ผู้เขียน หัวข้อ: เอารีวิว Klipsch Reference Premier VS. Pioneer Elite Andrew John มาฝากกันครับ  (อ่าน 5669 ครั้ง)

ออฟไลน์ keamglad

  • OLED TV member
  • *****
  • กระทู้: 3,720
  • https://www.facebook.com/whatthatsoundstore
    • ดูรายละเอียด
    • https://www.facebook.com/whatthatsoundstore
    • อีเมล์
Review Home Theater - Klipsch Reference Premier จาก CNET.com



หลังจากที่เมืองไทยมีการเปิดตัว Klipsch Reference Premier อย่างเป็นทางการกับสื่อมวลชนไปเป็นที่เรียบร้อยแล้วนั้น ตอนนี้ที่เมืองนอก ก็เริ่มมีรีวิว Klipsch Reference Premier ทยอยออกกันมาให้อ่านเรื่อยๆแล้วนะครับตั้งแต่ AVSforum จนตอนนี้ก็มีเว็บไซต์ชื่อดังอีกแห่งเข็นรีวิวออกมาอีกแล้ว นั่นคือ Cnet.com

ก็เช่นเคยครับไปดูฝั่ง Cnet.com กันว่าเค้าจะว่ายังไงกับรีวิวชุดดูหนังรุ่นเล็กสุด (bookshelf) เอาใจคนที่ห้องขนาดไม่ใหญ่และงบไม่มากกันดูครับ โดยเราบอกไว้เลยว่างานนี้ CNET เค้าจับเอา Reference Premier รุ่นเล็กสุดไปเทียบกับลำโพงขึ้นชื่ออย่าง Pioneer Elite Andrew John ด้วยนะครับ



ซึ่งงานนี้ได้คะแนนเฉลี่ยไปทั้งสิ้น 8 คะแนน เต็ม 10
โดยคะแนนทุกด้านของ Reference Premier ชุดเล็กนี้ได้ 8 คะแนนหมดไม่ว่าจะเป็น Design, Feature, Sound Quality, Value
เราแปลและเรียบเรียงเป็นภาษาไทยให้อ่านง่ายๆแล้วครับ ตามไปอ่านกันได้เลย หรือใครอยากอ่านต้นฉบับก็ดูได้ตามลิ้งค์ครับ


===========================================

รีวิวต้นฉบับภาษาอังกฤษ: http://www.cnet.com/products/klipsch-reference-premiere-rp-160-home-theater-system/?utm_campaign=Feed%3A+cnet%2FYIff+%28CNET+Latest+Reviews%29&utm_medium=feed&utm_source=feedburner

รีวิวฉบับภาษาไทยในรูปแบบเว็บไซต์: http://www.lcdtvthailand.com/webboard/index.php?topic=86353.msg776723#msg776723

===========================================

Klipsch Reference Premiere RP-160 Home Theater System



The Good:
- จุดเด่นของ Klipsch Reference Premiere คือเทคโนโลยีฮอร์นโหลด (horn-loaded titanium tweeters) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีเฉพาะของ Klipsch

- ลำโพงทุกตัวในซีรี่ย์ Reference Premier มีความไว (Sensitivity) ที่ไม่ธรรมดา เรียกได้ว่าสูงที่สุดในบรรดาลำโพงบ้านในท้องตลาดก็ว่าได้ สูงจนเกือบไปเท่าลำโพง PA กันเลย
ค่า Sensitivity มากแปลว่าอะไรครับ นั่นก็คือยิ่งค่านี้มาก เราก็ไม่เปลือแอมป์ สามารถลดกำลังแอมป์ที่จะใช้ลงได้ เราสามารถใช้แอมป์กำลังต่ำๆมาขับลำโพงชุดนี้ให้ดังได้ดี เมื่อเทียบกับลำโพงยี่ห้ออื่นที่ค่านี้ต่ำๆ ที่ระดับ Volume เดียวกัน ลำโพง Klipsch จะให้เสียงดีังกว่าเสมอ โดยไปต้องนั่งเร่งแอมป์หรือจ่ายเงินไปกับ power / pre ให้เปลืองเงินนั่นเอง (ดังแล้วเสียงดีมั๊ยเดี๋ยวมาดูในหัวข้อถัดๆไปครับ)

