แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Topics - BIGBOOM

หน้า: [1]
1
[size=[^_^]]จอ VA และ IPS ต่างกันอย่างไร ? แล้วซื้อแบบไหนดี ?[/size]


จอ VA และ IPS ต่างกันอย่างไร ? แล้วซื้อแบบไหนดี ?

จอ LED LCD TV ในตลาดปัจจุบันนี้หลักๆมีอยู่ 2 ชนิดด้วยกันได้แก่จอ VA และ IPS ซึ่งแต่ละแบบก็มีจุดเด่นเฉพาะตัว วันนี้เรามาทำความรู้จักและข้อแตกต่างระหว่างจอทั้งสองชนิดนี้ รวมถึงฟันธงแนะนำให้เหมาะสมกับการใช้งานจริงของท่าน !

โครงสร้างพิกเซลของจอ VA เป็นแท่งตรงเรียงต่อกัน

VA ย่อมาจาก Vertical Alignment แปลเป็นไทยความหมายตรงตัวโครงสร้างเม็ดพิกเซลเป็นแบบ “แท่งตรงเรียงต่อกัน” แดง-น้ำเงิน-เขียว โรงงานหลักที่ผลิตแล้วใช้กันแพร่หลายคือ Samsung Display ที่เกาหลีใต้ นิยมใช้เป็นทั้งจอทีวีและมอนิเตอร์

จุดเด่น
1) ภาพสว่างใส เปิดโปร่ง สดชื่น
2) รายละเอียดในที่มืดดี
3) คุมระดับความดำทั่วจอได้ดี

ข้อจำกัด
1) มุมมองการรับชมไม่กว้างนัก

โครงสร้างเม็ดพิกเซลของจอ IPS เป็นรูปบั้งยศทหาร

IPS ย่อมาจาก In-Plane Switching มีโครงสร้างการเรียงพิกเซลเป็นรูปทรง “บั้งยศทหาร” ทำให้มีมุมมองการรับชมที่กว้าง โรงงานหลักที่ผลิตคือ LG Display ที่เกาหลีใต้ ถูกใช้อย่างแพร่หลายทั้งทีวี มอนิเตอร์ และโทรศัพท์มือถือสมาร์ทโฟน

จุดเด่น
1) ภาพสีสันเข้มข้น
2) มุมมองการรับชมกว้าง
3) เป็นจอแข็ง เอานิ้วลูบไม่เกิดลายน้ำ

ข้อจำกัด
1) รายละเอียดในที่มืดและการคุมความดำยังเป็นรอง

เดี๋ยวนี้เขาพัฒนาแล้ว ?
ข้อจำกัดของจอทั้งสองแบบก็ถูกปรับปรุงให้ดีขึ้นตามลำดับ อย่างจอ VA ที่มีมุมมองการรับชมไม่กว้างนัก พวกรุ่นท็อปๆอย่าง QLED TV ที่ใช้จอ VA ก็มีการใช้ Metal Alloy Quantum Dot ชนิดใหม่ที่เคลือบโลหะ มีมุมกระจายแสงกว้างขึ้น ส่งผลให้มุมมองรับชมกว้างขึ้น 

ส่วนจอ IPS ก็ปรับปรุงเรื่องระดับความดำด้วยการอัพเกรดหลอดไฟแบ็คไลท์ให้สามารถทำ Local Dimming หรือการเปิด-ปิด-หรี่ หลอดไฟ LED เป็นกลุ่มๆให้สัมพันธ์กับฉากมืดและสว่างเพื่อเสริมความดำเฉพาะจุดให้ดูเนียนขึ้นแทน

แต่ขอย้ำอีกทีว่าเทคโนโลยีเสริมเหล่านี้จะมีเฉพาะรุ่นมิดเอ็นด์ถึงไฮเอ็นด์เท่านั้นเพราะต้นทุนมันสูง พวกรุ่นเริ่มต้นแทบหมดสิทธิ์

เลือกให้เหมาะกับการใช้งาน ?

