แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Messages - ซ่องเจ๊หวี

หน้า: 1 2 [3] 4 5 ... 173
37
อยู่เชียงใหม่ แต่อยากได้มากครับ สามารถส่งขนส่งเอกชนได้ไหมครับ

38
Uk6100 เป็นรุ่นที่มาแทน uj630t ถือว่าเป็นรุ่นที่ต่ำกว่า uj652t อยู่ครับ
ภาพและ smart tv ทำได้ไม่ต่างกัน แต่วัสดุของ uj652t ดีกว่าเพราะเป็นขอบจอmetal silver
ส่วน uj630t uk6300 จะเป็นพลาสติกธรรมดา

จะซื้อตัวใหม่ทั้งทีไม่ลองยี่ห้ออื่นๆบ้างเหรอครับ จะได้ประสบการณ์และความแตกต่างให้เปรียบเทียบ
เพราะการซื้อ uk6300 ก็ไม่ต่างอะไรกับทีวีตัวเดิมที่ใช้อยู่
ลองดู samsung 65mu6100 เป็นตัวเลือกอีกทาง ราคาพอๆกัน แนวภาพจะเป็นอีกแนว
สีสันถูกต้องอัพสเกลและโมชั่นดีกว่า uj652t ครับ

39
คำถามที่พบบ่อย #11

Panel led แต่ละรุ่นใช้แบบไหนบ้าง

SONY

2011
EX410 EX750 = VA
NX720 = VA + opticontrast
HX925 = VA + opticontrast

2012
EX430 EX650 HX750 = VA
HX855 = VA + opticontrast
HX955 = VA + opticontrast

2013
W804A = IPS
W904A = VA
W954A = VA + opticontrast
X9004A = VA + opticontrast

2014
W800B = 42"IPS, 50" 55" VA
X8500B = IPS
S9000B = VA
X9000B = VA + opticontrast
X9500B = VA + opticontrast

2015
W700C = VA
W800C = VA
X8300C = IPS
X8500C = VA
S8500C = VA
X9000C = IPS + opticontrast
X9300C = VA + opticontrast
X9400C = VA + opticontrast

2016
W650D = VA
W750D = VA
X7000D = VA
X8000D = 43"VA, 49" IPS
X8500D = IPS
X9300D = VA + opticontrast
Z9D = VA

2017
X7000E = 43" 49" IPS, 55" VA
X8000E = IPS
X8500E = 55" 65" 75" VA
X9000E = VA
X9300E = VA + opticontrast

2018
X7000F = 49"IPS , 55"?
X7500F = ?
X8500F = 49"VA,55" 65" IPS
X9000F = VA

LG

2015
series6 = IPS WRGB
UF770T = 40"VA, 43" 49" 55" IPS
UF830T = VA
UF850T = IPS + gorilla glass
UF860t = IPS + gorilla glass
UF950T = IPS + gorilla glass

2016
series 6 = IPS WRGB
UH770T = IPS
UH850T = IPS + gorilla glass
UH955T = IPS + gorilla glass

2017
series6 6 = IPS WRGB
SJ800T = IPS WRGB
SJ850T = IPS + gorilla glass

2018
series 6 = IPS WRGB
SK8000 = IPS
SK8500 = IPS + gorilla glass
SK9500 = IPS + gorilla glass

SAMSUNG

2012
series ES6 = VA
ES7500 = VA + ultra clear
ES8000 = VA + ultra clear

2013
series F6 = VA
F7100 = VA + ultra clear
F7500 = VA + ultra clear
F8000 = VA + ultra clear
F9000 = VA + ultra clear

2014
series H6 = VA
H7000 = VA + ultra clear
H8000 = VA + ultra clear
HU7000 = VA
็๊HU8500 = VA + ultra clear
HU9000 = VA + ultra clear

2015
series J6 = VA
series JU6 = VA
JU7000 = VA + ultra clear
JU7500 = VA + ultra clear
JS8000 = VA + ultra clear
JS9000 = VA + ultra clear

2016
series K6 = VA
series KU6 = VA
KS7500 = VA + ultra black
KS9000 = VA + ultra black

2017
series M6 = VA
MU6100 = 43" 50" 55" 65" VA, 75" VA+glossy
MU6300 = VA
MU6400 = VA
MU6500 = VA
MU7000 = VA + กระจก
MU8000 = VA + กระจก
MU9000 = VA + ultra black
Q7F = VA + ultra black
Q8C = VA + ultra black
Q9F = VA + ultra black

