24 Jan 2020
Article

ตั้งค่า Android TV อย่างไรให้สั่งงานเครื่องใช้ไฟฟ้าได้!! ผ่าน Google Assistant


  • lcdtvthailand

ใครที่กำลังพบเจอปัญหาเกี่ยวกับการใช้งาน Google Assistant ในการสั่งงานเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านแล้วไม่สามารถสั่งงานได้ตามที่เราเห็นเค้าทำกันจึงทำให้รู้สึกว่าการใช้งานลูกเล่นต่างๆ เหล่านี้มันยากซะเหลือเกินสำหรับการตั้งค่า แต่วันนี้ไม่ได้ปวดหัวอีกต่อไปเพราะผมจะมานำเสนอวิธีดีๆ ที่จะตั้งค่าการใช้งานอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและสามารถสั่งงานด้วย Android TV ที่รองรับ Google Assistant ให้ทุกท่านได้ทำตามกัน

สิ่งที่ต้องมีในการใช้งานลูกเล่น Google Assistant ในการสั่งงานเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน

– Android TV ที่รองรับการสั่งงานผ่าน Google Assistant เวอร์ชั่น 8.0 ขึ้นไป (หากเป็นทีวี โซนี่รุ่น A9F, A9G, X9500G, จะสามารถสั่งงานด้วยคำสั่งเสียงผ่านตัวทีวีโดยตรงได้เลย)

-อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าที่รองรับการใช้งานรว่มกับ Google Assistant, Apple HomeKit

-อินเทอร์เน็ตหรือ Wi-Fi

**โดยในการสาธิตครั้งนี้ผมใช้ทีวีจากทาง Sony รุ่น 55X9500G ในการทดสอบเป็น Android TV เวอร์ชั่น 9.0**

เพิ่มเติมสำหรับมือใหม่หรือผู้ที่ยังไม่เคยใช้งานมาก่อน นอกจากสิ่งที่ต้องทำไปแล้วด้านบนยังมีอีก 2 อย่างที่ต้องทำดังนี้

1. ตรวจเช็คว่ารีโมททำการซิงค์และเปิดการใช้งาน Voice Contorl กับตัวทีวี

กดรูปไมโครโฟน หรือ สัญลักษณ์ Google Asisstant บนรีโมทหากตัวรีโมททำการซิงค์กับทีวีแล้วจะปรากฏหน้าต่างการรับคำสั่งเสียงด้านล่างทีวี (หากพึ่งเปิดเครื่องครั้งแรกตัวเครื่องจะให้กด Allow หนึ่งครั้งหลังจากนั้นจะใช้งานได้ทันที)

หากเป็นรีโมทรุ่นใหม่ที่ทางโซนี่พึ่งปรับเปลี่ยนโฉมมา เดิมทีเมื่อเปิดเครื่องครั้งแรกตัวทีวีจะให้ทำการซิงค์รีโมทแบบ Bluetooth ตั้งแต่เปิดตั้งค่าทีวีครั้งแรก แต่หากมีปัญหารีโมทยังไม่ซิงค์ให้ทำตามดังนี้

สำหรับวิธีการเชื่อมต่อหรือซิงค์รีโมทมีดังนี้

 1. กดที่ปุ่ม โฮม (HOME) บนตัวรีโมทคอนโทรล

2. เลือกที่ การตั้งค่า (Settings)

3. ขั้นตอนต่อไปจะขึ้นอยู่กับเมนูตัวเลือกในทีวีของทีวีแต่ละรุ่น

สำหรับ Android 9.0

– เลือกที่ รีโมทและอุปกรณ์เสริม (Remotes & Accessories) > การตั้งค่า Bluetooth (Bluetooth settings) 

สำหรับ Android 8 หรือเก่ากว่า

– เลือกที่การตั้งค่า Bluetooth (Bluetooth settings) 

4. เช็คดูว่า SONY TV RC MIC 001 หรือ SONY TV VRC 001 มีการลงทะเบียนไว้หรือยัง

*ถ้ามีการซิงค์เอาไว้แล้ว: ให้ลบการจับคู่ Bluetooth ของ SONY TV RC MIC 001 หรือSONY TV VRC 001นั้นออกไปก่อน และลงทะเบียนใหม่อีกครั้ง

