ผู้เขียน หัวข้อ: ตลาดเงินบาท: เปิด 33.66 อ่อนค่าจากสัปดาห์ก่อน กังวลข่าวจีนล็อกดาวน์กระทบท่องเที่ยว  (อ่าน 81 ครั้ง)

ออฟไลน์ hs8jai

  • Hologram 3D TV member
  • ******
  • กระทู้: 16,851
    • ดูรายละเอียด
    • อีเมล์
ภาวะตลาดเงินบาท: เปิด 33.66 อ่อนค่าจากสัปดาห์ก่อน กังวลข่าวจีนล็อกดาวน์กระทบท่องเที่ยว

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ 33.66 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่าจาก ช่วงปิดตลาดเย็นวันศุกร์ที่ระดับ 33.55 บาท เนื่องจากนักลงทุนกังวลเกี่ยวกับการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจด้านการท่องเที่ยวของไทย จากกรณีที่รัฐบาลจีนมีแนวโน้มล็อกดาวน์บางพื้นที่ เพื่อแก้ปัญหาการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ซึ่งเป็นการจำกัดการเดินทางของ นักท่องเที่ยวจีน

"บาทอ่อนค่าจากเย็นวันศุกร์ จากความกังวลเรื่องจีนจะล็อกดาวน์บางพื้นที่ ทำให้นักท่องเที่ยวเดินทางมาไม่ได้" นัก
บริหารเงิน กล่าว
นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันนี้ไว้ที่ 33.55 - 33.80 บาท/ดอลลาร์

