แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Messages - mickiezbong001

หน้า: [1]
1

15 เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับปากและฟัน
 
 1. รู้จักฟันกันหน่อย

          ฟันเป็นอวัยวะพิเศษที่เจริญมาจากเนื้อเยื่อชั้นนอก (Ectoderm) เช่นเดียวกับผิวหนังหรือเกร็ดของปลา ฟันมี 2 ชุดคือฟันแท้และฟันน้ำนมซึ่งมีโครงสร้างคล้ายๆ กันดังนี้

            มีชั้นเคลือบฟัน (Enamel)เป็นส่วนที่อยู่นอกสุดและมีความแข็งที่สุดของฟัน ทำหน้าที่รับน้ำหนักในการบดเคี้ยว มีโครงสร้างเป็นผลึก ไม่มีเส้นเลือดและเส้นประสาท จึงเป็นส่วนที่ไม่ได้รับความรู้สึก เวลาที่ฟันเริ่มผุจึงไม่มีอาการเจ็บปวดใดๆ

            ชั้นเนื้อฟัน (Dentine) เป็นส่วนที่อยู่ถัดจากเข้ามา ประกอบด้วยท่อเล็กๆจำนวนมาก ซึ่งเป็นที่รวมของเส้นประสาทรับความรู้สึก ดังนั้นเวลาฟันผุถึงชั้นนี้ ผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการเสียวฟัน

            โพรงประสาทฟัน (Pulp) คือโพรงช่องว่างภายในฟัน เป็นที่อยู่ของเส้นประสาท และเส้นเลือดที่มาหล่อเลี้ยงตัวฟัน ทำหน้าที่ในการรับความรู้สึกร้อน เย็น ปวด เจ็บ กรณีที่ฟันผุมาถึงชั้นนี้ จะไม่สามารถอุดฟันได้

            ชั้นร่องเหงือก (Gingival crevice) คือร่องระหว่างตัวฟันกับขอบเหงือก ปกติจะมีขอบบาง มีความลึกประมาณ 2 มิลลิเมตร แต่ถ้ามีโรคเหงือกอักเสบ หรือเป็นรำมะนาด อาจมีอาการบวม ทำให้ร่องนี้ลึกขึ้น และเกิดการอักเสบมากขึ้นได้ 

2. ฟันแต่ละซี่มีประโยชน์อย่างไร

            ฟันหน้าตัด (Incisor Teeth) อยู่บริเวณหน้าสุด มีทั้งหมด 8 ซี่ ทำหน้าที่กัดอาหาร

            ฟันเขี้ยว (CanineTeeth) เป็นฟันที่มีรากยาวที่สุด มีทั้งหมด 4 ซี่ และมีความแข็งแรงมาก ปลายแหลม ทำหน้าที่ตัด ฉีก และแยกอาหารออกจากกัน

            ฟันกรามน้อย (Premolar or Bicuspid Teeth) จะพบเฉพาะในฟันแท้เท่านั้น รูปร่างคล้ายฟันกรามแต่มีขนาดเล็กกว่า มีทั้งหมด 8 ซี่ ทำหน้าที่ในการบดเคี้ยวอาหารร่วมกับฟันกราม

            ฟันกราม (Molar Teeth) เป็นฟันที่ใหญ่ที่สุดในปาก มีความสำคัญมากเพราะนอกจากจะช่วยในการบดเคี้ยวอาหารแล้ว ยังทำงานร่วมกับฟันเขี้ยวในการคุมทิศทางการเคลื่อนไหวของขากรรไกรอีกด้วย

3. ฟันสำคัญมากกว่าบดเคี้ยว

            ช่วยในการพูดให้ออกเสียงชัดเจนขึ้น

            ช่วยรักษาโครงสร้างใบหน้า ให้มีความกว้าง ความยาว และความอิ่มของริมฝีปากให้สมดุลกัน

            เป็นส่วนประกอบของบุคลิกภาพ เพราะฟันเป็นส่วนหนึ่งที่มองเห็นได้ง่าย โดยเฉพาะเวลาที่พูดคุยกัน