1. กดที่ปุ่มโฮม (HOME) บนตัวรีโมทคอนโทรล

2. เลือกที่ การตั้งค่า (Settings)

3. ขั้นตอนต่อไปจะขึ้นอยู่กับเมนูตัวเลือกในทีวีของท่าน

สำหรับ Android 9.0

– เลือกที่เลือกที่ รีโมทและอุปกรณ์เสริม (Remotes & Accessories) > การตั้งค่า Bluetooth (Bluetooth settings) > SONY TV RC MIC 001 หรือ SONY TV VRC 001 > Unpair > OK 

สำหรับ Android 8.0 หรือเก่ากว่า

– เลือกที่การตั้งค่า Bluetooth (Bluetooth settings) > SONY TV RC MIC 001 หรือ SONY TV VRC 001 > Unpair > OK 

(หลังการยกเลิกการจับคู่ของตัว รีโมทคอนโทรล ทำการลงทะเบียนเข้าไปอีกครั้ง ด้วยขั้นตอนการลงทะเบียน รีโมทคอนโทรลต่อไปนี้)

*ถ้าไม่ได้ซิงค์รีโมทไว้: ให้ทำตามวิธีดังต่อไปนี้

1. วิธีการลงทะเบียนตัวรีโมทคอนโทรล:

2. กดที่ปุ่มโฮม (HOME) บนตัวรีโมทคอนโทรล

3. เลือกที่ การตั้งค่า (Settings)

4. ขั้นตอนต่อไปจะขึ้นอยู่กับเมนูตัวเลือกในทีวีแต่ละคน

– เลือกที่รีโมทและอุปกรณ์เสริม (Remotes & Accessories > รีโมทคอนโทรล (Remote control) > เชื่อมต่อทาง Bluetooth (Connect via Bluetooth) หรือ ปุ่ม เปิดการทำงานรูปไมโครโฟน (Activate) 

– เลือกที่ รีโมทคอนโทรล (Remote control) > เชื่อมต่อทาง Bluetooth (Connect via Bluetooth)

– เลือกที่ รีโมทคอนโทรลสั่งงานด้วยเสียง (Voice Remote Control) > ปุ่ม เปิดการทำงานรูปไมโครโฟน (Activate) ทำตามคำแนะนำต่าง ๆ บนหน้าจอนั้น

หมายเหตุ: ถ้าระดับของแบตเตอรี่มีอยู่ต่ำ การจับคู่อาจจะล้มเหลว ในกรณีเช่นนี้ ให้เปลี่ยนถ่านใหม่ก่อนการทำการซิงค์รีโมท

2. วิธีการเปลี่ยนภาษาตัวทีวีเผื่อให้การสั่งงาน Google Assistant ทำงานเต็มประสิทธิภาพ

1. กดที่ปุ่มโฮม (HOME) บนตัวรีโมทคอนโทรล

2. เลือกที่ การตั้งค่า (Settings)

3. หาหน้าต่างเมนูที่เขียนว่า ภาษา หรือ Language

4. เลือกเป็นภาษาอังกฤษ English หากเราใช้ภาษาไทยอยู่

เพียงเท่านี้ก็สามารถใช้งานคำสั่งเสียงผ่าน Google Assistant ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพแล้วครับ

มาเริ่มที่ส่วนสำคัญจุดแรกของการทำให้ Android TV เป็นศูนย์กลางในการควบคุมอุปกรณ์ต่างๆ ในบ้านได้นั้น จะต้องทำการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตในอยู่ในเครือข่ายเดียวกันไม่ว่าจะเป็นตัวทีวีเองหรืออุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ ที่มีสัญลักษณ์ว่า Work with Google Assistant หรือ Work with Apple HomeKit นั้นถือว่าใช้งานได้กับทีวี Sony ที่เป็น Android TV ได้แทบทุกรุ่น 

(การสั่งงาน Google Assistant ที่สมบูรณ์แบบจำเป็นต้องตั้งค่าเมนูให้เป็นภาษาอังกฤษเพื่อใช้งานคำสั่งเสียง แต่เราสามารถพูดภาษาไทยสั่งงานได้ปกติครับ)

สามารถใช้งานได้หลากหลายอุปกรณ์ไม่ว่าจะเป็นกล้องวงจรปิด, หลอดไฟ, เครื่องดูดฝุ่น หรือว่าซาวด์บาร์

หลังจากนั้นทำการล็อกอิน Email ของเราลงไปในทีวี Sony X9500G และแอปพลิเคชั่น Google Home (หากใครยังไม่มีสามารถดาวน์โหลดได้ทั้ง Google Play Store และ App Store ได้เลยฟรี!!) 

