ผู้เขียน หัวข้อ: สมุนไพรอันน่า"ทึ่ง"ของสรรพคุณโกฐน้ำเต้า  (อ่าน 2286 ครั้ง)

ออฟไลน์ teareborn

  • Edge LED TV member
  • ***
  • กระทู้: 272
    • ดูรายละเอียด
    • อีเมล์

ถิ่นกำเนิดของโกฐน้ำเต้า
เป็นพันธุ์ไม้ที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ในแถบยุโรป และเอเชีย ในประเทศอินเดีย จีน ทิเบต รัสเซีย




  สถานที่พบในประเทศจีน       
                                            QinhiS`ichuanShnxiGans`uY'unn'anXiz`anN'inxi`a
                                            Gu`izhouH'ubei
                                            ชิงไห่ เสฉวน ส่านซี กานซู่ ยูนนาน ทิเบต หนิงเซี่ย กุ้ยโจว หูเป่ย




ลักษณะทั่วไปของโกฐน้ำเต้า   
โกฐน้ำเต้าเป็นเหง้าและรากแห้งของพืช ชนิด ใด ประเภท หนึ่งใน 3 ชนิด ที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Rheum officinal Baill., R.palmatum L. และ R.tanguticum (Maxim. Ex Regel) Maxim.ex Balf. ในวงค์  Polygonaceae หรือ เหง้าและรากแห้งของพืช 2 หรือ 3 ชนิดข้างต้นปนกัน โดยจัดเป็นพรรณไม้พุ่มที่มีความสูงของต้นประมาณ 2 เมตร ต้นแตกกิ่งก้านสาขามากและมีใบเป็นพุ่ม เปลือกลำต้นเป็นสีเขียวเรียบมัน มีลายเล็กน้อยและไม่มีขนปกคลุม มีเหง้าอยู่ใต้ดินขนาดป้อมและใหญ่ เนื้อนิ่ม ลำต้นใต้ดินมีคุณสมบัติเป็นโพรงกลวงและมียางสีเหลือง
ใบโกฐน้ำเต้า ใบเป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับกัน คุณสมบัติของใบเป็นรูปไข่ เป็นแฉกคล้ายนิ้วมือ มีประมาณ 3-7 แฉก มีขนาดกว้างและยาวใกล้เคียงกัน ใบมีขนาดประมาณ 35-40 ซม. ปลายใบแหลม โคนใบเว้าเข้าหากันคล้ายรูปหัวใจ ส่วนขอบใบเป็นหยักแบบฟันเลื่อยเล็กน้อย หน้าใบและหลังใบมีขนขึ้นปกคลุม ก้านใบมีขนาดใหญ่และยาว ตรงบริเวณก้านใบมีขนสีขาวปกคลุมอยู่
ดอกโกฐน้ำเต้า ออกดอกเป็นช่อบริเวณปลายกิ่งก้าน ดอกเป็นข้อ ๆ ในก้านช่อกิ่งหนึ่งจะมีประมาณ 7-10 ช่อ ก้านดอกมีความยาวประมาณ 3-4 มม. ดอกย่อยจะแยกออกเป็นแฉก 6 แฉก ดอกมีความยาวประมาณ 1.5 มม.ส่วนกลีบดอกเรียงซ้อนกันเป็นชั้น 2 ชั้น ดอกมีเกสรเพศผู้จำนวน 9 อัน
ผลโกฐน้ำเต้า ผลมี ชนิด เป็นรูปไข่คล้ายสามเหลี่ยม บริเวณเหลี่ยมจะมีเยื่อบาง ๆ หุ้มอยู่ ผลเป็นสีน้ำตาลเข้ม ผลมีขนาดกว้างประมาณ 7-8 มิลลิเมตรและยาวประมาณ 9-10มม.โดยผลจะแก่ในช่วงเดือนสิงหาคม
การขยายพันธุ์ของโกฐน้ำเต้า    
ปัจจุบัน โกฐน้ำเต้านิยมขยายพันธุ์กันมากในประเทศจีน  เพราะชนิดอากาศ และดินเหมาะสมกับพืชชนิดนี้ เพาะปลูกด้วยวิธีการแยกลำต้น และวิธีการเพาะปลูกเมล็ด การเก็บเกี่ยวและการปฏิบัติหลังเก็บเกี่ยว เก็บเกี่ยวราก และเหง้าปลายฤดูใบไม้ร่วงเมื่อลำต้น และใบเหี่ยวหรือเก็บเกี่ยวในฤดูใบไม้ผลิถัดไปก่อนแตกหน่อ แยกรากฝอยและเปลือกนอกทิ้ง นำสมุนไพรมาหั่นเป็นแว่นหรือเป็นท่อน ๆ ตากแดดให้แห้ง เก็บเยียวยาไว้ในสถานที่มีอากาศเย็นและแห้ง มีการระบายอากาศดี
องค์ประกอบทางเคมี
โกฐน้ำเต้ามีสารสำคัญกลุ่ม anthraquinones  ซึ่งเป็นอนุพันธ์ของสาร hydroxyanthracene แบ่งเป็น 3 กลุ่มย่อย คือ กลุ่มย่อย free anthraquinones เช่น chrysophanol , emodin, rhein, alo-emodin, physcion กลุ่มย่อย anthraquinone glycosides เช่น rheinoside A-D, chrysophanein, glucoemodin, palmatin และกลุ่มย่อย biathrones เช่น sennoside A-F, rheidin A-C นอกจากนั้นในโกฐน้ำเต้ายังมีสารกลุ่ม tannins ด้วย
 
คุณค่าทางโภชนาการของโกฐน้ำเต้าดิบ(ไม่ระบุว่าส่วนใด แต่เข้าใจว่าคือส่วนของก้านใบ)ต่อ 100 กรัม