4. เลือดออกตามไรฟัน สัญญาณ]  เหงือกอักเสบ

          เวลามีเลือดออกตามไรฟัน เรามักจะคิดกันว่าร่างกายขาดวิตามินซี จริงๆ แล้วสำหรับคนที่รับประทานผัก และผลไม้เป็นประจำตลอดทั้งปี โอกาสขาดวิตามินซีถึงขนาดเลือดออกตามไรฟันมีน้อยมาก และสำหรับผู้ที่กินผักและผลไม้เป็นประจำ แต่มีอาการเลือดออกตามไรฟันบ่อยๆโดยไม่ทราบสาเหตุนั้น ทันตแพทย์อนุศักดิ์ คงมาลัย กล่าวไว้ว่า เป็นอาการของคนที่ป่วยเป็นเหงือกอักเสบค่ะ ยิ่งหากใครที่แปรงฟัน (อย่างถูกต้อง) แล้วมีเลือดติดที่ขนแปรงเป็นประจำ ร่วมกับเวลาบ้วนปากด้วยน้ำปกติแล้วมีเลือดปนออกมาด้วย และมี กลิ่นปาก ด้วย ให้รู้ในทันทีว่าอาการเหงือกอักเสบมาเยือนคุณแล้ว 
5. ฟลูออไรด์มากไปใช่ว่าดี

          แม้ฟลูออไรด์จะช่วยป้องกันฟันผุ แต่หากได้รับมากเกินไปก็เกิดผลเสียต่อร่างกายได้เช่นกันคือ ทำให้ฟันตกกระ ในขณะที่หน่อฟันกำลังเจริญเติบโต (แรกเกิดถึง 12 ปี )หากร่างกายได้รับฟลูออไรด์ในน้ำดื่มสูงกว่าสองส่วนในล้านส่วนขึ้นไป จะทำให้ฟันเปลี่ยนสีได้ตั้งแต่สีขาวขุ่น น้ำตาล ไปจนถึงน้ำตาลเข้ม (ด้วยเหตุนี้เด็กที่อายุต่ำกว่า 7 ปีจึงไม่ควรกินหรือกลืนยาสีฟัน) ทำให้เกิดภาวะผิดปกติเฉียบพลันในร่างกาย ในกรณีที่ร่างกายได้รับฟลูออไรด์ขนาด250 มิลลิกรัมขึ้นไปโดยทันที ฟลูออไรด์จะเข้าไปสร้างความระคายเคืองต่อเยื่อยุกระเพาะอาหาร ทำให้คลื่นไส้และอาเจียน ท้องเดินชักเกร็ง และอาจหมดสติถึงตายได้ (มักเกิดกับเด็กที่รู้เท่าไม่ถึงการณ์) ลองมองหายาสีฟันสมุนไพรมาใช้ในการแปรงฟัน


ขอบคุณที่มาจาก www.kapook.com  และ  http://www2.hiherbdayandnightcare.com/

2
ยาสีฟันสมุนไพรธรรมชาติ สุขภาพช่องปากที่เราเลือกเองได้
          รอยยิ้มพิมพ์ใจมักจะมาควบคู่กับฟันขาวสะอาดเสมอ ความสะอาดในช่องปาก เหงือกและฟันจึงมีความจำเป็นยิ่ง นอกจากนี้ เหงือกและฟันยังเป็นอวัยวะช่วยในการย่อยอาหารที่สำคัญ  เมื่อเกิดปัญหา กลิ่นปาก   เหงือกอักเสบ
 ในช่องปากย่อมกระทบกับการทำงานในระบบที่เกี่ยวเนื่องกันได้
          เมื่อย้อนกลับไปศึกษาประวัติศาสตร์ของการใช้แปรงสีฟันและยาสีฟันพบว่ามีมานานกว่า 2,500 ปีแล้ว เกิดขึ้นครั้งแรกในประเทศจีน โดยใช้ขนหมูมัดติดกับไม้ไผ่ใช้แปรงฟัน ส่วนในอินเดียจะใช้กิ่งข่อยแปรง เช่นเดียวกับประเทศไทยใช้กิ่งข่อยและกิ่งสีฟันคนทาแปรงฟัน

