แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Messages - TheJia

หน้า: [1] 2 3 ... 8
1
ที่ดูใบรับประกันเป็นของ allianz ครับ  ตอนเคลมโทรไปแจ้งร้านที่ซื้อ ไม่ได้โทรไปที่ LG ครับ แล้วทางร้านจะดำเนินการเข้ามารับของติดต่อประกัน และซ่อมให้ครับ เพิ่งได้รับทีวีคืน มา ช่างบอก บอร์ดเสีย ค่าเปลี่ยนอยู่ที่ ประมาณ 7พันกว่าบาท ที่ทำประกันไว้ 4พันกว่าบาท น่าจะคุ้มแล้ว
 [ช็อค]
ค่าทำประกันไม่ใช่ 8% เหรอครับ, 8% ของ 82,000 น่าจะ 6,5xx บาท ... ของผมคนละรุ่นแต่ราคาใกล้กัน โดนไป 6 พัน ...

2
สอบถามหน่อยครับ ที่ทำประกันไว้เป็นของที่ไหน ใช่ allianze หรือเปล่าครับ, แล้วตอนพังนี่ติดต่อศูนย์ LG โดยตรงได้เลยใช่ไหมครับ หรือต้องผ่านประกันก่อน ?

ผมก็ทำ 3 ปีไว้ แอบเสียวๆอยู่ ..., บอร์ดพังนี่ผมว่ามันซ่อมง่ายนะกรณีอยู่ในประกัน แค่เปิดฝาเปลี่ยนบอร์ด เครื่องไม่ช้ำเพราะไม่โดนหน้าจอ, แต่ถ้านอกประกันแล้วต้องเปลี่ยนบอร์ด คงแพงน่าดู

3
เรื่องภาพอาจจะไม่ได้หนีกันมากเพราะเป็น OLED ทั้งคู่ แต่จะมีต่างเรื่องเทคต่างๆครับ ซึ่งเป็นผมถ้าต่างแค่หมื่นเดียว เอา 2017 คุ้มกว่านะ

B7 เหนือกว่า B6 ดังนี้
- โหมดภาพใหม่ technic color
- รองรับ Dolby Atmos
- YouTube HDR
- ActiveHDR
- WebOS 3.5

แต่ทั้ง 2 รุ่นก็ไม่มี 3D นะ, ถ้าชอบ 3D ต้องหาพวก C6, E6, G6 ... ซึ่งผมว่าคงไม่จำเป็นเท่าไหร่เพราะไม่นิยมกันแล้ว

4
http://www.rtings.com/tv/reviews/lg/e7-oled
สงสัยว่าจะมีเฉพาะโมเดลประเทศไทย ที่ E7, G7 ได้ภาพสว่างกว่า B7, C7 ... โมเดลเมืองนอกไม่ได้รับผลจากภาคจ่ายไฟนี้เลย  [คิคิ] [คิคิ] [คิคิ]

รวมๆผมว่าส่วนต่างมันเป็นแบบที่เว็บ rtings บอกนะครับ, คือแปรผันไปตามแต่ละ unit ... เอารุ่นเดียวกัน 2 ตัวมาวัดค่า ก็น่าจะได้ค่าต่างกันประมาณนี้ ยังใช้เป็นข้อสรุปไม่ได้




5


**ถ้าภาพโหลดไม่ขึ้นอาจจะต้องลองกด refresh ดูนะครับ ขนาดไฟล์ค่อนข้างใหญ่

เกริ่นนำ
หลายๆคนคงเคยได้ยินคำว่า UPSCALE กันมาผ่านหูผ่านตาแล้วนะครับ โดยคร่าวๆการอัพสเกลสำหรับทีวีก็คือระบบที่ใช้ในการขยายขนาดภาพ จากภาพที่มีขนาดเล็ก ให้ใหญ่ขึ้นเพื่อแสดงผลบนหน้าจอทีวี, เนื่องจากทีวีปัจจุบันมีความละเอียด pixel ที่สูงมาก ในขณะที่ Source ภาพของเราส่วนใหญ่ ยังมีความละเอียดต่ำกว่า จึงต้องมีการขยายภาพช่วย, ซึ่งคุณภาพและวิธีการขยายก็แตกต่างกันไปตามแต่ละบริษัทผู้ผลิตทีวีและชิพประมวลผลนั้นๆ

info : ทีวี 4K มีความละเอียดสูงกว่า Full HD 1080p อยู่ 4 เท่า, แปลว่าหนัง Blu-ray 1080p จะต้องถูกขยายภาพให้ใหญ่ขึ้น 4 เท่าเพื่อให้เต็มจำนวน Pixel ของจอ 4K ... ดูแล้วต้องขยายเยอะอยู่นะครับ