2018
NU7103 = VA
NU7100 = VA
NU7300 = VA
NU7400 = VA
NU8000 = VA
NU8500 = VA
Q6F = VA
Q7F = VA ultra black
Q8C = VA ultra black
Q9F = VA ultra black


PANASONIC

2012
E5T = IPS alpha
ET50 = IPS alpha
WT50 = IPS alpha

2013
E6T = VA
ET60 = IPS
WT60 = IPS

2014
A410T = IPS
AS800T = IPS
AX800T = MVA + glossy

2015
CX600T = 40" 50" MVA + glossy , 55" VA
CX700T = IPS

2016
DX650T = IPS
DX750T = MVA + glossy
DX900T = MVA + glossy

2017
EX600T = 43" 49" 55" IPS, 65" MVA glossy
EX750T = MVA + glossy

2018
FX600 = 43" 49" 55" IPS, 65" MVA glossy
FX700 = IPS
FX800 = IPS + gorilla glass
FX750 = MVA glossy

40
คำถามที่พบบ่อย #10

Oled vs qled แบบไหนดีกว่า


คำตอบ qled นั้นไม่ได้เป็นจอภาพชนิดใหม่แต่อย่างใด มันก็คือ จอ led ที่พัฒนาในส่วนของ quantum dot ให้แสดงสีได้ดียิ่งขึ้น
ข้อดีของ qled ที่เหนือกว่า oled มีดังนี้
1 ความสว่างหน้าจอสูงกว่า oled โดย qled รุ่นเริ่มต้นอย่าง Q7F ทำความสว่างได้ถึง 1100nits ,Q9FN ตัวทอป 2018 ทำได้ถึง 1600 nits
จึงสู้แสงได้ดีกว่า เหมาะกับการเปิดในที่สว่างได้เป็นอย่างดี ส่วน oled จะทำความสว่างได้ประมาณ 600-900 nits แล้วแต่รุ่น
(ล่าสุด oled LG 2018 ทำความสว่างสูงสุดได้ 900nits แล้ว)
2 color volume สูงกว่า คือ จอledทั่วๆไปในตลาดหากยิ่งเร่งความสว่างมากขึ้นเท่าไหร่สีสันจะยิ่งเพี้ยนตามความสว่างที่มากขึ้นเท่านั้น
แต่สำหรับ qled นั้นมีค่า color volume ที่สูงมากในระดับ 100%(แต่วัดจริงได้ประมาณ 90%)
ฉะนั้น เมื่อเร่งความสว่างสูงๆ qled ก็ยังคงให้สีสันที่ถูกต้องไม่ผิดเพี้ยนจากเดิม(หรือเพี้ยนน้อยมาก)
ส่วน oled color volume ได้ประมาณ 80%
3 qled หน้าจอไม่มีอาการ burn in ไม่ว่าคุณจะเล่นเกมที่มีค่าพารามิเตอร์ค้างอยู่บนหน้าจอนานแค่ไหน
หรือรับชมช่องรายการที่มีโลโก้รายการค้างต่อเนื่อง ก็หายห่วง เพราะ qled ปราศจากอาการ burn in 100%
ส่วน oled ถ้าเปิดภาพนิ่งแช่ค้างไว้นานๆจะมีอาการ image retention เป็นเงาของภาพติดค้างหน้าจอชั่วคราว
ถ้าเปิดต่อเนื่องนานๆเป็นสิบชั่วโมงหรือนานกว่านั้น อาการจะทวีความรุนแรงมากขึ้นเป็นอาการ burn in หรือ อาการภาพติดค้างหน้าจอถาวร
ลองสังเกตุ oled ตัวโชว์ตามห้างบางตัวจะมีโลโก้บางอย่างค้างอยู่บนจอด้วย นั่นแหละอาการ burn in
แต่ในการใช้งานจริงนั้นเกิดขึ้นได้ยากมาก ต้องเล่นเกมต่อเนื่องนานๆจริงๆ หรือเปิดภาพนิ่งแช่ไว้นานๆจริงๆเท่านั้น