ขอยกตัวอย่างการใช้งานจริงจากบ้านผมเอง

ห้องนอน : ผมดูทีวีจากบนเตียงในมุมตรงซะส่วนใหญ่ และดูในทุกสภาพแสงทั้งปิดไฟสนิท ไฟสลัว และ เปิดไฟ เคสนี้ผมเลือกจอ VA ตอบโจทย์ที่สุด ให้คุณภาพได้ดีที่สุด

ห้องนั่งเล่น : ผมดูทีวีจากโซฟามุมตรง และบ่อยครั้งจากโต๊ะกินข้าวที่ตั้งเฉียงเยื้องออกไป เช่นนี้จอ IPS จะยืดหยุ่นและตอบโจทย์การใช้งานมากกว่า 

หวังว่าข้อมูลและเคสตัวอย่างข้างต้นจะช่วยให้ท่านเลือกซื้อทีวีที่ “เข้ากันดี” กับลักษณะการใช้งานจริงที่บ้านของท่าน เพื่อที่จะได้เสพภาพจากศักยภาพสูงสุดของทีวีครับ

2
[size=[^_^]]
OLED TV และ QLED TV ต่างกันอย่างไร ? ต้องเลือกแบบไหน ?
[/color][/size]


OLED TV  ย่อมาจาก Organic Light Emitting Diode เป็นเทคโนโลยีการแสดงผลภาพใหม่ล่าสุด เม็ดพิกเซลสามารถเปล่งแสงสีออกมาได้ด้วยตัวเอง ให้ระดับสีดำที่ดำสนิท 100% ให้ระดับคอนทราสต์สูงมาก พร้อมสีสันที่สดอิ่มแวววับ "คุณภาพของภาพดีเยี่ยมสุด" ในนาทีนี้

ในอดีตอาจมีข้อจำกัดเรื่องการเบิร์นอินหรือภาพค้างติดหน้าจอหากเปิดภาพนิ่งไว้เป็นเวลานานอยู่บ้าง ทว่าตอนนี้ OLED TV รุ่นใหม่สามารถจัดการปัญหานี้ได้ดีขึ้นมากแล้ว หากใช้งานทีวีแบบปกติทั่วไป เช่นดูหนังหรือดูรายการทีวี ปัญหานี้ก็แทบจะไม่เกิดขึ้น

OLED TV เหมาะกับ …..??

1) ท่านที่จริงจังกับคุณภาพของภาพแบบ “ไปให้สุด” แถมให้มุมมองรับชมที่กว้าง ดูเฉียงๆภาพยังสีสด

2) ดูหนังในห้องมืด เพราะสร้างระดับความดำได้ 100% พื้นหลังดำสนิทอย่างแท้ทรู ส่งผลให้แสงสีดูป็อปอัพเจิดจรัสมาก

3) ห้องสว่างแบบปกติก็ให้ภาพที่สวยโดดเด้ง ไม่ว่าจะดูหนังหรือรายการทีวีทั่วไป

4) เล่นเกมคอนโซลที่มีภาพเคลื่อนไหวและสลับฉากอยู่เป็นช่วงๆ

OLED TV ไม่เหมาะกับ ….???

1) ต่อกับคอมพิวเตอร์หรือโน้ตบุ๊คแล้วใช้เป็นจอมอนิเตอร์ทำงานหรือเล่นเกมส์ เช่นเปิด Powerpoint หรือหน้า Desktop ค้างไว้

2) เป็นจอ Display แสดงผลภาพนิ่งเป็นระยะเวลานาน เช่น จอแสดงตารางการบินในสนามบินหรือจอแสดงเมนูในร้านอาหาร

QLED TV ย่อมาจาก Quantum Dot Light Emitting Diode TV โดยพื้นฐานเป็นจอ LED LCD TV แต่อัพเกรดประสิทธิภาพด้วยเทคโนโลยี Quantum Dot ที่ช่วยส่งผลให้สีสันและความสว่างเหนือชั้นกว่า LED TV ทั่วไป โดยระดับสว่างสูงสุดของรุ่นท็อปๆก็มักทะลุเกิน 2000 nits

ซึ่งถือว่าสว่างสุดฤทธิ์หากเทียบกับ LED TV ทั่วไปซึ่งจะอยู่ราว 300-1000 nits และ OLED TV ที่สว่างสุดประมาณ 700 nits จุดเด่นนอกเหนือจากความสว่างอันซูซ่าคือไม่มีปัญหาเรื่องเบิร์นอินจึงสามารถใช้งานทีวีได้ "ยืดหยุ่นทุกรูปแบบ" อย่างไม่ต้องกังวลใจ 100% Worry Free

QLED TV เหมาะกับ ….?