นิยามสั้นๆคำว่า ระบบอัพสเกล จากบทความของคุณโรมัน
"ระบบอัพสเกล" คือระบบที่ช่วย "เพิ่มความคมชัดและรายละเอียดของภาพที่กำลังแสดงบนจอทีวี"

แต่ผมก็นึกสงสัยมาตลอดครับ เวลาได้ยินคนบอกว่า
"ทีวี 4k เครื่องนี้เปิดหนัง Blu-ray ชัดมาก ต้องเป็นเพราะระบบ upscale ดีมากแน่ๆ ถึงได้ชัดขนาดนี้"

คำถามที่เกิดในหัวคือ
- จริงๆแล้ว upscale มันช่วยแค่ไหนเวลาดู source 1080p ?
- ถ้าเราปิดระบบ upscale ไปเลย ภาพมันจะห่วยแตกขนาดไหนนะ ?
- Blu-ray 1080p มันไม่ตรงกับหน้าจอ 4k นี่ ตามเซ้นส์แล้วภาพก็ควรจะแตกสิถ้าไม่มี upscale ... ?
- ภาพจาก blu-ray ที่ไม่ผ่านการอัพสเกลเลยบนจอ 4k นี่มันจะออกมาเป็นยังไง ?

กระทู้นี้เรามาลองหาคำตอบไปด้วยกันดูครับ พร้อมมีตัวอย่างไฟล์ประกอบ ให้ไปทดลองกับทีวีที่บ้านด้วย

------------

ทำการทดลอง
เนื่องจากว่าระบบทีวีที่ใช้กันส่วนใหญ่ มันจะ Upscale ให้โดยอัตโนมัติ, มักจะไม่มีฟังก์ชั่นเปิดหรือปิดระบบนี้ (คือเปิดไว้ตลอด) ทำให้คิดว่าเราต้องส่งภาพที่เป็น 4K ไปดูบนจอเลย จะได้ไม่ต้องผ่านการขยายภาพของจอทีวีอีก, แต่ครั้นจะเอาไฟล์หนังมาแปลงเป็น Video 4K มันก็ดูจะลำบากไปสำหรับผมที่ไม่สันทัดเรื่องนี้, และ "ภาพเคลื่อนไหว"น่าจะสังเกตได้ยากกว่าการดู “ภาพนิ่ง” ด้วย, ผมจึงคิดว่าเอาภาพนิ่งจากวีดีโอมาขยายแล้วเปรียบเทียบกันจะง่ายกว่า, โดย capture ออกมาจากไฟล์หนัง Blu-ray 1080p แล้วขยายภาพให้เป็น 4K ด้วยวิธีต่างๆกัน ดังนี้ครับ



1. Nearest Neighbor (Photoshop) ขอเรียกว่าเป็นแบบ "ไม่ Upscale" เลยละกัน เพราะมันคือการขยายขนาด pixel เอาดื้อๆ จาก 1 ไปเป็น 4 pixel โดยไม่ได้ปรับปรุงภาพอะไรทั้งนั้น ไม่มีการเกลี่ย pixel ใดๆ เป็นวิธีขยายภาพที่น่าจะแย่ที่สุดแล้ว
2. Bicubic (Photoshop) เป็นอัลกอริทึ่มการเกลี่ย pixel แบบหนึ่งในหลายๆแบบ ทำให้ภาพดู smooth ขึ้นเมื่อถูกขยาย ซึ่งเป็นค่าเริ่มต้นที่ Photoshop ตั้งมาเวลาที่เราจะย่อหรือขยายภาพ
3. Sharper Scaling, โปรแกรมขยายภาพโดยเฉพาะ ซึ่งอ้างว่าสเกลภาพได้ดีกว่าระบบของ Photoshop [ref : http://a-sharper-scaling.com]
* ที่เลือกมา 3 แบบเพื่อเป็นตัวแทนการอัพสเกล 3 อย่างครับ, อย่างแรกคือเบอร์ 1 ไม่ได้อัพสเกลเลย, เบอร์ 2 คืออัพสเกลขั้นต่ำ และเบอร์ 3 คืออัพสเกลที่ดีขึ้นมาอีกระดับ
* บางคนอาจจะแย้งว่า วิธี Upscale ของทีวีมันใช้วิธีอื่นที่น่าจะดีกว่านี้, แต่อันนี้ก็คือเท่าที่ผมจะหาได้นะครับ โดยอยากให้ดูเปรียบเทียบกับภาพที่ไม่ได้อัพสเกลเป็นหลัก และเท่าที่ผมลองเทียบกับเปิดไฟล์วีดีโอโดยตรง ก็ได้ผลที่ค่อนข้างใกล้เคียงกับ sharper scaling ครับ