ส่วนข้อดีของ oled ที่เหนือกว่า qled มีดังนี้
1 contrast สูงกว่า  เพราะทุก pixel ของ oled สามารถกำเนิดแสงได้ด้วยตัวเองโดยไม่ต้องพึ่ง backlight แบบ qled
2 black level ดีกว่า เพราะทุก pixel เปิดปิดอย่างอิสระทำให้สามารถแสดงสีดำที่ดำสนิทได้ 100%
จากข้อ1 และ 2 จึงส่งผลให้ภาพoledดูทั้งลึกและลอย ต่างจาก qled ที่ลอยอย่างเดียวแต่ไม่ลึก
ภาพจาก oled จึงมีมิติที่ดีกว่า qled โดยเฉพาะการใช้งานในห้องมืดสนิท มิติของ oled จะยิ่งโดดเด่นทิ้งห่างจาก qled มาก
3 ไม่มีปัญหาแสงรั่ว เป็นผลมากจากข้อ 2 ที่ทำสีดำได้สนิท 100% แม้แต่ qled รุ่นที่ดีที่สุดอย่าง Q9FN ที่เป็น full array led
ก็ยังมีแสงรั่วถ้าเปิด local dimming qled จะทำสีดำได้สนิทขึ้นแต่ก็ทำให้รายละเอียดในที่มืดหายไป(ดำจม)และยังไงก็ดำได้ไม่ 100% อยู่ดี
qled Q9FN สามารถทำ local dimming ได้กว่า 500 zone แต่หากเทียบกับ oled ที่สามารถเปิดปิดทุก pixel ได้หมด
นั่นเท่ากับว่า oled สามารถทำ local dimming ได้มากกว่า 8ล้าน zone ตามปริมาณpixelจอ จึงเป็นข้อได้เปรียบที่ oled เหนือกว่ามากมาย
4 สีสันมีความอิ่มตัวสูงมาก เป็นผลมาจากที่ทุก pixel สามารถกำเนิดสีได้ด้วยตัวเองโดยไม่ต้องพึ่ง backlight แบบ qled
qled จะดูออกแนวโดดเด้ง สีสันจะดูฉ่ำลอยๆ เพราะยังต้องพึ่งbacklight ในการกำเนิดภาพอยู่
สีสันของ qled รวมถึง ledทุกตัวจึงมีความกระด้าง ส่วน oled สีสันจะดูอิ่ม ฉ่ำลึก เป็นธรรมชาติ
5 มุมมองด้านข้างกว้างกว่า qled แม้มุมมองด้านข้างจะดีกว่า led ชนิดจอ VA ทั่วไป แต่ก็ยังมีมุมมองที่แคบกว่าled ที่เป็นจอ IPS
ส่วนจอ oled จะมีมุมมองด้านข้างที่กว้างที่สุดแทบจะ 180องศาเลย

*ในงาน hdtvtest shootout 2017 ที่ทดสอบและโหวตคะแนนเรื่องภาพของทีวี
oled เป็นผู้ชนะในทุกๆหัวข้อ มีหัวข้อเดียวที่ qled ชนะนั่นคือ Bright-room performance (การใช้งานในห้องสว่าง)

ข้อดีข้อด้อยของทีวีทั้งสองชนิดคร่าวๆก็ประมาณนี้จะเห็นว่าทีวีทั้งสองประเภทมีข้อดีที่ต่างกันออกไป
- ถ้าต้องการใช้งานที่เน้นคุณภาพของภาพอย่างจริงจัง ต้องการภาพที่ดีกว่า
เน้นใช้งานครอบคลุม เล่นเกม ดูหนัง ดูสารคดี ฯ ใช้งานในห้องมืดสนิทไปจนถึงห้องที่มีแสงไฟสว่างปกติ oled เหมาะจะเหมาะสมกับการใช้งานกว่า
- แต่ถ้าเน้นเล่นเกมต่อเนื่องนานเป็นสิบชั่วโมง ใช้งานต่อเป็นจอ monitor โดยเน้นใช้งานในห้องสว่างปกติไปจนถึงใช้งานในที่ที่มีแสงสว่างมาก
แบบนี้ qled เข้าทางกว่า

*ผู้บริโภคส่วนมากมักจะเลือก oled เนื่องจากoledตัวล่างสุดของLGราคาเอื้อมถึงได้ง่ายกว่า แถมให้ภาพที่ดีกว่าqledด้วย

41
คำถามที่พบบ่อย #9

มีสาย HDMI ที่กล่องระบุว่าเป็น vesion 1.3 1.4 อย่างนี้ถ้าจะใช้กับทีวี 4K HDR ก็ต้องหาสายใหม่ที่กล่องระบุว่า version 2.0 ใช่ไหม?

