภาวะการเงินโดยรวมยังผ่อนคลาย โดยสภาพคล่องในระบบการเงินยังอยู่ในระดับสูง แต่การกระจายสภาพคล่องยังแตกต่างกันบ้างในแต่ละภาคเศรษฐกิจ ด้านอัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทเทียบดอลลาร์สหรัฐปรับอ่อนค่าลงจากความกังวลต่อสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครน และการคาดการณ์การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางประเทศเศรษฐกิจหลัก โดยคณะกรรมการเห็นควรให้ติดตามพัฒนาการของตลาดการเงินโลกและไทยอย่างใกล้ชิด รวมทั้งผลักดันการสร้างระบบนิเวศใหม่ของตลาดอัตราแลกเปลี่ยน (FX ecosystem) อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการสนับสนุนให้ผู้ประกอบการ SMEs ป้องกันความเสี่ยงจากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนมากขึ้น

กนง. ระบุว่า มาตรการภาครัฐและการประสานนโยบายมีความสำคัญต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจภายใต้สถานการณ์ที่มีความไม่แน่นอนสูง โดยมาตรการการคลังควรสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจอย่างตรงจุด
โดยเน้นการสร้างรายได้และการบรรเทาภาระค่าครองชีพในกลุ่มเปราะบาง ขณะที่นโยบายการเงินช่วยสนับสนุนให้ภาวะการเงินโดยรวมยังผ่อนคลายต่อเนื่อง รวมทั้งมาตรการด้านการเงินและสินเชื่อ ช่วยกระจายสภาพคล่องและช่วยลดภาระหนี้โดยเฉพาะในกลุ่มที่รายได้ยังฟื้นตัวไม่เต็มที่ อาทิ มาตรการสินเชื่อฟื้นฟู มาตรการพักทรัพย์พักหนี้ และมาตรการอื่น ๆ ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ควบคู่กับการผลักดันให้สถาบันการเงินเร่งสนับสนุนการปรับโครงสร้างหนี้อย่างยั่งยืนให้เห็นผลในวงกว้างและสอดคล้องกับความสามารถในการชำระหนี้ของลูกหนี้ในระยะยาว

กนง. ยังคงให้น้ำหนักกับการสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจเป็นสำคัญ ภายใต้กรอบการดำเนินนโยบายการเงินที่มีเป้าหมายเพื่อรักษาเสถียรภาพราคา ควบคู่กับการดูแลเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืนและเต็มศักยภาพ
และรักษาเสถียรภาพระบบการเงิน รวมถึงจะติดตามปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อแนวโน้มเศรษฐกิจและเงินเฟ้อ ได้แก่ ราคาพลังงานและสินค้าโภคภัณฑ์โลก การส่งผ่านต้นทุนที่สูงขึ้น และปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ที่อาจขยายวงกว้างและสร้างความไม่แน่นอนในระยะต่อไป โดยพร้อมใช้เครื่องมือนโยบายการเงินที่เหมาะสมหากจำเป็น

IMPLICATIONS

EIC คาดว่า กนง. จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 0.5% ตลอดปี 2022 เนื่องจาก
1)กนง. มีแนวโน้มที่จะให้ความสำคัญกับภาวะเศรษฐกิจในประเทศ ซึ่งยังคงเปราะบางและอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าช่วงก่อน COVID-19 (รูปที่ 1) โดยอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของไทยในปี 2021 อยู่ที่เพียง 1.6% และ EIC ได้ปรับลดคาดการณ์การขยายตัวทางเศรษฐกิจของไทยในปี 2022 ลงเหลือ 2.7% (จากคาดการณ์เดิมที่ 3.2%) จากกำลังซื้อของครัวเรือนที่มีแนวโน้มลดลงตามอัตราเงินเฟ้อที่จะเร่งตัวสูงขึ้น ขณะที่ราคาพลังงานและวัตถุดิบที่เพิ่มขึ้นจะส่งผลให้ต้นทุนของภาคธุรกิจเพิ่มขึ้น ผลกำไร (profit margin) ลดลง และอาจชะลอการลงทุนจากเดิม นอกจากนี้ จำนวนนักท่องเที่ยวจะฟื้นตัวช้ากว่าประมาณการเดิมจาก 1) ผลของสงครามรัสเซีย-ยูเครน ที่จะทำให้นักท่องเที่ยวรัสเซียและยุโรปเดินทางมาน้อยลง และ 2) นักท่องเที่ยวบางส่วนมีแนวโน้มชะลอการเดินทางจากภาวะเงินเฟ้อและการบริโภคที่ลดลง จึงทำให้ EIC ปรับประมาณการนักท่องเที่ยวต่างชาติปี 2022 ลงจาก 5.9 ล้านคนเป็น 5.7 ล้านคน สำหรับผลของแผลเป็นเศรษฐกิจ พบว่าทั้งการว่างงาน รายได้ และหนี้ครัวเรือนยังเป็นอุปสรรคต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย

2)อัตราเงินเฟ้อของไทยที่เร่งตัวขึ้น ส่วนใหญ่มาจากปัจจัยอุปทาน ขณะที่อุปสงค์ยังอ่อนแอ อีกทั้งเงินเฟ้อที่สูงขึ้นคาดว่าจะเป็นเพียงระยะเวลาหนึ่ง และจะปรับลดลงเข้าสู่กรอบเป้าหมายได้ในปีหน้า โดยแม้ EIC คาดว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปของไทยเฉลี่ยทั้งปี มีแนวโน้มเร่งตัวขึ้นสูงสุดในรอบ 14 ปีที่ระดับ 4.9% แต่เงินเฟ้อที่ปรับสูงขึ้นมานั้น ส่วนใหญ่เป็นผลจากราคาพลังงานและสินค้าโภคภัณฑ์ที่ปรับสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ขณะที่ปัจจัยด้านอุปสงค์ยังไม่เร่งตัวมากนัก แม้อาจมีการทยอยส่งผ่านต้นทุนที่เพิ่มขึ้นมายังผู้บริโภคบ้างบางส่วน นอกจากนี้ EIC คาดว่าอัตราเงินเฟ้อของไทยมีแนวโน้มปรับลดลงและเข้าสู่กรอบเป้าหมายที่ 1-3% ได้ในปีหน้า นอกจากนี้ เงินเฟ้อคาดการณ์ปรับสูงขึ้นไม่มากนักและยังอยู่ในกรอบเป้าหมาย โดยล่าสุดเงินเฟ้อคาดการณ์ 1 ปีข้างหน้าของครัวเรือนอยู่ที่ 2.6% (ณ กุมภาพันธ์ 2022) และเงินเฟ้อคาดการณ์ 1 ปีข้างหน้าของภาคธุรกิจอยู่ที่ 2.8% (ณ มีนาคม 2022) สำหรับระยะ 5 ปีข้างหน้าของ professional forecasters อยู่ที่ 1.9% (ต.ค. 21) ดังนั้น อัตราเงินเฟ้อที่เร่งตัวขึ้นในปัจจุบันจะไม่เป็นปัจจัยที่ทำให้ กนง. ต้องรีบปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในปีนี้

3)ภาระหนี้ที่สูงขึ้น โดยเฉพาะหนี้ครัวเรือนของไทย ทำให้การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยมีแนวโน้มกระทบต่อการบริโภคและการลงทุนมากกว่าในอดีต โดยสัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อ GDP ของไทย ณ ไตรมาส 3 ปี 2021ทรงตัวอยู่ในระดับสูงที่ 89.3% โดยยังสูงสุดในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา และ EIC คาดว่าหนี้ครัวเรือนของไทยในปี 2022 ยังมีแนวโน้มขยายตัว 3-5% ตามความต้องการสภาพคล่องของภาคครัวเรือนในช่วงที่รายได้ฟื้นตัวช้า ทั้งนี้คาดว่าสัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อ GDP ณ สิ้นปี 2022 จะปรับลดลงเล็กน้อยตามการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของไทย โดยอาจอยู่ในช่วง 88%-90%

ทั้งนี้การดำเนินนโยบายการเงินที่ตึงตัวอย่างรวดเร็วของธนาคารกลางหลัก (โดยเฉพาะ Fed) อาจเป็นความเสี่ยงต่อเศรษฐกิจโลก (Recession risk) ซึ่งจะกระทบต่ออุปสงค์และการส่งออกไทยในระยะต่อไปได้ EIC คาดว่า ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) มีแนวโน้มปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในทุกรอบการประชุมที่เหลือของปีนี้ (รวม 7 ครั้งในปี 2022)

โดยในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินของสหรัฐฯ (FOMC) ในเดือนมีนาคม 2022 Fed ได้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 25 bps เพื่อสกัดเงินเฟ้อที่เร่งตัวสูงสุดในรอบ 40 ปี ในช่วงที่เหลือของปีนี้ EIC คาดว่า Fed มีแนวโน้มปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีก 6 ครั้ง และมีโอกาสสูงที่ Fed จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 50 bps ในการประชุมเดือนพฤษภาคมและมิถุนายนปีนี้ เนื่องจากคาดว่าอัตราเงินเฟ้อในสหรัฐฯ จะยังคงอยู่ในระดับสูงต่อเนื่อง ทั้งนี้ในปี 2023 EIC คาดว่า Fed อาจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยไตรมาสละ 1 ครั้ง ตั้งแต่ไตรมาส 1 ถึงไตรมาส 3 ส่งผลให้ Terminal rate อาจขึ้นไปสูงสุดที่ระดับ 3-3.25% นอกจากนี้ EIC คาดว่า Fed อาจเริ่มลดขนาดงบดุล (Quantitative Tightening: QT) ในการประชุมเดือนพฤษภาคม ด้วยความเร็วและปริมาณที่มากกว่ารอบก่อน เนื่องจากปัจจุบัน Fed ถือครองสินทรัพย์มากกว่าในอดีตมาก โดย EIC คาดว่าอัตราการลดขนาดงบดุลอาจมีปริมาณราว 1 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐต่อเดือน แบ่งเป็นพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ (UST) 6 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐต่อเดือน และ Mortgaged-backed securities (MBS) อีก 4 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐต่อเดือน ตามลำดับ การเร่งขึ้นดอกเบี้ยเพื่อสกัดเงินเฟ้อของ Fed อาจส่งผลให้เศรษฐกิจสหรัฐฯ มีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอย (Recession) จากต้นทุนการกู้ยืมและภาระดอกเบี้ยของทั้งธุรกิจและผู้บริโภคที่จะปรับสูงขึ้น ซึ่งจะกระทบต่อการบริโภค การลงทุน และการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ ผ่านช่องทางต่าง ๆ ได้แก่

ต้นทุนการกู้ยืมของทั้งภาคธุรกิจและผู้บริโภคสูงขึ้น โดยอัตราดอกเบี้ยและ corporate spread ที่สูงขึ้น
จะส่งผลให้การลงทุนและการบริโภคปรับลดลงในระยะต่อไป
ภาระหนี้ที่อยู่ในระดับสูงมีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้น ซึ่งจะกระทบต่อรายได้และการบริโภคของครัวเรือนที่มีหนี้สูง
ฐานะการเงินและความสามารถในการทำกำไรของภาคธุรกิจมีแนวโน้มปรับแย่ลง โดยหนี้ภาคธุรกิจที่สูงขึ้นจากภาระดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้น ประกอบกับกำไรที่มีแนวโน้มปรับลดลง ทำให้ความเสี่ยงในการผิดนัดชำระหนี้สูงขึ้น
ราคาสินทรัพย์ เช่น อสังหาริมทรัพย์ รวมถึงผลตอบแทนจากตลาดหลักทรัพย์มีแนวโน้มลดลง ซึ่งจะทำให้ความมั่งคั่งของครัวเรือนปรับลดลง (wealth effect) ส่งผลต่อการบริโภคและลงทุน
การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยที่เร็วเกินไปได้ส่งผลให้ส่วนต่างระหว่างอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปี และ 2 ปี (2-10 spread) ปรับลดลง จนมีโอกาสที่จะเกิดภาวะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะยาวอยู่ต่ำกว่าอัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะสั้น (Inverted yield curve) ซึ่งมักจะตามมาด้วยภาวะเศรษฐกิจถดถอย (Recession) โดยจากสถิติในอดีต พบว่าภาวะเศรษฐกิจถดถอยมักจะเกิดหลังจากการติดลบของ 2-10 spread ประมาณ 1-2 ปี (รูปที่ 4) ทั้งนี้สำหรับในกรณีฐานคาดว่าภาวะเศรษฐกิจถดถอยในสหรัฐฯ จะยังไม่เกิดขึ้นในปีหน้า แต่ก็ต้องจับตาดูการขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของ Fed อย่างต่อเนื่อง