ภาพต้นฉบับ 1080P จากหนังเรื่อง Baywatch 2017


ภาพด้านซ้ายขนาด 4K ขยายด้วย Nearest Neighbor, ตรงกลาง Bicubic Photoshop, ด้านขวาโปรแกรม Sharper Scaling, จะเห็น pixel ของภาพด้านซ้ายชัดเจนมากเมื่อซูมดูที่ 200%, Bicubic จะดูนวลๆ และ Sharper Scaling จะดูคมกว่า Bicubic นิดหน่อย


แตกต่างกันมากใช่ไหมครับ ระหว่างแบบไม่อัพสเกลเลย และแบบอัพสเกล, แต่ดูภาพบนทีวีของจริง มันจะต่างกันขนาดไหนนะ ?
ผมได้ลอง Capture ภาพจากหนังหลายๆเรื่องมา แล้วขยายภาพด้วยวิธีดังกล่าว, เมื่อได้ชุดไฟล์ภาพ 3 แบบที่ดูแตกต่างกัน, ผมก็นำใส่ flashdrive แล้วเสียบลองกับช่อง usb ของทีวีเพื่อเปรียบเทียบ ผลก็คือ ? ? ?


------------

ผลการทดลอง
แบบไม่อัพสเกลเห็นเม็ด pixel ชัดเลยครับ 55, เพราะ pixel ภาพถูกขยายเป็น 4 เท่า
แต่ !!! มันไม่ได้เห็นง่ายขนาดนั้นน่ะสิ ผมต้องเพ่งจอ 55" ในระยะประมาณ 1 เมตร !! (ใครใช้ 65" น่าจะเห็นชัดกว่านี้นะ) และเห็นเม็ด pixel ได้ชัดจริงๆคือจ้องที่ประมาณ 2 ฟุต, เลยระยะ 1 เมตรไปบอกเลยว่าต้องพยายามเพ่งกันหน่อยถึงจะรู้ว่าภาพไหนเป็นภาพไหน, ... และอย่าลืมว่านี่เรากำลังดู "ภาพนิ่ง" อยู่ซึ่ง เวลาเราดูหนังจริงๆภาพมันเคลื่อนไหวตลอดเวลา ไม่ได้อยู่เฉยๆให้เราเพ่งแบบนี้, คิดว่าคนที่แบ่งแยกภาพจากการ upscale ได้ในระยะดูปกติ ต้องตาไวพอสมควร ไม่ก็ใช้ทีวีที่มีขนาดใหญ่มากๆ



ภาพที่ถ่ายมาจากทีวี, ให้ดูบริเวณเส้นผม จะสังเกตได้ง่ายกว่าบริเวณอื่นๆครับ ซูมเยอะหน่อยจะเห็นชัด



แต่นั่นเป็นเพียงผลการทดลองของผมคนเดียว, สกิลตาผมก็ไม่ได้เทพอย่างหลายๆท่าน ... เลยอยากเชิญชวนผู้สนใจมา "ทดลอง" กันครับ เป็นการทดลองง่ายๆ ทำได้ที่บ้าน อุปกรณ์ที่ต้องใช้ก็แค่ flashdrive 1 อัน และทีวี 4k เท่านั้น
------------

บทสรุป
สรุปเบื้องต้นตามความเห็นของผมนะครับ
1. ผมค่อนข้างแปลกใจในผลที่ได้นะครับ, แปลกใจแรกคือ ผลต่างนั้นน้อยกว่าที่ผมคาดไว้ และแปลกใจสองคือ สายตาผมยังอ่อนหัดนัก
2. ถ้าเรามี source ที่คุณภาพดี, การอัพสเกลของทีวีอาจจะไม่ต้องทำงานหนักมากนัก ภาพก็ออกมาน่าพอใจได้, แม้จะไม่ใช่ source ที่ตรงกับ native resolution ของทีวีก็ตาม
3. ประเด็นหลักที่อยากให้ดูนอกเหนือจากการเปรียบเทียบภาพคือ อยากให้ลองดูภาพขยาย 1080p เป็น 4k ที่ไม่ผ่านการอัพสเกลดูครับ (ลงท้ายชื่อไฟล์ว่า _noupscale โหลดได้จาก link ด้านล่าง), ทำให้ผมพอเห็นภาพว่า source Blu-ray 1080P บนจอ 4K มันก็ออกมาชัดแบบดูได้ดี แม้จะไม่ได้ใช้ระบบ Upscale ใดๆ