คำตอบคือ ไม่จำเป็น เพราะสายเส้นเดิมรองรับ ความละเอียด 4K HDR อยู่แล้ว

คนส่วนมากกว่า 95% จะเข้าใจผิด นั่นคือเรื่องversion ของสาย HDMI
ว่าสายต้องเป็น HDMI 2.0 เท่านั้น ถึงจะรองรับ 4K  60Hz ซึ่งจริงๆแล้วไม่ใช่เลย
ผมใช้สาย HDMI kaiboer รุ่นเก่าขายมาตั้งแต่ปี2012แล้ว ซึ่งระบุเป็น HDMI 1.4
ก็ยังสามารถส่งสัญญาณภาพที่ 4K 60Hz รวมถึง 4K HDR ได้

จริงๆแล้ว สาย HDMI มันไม่มี version มีแค่สาย hispeed กับสาย ธรรมดา
สายที่ผลิตในปัจจุบันนั้นเป็นสาย hispeed HDMI ทั้งหมด เพราะสายธรรมดานั้นเป็นสายHDMIยุคแรกๆเมื่อสิบปีก่อนเลิกผลิตไปนานมากแล้ว
ฉะนั้นคุณจะใช้ สายแพง สายถูก หรือสายแถม ก็สามารถส่งสัญญาณภาพที่ 4K HDR ได้
เพียงแต่สายแถมหรือสายราคาถูกบางรุ่นบางยี่ห้อจะมีคุณภาพการผลิตที่ต่ำ สายข้างในจะบอบบางและขาดง่าย
ทำให้เมื่อต่อสัญญาณแล้ว ภาพไม่ขึ้นบ้าง ภาพกระพริบบ้าง บางทีภาพจะล่มไปเลยก็มี
แท้จริงแล้ว version ของ HDMI ที่เขาระบุนั้นหมายถึง software ของเครื่อง player และ software ของจอภาพ ไม่ใช่ version ของสาย HDMI
เพราะสาย HDMI ไม่มี version
ผู้ผลิตมักจะไม่อธิบายเรื่องนี้ให้ผู้บริโภคได้เข้าใจ
จึงทำให้ผู้บริโภคเข้าใจผิดว่า ถ้าไม่ใช้สาย HDMI รุ่นใหม่ที่หน้ากล่องระบุว่าเป็น 2.0  จะไม่สามารถรับชมภาพระดับ 4K HDR ได้
ซึ่งการไม่อธิบายให้ผู้บริโภคเข้าใจในจุดนี้แหละ จึงทำให้ยอดขายของผู้ผลิตนั้นสูงขึ้น

*สายHDMIทุกยี่ห้อในรอบ๔ปีมานี่ เปลี่ยนแพคเกจใหม่หมดโดยให้ที่กล่องระบุว่าเป็น 2.0
แต่สายข้างในก็คือเส้นเดิม ไม่ได้มีอะไรเปลี่ยนแปลง

บางยี่ห้ออาจเปลี่ยนตัวสายและหัวต่อconnectให้ดูสวยงามขึ้นจะได้ดูแตกต่าง เช่น ยี่ห้อ audioquest ,KAIBOER ,PALIC etc.
แท้จริงแล้ว 1.4 หรือ 2.0 นั้น จะรับชมภาพ-เสียงแบบความละเอียดสูงได้หรือไม่นั้น ไม่ได้ขึ้นอยู่กับสาย

อยู่ที่ 3-4 อย่างนี้ คือ

- AVR รองรับ 4K HDR หรือเปล่า?
- จอภาพ รองรับ 4K HDR หรือเปล่า?
- ช่องต่อ HDMI ช่องไหนบ้างที่รองรับ full bandwidth จริงๆ?
- HD player, BD player รองรับ 4K HDR หรือเปล่า?

สายhdmi 1.4 ไม่จำเป็นที่จะต้องเปลี่ยน เพราะ มันรองรับระบบ 2.0 รวมถึงรองรับอนาคตได้อีกเรื่อยๆ

(ยกเว้นสาย HDMI รุ่นเก่าๆที่ยังไม่ใช่ High Speed cables กับสายที่มีคุณภาพต่ำเกินไปที่ใช้แล้วเกิดอาการภาพติดๆดับๆ)


42
คำถามที่พบบ่อย #8

จอ VA กับจอ IPS แบบไหนดีกว่ากัน?