          ยาสีฟันเก่าแก่และโบราณที่สุดในโลก ได้แก่ เกลือ คนโบราณจึงใช้เกลืออมบ้วนปากและแปรงฟัน ต่อมาพัฒนาผลิตภัณฑ์ในการทำความสะอาดช่องปากเจริญรุดหน้า เราจึงได้เห็นแปรงสีฟันในรูปแบบต่าง ๆ เช่นที่พบในปัจจุบัน ส่วนยาสีฟันก็ไม่แตกต่าง มีการค้นพบสารซักฟอกที่ใช้ในการทำความสะอาด ยาสีฟันในปัจจุบันจึงมีทั้งฟอง รสชาติต่าง ๆ กลิ่นที่แตกต่างกันไป
   
          ยาสีฟันในปัจจุบันมีบทบาทสำคัญต่อการทำความสะอาดฟัน เพราะสารขัดถูและสารทำความสะอาด ซึ่งเป็นส่วนประกอบหลักที่จะช่วยขจัดคราบฟันได้ดี และทำให้ฟันขาวสะอาด และยังมีสารตัวอื่น ๆ เพิ่มลงไปเพื่อช่วยเสริมในการดูแลปากและฟัน เช่น ฟลูออไรด์ ช่วยเพิ่มความแข็งแรงของผิวฟัน สารฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ช่วยลดจำนวนเชื้อแบคทีเรียในช่องปาก เป็นต้น
   
          ทำไมเราต้องใส่ใจว่ายาสีฟันนั้นเป็นแบบธรรมชาติหรือไม่ เพราะส่วนผสมของยาสีฟันทั่วไปนั้นจะมีสารซักฟอกเป็นส่วนประกอบ ซึ่งในระยะยาวแล้วสารเหล่านี้ย่อมส่งผลกระทบต่อสุขภาพ แตกต่างจากการใช้ยาสีฟันธรรมชาติที่จะไม่มีสารซักฟอกทิ้งสารตกค้างไว้ในร่างกาย และยังสามารถเพิ่มสรรพคุณโดยการเลือกใช้สมุนไพรที่หาได้ง่ายมาเป็นส่วนประกอบของยาสีฟันสมุนไพร
ซึ่งเราสามารถเลือกเองได้
ส่วนประกอบหลักของยาสีฟันทั่วไปและธรรมชาติโดยทั่วไป จะประกอบด้วย

           สารขัดถู ทำหน้าที่ขัดถูผิวฟัน ขจัดเศษอาหาร คราบที่ติดอยู่บนผิวฟัน ในยาสีฟันทั่วไปใช้แคลเซียมคาร์บอเนตเป็นตัวการขัดถู ส่วนยาสีฟันธรรมชาติ ก็จะใช้แคลเซียมคาร์บอเนต และเกลือแกง ผงฟูหรือโซเดียมคาร์บอเนต
           สารทำความสะอาด ทำหน้าที่เพิ่มประสิทธิภาพในการทำความสะอาดฟัน สารที่ใช้เป็นสารลดแรงตึงผิว เช่น สบู่ หรือสารซักฟอก ใช้แปรงฟันแล้วเกิดฟอง สารนี้จะไม่เป็นพิษ ไม่ระคายเคืองต่อเยื่อบุในช่องปาก ยาสีฟันทั่วไปใช้สารซักฟอก ตัวที่นิยมคือสาร SLS (Sodium Lauryl Sulfate ) ใช้ได้ไม่เกิน 2% แต่สำหรับในยาสีฟันธรรมชาตินี้จะใช้ผงสบู่ ไม่เกิน 1-2% หรือเกลือแกง ก็สามารถช่วยทำความสะอาดได้เช่นกัน
           สารฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ทำหน้าที่ช่วยลดแบคทีเรียในช่องปาก ในยาสีฟันทั่วไป มักจะใช้สารไตรโคลซาน(Triclosan) ที่เป็นชนิดเดียวกับที่ใช้ในสบู่ยา ส่วนในยาสีฟันธรรมชาติจะใช้ผงฟู (โซเดียมไบคาร์บอเนต) สมุนไพรต่าง ๆ ที่บดเป็นผงและน้ำมันหอมระเหย เช่น อบเชย กานพลู เป็นต้น
           สารเพิ่มความชุ่มชื้น ใช้เฉพาะในยาสีฟันที่เป็นครีม ในยาสีฟัน สารเพิ่มความหวาน เพื่อให้รสหวานในยาสีฟัน ไม่ได้เป็นสารจำเป็นแต่อย่างใด ในกรณีที่จะใช้ก็จะใช้กลีเซอรีน หรือซอร์บีทอล 
          ฟลูออไรด์ (Fluoride) เป็นสารที่ช่วยทำให้เคลือบฟันแข็งแรง ป้องกันฟันผุ ฟลูออไรด์ที่ใช้คือ โซเดียมฟลูออไรด์ หรือโซเดียมโมโนฟลูไรฟอสเฟต ต้องใช้ในปริมาณเจือจางมาก ๆ มีข้อควรระวังในการใช้สำหรับเด็กต่ำกว่า 6 ปี ใช้แล้วต้องบ้วนน้ำมาก ๆ ไม่ควรกลืน สำหรับยาสีฟันธรรมชาติจะไม่ใส่