ล็อกอินด้วยรหัส Gmail ทั้ง 2 อุปกรณ์ ทีวีและแอปพลิเคชั่น Google Home บนสมาร์ทโฟน

ขั้นตอนแรกเมื่อล็อกอิน Google Home เรียบร้อยแล้วทำการสร้างบ้านใหม่ของเราขึ้นมา 1 หลังเป็นการจำลองว่าภายในบ้านเรานั้น มีอุปกรณ์หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าเครื่องไหนบ้างที่รองรับ IoT หรือกำลังเชื่อมต่ออยู่ใน Wi-Fi อยู่ในวงแลนเดียวกันรึเปล่า หากมีก็จะปรากฏชื่อของอุปกรณ์นั้นขึ้นมาทันที เท่านี้ก็เป็นอันว่าเราสามารถสั่งงานอุปกรณ์อัจฉริยะของเราผ่านทีวี Sony 55X9500G ได้แบบสบายๆ ไม่ต้องใช้รีโมทเลย

สร้างบ้านขึ้นมาก่อน จากนั้นเพิ่มอุปกรณ์เข้าไปในบ้าน
อย่าลืมเชื่อมต่ออุปกรณ์ทั้งหมดให้อยู่ในวง Lan หรือ Wi-Fi เดียวกัน

แต่หากใครที่ทำตามเบื้องต้นแล้วไม่เจอแบบที่บอกแล้วก็ลองเข้าไปเพิ่มอุปกรณ์ตามแบรนด์หรือยี่ห้อด้วยตัวเองได้เลยผ่านการตั้งค่าในแค่ละแอปพลิเคชั่นของแต่ละยี่ห้อของเครื่องใช้ไฟฟ้าเสียก่อนเช่น Mi Home, Philips Hue เมื่อทำเส็จแล้วค่อยมาทำการซิงค์อุปกรณ์ต่างๆใน Google Home อีกที

ค้นหาหรือซิงค์อุปกรณ์อัจฉริยะตามแบรนด์หรือยี่ห้อที่เรามีได้เลยครับ
(โดยเราต้องทำการลิงค์อุปกรณ์ในแต่ละแอปพลิเคชั่นให้เรียบร้อยเสียก่อนแล้วจึงมาค้นหาในส่วนของ Google Home)
ที่สามารถสั่งงานได้โดยไม่ใช้รีโมทเพราะว่าตัวทีวีเค้ามี รูไมโครโฟนรับเสียงนั่นเอง!! 
(สังเกตสัญลักษณ์ไฟสีส้มหากติดอยู่แปลว่าทีวีพร้อมรับคำสั่งเสียงแล้ว)

อีกหนึ่งอย่างที่ถือเป็นเทคนิคการใช้งานคำสั่งเสียงเพื่อควบคุมเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านที่แม่นยำคือ เราควรแบ่งห้องของอุปกรณ์ต่างๆ ไว้แต่ละห้องเพื่อการสั่งงานที่แม่นยำและกันความสับสนของชื่ออุปกรณ์ได้ หรือหากต้องการสั่งงานเครื่องใช้ไฟฟ้าชิ้นไหนก็ให้พูดชื่อลงเพื่อเป็นการระบุว่าเราต้องการสั่งงานเฉพาะของชิ้นนี้เท่านั้นก็ถือว่าทำได้ง่ายครับ

แบ่งห้องหรือตั้งชื่ออุปกรณ์จะช่วยให้การสั่งงานด้วยเสียงแม่นยำมากขึ้น

สำหรับการเปลี่ยนชื่ออุปกรณ์บน Google Home นั้นมีดังนี้

1.เลือกอุปกรณ์ที่ต้องการเปลี่ยนชื่อ

2.เข้าไปที่เมนูตั้งค่า (เป็นรูปฟันเฟือง)