ข้อดีของจอ IPS มีอยู่อย่างเดียวคือ มุมมองด้านข้างกว้าง แต่ก็ไม่ได้กว้างถึงขนาดดูเยื้องได้ 178 องศาเหมือนจอ oled
ส่วนข้อเสีย จะเป็นเรื่องภาพแทบทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นให้contrastที่ต่ำ ระดับสีดำไม่ลึก รายละเอียดภาพในส่วนที่มืดๆทำได้ไม่ดี(ดำจม)
มิติภาพจะไม่โดดเด่น ออกแนวราบเรียบ มิติแบนๆหน่อย ภาพไม่ลึก วัตถุกับฉากจะอยู่ในระนาบเดียวกัน
ข้อเสียต่อมาคือเห็นอาการแสงรั่วได้ง่าย นอกจากแสงรั่วแล้วยังมีอาการ IPS glow อีกที่มีลักษณะคล้ายแสงรั่ว และหน้าจอสะท้อนแสงเยอะ
และสำหรับคนที่สายตาsensitiveมากๆ จะเห็นscreen door effect เนื่องจากpixel จอชนิดนี้มีลักษณะเป็นลูกศรหกเหลี่ยมชี้ไปทางขวา
ซึ่งมันดูไม่เป็นธรรมชาติ(ลองนึกภาพเอารูปภาพใหญ่ๆรูปหนึ่งตัดเป็นรูปลูกศรหกเลี่ยมเล็กๆให้ทั่วแล้วทำเป็นจิ๊กซอว์
เทียบกับการตัดรูปเดียวกันโดยการตัดเป็นรูปจิ๊กซอว์สี่เหลี่ยมเล็กๆ แบบไหนภาพจะดูไม่ขัดลูกตามากกว่ากัน)

จอ VA จะตรงกันข้าม ข้อเสียก็คือ มุมมองด้านข้างแคบมองเยื้องจอนิดเดียวหน้าสีจอจะซีด
ข้อดี ให้ภาพ contrastสูง ระดับสีดำดำลึก รายละเอียดภาพในที่มืดทำได้ดี
ภาพจะดูมีมิติหน้าชัดหลังเบลอ วัตถุตัดกับฉากชัดเจน และดูมีเนื้อหนัง หน้าจอสะท้อนแสงน้อยกว่าจอIPS
ไม่ค่อยมีปัญหา screen door effect เพราะรูปแบบของpixel ส่วนใหญ่จะมีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า ซึ่งจะดูไม่ขัดตาแบบลูกศรหกเหลี่ยม


IPS


VA
^
^
^
ลองดูเทียบซิว่า รูปแบบ subpixel แบบไหนที่ดูแล้วไม่หงุดหงิด

43
คำถามที่พบบ่อย #7

TOSHIBA 9750VT 7750VT ภาพดีไหม? คุ้มราคาไหม?

คำตอบ หลายคนในเวปนี้และในกลุ่มfacebookซื้อมาก็ขายทิ้งไปเอารุ่นอื่นเพราะภาพมันไม่ได้เรื่อง
อัพสเกลห่วย ภาพเคลื่อนไหวห่วย ไม่มีอะไรดีเลยเรื่องภาพ

......แม้เป็น android TV

ถ้าคุณต้องการ android TV คุณไปซื้อยี่ห้อ sony ก็ได้ครับ ได้ android version สูงกว่าตั้งแต่ต้น ภาพก็ดีกว่า ราคาก็ถูกกว่า

ไม่แนะนำให้ซื้อครับเพราะมันไม่ได้เรื่องจริงๆ สำหรับ toshiba 2017

44
คำถามที่พบบ่อย #6

LED SONY รุ่นไหนผ่านมาตรฐาน utra HD premium บ้าง?

คำตอบคือ ไม่มีครับ


แม้แต่ตัวทอปๆอย่าง X9300D Z9D X9300E ที่มีความดำลึก และสว่างเกิน 1000nits ก็ยังไม่ผ่าน ultra HD premium

ทำไมถึงไม่ผ่าน?

เพราะ LED sony ยังไม่มีตัวไหนทำขอบเขตสีได้เกิน 90% DCI P3
ที่เห็นตามเวปต่างๆว่าsonyขอบเขตสีเกิน 90% DCI P3 นั่นคือการวัดขอบเขตสีด้วยวิธีการคำนวณแบบ U-V
ซึ่งการคำนวณแบบU-Vจะให้ขอบเขตสีที่กว้างกว่าความเป็นจริง ทางผู้ผลิตมักใช้วิธีการคำนวณแบบนี้เพื่อให้ได้ตัวเลขออกมาสูงเพื่อใช้ในการโฆษณา
การคำนวณขอบเขตสีที่ถูกต้องได้มาตรฐานนั้นจะเป็นการคำนวณแบบ X-Y ซึ่งมักจะได้ค่าขอขเขตสีที่น้อยกว่าแบบ U-V
ถ้าคำนวณแบบ U-V sony จะมีขอบเขตสีที่กว้างกว่า 90% DCI P3 เกือบทุกรุ่น
แต่ถ้าคำนวณแบบ X-Y ตามจริง จะไม่มี led sony ตัวไหนทำได้เกิน 90% DCI P3 เลยสักรุ่น