THAI BAHT FIX 3M (25 มี.ค.) อยู่ที่ระดับ 0.35063% ส่วน THAI BAHT FIX 6M 0.54033%

SPOT ล่าสุด อยู่ที่ระดับ 33.68500 บาท/ดอลลาร์

ปัจจัยสำคัญ
เงินเยนอยู่ที่ระดับ 122.23 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวานนี้ที่ระดับ 121.57 เยน/ดอลลาร์
เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.0971 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวานนี้ที่ระดับ 1.1002 ดอลลาร์/ยูโร
อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท. อยู่ที่ระดับ 33.512 บาท/
ดอลลาร์
กระทรวงการคลัง คาดว่าจะประกาศตัวเลขการคาดการณ์การเติบโตของเศรษฐกิจใหม่ในเดือนเม.ย.2565 จาก
เดิมที่คาดการณ์ไว้ที่ 3.5-4.5% จากสถานการณ์สงครามรัสเซีย-ยูเครน มีแนวโน้มว่าจะยืดเยื้อ ขณะที่การแพร่ระบาดไวรัสโควิด-
19 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทำให้การบริโภค และการใช้จ่ายในประเทศไทยลดลงนั้น ทั้งนี้ การปรับประมาณการทางเศรษฐกิจครั้งนี้ ถือ
เป็นครั้งแรกของปี
โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า รัฐบาลภายใต้การนำของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี
มุ่งเน้นให้การใช้จ่ายงบประมาณที่มีอยู่เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชนและประเทศชาติ และอยู่ภายใต้
กรอบวินัยการเงินการคลังและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง การบริหารจัดการที่เป็นไปอย่างมีระบบ มีแผนงาน/โครงการที่ชัดเจน ทำให้ขณะ
นี้ฐานะทางการเงินการคลังของประเทศไทยยังมีเสถียรภาพที่เข้มแข็ง
สงครามย่างเข้าสู่วันที่ 33 ยูเครนยังตั้งรับเหนียวแน่น รัสเซียได้แค่ล้อมยึดกรุงเคียฟไม่ได้ "เซเลนสกี" กดดันชาติ
ตะวันตกกลัวจนไม่กล้าสนับสนุนอาวุธหนักให้ ด้านการข่าวชาติตะวันตก แฉหมีขาวอาจผนวกจังหวัดลูฮานสก์ที่ยึดแล้วกว่า 90% เป็น
ของรัสเซียในอีกไม่นาน หากยึดทั้งประเทศไม่ได้รัสเซียอาจใช้วิธีแบ่งแยกยูเครนเป็นส่วนๆ ขณะที่อังกฤษย้ำ ชาวรัสเซียมีสิทธิตัดสิน
ใจเรื่องการปกครองของประเทศตนเองเท่านั้น หลัง "ไบเดน" ปราศรัยที่โปแลนด์ "ปูติน" ไม่ควรอยู่ในอำนาจอีกต่อไป
หัวหน้าคณะเจรจาของรัสเซีย เปิดเผยว่า คณะผู้แทนของรัสเซียและยูเครนจะจัดการเจรจาสันติภาพรอบใหม่ในวัน
ที่ 29-30 มี.ค.นี้ โดยจะเป็นการเจรจาแบบพบหน้ากัน
เทรดเดอร์ยังคงจับตาสถานการณ์ความขัดแย้งในรัสเซีย-ยูเครน และประเมินความเห็นเกี่ยวกับการคุมเข้มนโยบาย
การเงินจากเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในสัปดาห์นี้
เมืองเซี่ยงไฮ้ ซึ่งเป็นศูนย์กลางด้านการเงินของจีน ประกาศมาตรการล็อกดาวน์เพื่อตรวจหาเชื้อโควิด-19 ครั้ง
ใหญ่ โดยการล็อกดาวน์จะแบ่งเป็น 2 ส่วน และจะเริ่มตั้งแต่วันนี้ (28 มี.ค.) ด้านสำนักข่าวบลูมเบิร์กรายงานโดยอ้างแหล่ง
ข่าวว่า เทสลาจะระงับการผลิตในโรงงานที่เซี่ยงไฮ้ในวันนี้ (28 มี.ค.) และทางบริษัทยังไม่ได้แจ้งพนักงานว่าจะขยาย
เวลาระงับการผลิตต่อไปอีกหรือไม่
โนมูระ โฮลดิ้งส์ อิงค์ระบุว่า เศรษฐกิจจีนจะเผชิญกับแรงกดดันขาลงรุนแรงที่สุดนับตั้งแต่ฤดูใบไม้ผลิปี 2563 ซึ่ง
ถูกกระทบจากการระบาดระลอกแรกของโรคโควิด-19
นักเศรษฐศาสตร์ระบุว่า การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจต่าง ๆ เป็นวงกว้างทั้ง ภาคบริการส่วนบุคคล, การก่อสร้าง และการผลิต ดังนั้นจึงเป็นการยากมากขึ้นที่จีนจะบรรลุเป้าหมายการขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวล รวมภายในประเทศ(GDP) ที่ระดับราว 5.5% ในปี 2565

โนมูระได้ปรับเพิ่มคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจจีนในไตรมาสแรกสู่ 4.2% จากเดิมที่คาดไว้ที่ 2.9% เนื่องจาก มีการเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจอย่างเป็นทางการที่แข็งแกร่งในเดือนม.ค.-ก.พ.

รัฐบาลอังกฤษเตรียมประกาศระเบียบการด้านการกำกับดูแลตลาดคริปโทเคอร์เรนซี โดยเฉพาะในส่วนสเต
เบิลคอยน์ (Stablecoin) ซึ่งเป็นสกุลเงินคริปโทฯ ที่มีการตรีงมูลค่าไว้กับสกุลเงินหลักของโลก เช่น ดอลลาร์สหรัฐ และเป็นภาค
ส่วนมีการเติบโตอย่างรวดเร็ว
ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญสัปดาห์นี้ ได้แก่ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค, ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตร,
อัตราการว่างงาน, ข้อมูลการจ้างงานภาคเอกชน, ดัชนี PMI และ ISM ภาคการผลิตเดือนมี.ค., รายได้และการใช้จ่ายส่วน
บุคคล, ดัชนีราคา PCE Price Index เดือนก.พ. และข้อมูลผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ไตรมาส 4/2564