PS.
1. กระทู้นี้พูดถึงเฉพาะ source 1080p ที่มีคุณภาพที่ดีนะครับ เช่นแผ่น Blu-ray, ไฟล์ mkv ขนาดใหญ่, ถ้าหากใช้ source ที่ต่ำกว่านั้น อย่างเช่น 720p, 480p, DVD หรือสัญญาณทีวีดิจิตอลทั่วไป เคสเหล่านั้นการทำงานของระบบ Upscale ทีวี จะมีผลต่อภาพมากกว่านี้ครับ
2. ยังไม่ขอพูดถึงหนัง 4K แท้นะครับ, แน่นอนว่าต้องดีกว่า 4K Upscale อยู่แล้ว
3. ผมทดลองด้วยจอขนาด 55", คนที่ทดลองด้วยจอขนาดที่ใหญ่กว่า น่าจะเห็นผลต่างได้ชัดเจนกว่าครับ
4. ไฟล์วีดีโอที่ผมนำมา capture ภาพเกือบทั้งหมดเป็น mkv นะครับ มี x264 บ้าง, x265 บ้าง โดยผมคัดเฉพาะไฟล์ที่มีคุณภาพดีมาใช้ในการทดสอบครับ ขนาด 10GB+
5. วิธีการ resize ภาพของผม อาจจะไม่ถูกใจใครหลายคน, ถ้ามีใครมีวิธี resize ที่ดีกว่า เสนอมาได้ครับ จะนำไปปรับปรุงวิธีการทดสอบดูครับ
6. โปรแกรมดูภาพบน smart tv หลายตัว ไม่ได้ทำการอัพสเกลตอนเปิดดูไฟล์ภาพเหมือนตอนดูไฟล์วีดีโอนะครับ, หากใครลองโหลดไฟล์ภาพต้นฉบับ 1080p ไปเทสโดยตรง อาจจะได้ผลลัพธ์ประมาณภาพที่ขยายโดยไม่ผ่านระบบ upscale ได้, ขึ้นอยู่กับทีวีแต่ละยี่ห้อ

------------
มาทดลองกัน ด้วยทีวีของคุณเอง
ผมมีอัพโหลดไฟล์ภาพขนาดเต็มไว้, สามารถโหลดไปเทสได้เลยจาก link ด้านล่าง, แค่เซฟภาพใส่ flashdrive แล้วเอาไปเปิดดูกับทีวีครับ เป็นภาพขนาด 4K,  ได้ผลเป็นยังไง ลองมาแลกเปลี่ยนความเห็นกันดูครับ อยากให้ลองดูด้วยตัวเองมากกว่าอ่านจากบทสรุปของผมเพียงอย่างเดียว สนุกๆเหมือนเล่นเกมจับผิดภาพ

อุปกรณ์ที่ต้องใช้
1. TV 4K
2. USB Flashdrive
3. ไฟล์ภาพทดสอบ ใน link ด้านล่าง

4K Upscaled Comparison - แบบรวมในไฟล์ zip ขนาดประมาณ 40MB (แนะนำ, ไม่ต้องโหลดทีละไฟล์)
แตก zip ใส่ flashdrive แล้วจิ้มดูกับทีวีได้เลย
http://www.mediafire.com/file/zdv0m19sutdxy8f/4K_Upscaled_Comparison.zip

4K Upscaled Comparison - แบบแยกภาพ ภาพละประมาณ 1MB
กดดูภาพใหญ่ทีละภาพ แล้วค่อยเซฟ
https://ibb.co/album/iZ6YBF

ชื่อไฟล์ที่ลงท้ายตามรายการด้านล่าง
_noupscale = ไม่ได้อัพสเกล ขยายด้วยวิธี nearest neighbor
_bicubic = Photoshop Bicubic
_sharper = Sharper Scaling

ตัวอย่างไฟล์ภาพ
bw_002
https://image.ibb.co/eEeeow/bw_002_noupscale.jpg
https://image.ibb.co/eDsM1G/bw_002_bicubic.jpg
https://image.ibb.co/cgszow/bw_002_sharper.jpg
bw_001
https://image.ibb.co/e3gEMG/bw_001_noupscale.jpg
https://image.ibb.co/mFYTgG/bw_001_bicubic.jpg
https://image.ibb.co/jDsM1G/bw_001_sharper.jpg
got_001 (ดูตรงผมหยอยๆของทีเรียน จะเห็นชัด)
https://image.ibb.co/gGd5Tw/got_001_noupscale.jpg
https://image.ibb.co/bXmg1G/got_001_bicubic.jpg
https://image.ibb.co/b3DiFb/got_001_sharper.jpg

หรือใครอยากจะดูไฟล์ capture ต้นฉบับ 1080p ก็ตามลิ้งด้านล่างครับ
https://ibb.co/album/dpa4Jv
------------

6
เปลี่ยนบอร์ด รื้อเครื่อง ฟังดูเหมือนน่ากลัวนะ แต่พี่ที่ผมรู้จักท่านนึงก็เคยมีช่างมาเปลี่ยนเพราะมีปัญหาเรื่องพอร์ต, พอดูแล้วมันทำง่ายมากเลย แค่แกะฝาเครื่อง ถอดขั้วสายต่างๆ แล้วก็ขันบอร์ดที่จะเปลี่ยนออก คือมันจะแยกเป็นหลายๆบอร์ด เปลี่ยนแบบง่ายๆ เครื่องไม่ช้ำอะไร และเขาก็มาทำที่หน้างานด้วย เพราะสะดวกสำหรับช่าง ไม่ต้องยกเครื่องกลับ ... ถ้าเครื่องผมจะมีปัญหา ก็ขอให้เป็นที่บอร์ดนี่ล่ะ อย่าเป็นที่ตัวจอเลย

ประเด็นที่ผมห่วงแทนคือ ช่างที่มาเช็คจอของคุณ toto ยังไม่มั่นใจว่าเป็นที่บอร์ดหรือเปล่า ... เปลี่ยนแล้วหายก็ดีไป แต่ถ้าไม่หาย อาจจะต้องยกส่งศูนย์ ...