จะมีก็แต่ oled sony อย่าง A1E A8F ที่คำนวณแบบ X-Y แล้ว ให้ขอบเขตสีที่กว้างถึง 96-99% DCI P3
แต่อย่างไรก็ตาม sony แม้จะเข้าร่วมองค์กร uhd alliance แต่ sony เอง ก็ไม่ยอมใช้ ตราสัญลักษณ์มาตรฐาน ultra HD premium ให้กับทีวีของตัวเอง
ฉะนั้นต่อให้เป็นรุ่น A1E A8F ที่เข้าข่ายผ่านมาตรฐาน ultra HD premium ในทุกๆหัวข้อ ก็จะไม่มีตราสัญลักษณ์ultra HD premium ครับ

45
คำถามที่พบบ่อย #5

led ที่มี subpuxelแบบ RGB กับ RGBW แบบไหนดีกว่ากัน

คำตอบคือ RGB ให้ภาพที่ดีกว่าครับ


RGBW เป็นการแทรก subpixel สีขาวลงไปในทุกๆ 3subpixel (แทรกนะครับไม่ใช่เพิ่ม)
ส่งผลให้ ใน 1 pixel ยังคงมี 3 subpixel เท่าเดิม แต่สีของsubpixel จะไม่เท่ากัน
บางpixel เป็น RGB ปกติ บางpixelเป็น WRG BWR GBW นั่นส่งผลให้ใน 4 pixel จะมีเพียงแค่ 1 pixel เท่านั้นที่แสดงสีได้ถูกต้องนั่นคือ RGB
ส่วนอีก 3 pixel ที่เป็น WRG BWR GBW จะแสดงสีเพี้ยน เพราะขาด subpixel สีหลักในการผสมสีไป 1 สี
ต่างจาก OLED ที่เป็นการเพิ่ม subpixel สีขาวลงไปในทุกpixel ทุกๆpixel จึงประกอบด้วย subpixel WRGB WRGB WRGB WRGB WRGB
แม่สีหลักยังคงครบในทุกๆ pixel ซึ่ง WRGB OLED นั้น จึงต่างกับ WRGB LED อย่างสิ้นเชิง และทั้งสองอย่างไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกันแม้แต่น้อย

WRGB LED เป็นการลดต้นทุนของ LG เพื่อให้ขายได้ในราคาที่ถูกลง ทาง LG เองอ้างว่ามีข้อดีคือความสว่างที่เพิ่มมากขึ้น
แต่พอวัดจริงมันก็ได้ความสว่างไม่ต่างจาก RGB LED ยี่ห้ออื่นในราคาเท่ากัน มีแต่ข้อเสียมากมายที่ทำให้สีเพี้ยน อมขาว ภาพไม่คมเท่า RGB
ยิ่งการใช้งานเป็น monitor 4K จะเห็นข้อเสียได้มากขึ้นว่าตัวหนังสือมันเหลื่อมๆไม่คม

สาวกของ LG อาจจะโดนเป่าหูว่า WRGB LED มันดีกว่า RGB LED
แต่มีอีกสิ่งที่ยืนยันได้ว่า WRGB มันห่วยกว่า RGB นั่นคือ
"ถ้า WRGB มันดีกว่าจริง เขาจะใส่มาทำไมเฉพาะในseries บ๊วยๆ ทำไมไม่ใส่มาใน series ตัวบนๆทอปๆ ล่ะ"
WRGB ในปี 2015 -2016 จะมีเฉพาะใน series 6 เท่านั้น พอรุ่นสูงขึ้นอย่าง series 7 ก็จะเป็น RGB
ส่วนปี 2017 WRGB จะมีใน series 6 เช่นเดิม เพิ่มเติมคือ ใส่มาให้ในseries 8 อย่าง SJ800T ด้วย
แต่ถ้าเป็นรุ่นที่สูงขึ้นอย่าง SJ850T จะเป็น RGB
ปีล่าสุด 2018 ก็ใส่ WRGB ในseries 6 มาเช่นเดิม แต่ยกเลิกการใส่ใน series 8 แล้ว (สงสัยโดนผู้บริโภคจวกหนัก)
รุ่น SK800T จึงกลับมาใช้ subpixel แบบ RGB

46
คำถามที่พบบ่อย #4

ทีวีที่ผ่านมาตรฐาน ultra hd premium ให้ภาพที่ดีกว่าทีวีที่ไม่ผ่านมาตรฐาน ultra hd premium ?