13198
นวัตกรรมสมุนไพรไทย เพื่อชีวิตที่ดีกว่า
เราจะมี “ชีวิต” ได้อย่างไร? ถ้าปราศจาก “สุขภาพที่ดี”
ผลิตภัณฑ์สารสกัดสมุนไพร ประสิทธิภาพสูงที่สุด
ครอบคลุมหลายอาการ "ราคาเข้าถึงได้"
การันตีสมุนไพรไทยด้วยรางวัลเหรียญทอง 21 รางวัล

13200
ดาวโจนส์ฟิวเจอร์ร่วงกว่า 100 จุด ส่งสัญญาณวอลล์สตรีทพักฐาน หลังพุ่งแรงวานนี้

ดัชนีดาวโจนส์ฟิวเจอร์ร่วงลงกว่า 100 จุดในวันนี้ บ่งชี้ว่าตลาดหุ้นวอลล์สตรีทจะปรับฐานในคืนนี้ หลังจากพุ่งแรงวานนี้

ณ เวลา 20.08 น.ตามเวลาไทย ดัชนีดาวโจนส์ฟิวเจอร์ลบ 117 จุด หรือ 0.33% สู่ระดับ 35,073 จุด

ดัชนีดาวโจนส์พุ่งขึ้นกว่า 300 จุดวานนี้ ขานรับความคืบหน้าในการเจรจาสันติภาพระหว่างรัสเซียและยูเครน นอกจากนี้ ราคาน้ำมันที่ร่วงลงอย่างต่อเนื่องยังช่วยให้นักลงทุนคลายความกังวลเกี่ยวกับเงินเฟ้อ

นายเมฟลุต คาวูโซกลู รัฐมนตรีต่างประเทศตุรกี กล่าวว่า การเจรจาสันติภาพระหว่างรัสเซียและยูเครนที่กรุงอิสตันบูลมีความคืบหน้ามากที่สุดนับตั้งแต่ทั้งสองฝ่ายได้เริ่มการเจรจาเป็นต้นมา พร้อมกับกล่าวว่า รัฐมนตรีต่างประเทศของรัสเซียและยูเครนจะหารือกันในโอกาสต่อไปเกี่ยวกับประเด็นที่มีความซับซ้อนมากขึ้น ก่อนที่ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ผู้นำรัสเซีย และประธานาธิบดีโวโลดิเมียร์ เซเลนสกี ผู้นำยูเครน จะพบปะกันในที่สุด

ด้านกระทรวงกลาโหมรัสเซียระบุว่า รัสเซียจะลดปฏิบัติการทางทหาร "ลงอย่างมาก" รอบกรุงเคียฟ ซึ่งเป็นเมืองหลวงของยูเครน รวมทั้งเมืองเชอร์นิฮิฟ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มความไว้วางใจระหว่างรัสเซียและยูเครน และเพื่อเอื้ออำนวยต่อการเจรจาสันติภาพในครั้งต่อไปของทั้งสองฝ่าย

อย่างไรก็ดี หลายประเทศ ซึ่งรวมถึงสหรัฐและอังกฤษ แสดงความไม่มั่นใจต่อคำกล่าวอ้างดังกล่าวของรัสเซีย

นักลงทุนจับตาตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรในวันศุกร์ ขณะที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่า ตัวเลขจ้างงานเพิ่มขึ้น 460,000 ตำแหน่งในเดือนมี.ค. และอัตราการว่างงานปรับตัวลงสู่ระดับ 3.7%

ก่อนหน้านี้ กระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยว่า ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรพุ่งขึ้น 678,000 ตำแหน่งในเดือนก.พ. สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 440,000 ตำแหน่ง ส่วนอัตราการว่างงานปรับตัวลงสู่ระดับ 3.8% ต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 3.9%