1) ดูในห้องสว่างมากเช่นไม่มีม่านคุมแสงและห้องสว่างปกติ สู้ได้ทุกสภาพแสง แถมให้ค่าปริมาตรสีหรือ Color Volume ที่สูง สีจึงสดไม่ซีดเซียวไม่ว่าจะเร่งความสว่างหน้าจอให้สูงเท่าไหร่ก็ตาม

2) ห้องมืดสนิทหรือห้องแสงสลัวก็ยังใช้ได้ดี แม้โครงสร้างหลอดไฟแบ็คไลท์จะเป็น Edge LED หรือ Full LED ก็ดี แต่ก็ยังมีฟีเจอร์ Local Dimming ที่ช่วยเปิด-ปิด-หรี่ หลอดไฟเป็นโซน สามารถถ่ายทอดระดับความดำอยู่ในเกณฑ์น่าพอใจ แต่ก็ยังไม่ถึงขึ้นดำสนิท 100%

3) เล่นเกมส์คอนโซลและเกมส์คอมพิวเตอร์ทุกรูปแบบ เปิดค้างคืนไว้ยังได้

4) ต่อเป็นมอนิเตอร์คอมพิวเตอร์ เพราะเปิดภาพนิ่งหรือสไลด์โชว์แช่ไว้นานแค่ไหนก็ไม่ต้องกลัวเบิร์นอิน

ข้อจำกัดของ QLED TV

1) โครงสร้างพื้นฐานยังเป็นจอ LED LCD จึงต้องใช้หลอดไฟ LED Backlight ในการกำเนิดแสงสว่างให้แต่ละเม็ดพิกเซล

2) มุมมองการรับชมกว้างขึ้นก็จริงแต่ก็ยังมีองศาที่จำกัดอยู่ เจอมุมเฉียงโหดๆก็มีสีซีดให้เห็น

สรุป

OLED TV และ QLED TV เป็นจอภาพที่ใช้เทคโนโลยีที่ต่างกัน มีจุดเด่นและข้อจำกัดคนละแบบ

ขอให้ท่านเลือกชนิดทีวีให้ “เหมาะกับลักษณะการใช้งาน” ของท่านที่สุด และพร้อมเรียนรู้ที่จะใช้ทีวีแต่ละชนิดให้ “ถูกทาง” เพื่อบรรลุจุดหมายปลายทางของการใช้ทีวีนั่นก็คือ “ความสุขอย่างยั่งยืน” ในการรับชมคอนเทนต์โปรดนั่นเอง !

3
Hisense Service Call Center : 02-017-0077
สามารถติดต่อทาง Line ด้วยการแอดเบอร์ : 020170077 หรือ Line ไอดี HISENSE.THAILAND

6
สวัสดีแฟนเว็บทุกท่านครับ OPPO UDP-203 คือเครื่องเล่นบลูเรย์ 4K HDR เครื่องแรกในไทย ซึ่งทีมงาน LCDTVTHAILAND ได้ร่วมกับบริษัท ไทย ออปโป้ จำกัด จัดงานบรรยายเปิดตัวเจ้า UDP-203 ตัวนี้ ในวันเสาร์ที่ 4 กุมภาพันธ์ ภายในงานเครื่องเสียง BAV HI-END SHOW 2017 โรงแรมแลนด์มาร์ค สุขุมวิท ซึ่งก็ได้รับการตอบรับจากแฟนเว็บในการเข้าร่วมงานเป็นจำนวนมาก ตามแอดมินมาชมรีวิวงานบรรยายครั้งนี้กันเลยดีกว่า โดยเฉพาะแฟนๆ OPPO ห้ามพลาดโดยเด็ดขาด !