คำตอบ คือ ไม่ใช่เสมอไปครับ บางทีภาพอาจดีกว่า หรือแย่กว่าก็เป็นได้


มาตรฐาน ultra hd premium นั้นเป็นเพียงข้อกำหนดในบางหัวข้อที่มีส่วนทำให้ภาพดีแต่ก็ยังไม่ใช่ทั้งหมด
ยังมีข้อกำหนดอื่นๆนอกเหนือจากเกณฑ์ ultra HD premium ที่ส่งผลให้ภาพดีก็มีอีกหลายอย่าง ที่ไม่สามารถตีค่าเป็นตัวเลขได้
เช่น การอัพสเกล ความถูกต้องของสี ภาพเคลื่อนไหว หัวข้อพวกนี้ไม่ได้อยู่ในข้อกำหนดของ ultra hd premium เพราะมันไม่สามารถตีค่าเป้นตัวเลขได้
แต่มันเป็นสิ่งที่ส่งผลต่อภาพเป็นอย่างยิ่ง ส่งผลมากกว่าข้อกำหนด ของ ultra hd premium เสียอีก

ลองนึกดูว่า มีทีวีสองตัว ตัวที่ 1 ความสว่างสูงกว่า 1000 nits ระดับสีดำก็ดำลึกกว่า 0.05 nits
ขอบเขตความกว้างของสี99% DCI P3 รวมแล้วผ่านมาตรฐาน ultra hd premium
แต่ระบบอัพสเกลห่วยแตกมาก คือเปิดไฟล์ 1080p ภาพแตกเป็นบล๊อคๆ แถมโมชั่นก็สั่นกระตุกเปิดแทรกเฟรมช่วยก็เป็นวุ้นเต็มไปหมด
แม้ขอบเขตสีกว้างมากๆก็จริงแต่ความถูกต้องของสีก็ไม่ได้ถูกต้องตามต้นฉบับสีของ content นั้นๆที่แสดงออกมา
กับทีวีตัวที่2 ความสว่าง 500 nits ระดับสีดำ 0.06 nits
ขอบเขตสี 89% DCI P3 คือไม่ผ่านข้อำหนก ultra hd premium เลยสักหัวข้อ
แต่ระบบอัพสเกลภาพเยี่ยมยอดมากๆอัพสเกล 1080p ได้ราวกับดูไฟล์น้องๆ 4K อยู่ โมชั่นก็ดี ไร้อาการภาพสั่นกระตุก ภาพลื่นไหล
แม้ขอบเขตสีจะแคบกว่าตัวแรก แต่ความถูกต้องของสีนั้นแม่นยำมากๆ แทบไม่ต้อง calibrateสีเลย

แน่นอนครับว่าในการใช้งานจริงทีวีตัวที่สองย่อมให้ภาพที่ดีกว่าทีวีตัวแรก ถึงแม้จะไม่ผ่านมาตรฐาน ultra HD premium ก็ตาม

47
คำถามที่พบบ่อย #3

ในบรรดา oled ทั้งหมด LG ภาพดีที่สุดจริงหรือ?

คำตอบ คือ ถ้าเรื่องภาพ oled LG ไม่ได้เป็น oled ที่ภาพดีที่สุด


แม้ LG จะมีโรงงานผลิตจอ oled เป็นของตัวเอง ส่งจอ oled ขายให้เจ้าอื่น และผลิต oled TV ส่งขายเป็นเจ้าแรก
แต่นั่นไม่ได้หมายความว่า LG ทำภาพได้ดีกว่า oled ยี่ห้ออื่นแต่อย่างใด
ภาพดีไม่ดี ไม่จำเป็นว่าต้องผลิตเป็นเจ้าแรกหรือทำมานานกว่า แต่มันอยู่ที่ประสิทธิภาพของชิปประมวลผลภาพครับ
ซึ่งชิปประมวลผลภาพของ LG นั้น ประสิทธิภาพยังเป็นรองยี่ห้อคู่แข่งในบางจุด เช่นเรื่องของการอัพสเกล และ โมชั่นภาพเคลื่อนไหว
ในปี 2014 -2016 LG เป็นเจ้าเดียวที่ทำตลาด oled ในขณะที่เจ้าอื่นยังทำแต่ led ฉะนั้นย่อมไม่แปลกที่ในช่วงสามปีดังกล่าว
เวปต่างๆยกให้oled LG เป็นทีวีที่4kดีที่สุดไปในทุกๆปี แต่พอปี 2017 ที่มียี่ห้ออื่นเข้าทำตลาด oled อย่าง sony panasonic และ philips(เฉพาะยุโรป)
ก็กลายเป็นว่าประสิทธิภาพภาพของ LG นั้นยังเป็นรองอีกสามยี่ห้อคู่แข่ง รางวัลภาพที่ดีที่สุดก็ตกไปเป็นของยี่ห้ออื่นไปในทันที
แม้แต่งาน shootout ที่ให้ผู้บริโภคโหวตคะแนนภาพของ oled แต่ละยี่ห้อ LG ก็ได้คะแนนน้อยกว่ายี่ห้ออื่นๆ เช่นกัน