7
วันนี้มีลองเพิ่มหน่อย ปิดโหมด HDR ของ ps4 pro แล้วดูเทียบเอาโดย copy ค่า settings ให้เหมือนกันทั้งช่องของ app tv และ ps4 pro (ทีวี lg มันมีคำสั่ง apply settings to all inputs ทำให้สะดวกขึ้น)

ผมลองเทียบดูพวกหนัง 4k บน Netflix และ Youtube เปิดสลับไปมา (เฉพาะหนัง 4k แบบไม่ HDR จะได้เทียบได้) ทั้งภาพเคลื่อนไหว และกด pause ดูภาพนิ่ง สลับช่องเทียบกัน ... พบว่า ไม่ต่างอะไรกันเลยครับ หรือตาผมไม่ถึงนะ... อันนี้เทียบแบบช๊อตต่อช๊อต นั่งจ้องระยะประชิดจอเลย สิ่งที่สัมผัสได้มีอย่างเดียว คือเรื่องซับไตเติ้ล ที่ ps4 pro มันแสดงมาได้คมกว่า

คนอื่นลองมายังไงผมไม่รู้นะครับ แต่ผมได้ลองตามที่บอกไปด้านบน ทั้งค่าภาพที่เป็นโหมดเดียวกัน และค่า settings ภาพที่ตรงกันทุกค่า เปิดเทียบกันในฉากเดียวกัน ดูแบบกดสลับช่องดูทันที ... ได้ผลคือตาผมแยกแยะไม่ออกครับ ทั้งความสด ความคม การเกลี่ยสีภาพ และภาพเคลื่อนไหว

8
เปลี่ยนgame modeเฉพาะตอนเล่นเกมครับ
แต่ที่ไม่เข้าใจคือพอเล่นด้วย ps4pro พอเปิด netflix มันขึ้นว่าเป็น HDR ด้วย เลยงงว่าทำไมถึงขึ้น เลยต้องใช้โหมด hdr dark room แล้วปรับนิดหน่อย

เดี๋ยวคืนนี้จะกลับไปลองlink ที่แนะนำดู
ขอบคุณครับ

ผมพึ่งได้ลอง Netflix บน ps4 pro ... เลยพอจะเข้าใจละครับว่าหมายถึงยังไง

คือด้วยเหตุผลอะไรบางอย่าง พอเข้าแอพ Netflix บน ps4 ปุ๊บ ตัวทีวีมันจะดีเทคว่าเป็น HDR แล้วปรับเข้าโหมด HDR ให้เองตั้งแต่หน้าเมนูของแอพเลย ซึ่งตรงนี้ผมว่ามันประหลาดดีนะ ไม่ควรทำแบบนี้ เพราะไม่ใช่หนังทุกเรื่องที่เป็น HDR แต่ดันปรับโหมด HDR มาแสดงผล... (แต่เรื่องชอบหรือไม่อันนี้อีกประเด็นนะครับ)

และโหมดภาพ HDR มันคือคนละโหมดกับโหมดภาพปกติครับ, ไม่ว่าตอนอยู่หน้าจอเมนู ps4 pro คุณจะตั้งโหมดภาพไว้ที่ ISF Expert, Cinema หรือ Game Mode อะไรก็แล้วแต่ พอเข้าแอพ NetFlix ปุ๊บ มันเข้าโหมด HDR เป็นคนละโหมดภาพกันเลย ค่าต่างๆเปลี่ยนหมดครับ


เท่าที่ผมลองเล่นไปซักระยะ ขอคอมเมนท์ดังนี้ครับ

1. เวลาเปิดหนังเรื่องที่ไม่ใช่ HDR, ภาพมันก็จะดูแปลกตากว่าปกติหน่อย เพราะตัวทีวีดันปรับเป็น HDR และปรับกลับไม่ได้ด้วย (นอกจากจะไป disable hdr ที่ค่า settings ของ ps4 pro), คือเหมือนมันไปเร่งส่วนมืดส่วนสว่างเพิ่มจนดีเทลหายไป แต่พอจะปรับกลับมาใกล้เคียงโหมดปกติได้อยู่ อันนี้พอเข้าใจได้ว่าทำไมบางคนถึงชอบนะครับ เพราะมันดูเด้งกว่าจริงๆ ส่วนนึงน่าจะเพราะโหมด HDR ค่า Default ของ LED Light กับ Contrast มันจะตั้งไว้สูงมากด้วย แต่ผมชอบแบบปกติมากกว่า