**** รีวิวตัวเครื่องแบบเจาะลึกฉบับเต็มจะมีให้ชมเร็วๆนี้ ***




รวมมิตร ! "ชาวเว็บ LCDTVTHAILAND" ที่มาร่วมงานบรรยายเปิดตัว OPPO UDP-203
วันเสาร์ที่ 4 ก.พ. 2017 ณ โรงแรมแลนด์มาร์ค สุขุมวิท


พระเอกของงานคือเจ้า OPPO UDP-203 เครื่องเล่น 4K Blu-ray Player ตัวนี้
 หน้าตาหล่อเหลาเอาเรื่องอยู่ ราคาเปิดอยู่ที่ 23,900 บาท

OPPO UDP-203
- 4K Ultra HD Blu-ray Player
- Universal Disc Player
- HDR10
- 4K 60Hz 4:4:4
- 32 Bit DAC
- Quad Core MediaTek Video Processor
- Dual HDMI Out
- HDMI In
- 7.1 Channel Analog Out
- Dolby Atmos, DTS:X, Dolby True HD, DTS HD Master Audio support
- Price 23,900 Baht


OPPO UDP-203 คือเครื่องเล่น 4K Blu-ray Player เครื่องแรกที่มีวางจำหน่ายในไทยอย่างเป็นทางการ
จึงนำมาทดสอบและสาธิตต่อหน้าแฟนเว็บอย่างเป็นทางการ เปิดรับศักราช 4K แห่งชาติซะเลย !

OPPO UDP-203 คือพระเอกของงานนี้เพราะเป็นเครื่องเล่น 4K Blu-ray Player เครื่องแรกที่มีขายในไทย หลังจากปล่อยให้ประชากรสายภาพและเสียงรอกันจนเหงือกแห้งเพราะทีวี 4K นั้นวางขายตั้งแต่ 4-5 ปีที่แล้ว แต่เครื่องเล่นและแผ่นก็ยังไม่มีที่ท่าว่าจะวางขายเพื่อเติมเต็มซึ่งกันและกันเสียที จนในที่สุดต้นปี 2017 นี้ Oppo ก็คลอดเจ้า UDP-203 ออกมาสืบสานตำนานอย่างรุ่น BDP-105/103 และ BDP-95/93 ที่ขึ้นชื่อเรื่อง "คุณภาพสูง" ฉะนั้นแฟน OPPO ก็ย่อมตั้งความหวังกับเจ้า UDP-203 "ไว้สูง" เช่นกัน


เริ่มที่หน้าห้องชุลมุนเล็กน้อยตอนลงทะเบียนเข้าร่วมงาน หน้าห้องชั้น 9 โรงแรมแลนด์มาร์ค สุขุมวิท


บรรยากาศภายในห้องบรรยายชั้น 9


ซึ่งมีแฟนเว็บ LCDTVTHAILAND กว่าร้อยชีวิตเข้าร่วมงานในครั้งนี้



Reference System : ชุดซิสเต็มอ้างอิง
เริ่มแรกขอแนะนำซิสเต็มที่ใช้ทดสอบในครั้งนี้ก่อน แน่นอนว่าการจะขับศักยภาพของเครื่องเล่น OPPO UDP-203 ให้ออกมาอย่างหมดจดนั้นก็ต้องพึ่งระบบภาพและเสียงที่มีคุณภาพที่ดีเช่นกัน มิเช่นนั้นจะไม่สามารถนำพาสัญญาณภาพและเสียงให้สมบูรณ์ตั้งแต่ต้นน้ำยันปลายน้ำได้ ทาง LCDTVTHAILAND ได้รับความร่วมมือจากบริษัท Inventive AV (IAV) ผู้นำเข้าเครื่องเสียงและโฮมเธียเตอร์รายใหญ่ในไทย ในการคัดสรร "แอมป์ ชุดลำโพง และซับวูฟเฟอร์" จากแบรนด์ "Anthem, Canton และ SVS" ที่มาเติมชุดเต็มซิสเต็มอ้างอิงชุดนี้ ส่วนจอทีวีทีมงานก็ตั้งใจคัดเลือกตัวที่มีคุณภาพยอดเยี่ยมกับขนาดจอที่ใหญ่เพียงพอต่อการรับชมหลายสิบหลายร้อยคนพร้อมกันได้ จึงได้ LG 4K Ultra HD OLED TV รุ่นท็อปขนาด 77" และ 65" ซึ่งได้รับการทดสอบแล้วว่าเป็น Best of The Best TV 2016-2017 ในช่วงปีที่ผ่านมา ผนวกมีฟีเจอร์แสดงผลภาพที่สอดรับไปกับฟีเจอร์ของ Oppo UDP-203 ไม่ว่าจะเป็น HDR และ 3D แบบ Passive ซึ่งรองรับการรับชมทีละหลายคน