13202
ช่างปานกุญแจ ยินดีให้บริการ สนใจติดต่อสอบถามได้ครับ 0851088797

13207
ช่างกุญแจ ยินดีให้บริการ ตลอด 24 ชม ครับ  สนใจติดต่อ โทร 0851088797

13208
ช่างกุญแจ ยินดีให้บริการ ตลอด 24 ชม ครับ  สนใจติดต่อ โทร 0851088797

13209
STA ปิดขายหุ้นกู้ 7 พันลบ.สถาบัน-รายใหญ่จองล้น,เดินหน้าเพิ่มกำลังผลิต

นายวีรสิทธิ์ สินเจริญกุล กรรมการผู้จัดการใหญ่และกรรมการบริหาร บมจ.ศรีตรังแอโกรอินดัสทรี (STA) เปิดเผยว่า บริษัทได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากการเสนอขายหุ้นกู้ชุดใหม่วงเงิน 7,000 ล้านบาทแก่นักลงทุนสถาบันและนักลงทุนรายใหญ่เมื่อวันที่ 28-30 มีนาคม 2565 โดยมีผู้แสดงความต้องการจองซื้ออย่างคึกคักมากกว่า 3 เท่าของจำนวนหุ้นกู้ที่จัดสรรไว้

หุ้นกู้ที่เสนอดังกล่าวเป็นหุ้นกู้ประเภทไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีประกันและมีผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ จำนวน 5 ชุด ประกอบด้วย

ชุดที่ 1 อายุ 3 ปี อัตราดอกเบี้ยคงที่ 2.08% ต่อปี

ชุดที่ 2 อายุ 5 ปี อัตราดอกเบี้ยคงที่ 2.85% ต่อปี

ชุดที่ 3 อายุ 7 ปี อัตราดอกเบี้ยคงที่ 3.56% ต่อปี

ชุดที่ 4 อายุ 10 ปี อัตราดอกเบี้ยคงที่ 3.94% ต่อปี

ชุดที่ 5 อายุ 12 ปี อัตราดอกเบี้ยคงที่ 4.17% ต่อปี

โดยมีธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ธนาคารกสิกรไทย และธนาคารไทยพาณิชย์ เป็นผู้จัดการการจัดจำหน่ายหุ้นกู้

หุ้นกู้ดังกล่าวได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ "A-" แนวโน้ม "Positive" จากบริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด ตอกย้ำถึงศักยภาพการดำเนินธุรกิจในฐานะผู้นำอุตสาหกรรมยางธรรมชาติครบวงจรรายใหญ่ที่สุดของโลก ผลการดำเนินงานที่แข็งแกร่งและแนวโน้มอุตสาหกรรมยางที่อยู่ในช่วงฟื้นตัว บริษัทจะนำเงินที่ได้จากการเสนอขายหุ้นกู้ชุดใหม่เพื่อลงทุนขยายกำลังการผลิตยางแท่งภายในโรงงาน 4 แห่ง ได้แก่ โรงงานจังหวัดสระแก้ว กาฬสินธุ์ ตรังและเลย ซึ่งจะนำเทคโนโลยีระบบออโตเมชั่นเข้ามาปรับใช้ในทุกกระบวนการผลิต รวมถึงใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในกิจการ เพื่อรองรับภาพรวมอุตสาหกรรมยางที่อยู่ในช่วงเริ่มฟื้นตัวส่งผลให้มีความต้องการใช้สินค้าเพิ่มขึ้น

โดยบริษัทมีความมุ่งมั่นทำผลการดำเนินงานที่ดีอย่างต่อเนื่อง ในปีนี้ได้วางเป้าหมายเพิ่มปริมาณการขายยางธรรมชาติทุกประเภทรวม 1.6 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 23% จากปีก่อนมีปริมาณการขาย 1.3 ล้านตัน และจะเพิ่มส่วนแบ่งอุตสาหกรรมยางธรรมชาติในตลาดโลกเป็น 12% จากสิ้นปีที่ผ่านมาอยู่ที่ 10% "บริษัทจะนำเงินดังกล่าวไปใช้ขยายกำลังยางแท่งตามแผน และเป็นเงินทุนหมุนเวียนในธุรกิจ เพื่อรองรับเป้าหมายปริมาณการขายที่เพิ่มขึ้นและสร้างการเติบโตอย่างต่อเนื่องต่อไป" นายวีรสิทธิ์ กล่าว

13211
ภาวะตลาดหุ้นฮ่องกงฮั่งเส็งเปิดบวก 30.13 จุด ขานรับข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐ
 