  • พลังงาน 88 กิโลแคลอรี
  • คาร์โบไฮเดรต 4.54 กรัม
  • น้ำตาล 1.1 กรัมผักโกฐน้ำเต้า
  • เส้นใยอาหาร 1.8 กรัม
  • ไขมัน 0.3 กรัม
  • โปรตีน 0.8 กรัม
  • วิตามินบี 1 0.02 มิลลิกรัม 2%
  • วิตามินบี 2 0.03 มก. 3%
  • วิตามินบี 3 0.3 มก. 2%
  • วิตามินบี 5 0.085 มิลลิกรัม 2%
  • วิตามินบี 6 0.024 มิลลิกรัม 2%
  • วิตามินบี 9 7 ไมโครกรัม 2%
  • โคลีน 6.1 มิลลิกรัม 1%
  • วิตามินซี 8 มิลลิกรัม10%
  • วิตามินอี 0.27 มิลลิกรัม 2%
  • วิตามินเค 29.3 ไมโครกรัม 28%
  • ธาตุแคลเซียม 86 มก. 9%
  • ธาตุเหล็ก 0.22 มก. 2%
  • ธาตุแมกนีเซียม 12 มก. 3%
  • ธาตุแมงกานีส 0.196 มิลลิกรัม 9%
  • ธาตุฟอสฟอรัส 14 มิลลิกรัม 2
  • ธาตุโพแทสเซียม 288 มิลลิกรัม 6%
  • ธาตุโซเดียม 4 มิลลิกรัม 0%
  • ธาตุสังกะสี 0.1 มิลลิกรัม 1%


% ร้อยละของปริมาณแนะนำที่ร่างกายต้องการในแต่ละวันสำหรับผู้ใหญ่
สรรพคุณของโกฐน้ำเต้า   
สรรพคุณตามตำราการแพทย์แผนจีน โกฐน้ำเต้า มีฤทธิ์ระบาย ขับของเสียตกค้าง ประโยชน์แก้ของเสียตกค้างภายในกระเพาะอาหารและลำไส้ (ท้องผูกจากภาวะร้อน ตัวร้อนจัด) หยางของระบบม้ามไม่เพียงพอ มีของเสียและความเย็นตกค้าง ทำให้ท้องผูก อาหารตกค้าง ปวดท้องน้อย ถ่ายไม่สะดวก และมีฤทธิ์ระบายความร้อน ขับพิษร้อน ขับพิษ ใช้ในผู้ป่วยที่มีระบบโลหิตร้อน (อาเจียนเป็นเลือด เลือดกำเดา ตาแดง คอบวม เหงือกบวม) ขับพิษร้อน แผลฝีหนองบวม นอกจากนี้ยังมีฤทธิ์ช่วยให้เลือดหมุนเวียน กระจายเลือดคั่ง ใช้แก้สตรีประจำเดือนไม่มาเนื่องจากมีเลือดคั่ง แก้ฟกช้ำ ช้ำใน เลือดคั่ง ปวด บวม เป็นต้น

  • โกฐน้ำเต้าผัดเหล้าช่วยขับพิษร้อนในเลือด โดยเฉพาะส่วนบนของร่างกายตั้งแต่ลิ้นปี่ขึ้นไป ได้ แก่ ปอด หัวใจ
  • โกฐน้ำเต้าถ่านช่วยระบายความร้อนในระบบโลหิต ช่วยเพิ่มการไหลเวียนของโลหิต และช่วยห้ามเลือด
  • โกฐน้ำเต้านึ่งเหล้าช่วยระบายความร้อนและขับสารพิษในร่างกาย และช่วยลดฤทธิ์ยาถ่ายของโกฐน้ำเต้าให้มีความรุนแรงน้อยลง
  • โกฐน้ำเต้าผัดน้ำส้มช่วยขับของเสียที่ตกค้างอยู่ภายในกระเพาะอาหารและลำไส้
สรรพคุณตามตำราแพทย์แผนไทย รากหรือเหง้า    รสฝาดมันสุขุม  (ปอกเปลือกออกนำไปนึ่งแล้วตากแห้ง) แก้ธาตุพิการ อาหารไม่ย่อย บำรุงธาตุ แก้ท้องเสีย ขับลมในลำไส้ ขับปัสสาวะและอุจจาระให้เดินสะดวก ระบายท้อง รู้ถ่ายรู้ปิดเอง แก้เจ็บตา แก้ริดสีดวงทวาร มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ลดความดันโลหิต ต้านเชื้อรา ลดคอเลสเตอรอลในเลือด ต้านการชัก ต้านพิษต่อตับและไต ต้านไวรัส ลดยูเรียในเลือด ขยายหลอดเลือด ทำให้แท้ง มีสารเหมือนอินซูลิน ขับน้ำดี มีฤทธิ์เหมือนฮอร์โมนเอสโตรเจน
            ในประเทศไทย โกฐน้ำเต้าถูกใช้ในตำราแพทย์แผนไทยหลายตำรับด้วยกัน  โดยถูกจัดอยู่ใน "พิกัดโกฐพิเศษ" ซึ่งประกอบไปด้วยโกศ 3 ชนิดร่วมกับโกฐกะกลิ้งและโกฐกักกรา  ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ยาสามัญประจำบ้านแผนโบราณ  พ.ศ.2556  มีการนำโกฐน้ำเต้ามาใช้เป็นตัวยาตรงในกลุ่มยาถ่ายหรือยาระบาย  และเป็นตัวยาช่วยในอีกหลายตำรบ เช่น ยาตรีหอม ยาหอมอินทจักร  ยาธรณีสันฑะฆาต  เป็นต้น