หมายเหตุ
- บริษัท Inventive AV จำกัด โทร 02-238-4078-9
- บริษัท LG Electronics (Thailand) จำกัด โทร 02-878-5757


ในห้องบรรยายทีมงานใช้ซิสเต็มทดสอบระดับคุณภาพทั้งระบบภาพและเสียง
เรื่องภาพได้ LG 4K OLED TV รุ่นท็อป 77G6T เข้าประจำตำแหน่งศูนย์หน้า
ระบบเสียงเซ็ตในในแบบ 7.2.4 แชนแนล มีลำโพง Front / Rear High สำหรับเสียง Dolby Atmos / DTS:X


ชุด Pre-Processor และ Power Amplifier กำลังขับรวมมากกว่า 2,000 วัตต์!
จาก Anthem แบรนด์ดังจากแคนาดา


ตัว Pre-Processor Anthem AVM60 จัดว่าทันสมัยที่สุดตัวหนึ่ง
เพราะรองรับระบบภาพ 4K HDR (Pass-through) และการถอดรหัสเสียง Dolby Atmos และ DTS:X

ซึ่งทีมงานคาดคะเนจากงานบรรยายครั้งที่ผ่านๆมาว่าห้องใหญ่ขนาดนี้ผนวกกับผู้ชมกว่า 100 ท่าน หากเป็นแอมป์แบรนด์ตลาดขนาดปกติคงเอาไม่อยู่แน่นอน ดังนี้ Anthem ซึ่งได้รับการกล่าวว่าให้คุณภาพเสียงที่ยกระดับจากแอมป์ในท้องตลาดจึงถูกคัดเลือกให้มาทำหน้าที่เป็นเพลย์เมกเกอร์ในห้องบรรยายแห่งนี้


ลำโพง Canton : Vento Series จากเยอรมัน
ทีมงานเคยทดสอบและจัดให้เป็นลำโพงที่มีคุณภาพเสียงที่ดีเยี่ยมทั้งการดูหนังและฟังเพลงแบบ "2 In 1"
ถูกเลือกนำมาเป็นกระบอกเสียงหลักประจำการในห้องแห่งนี้เช่นกัน


เซอร์ราวด์ก็ใช้ Canton Vento แต่เป็นลำโพงวางขาตั้ง


ลำโพงในระบบรวมถึงเซ็นเตอร์ ใช้ตัวขับเสียงสีเงินตัดกับตัวตู้สี Piano Black ดำเงา


ลำโพง Front High ด้านบนก็ของ Canton เป็นรุ่น Ergo จัดว่า "เล็กพริกขี้หนู"
ด้วยสรีระบาง กระทัดรัด ทว่าให้สุ้มเสียงได้จะแจ้งชัดเจนจนน่าประหลาดใจ
ทีมงานจึงเลือกมาแขวนเป็นลำโพง Front High / Rear High เพื่อรองรับระบบเสียง Dolby Atmos และ DTS:X
(ตัวนี้ยังไม่เคยทดสอบ เอามาเทสต์สดในงานเลย)


ชัดๆกับลำโพง Front High - Canton Ergo อีกซักรูป
เห็นขนาดเล็กๆแบบนี้ ย้ำอีกทีว่าเสียงไม่เบาเลย


ด้านหลังห้อง ก็มี CANTON Ergo แขวนกับโครงเหล็กเป็น Rear High อีก 1 คู่
เพื่อมิติเสียงด้านสูงครอบคลุมห้องบรรยายที่มีลักษณะแคบแต่ยาว


Subwoofer ด้านหน้าห้องจะเป็น SVS : SB16-Ultra รุ่นเรือธงล่าสุด
และเสริมด้านหลังห้องด้วย SB13-Ultra