ดัชนีฮั่งเส็งตลาดหุ้นฮ่องกงเปิดบวกในวันนี้ต่อเนื่องเป็นวันที่ 3 เนื่องจากนักลงทุนขานรับรายงานที่ว่าตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของสหรัฐไตรมาส 4/2564 ขยายตัวเท่ากับตัวเลขคาดการณ์

ดัชนีฮั่งเส็งเปิดที่ 22,262.16 จุด เพิ่มขึ้น 30.13 จุด หรือ +0.14%

กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยว่า ตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ไตรมาส 4/2564 ขยายตัว 6.9% ซึ่งเท่ากับตัวเลขประมาณการครั้งที่ 1 แต่ต่ำกว่าตัวเลขประมาณการครั้งที่ 2 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 7.0% และต่ำกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ที่ระดับ 7.1%

ธันว์ วุฒิธรรม ขายหุ้น SLM ออก 10.1595% คงเหลือถือ 1.9999%

สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ได้รับแบบรายงานการจำหน่าย หุ้นของ บมจ.เอส แอล เอ็ม คอร์ปอเรชั่น (SLM) โดย นายธันว์ วุฒิธรรม ซึ่งเป็นการจำหน่าย เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2565 จำนวนหลักทรัพย์ที่จำหน่าย คิดเป็น 10.1595% ของสิทธิออกเสียงทั้งหมดของกิจการ จำนวนหลักทรัพย์ภายหลังการจำหน่าย คิดเป็น 1.9999% ของสิทธิออกเสียงทั้งหมดของกิจการ

13212
ภาวะตลาดหุ้นจีน: เซี่ยงไฮ้คอมโพสิตเปิดลบ 10.46 จุด วิตกจีนจ่อคุมอินเทอร์เน็ต

ดัชนีเซี่ยงไฮ้คอมโพสิตตลาดหุ้นจีนเปิดปรับตัวลงเล็กน้อยเช้านี้ โดยได้รับแรงกดดันจากข่าวที่ว่า รัฐบาลจีนกำลังวางแผนที่จะควบคุมอุตสาหกรรมอินเทอร์เน็ต

ดัชนีเซี่ยงไฮ้คอมโพสิตเปิดที่ 3,256.14 จุด ลดลง 10.46 จุด หรือ -0.32%

ตลาดหุ้นจีนได้รับแรงกดดันหลังจากหนังสือพิมพ์วอลล์สตรีท เจอร์นัลรายงานโดยอ้างแหล่งข่าวว่า รัฐบาลจีนกำลังวางแผนที่จะควบคุมอุตสาหกรรมไลฟ์-สตรีมมิ่งซึ่งมีมูลค่าสูงถึง 3 หมื่นล้านดอลลาร์

รายงานยังระบุด้วยว่า ขณะนี้รัฐบาลกำลังร่างกฎระเบียบใหม่เพื่อควบคุมการใช้จ่ายเงินรายวันของบรรดาผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ต โดยมุ่งเน้นการควบคุมเงินที่ใช้ไปกับกิจกรรมในระบบดิจิทัล

ขจรศิษฐ์ สิ่งสรรเสริญ โยกหุ้น 13.1456% ให้ สุนันทา สิ่งสรรเสริญ เข้าถือ


สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ได้รับแบบรายงานการจำหน่ายหุ้นของ บมจ.ไซมิส แอสเสท (SA) โดยนายขจรศิษฐ์ สิ่งสรรเสริญ ซึ่งเป็นการจำหน่าย เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2565 จำนวนหลักทรัพย์ที่จำหน่าย คิดเป็น 13.1456% ของสิทธิออกเสียงทั้งหมดของกิจการ จำนวนหลักทรัพย์ภายหลังการจำหน่าย คิดเป็น 30.7194% ของสิทธิออกเสียงทั้งหมดของกิจการ

ขณะที่มีรายงานการได้มาหุ้นของ SA โดยนางสุนันทา สิ่งสรรเสริญ ซึ่งเป็นการได้มา เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2565 จำนวนหลักทรัพย์ที่ได้มา คิดเป็น 13.1456% ของสิทธิออกเสียงทั้งหมดของกิจการ จำนวนหลักทรัพย์ภายหลังการได้มา คิดเป็น 13.1456% ของสิทธิออกเสียงทั้งหมดของกิจการ

 

หน้า: 1 ... 732 733 [734] 735 736 ... 969