2. ส่วนตอนเปิดหนัง HDR อันนี้ผมว่ามันดูต่างเยอะเลยครับ ไม่รู้ทำไมภาพมันแปลกๆ ส่วนที่น่าจะมืดมันดันไม่มืดเท่าไหร่ ไม่แน่ใจเหมือนกันว่าผมตั้งค่าผิดไปหรือเปล่า, สำหรับผมนี่ชอบภาพตอนเปิดกับแอพของทีวีมากกว่า เพราะได้ Dolby Vision ซึ่งแอพ NetFlix ps4 จะได้แค่ HDR ธรรมดา, อันนี้ผมสนับสนุนให้ดูผ่านแอพทีวีนะครับ เพราะทีวีคุณเป็น LG ด้วย ซึ่งน่าจะเป็นหนึ่งในไม่กี่ยี่ห้อตอนนี้ที่รองรับ Dolby Vision ได้ ไม่ได้ใช้น่าเสียดายแย่

3. ข้อดีที่ผมชอบของแอพบน ps4 pro คือพวกเมนู UI บนแอพมันเป็น 4k ครับ, เรียกได้ว่าคมกริบเลยพวกตัวอักษรต่างๆ ในขณะที่เมนูของแอพบนทีวีน่าจะเป็นแค่ 1080p .... อันนี้รวมไปถึง subtitle ด้วย ดูผ่านแอพบน ps4 นี่ซับจะคมกว่าอย่างชัดเจน (ถ้านั่งห่างในระยะดูปกติก็จะไม่ได้ต่างมาก แต่เห็นซับคมๆก็ฟินดี), ส่วนข้อเสียคือ เปลืองไฟเป็น 2 เท่า เพราะ ps4 pro ก็กินไฟไม่ใช่น้อยๆ

สุดท้ายผมว่าแล้วแต่ความชอบนะ ถ้าดูบนแอพทีวี อยากได้ภาพแบบที่คุณเปิดบน ps4 ก็ไปปรับโหมดภาพทีวีเป็นโหมดจำลอง HDR แทน อันนี้น่าจะได้ใกล้เคียงกันครับ

9
ผมนึกว่า 3D TV นี่สาปสูญไปแล้วในปี 2017, แต่ Pana ยังมีหลุดออกมาด้วยแฮะ แนวจริงๆ น่าจะเป็นรุ่นเดียวเลยที่มี

10
แล้วถ้าดูหนังในโรงต้องเปิดไฟด้วยไหม มันต่างกันหรือเปล่า
 [แทง]
วันหลังจะได้บอกให้โรงหนังเปิดไฟ เดี๋ยวคนจะสายตาเสียหมด
ในโรงมันไม่เหมือนกันครับ เพราะไม่ได้เป็นแสงโดยตรงเหมือนทีวี โปรเจคเตอร์มันจะใช้การยิงแสงไปสะท้อนแผ่นจอมาเข้าตาเรา และแสงจาก projector มันจ้าน้อยกว่าทีวีมาก เลยไม่มีผลเท่าไหร่

11
เท่าที่เคยอ่าน เหมือนเขาศึกษามาแล้วว่าไม่ได้ทำให้ตาเสียหายนะครับ หลายๆที่เขาก็บอกตรงกัน, แต่ที่จะมีผลก็คือทำให้ปวดตา ตาล้า เพราะสายตาต้องทำงานหนักกว่าเดิม ... ประมาณว่าคอนทราสระหว่างหน้าจอทีวีที่สว่าง กับส่วนอื่นๆของห้องที่มืด มีมากเกินไป รูม่านตาเราเลยต้องทำงานตลอดเพื่อปรับสภาพแสง ... ผมแก้ด้วยการปรับแสงหน้าจอลง และเอาไฟไปส่องด้านหลังทีวี ทำเป็นคล้ายๆพวก ambient light ก็ช่วยได้เยอะครับ ดูแล้วไม่ปวดตาเท่าตอนมีแสงจากทีวีอย่างเดียว และมันทำให้ภาพดูเด้งขึ้นด้วย

12
ตั้งโหมดภาพเหมือนกัน และค่าต่างๆในหมวดภาพเหมือนกันไหมครับ, เห็นบอกว่าต่อ ps4 pro น่าจะเปิด Game Mode ไว้หรือเปล่า ? น่าจะเป็นคนละโหมด..  ลองเซ็ตค่าทั้งสองช่องให้เหมือนกันแล้วเปรียบเทียบดูอีกทีครับ