The Bad:
1. รูปร่างหน้าตาของลำโพงแต่ละตัวนั่นมีขนาดและดีไซน์ที่ใหญ่กว่าลำโพงคู่แข่ง และดีไซน์ที่ดูทึมๆ ทึบๆ (สีดำทั้งตู้นั่นเอง) เมื่อเทียบกับคู๋แข่งทีลุคอาจจะนุ่มนวลกว่า และตัวเล็กกว่า

2. ราคาของลำโพง Surround ในซีรี่ย์ Reference PRemier ที่เป็นแบบไบโพลนั่นราคาค่อยข้างแพงและไม่สมดุลกับลำโพงตัวอื่นๆ ในระบบ (เนื่องจากลำโพงในชุดที่ทดสอบนี้ใช้คู่หน้าเป็นบุ๊กเชลฟ์ RP-160M ซึ่งราคาถูกกว่าลำโพงเซอราวด์ RP-250S ซะอีก แต่ถ้าเอาคู่หน้าเป็นตั้งพื้น ราคาเซอราวด์ก็ถือว่าไม่แพงเกินกว่าคู่หน้าครับ แต่ราคาก็ถือว่าสูงอยู่ดี ทางเลือกในบ้านเราที่พื้นที่หน้ากว้างห้องไม่ใหญ่นักก็อาจใช้ลำโพงบุ๊กเชลฟ์มาทำเป็นเซอราวด์แทนได้ครับ ประหยัดกว่า)






บทสรุป (The Bottom Line)

ลำโพง Klipsch Reference Premiere และซับวูฟเฟอร์ มีศักยภาพที่สามารถถ่ายทอดพลังเสียงในการดูหนังได้อย่างเต็มที่
โดยเฉพาะอย่างยิ่งจุดเด่นของลำโพงชุดนี้ก็คือ พละกำลัง (Power) และ ไดนามิค (Dynamic) ที่ทำได้อย่างน่าประทับใจเมื่อเทียบกับคู่แข่ง และนอกเหนือจากนั้นในการรับฟังเพลงก็ทำได้ดีเช่นกัน
ดังนั้นลำโพงชุดนี้ยังเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับคนที่หาลำโพงสำหรับดูหนัง ชอบดูหนัง action, หนังสงครามหรือหนังที่มี impact เสียงเบสหนักแน่น และรายละเอียดจัดจ้านครับ

คะแนนโดยรวม8.0 (Overall)

- Design: 8.0
- Features: 8.0
- Sound quality: 8.0
- Value: 8.0







ภายใต้ชื่อของ Klipsch ผู้ผลิตลำโพงสัญชาติอเมริกันรายใหญ่ที่สร้างชื่อเสียงมากจาก Home Theater วันนี้ Klipsch ปล่อยลำโพงซีรี่ย์ใหม่ล่าสุดในชื่อของ Reference Premiere

ในซีรี่ย์ใหม่นี้ Klipsch ออกแบบตัวตู้ รวมไปถึงหน้าตาซะใหม่หมดจดเลยทีเดียว นับตั้งแต่ veneer ปิดผิวแบบใหม่ ตัวตู้ลำโพง หน้ากาก และรวมไปถึง Tweeter Horn ซึ่งถือเป็นจุดขายของ Klipsch เองก็ได้รับการออกแบบฮอร์นใหม่ด้วยนะครับ ภาพลักษณ์ใหม่นั้นดูเด่น สะดุดตามากขึ้นเมื่อเทียบกับซีรี่ย์เก่าอย่าง Reference II ซึ่งเราเคยรีวิวและพบว่าจุดเด่นของซีรี่ย์ก่อนที่ทำให้เราตกหลุมรักลำโพง Klipsch ก็คือไดนามิค และเสียงเบส แต่อย่างไรก็ตามนะครับ ในซีรี่ย์ที่แล้วถึงจะมีข้อดี แต่ก็มีข้อเสียคือในบางระบบนั้นเสียงจะจัดไปและขาดความนุ่มนวล โดยเฉพาะกับดนตรีประเภท classical music ซึ่งถือว่าสอบตกอย่างสิ้นเชิงครับ
ทำให้ซีรี่ย์ก่อนนั้นลำโพง Klipsch ไม่นิยมนำไปใช้ฟังเพลงสำหรับคอ Audiophile ครับ
มาวันนี้นะครับ Reference Premiers ที่เราจะรีวิวทั้งระบบจะประกอบไปด้วย