แต่ oled LG ก็ยังโดดเด่นในเรื่องHDR ที่ทำความสว่างได้สูงกว่าเจ้าอื่น
และระบบ smart TV web OS ที่มีการใช้งานที่โดดเด่น คล่องแคล่วกว่าเจ้าอื่นอยู่เช่นกัน
แม้เรื่องภาพจะไม่ได้ดีที่สุด แต่ oled LG นั้นมีให้เลือกถึง 5 รุ่น ด้วยกัน ตามกำลังทรัพย์
โดยรุ่นล่างสุดเมื่อเทียบกับราคาขายที่ถูกกว่ายี่ห้ออื่นมาก ทำให้หลายๆสำนักยกให้ oled LG มีความคุ้มค่ามากที่สุดเมื่อเทียบกันบาทต่อบาท

49
คำถามที่พบบ่อย #1

samsung MU7000 MU8000 MU9000 ผ่านมาตรฐาน UHD premium จริงหรือ?

คำตอบคือ ไม่จริงครับ


ที่กล่าวว่าเป็น Premium UHD TV นั้นเป็นชื่อที่ทาง samsung ตั้งขึ้นเองเพื่อใช้ในการตลาด

ไม่ได้หมายความว่าทั้งสามรุ่นผ่านมาตรฐาน ultra HD premium ขององค์กร uhd alliance แต่อย่างใดครับ

ทั้งสามรุ่นดังกล่าวไม่ผ่านมาตฐาน ultra HD premium เนื่องจาก

- ขอบเขตสีทำได้เพียง 82-87% DCI P3 ในขณะที่มาตรฐานข้อกำหนดของultra HD premium ระบุไว้ว่าต้องเกิน 90% DCI P3

- ระดับความสว่างทำได้ไม่ถึง 1000nits

- ระดับสีดำลึกไม่ถึง 0.0005 nits (ถ้าสว่างเกิน 540nits แต่ไม่ถึง 1000nits ต้องทำระดับสีดำให้ได้ลึกกว่า 0.0005 nits

ฉะนั้นทั้งสามรุ่นนี้จึงไม่สามารถใช้โลโก้ ultra hd premium ขององค์กร uhd alliance

50
ราคาแรงไปหน่อยครับ

ราคาที่ขายนี้เท่ากับ ราคา มือ๑ ก่อนที่รุ่นW000Cนี้จะยุติการขายไป (50" =20,000 55"= 25,000)

ตอนนี้ ๒๐๐๐๐ บาท สามารถซื้อ 55" 4K HDR ได้ทุกยี่ห้อแล้วครับผม
 
  แล้วควรจะขายเท่าไหร่ครับ 

เต็มที่คงได้แค่ 14000 ครับ หรืออาจจะได้มากกว่านั้นเล็กน้อย

51
W904A เป็นตัวรองทอป full HD ปี 2013 ครับ ไม่ใช่ตัวทอปปี 2014
ตัวทอปในปีนั้นคือ W954A ครับผม

ว่าแต่ของอยู่แถวไหน 15000 ได้ไหมครับ

52
ราคาแรงไปหน่อยครับ

ราคาที่ขายนี้เท่ากับ ราคา มือ๑ ก่อนที่รุ่นW000Cนี้จะยุติการขายไป (50" =20,000 55"= 25,000)

ตอนนี้ ๒๐๐๐๐ บาท สามารถซื้อ 55" 4K HDR ได้ทุกยี่ห้อแล้วครับผม

53
มันคือรุ่น X9000C ปี 2015 ครับ

รุ่นนี้เป็นจอ IPS + opticontrast เป็นทีวีที่จอบางที่สุดในปี 2015

54
รองรับ hdr10 ทั้งสองรุ่นครับ

ยังไงก็แนะนำ x8500e 

55” ใหญ่กว่า 49” เยอะนะครับ

49x8500f เดี๋ยวว่างๆจะไปดูให้ว่าใช้จออะไร แต่ 55” 65” ips แน่นอนครับเช็คแล้ว

หน้า: 1 2 [3] 4 5 ... 173