แต่ใน ps4 มันจะมีปรับ RGB Range อยู่ด้วย ถ้าตรงนี้ตั้งเป็น full มันจะดูลึกขึ้น แต่รายละเอียดที่มืดจะหายไป ต้องไปปรับแก้ค่า gamma บนทีวีให้ลดลงแทน

ลองเปิด link ภาพนี้บน browser ของ ps4 ดูครับ, ถ้าตั้งค่า gamma กับ rgb range เยอะไป มันจะมองแถวด้านบนไม่เห็นเลย, ประมาณว่าภาพดูลึกกว่า เข้มกว่า แต่กลายเป็นดำจม
http://www.nicolaspeople.com/ch3rokeesblog/wp-content/uploads/2008/01/fullrgb_test.jpg

13
เห็นด้วยกับทั้งคู่นะครับ ต่อให้ปรับภาพยังไง แต่ละยี่ห้อก็มีแนวภาพของตัวเอง ... อย่างผมก็จะเฉยๆกับโซนี่ จะไปชอบแนวของพานาซะมากกว่า. แนวสีภาพผมว่ามันปรับกันได้ครับ และถ้าใช้ไปนานๆ มันเหมือนตาเราก็ปรับสภาพให้ชินกับสิ่งที่ใช้ด้วย

อันนี้ภาพจาก LG ปีที่แล้ว, อาจจะไม่ได้อัพสเกลเทพเท่า Sony, หรือสีแม่นยำขั้น reference แบบ Pana, แต่ก็พอปรับให้ดูสบายตาได้อยู่... จากเดิมที่ผมดูพลาสมา Pana มานาน ชอบภาพแบบเป็นธรรมชาติ พอมาใช้ค่ายเกาหลีกลับไม่ต้องปรับตัวมากเท่าที่คิดไว้





14
OLED กินขาดทุกอย่างครับ อย่างที่คุณ ไม่ตอบแล้วโว๊ยยยยยย เบื่อ!!! บอกมา

แต่ถ้าจะเลือกทีวี เพราะ "ค่าภาพจากโรงงาน" เป็นหลัก อันนี้ผมว่าต้องลองเทียบดูความคุ้มค่าด้วยนะครับ บางครั้งส่วนต่างราคา มันมากกว่าค่าบริการ calibrate จอจากมืออาชีพซะอีก

ขอเทียบให้ดูคร่าวๆ (ผมอ้างอิงจากราคาในเว็บ LCDTVThailand นะครับ ร้านอื่นๆอาจจะต่างออกไป)
1. Sony OLED 55A1E ราคา 129,990
2. LG OLED B7T ราคา 6x,xxx
ค่า Calibrate จอทีวีมืออาชีพ ที่ผมหาจากตามเน็ต จะอยู่ที่ 3,500 - 5,000 บาท

คะแนนค่าสีความถูกต้อง ก่อน / หลัง Calibrate จากเว็บ rtings
1. Sony OLED 55A1E - 8.0 / 9.3
2. LG OLED C7T - 6.6 / 9.5 (อ้างอิงเป็น C7 นะครับ เพราะไม่มี B7 ใน rtings แต่ตัวจอและหน่วยประมวลผลเดียวกัน ต่างแค่ดีไซน์)
ref : http://www.rtings.com/tv/reviews/sony/a1e-oledhttp://www.rtings.com/tv/reviews/lg/c7-oled
----

หากลองคำนวณดู
กรณี 1 ซื้อจอ LG B7T ใช้ค่ามาตรฐานโรงงาน ได้คะแนนความถูกต้องภาพแค่ 6.6 ในราคา 6x,xxx บาท
กรณี 2 ซื้อจอ Sony A1E ใช้ค่ามาตรฐานโรงงาน คุณจะได้คะแนนภาพแค่ 8.0 ในราคา 129,990 บาท
กรณี 3 ซื้อจอ LG B7T แล้วจ้างมืออาชีพมา calibrate จอ คุณจะได้ภาพระดับ 9.5 ในราคา 6x,xxx + 5,000 บาท

ดูๆแล้ว ผมว่าจ่ายแค่ 7x,xxx แต่ได้ภาพดีกว่า 129,990 ซะอีกนะ

ps. อันนี้เทียบเฉพาะเรื่องความถูกต้องสี และค่าจากโรงงานนะครับ, กรณีที่ชอบ Sony เพราะการอัพสเกลขั้นเทพ การไล่สีเนียนๆ หรือลำโพงที่ฝังมาในตัวจอ อันนี้ calibrate แล้วก็คงช่วยอะไรไม่ได้ ต้อง Sony เท่านั้น

15
ไปตั้งค่าอะไรแปลกๆไว้หรือเปล่าครับ, ลองดูว่าตั้งภาพโหมดไหนอยู่ โหมดภาพอื่นๆเป็นเหมือนกันไหม และกดเข้าไปหน้าตั้งค่าภาพของโหมดนั้นๆ มันจะมีให้ reset ค่าอยู่ด้านล่าง