ชื่อเสียงและคุณภาพ SVS จัดเป็นระดับ "หัวแถว" ในบรรดาแบรนด์ Subwoofer ทั่วโลก ได้รับรางวัลจากต่างประเทศมากมาย รางวัลใหญ่สุดก็คงหนีไม่พ้น Best Innovation Award หรือ รางวัลนวัตกรรมสินค้าที่ดีที่สุดประจำปี 2017 จากงาน CES ที่ลาสเวกัส สหรัฐอเมริกา ซึ่งรุ่น SB16-Ultra ก็คว้ารางวัลที่ใหญ่ที่สุดของงานนี้มาครอง ประกอบกับการอ้างอิงจากงานบรรยาย "ดูหนังจอยักษ์กับ Acer Projector" เมื่อ 2 ปีที่แล้ว ที่ใช้ SVS : PB13-Ultra ตัวเดียวก็คำรามเอาอยู่ทั้งห้อง ดังนี้ SVS Subwoofer จึงเข้ากรีฑาทัพร่วมผนึกกำลังกับลำโพงและแอมป์คุณภาพดังที่กล่าวไปแล้ว


สาย HDMI ก็มิกซ์กันระหว่างสายภาพเป็น LCD HDMI : JERICHO ต่อตรงเข้าทีวี
ส่วนสายเสียงจะเป็น VELOCITA : MILANO X ต่อเข้า Pre-Processor


อีกสเตชั่นนึงนอกเหนือจากทีวี "จอหลัก"
ก็จะมีทีวี "จอรอง" อย่าง LG OLED TV 65E6T เดโม่ภาพให้ Oppo UDP-203 อีกเครื่องหนึ่ง


แผ่นหนัง 4K HDR แท้ๆ ที่จะใช้ทดสอบในครั้งนี้



Demonstration : สาธิตคุณภาพภาพและเสียง
ตารางงานในวันนี้ช่วงแรกจะเป็นการอธิบายถึงคุณสมบัติของ OPPO UDP-203 ให้รู้ถึงดีไซน์ สเป็ค ชิพเซ็ต และ ฟีเจอร์ ของตัวเครื่อง หลังจากนั้นจะเป็นการสาธิตคุณภาพของภาพและเสียงให้ผู้เข้าร่วมงานพิสูจน์ด้วยตาและหูของตัวเองล้วนๆ ทีมงานได้เตรียมแผ่นหนัง 4K HDR แท้, แผ่นหนัง 3D, แผ่นคอนเสิร์ต และแผ่นเพลง 2 แชนเนล สำหรับการทดสอบให้ครบ "ทุกมิติความสามารถ" ของ OPPO UDP-203 ที่พึงจะกระทำได้


นำบรรยายโดยคุณโรมัน เจ้าเก่าเวลาเดิม เพิ่มเติมคืออายุ !


และคุณชานม ผู้อาวุโสแห่ง LCDTVTHAILAND


แฟนเว็บเริ่มมาจับจองที่นั่งตั้งแต่ 12.30 น. ก่อนเริ่มงานประมาณครึ่งชั่วโมง
ตำแหน่งที่นั่งที่เป็นจุด Sweet Spot ที่จะเห็นภาพและได้ยินเสียงที่ดีที่สุดก็คือ ข้างหน้า+ตรงกลาง
ฉะนั้นหากมาก่อนก็จะได้เลือกที่นั่งก่อน ซึ่งหมายถึง  "ฮวงจุ้ยดีโดยอัตโนมัติ"
โดยไม่ต้องพึ่งพาอาจารย์คฑา ชินบัญชร (ฮา)


เริ่มแนะนำ OPPO UDP-203 แกะฝาเครื่องให้ดูโครงสร้างภายใน
ซึ่งแยกภาคอนาล็อค ภาคดิจิตอล ภาคจ่ายไฟ และตัวบลูเรย์ไดรฟ์ ออกจากกัน


เห็นตัวเครื่องถูกแก้ผ้าแก้ผ่อนหน่อยมิได้
ผู้ชมบางท่านเลยรีบควักมือถือออกมาชักภาพเก็บเป็นที่ระลึก ^ ^


ภาคจ่ายไฟ ภาคอนาล็อค ภาคดิจิตอลที่แยกออกจากกัน
ส่วนบลูเรย์ไดรฟ์มีความพิเศษที่มีการแดมป์กันแรงสั่นสะเทือนจากภายในและภายนอก


คุณโรมันสาธิตฟีเจอร์ของรีโมทคอนโทรลแบบใหม่


รีโมทเป็นระบบ Auto Backlight ส่องสว่างเอง
เพียงแค่เราขยับตัวรีโมทซักนิด...ไฟก็ติดแล้ว !