ที่มา : http://www2.hiherbdayandnightcare.com

3
เหงือกอักเสบ บวมแดง กลิ่นปาก รักษาหายขาดด้วยยาสีฟันสมุนไพร
เหงือกอักเสบ บวมแดง เป็นอีกหนึ่งปัญหาสุขภาพ ปากและฟันที่พบได้บ่อย ที่สำคัญคือเป็นอาการที่บ่งบอกได้ว่าสุขภาพช่องปากและฟันกำลังมีปัญหา นอกจากจะสร้างความเจ็บปวดทรมานแล้วยังส่งผลให้มี กลิ่นปาก อีกด้วย
เหงือกอักเสบเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุด้วยกัน แต่สาเหตุที่พบส่วนใหญ่นั้นมักมาจากการดูแลรักษาความสะอาดของช่องปากได้ไม่ทั่วถึง ก่อให้เกิดอาการปวดบวมบริเวณเหงือก มีกลิ่นปาก หรือในบางกรณีอาจมีเลือดออกตามไรฟัน รวมทั้งมีหนองร่วมด้วยก็เป็นได้ ซึ่งส่งผลให้เกิดโรคเหงือกอักเสบตามมาได้
วิธีแก้เหงือกอักเสบด้วยสมุนไพรใกล้ตัว
   วิธีการรักษาอาการเหงือกบวม นั้นสามารถทำได้หลากหลายวิธีด้วยกัน โดยในวันนี้เรามีวิธีลดอาการบวม รวมทั้งอาการปวดจากเหงือกบวมด้วยวิธีง่ายๆ จากสมุนไพรใกล้ตัวมาฝากกัน ดังนี้
1. เปลือกมังคุด โดยการนำเปลือกมังคุดมาต้ม แล้วนำน้ำมาบ้วนปาก จะช่วยบรรเทาอาการเหงือกบวม รวมทั้งแก้เหงือกอักเสบ และแผลในปากได้ โดยมังคุดมีสรรพคุณในการฆ่าเชื้อแบคทีเรีย
2. สับปะรด น้ำเนื้อสับปะรดมาปั่นกับน้ำเปล่า จากนั้นกรองเอาแต่น้ำ แล้วนำน้ำมาบ้วนปาก หรือกลั้วปาก วันละ 1 – 2 ครั้ง จะช่วยให้อาการเหงือกบวมดีขึ้นได้
3. ใบฝรั่ง นำใบฝรั่งมาต้มผสมกับกับเกลือเล็กน้อย จากนั้นกรองเฉพาะน้ำ แล้วนำน้ำมากลั้วปาก จะช่วยรักษาโรคเหงือก ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย อีกทั้งยังช่วยให้ลมหายใจหอมสดชื่นอีกด้วย
4. น้ำมันกานพลู โดยการนำสำลีชุบน้ำมันกานพลูแล้วทาบริเวณที่เหงือกบวม จะช่วยลดอาการปวดลงได้เป็นอย่างดี
5. มะนาว เพียงนำสำลีชุบน้ำมะนาว จากนั้นมาเช็ดที่บริเวณเหงือก วันละ 2 ครั้ง จะช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรีย รวมทั้งช่วยลดอาการบวมได้อีกด้วย
6. ยาสีฟันสมุนไพร Hi-Herb ยาสีฟันที่มีส่วนผสมของสมุนไพรนานาชนิด ที่บรรเทาอาการของโรคเหงือกอักเสบ เหงือกบวม ลมหายใจหอมสดชื่นตลอดวัน



หน้า: [1]