3.กดเข้าไปแถบหัวข้อที่ (สังเกตจะมีชื่อุปกรณ์เก่าขึ้นอยู่)

4.ตั้งชื่ออุปกรณ์ตามที่เราต้องการ เพื่อใช้ในการพูดสั่งงานด้วยเสียงผ่าน Google Assistant

หากใครที่ทำตามทั้งหมดแล้วแต่ยังไม่สามารถสั่งงานด้วยคำพูดภาษาไทยให้ลองทำตามนี้ดูครับ

1.เข้าไปในส่วนของการตั้งค่า Google Assistant

2.เลือกหัวข้อ ภาษาสำหรับพูดคุยกับ Assistant

3.หากเข้ามาแล้วเจอเพียงแต่ภาษาอังกฤษ ให้ทำการเพิ่มภาษาไทยเข้าไปครับ

เป็นไงกันบ้างครับวิธีทำไม่ยากแบบที่คิดใช่มั้ยครับแต่เจ้า Google Assistant ยังทำหน้าที่ได้มากกว่านั้นครับหากเราใช้งานร่วมกับลำโพงซาวด์บาร์อย่าง Sony HT-Z9F ที่รองรับการทำงานร่วมกับ Google Assistant ได้เช่นกันทำให้เราสามารถสั่งเปิดเพลงผ่าน Spotify ผ่านคำสั่งเสียงได้แบบเท่ๆ สบายๆ ด้วยระบบเสียงที่อัพเกรดจากตัวทีวีให้ดีขึ้นมาอีกระดับนึง โดยใช้ตัวทีวีเป็นศูนย์กลางในการสั่งงานต่อให้เราปิดทีวีอยู่ก็สามารถสั่งงานได้

สั่งเปลี่ยนเพลงเพิ่มลดเสียงทำได้ง่ายมาก

หรือเราจะสั่งเปิดปิดไฟด้วยคำสั่งเสียงทีวี Sony เค้าก็ทำได้เช่นกันเพียงแต่ต้องเปลี่ยนหลอดไฟภายในบ้านของเราให้เป็นแบบอัจฉริยะเสียก่อน ดูจากตัวอย่างที่ผมใช้ภายในบ้านคือ หลอดไฟ Philips Hue ผมสามารถสั่งเปิดปิดรวมไปถึงเปลี่ยนสีต่างๆ ก็ทำได้ผ่านคำสั่งเสียงเช่นกัน อยากได้ไฟสีอะไร สว่างประมาณไหนก็พูดกับทีวีได้เลย

สั่งเปิดปิดหรือเปลี่ยนสีหลอดไฟ

และสุดท้ายกำลังเข้ากับวิกฤตการณ์บ้านเราในช่วงนี้เลยครับฝุ่น P.M 2.5 กำลังมาแรงเกิดนั่งดูหนังหรือซีรีส์อยู่แล้วรู้สึกหายใจไม่สะดวก เราก็แค่พูดกับตัวทีวี X9500G ได้แบบทันทีโดยไม่ต้องเสียงเวลาหารีโมทหรือเอื้อมไปเปิดเครื่องฟอกอากาศที่ตั้งอยู่อีกที่เลย ถือว่าสะดวกสบายมาก

ผมลองสั่งงานเปิดเครื่องฟอกอากาศ
เปิดปิดเครื่องฟอกอากาศได้จริงด้วย

หากลองทำตามดูแต่ละขั้นตอนแล้วจะเห็นว่าไม่ยากเลยใช่รึเปล่าครับ เพียงแต่เราต้องอาศัยความเข้าใจในแต่ละขั้นนั้นๆ พูดหากจะพูดสรุปให้เข้าในง่ายๆ ก็คือเราต้องทำการซิงอุปกรณ์เข้ากับแอปพลิชั่นเฉพาะของอุปกรร์เครื่องใช้ไฟฟ้าแต่ละยี่ห้อให้เส็จสิ้นเสียก่อนจากนั้นจึงทำการซิงค์เข้ามาใน Google Home จากนั้นเราก็แบ่งห้องหรือตั้งชื่ออุปกรณ์นั้นๆ ให้สะดวกต่อการสั่งงานเพียงเท่านนี้ก็สามารถใช้งานได้จริงๆ แล้วครับ