หลังจากนั้นก็ทดสอบด้วยแผ่นหนัง 4K HDR เรื่อง X-Men : Apocalypse
เพื่อทดสอบคุณภาพของภาพที่ถูกขับเคลื่อนด้วยชิพ MediaTek
ซึ่งเป็น Video Processor แบบ Quad Core ตัวใหม่ล่าสุด


จุดสังเกตภาพ HDR คือความ "เจิดจรัส" ของลำแสงต่างๆซึ่งดูโชติช่วงกว่าภาพ SDR ทั่วไป


เปลี่ยนมาทดสอบภาพ 3D จากเรื่อง Step Up : Revolution ทุกท่านใส่แว่น 3D พร้อม
ก็ต้องยอมรัว่าซึ่งกระแส 3D อาจจะเพลาลงไปบ้างแล้ว
ทว่า OPPO UDP-203 ก็ยังคงมีฟีเจอร์เล่นภาพ 3D มาให้อยู่
ทีมงานก็ชอบเพราะยังติดการรับชมหนัง 3D จากโรง IMAX อยู่เป็นประจำ


เริ่มบรรเลงภาพ 3 มิติผ่าน OLED TV ซึ่งเป็น 3D Passive


Step Up เป็นหนัง 3D สายแดนซ์ มีความละเอียด Full HD 1080p
หมายเหตุว่าหนัง 3D จะไม่มีทำแบบความละเอียด 4K


กับการเรียน....หนูทุ่มเทอย่างนี้ไหมลูก  ?
ใส่แว่น 3D และตั้งใจรับชมกันอย่างพร้อมเพรียง


ด้วยความที่ระบบ 3D เป็น Passive ก็เลยสามารถใส่แว่นดูได้หลายคนพร้อมกัน


สัมภาษณ์คุณพี่แถวหน้าหลังจากการรับชมให้ความเห็นว่า
ชอบภาพ 3D ที่ถูกขับออกมาโดยเฉพาะ "ความใส" !


เรียกให้แถวหน้าให้ถ่ายรูปด้วยกัน แทบไม่มีใครสนใจคุณโรมันเลย T T
มัวแต่ใจจดใจจ่ออยู่กับการรับชมภาพ 3D ลอดแว่นกันท้างน้าน !


คุณนัท อันเดอร์กราวด์ ผู้เชี่ยวชาญเรื่องไฟล์หนังจากเว็บ LCDTVTHAILAND
แนะนำการเล่นไฟล์วีดีโอผ่านช่องต่อ USB สกุลไฟล์ี่ที่รองรับก็อาทิ mkv, m2ts, ts, avi
ในภาพบนจอเป็นคลิปหนังตัวอย่างไฟล์ m2ts แบบ 4K เรื่อง Gods of Egypt


OPPO UDP-203 มีความสามารถในการ Bitstream สัญญาณเสียง Dolby Atmos และ DTS:X ไปให้แอมป์ถอดรหัส
และทำการทดสอบคุณภาพเสียง Dolby Atmos จากเรื่อง Deepwater Horizon


เสียงระเบิดสนั่นและโครงเหล็กที่หลุดร่วงลงมาในฉากหนีตายจากแท่นขุดเจาะน้ำมัน
จากลำโพง Front High ด้านบนในระบบเสียง Dolby Atmos มีมิติเสียงด้านสูงขึ้นมาจริง
 ช่วยเสริมบรรยากาศการรับชมให้เร้าใจยิ่งขึ้น


ต่อด้วยคอนเสิร์ตวงร็อค Imagine Dragons กับเพลงสุดมันส์อย่าง Radioactive ในระบบเสียง Dolby Atmos


แสงสีจัดเต็ม ดูผ่านทีวีพร้อมลำโพงเซอร์ราด์รอบตัวก็ได้อารมณ์แอบใกล้เคียงคอนเสิร์ตฮอลล์


เปิดคอนเสิร์ตที่ "เรียกแขก" เปิดเสียงดังโหวกเหวกจนคนเริ่มมาทะลักห้อง !