16
ผมเองก็เคยหาข้อมูลเพราะสนใจ แต่ตอนนี้ผมเบื่อLG
ฝรั่งที่บอกว่าเหมือนๆ กันก็ฟังๆ เค้ามาเหมือนกันแหละ ต้องดูด้วยตาตัวเอง ว่าคิดยังไง นะครับ
ผมว่าคงโทษฝรั่งที่เค้าฟังมาไม่ได้นะครับ เพราะคนที่บอกว่าเหมือนกันก็คือ Product Manager ของ LG เอง, ประมาณว่าผู้ผลิตบอกมา ก็เลยเชื่อ ผมก็ไปเชื่อตาม


ส่วนลุง Scott Wilkinson แกก็หมกเม็ดอีก เห็นเขียนบทความทั้ง W7 และ C7 แต่ไม่ยอมลงรายลเอียดเรื่องคุณภาพภาพว่ามันต่างกัน/ ไม่ก็อาจเป็นเพราะที่ต่างคือต่างเวลาเปิดกล่องออกมาแล้วเปิดดูเลย ส่วนลุงแก calibrate ก่อนดู เลยไม่ต่างเท่าก็ไม่รู้ จึงไม่ลงไว้
http://www.avsforum.com/lg-w7-oled-tv-hands-on/
http://www.avsforum.com/lg-65c7-4kuhd-hdr-oled-tv-review/

LG has been making large-screen OLED TVs for several years now, and they get better with each new generation. The 2017 lineup includes five series; from least to most expensive, they are the B7, C7, E7, G7, and W7. The B7, C7, and E7 are available in 55″ and 65″ screen sizes, while the G7 and W7 come in 65″ and 77″ sizes.

All five series use exactly the same OLED panel and video processing. The only differences are the cabinet design and certain features. For example, the W7 is wallpaper-thin and includes a separate soundbar. (For my mini-review of the W7, click here.)

Because all the 2017 LG OLED TVs are virtually identical in terms of performance, I decided to review the C7, the least expensive series available from a wide variety of outlets. (The B7 is essentially the same and available only at CostCo and other big-box retailers.) In particular, I chose the 65″ LG 65C7, which lists for $3500; the 55C7 lists for $2500. (Note: The prices for these two sizes dropped by $1000 and $700, respectively, on June 12.)

Scott Wilkinson

-----------------------

CNET - LG OLEDE7P review
https://www.cnet.com/products/lg-oled65e7p/review/
The E7 OLED TV is awesome TV, but unless you're rich you shouldn't buy it. That's because other, cheaper OLED TVs from LG have the same image quality.
I'm referring to the C7, which currently costs at least $1,200 less. And having tested both side by side, I can confirm that their picture quality is pretty much the same.

-----------------------

17
oled LG 2017 ทุกรุ่นใช้จอและชิปตัวเดียวกันหมด

เพียงแต่ในรุ่น E7 G7(รวมถึงปี 2016 รุ่น E6 ด้วย) จะคัดสรรเกรดวัสดุสายไฟ IC วงจรภายในที่ดีกว่า
หากลองสังเกตดูภาพที่ได้จากรุ่น E7 G7 จะมีความอิ่ม หนา มิติดูหลุดลอยมากกว่า รุ่น C7 เล็กน้อย
หากเทียบ B6 C6 กับ E6 ก็จะเห็นผลดังกล่าวเช่นกันครับ
มีแหล่งข้อมูลอ้างอิงไหมครับ ว่าวัสดุสายไฟ ic วงจรภายในดีกว่า ?, คือราคามันต่างกันเยอะ มันก็ควรจะทำมาดีกว่านะ ผมก็พยายามหาว่ามันต่างกันยังไงบ้าง แต่เท่าที่อ่านเว็บต่างๆกลับบอกว่าเหมือนกัน, แม้แต่ product manager ของ lg ยังบอกเองว่า "same picture quailty" (ในคลิปด้านล่างครับ), ซึ่งผมว่าถ้าเขาทำวงจรมาดีกว่า ได้ภาพที่ดีกว่า ก็น่าจะชูเป็นจุดขายของรุ่นสูงกว่านะ ว่าให้ภาพที่ดีกว่ารุ่นล่าง ไม่ควรจะบอกว่าเหมือนกัน

LG 2017 OLED TV (W7, G7, E7, C7, B7): CES Interview
https://youtu.be/3Hu85u6oETw?t=2m20s

18
จากที่อ่านมา LG OLED 2017 ได้ panel เหมือนกันหมดทุกรุ่น ตั้งแต่บนสุด W ลงไป G E C B ดังนั้นเรื่องภาพไม่มีอะไรต่างกันเลย ที่จะต่างก็พวก ดีไซน์, ลำโพง, ขาตั้ง และราคา ....

หน้า: [1] 2 3 ... 8