คุณชานมแนะนำ DAC : Digital to Analog Converter จาก AKM ของ OPPO
ซึ่งเป็นหัวใจในการเล่นเพลงแบบ 2 แชนแนลให้มีคุณภาพ


ด้วยความที่เป็น Universal Player หรือเล่นทั้ง Discs และ Files ได้ค่อนข้าง "ครอบจักรวาล"
จึงสามารถเล่นแผ่นอย่าง Super Audio CD, DSD และไฟล์ Hi-Res Audio ได้อย่างหลากหลาย


สุดท้ายมีการแนะนำเคล็ดลับการตั้งค่า OPPO และทีวีให้แสดงภาพออกมาได้ดีที่สุด



Conclusion : สรุป
บทสรุปมาจากการทดสอบของทีมงานผนวกกับฟีดแบ็กที่สัมภาษณ์ผู้เข้าร่วมงานหลังจากเสร็จสิ้นการสาธิต OPPO UDP-203 ตัวนี้ เรื่องคุณภาพของภาพ 4K ก็ถือว่าดีเยี่ยม คมชัดสะอาดตา ภาพ HDR เจิดจรัสและจัดจ้าน คุณภาพเสียงไม่ว่าจะเป็นการ Bitstream สัญญาณเสียง Immersive Sound อย่าง Dolby Atmos & DTS:X หรือการเล่นเพลง 2 แชนแนลผ่านภาค DAC ก็ทำได้อย่างน่าประทับใจ (ไม่แพ้ CD Player ราคาเทียบเคียง) ความหลากหลายในการเล่นแผ่นและไฟล์ก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ผู้เข้าร่วมงานแอบเทคะแนนให้ ที่ Oppo สถาปนาตัวเองว่า Universal Player ก็คงไม่ผิดกระไร ในทางกลับกันข้อเสียของเจ้า UDP-203 หลักๆเลยคือการตัดแอพส์อย่าง YouTube และ Netflix ทิ้งไป ด้วยเหตุผลที่ว่าในรุ่นก่อนอย่าง BDP-103/105 ไม่ค่อยมีคนใช้กันนัก มาครั้งนี้เลยตัดทิ้งไปซะเลย ช่วยลดต้นทุนได้อีกกระหย่อมด้วย....ชะลาล่า ! และความสามารถในการเล่นไฟล์วีดีโออาจจะยังไม่ครอบคลุมเท่าพวกเครื่องเล่น HD Player นัก เอาหละอันนี้เป็นเพียงบทประเมินคร่าวๆหลังงานบรรยายเท่านั้น บทความรีวิวแบบเจาะลึกจริงจะตามมาอีกในไม่ช้า โปรดจงติดตามพวกเราอย่างใกล้ชิด


ข้อดี
1) ภาพ 4K HDR มีความคมชัด เข้มข้น เจิดจรัส ฉีกหนี Full HD อัพสเกลเดิมๆ
2) คุณภาพเสียงดีเยี่ยมไม่ว่าจะ Bitstream หรือเล่นเพลง 2 แชนแนล
3) ช่องต่อ HDMI คู่ แยกภาพและเสียงออกจากกัน
4) เป็น Universal Player เล่นแผ่นและไฟล์ได้หลากหลาย อาทิ 3D, SACD, DSD, DXD
5) งานประกอบแข็งแรงและพรีเมี่ยม บอดี้โลหะ ขั้วต่อสายสัญญาณชุบทอง

ข้อเสีย
1) ตัดแอพฯ อย่าง YouTube และ Netflix ออกไปแล้ว
2) ต้องรอเฟิร์มแวร์เพื่อให้รองรับมาตรฐาน HDR ล่าสุดอย่าง Dolby Vision
3) ไฟล์หนังอย่าง Full Rip ISO BDMV ยังไม่รองรับ (ต้อง Jailbreak แต่เครื่องจะหมดประกัน)

**** รีวิวตัวเครื่องแบบเจาะลึกฉบับเต็มจะมีให้ชมเร็วๆนี้ ***


คุณกฤษณะ ตระกูลล้ำฟ้า Digital Sales Director บริษัท ไทยออปโป้ จำกัด
 ให้เกียรติขึ้นกล่าวปิดท้าย พร้อมจับฉลากแจกของที่ระลึกให้กับผู้โชคดี


หน้า: [1]