- Klipsch RP-160M
- Klipsch RP-250C
- Klipsch RP-250S
- Klipsch R110SW










ราคารวมทั้งระบบประมาณ $2,599 หรือประมาณ 8-9 หมื่นบาท จะเห็นว่าราคานั่นไม่ค่อยเป็นมิตรกับคนเบี้ยน้อยหอยน้อยเท่าไรนักนะครับ แต่เมื่อพิจารณาราคาที่จ่ายไปกับสิ่งที่่ได้มาหลังจากเรารีวิวชุดนี้แล้ว เราก็พบว่าไม่ว่าคุณจะมองหาระบบสำหรับ Audiophile หรือระบบสำหรับ Home Theater ที่ให้กำลังเสียงหนักหน่วงแบบถล่มภูเขาเผากระท่อม ชุดนี้ทำได้ไม่เลวเลยครับ
หากคุณต้องการแค่ระบบ Stereo 2 channels เพื่อมาใช้ฟังเพลงในห้องนั้น ตัวลำโพง RP-160M ดอกวูฟเฟอร์ 6.5 นิ้วนี่ถือว่าทำได้คุ้มราคาสมค่าตัวของมันครับด้วยราคา $600 หรือ 2 หมื่นกว่าบาท





Design and features
การออกแบบของลำโพงในซีรี่ย์นี้ยังคงยืนหยัดอยู่กับธีมคอนเซป สีดำ และดอกลำโพงสีทองแดง แต่มีการปรับปรุงตัวตู้และผิวลำโพงใหม่ให้มันดูทันสมัย และลดการใช้พลาสติกแบบรุ่นเก่าลงครับ

หากเคยใช้ลำโพง Klipsch มาก่อนนะครับ คงทราบดีว่าจุดเด่นสำคัญของเค้าก็คือ Tractrix Klipsch horn ในซีรี่ย์นี้ก็ยังคงจุดเด่นเช่นเดิมครับเพียงแต่ได้รับการออกแบบและปรับปรุงตู้ฮอร์นใหม่ให้ดีกว่าเดิม
โดยดอกลำโพงทวีตเตอร์เสียงแหลมที่ถูกบรรจุอยู่ในตู้ฮอร์นนั้นใช้วัสดุแบบ Titanium "LTS" (Linear Travel Suspension) ขนาด 1 นิ้ว โดยออกแบบตู้ฮอร์นใหม่ให้เสียงดีขึ้นและลดความหยาบของเสียงที่กัดหูลงครับ

เมื่อมาพิจารณาที่ตู้ลำโพง RP-160 นั้น เราบอกตรงๆว่าตอนแรกไม่คิดว่าลำโพงบุ๊กเชลฟ์จะมีขนาดใหญ่ได้ขนาดนี้
กับขนาดดอกลำโพง cerametallic ขนาด 6.5 นิ้วที่ถูกติดตั้งอยู่ในตู้นั้นต้องบอกเลยว่า ขาตั้งลำโพงที่เรามีนั้นเกือบจะวางไม่พอครับ
แต่ถึงขนาดจะใหญ่ไปสักนิด แต่ขนาดของดอกลำโพง cerametallic 6.5 นิ้วที่ติดตั้งไว้นี่คือหัวใจสำคัญเลยครับที่ทำให้ลำโพงตัวนี้ให้เสียงเบสได้มีไดนามิคและมีอิมแพค
โดย RP-160M ตัวนี้เคลมความถี่ที่สามารถตอบสนองได้เอาไว้ที่
45Hz to 25kHz (+/- 3dB).
จะเห็นได้เลยว่าในระบบที่เรากำลังทดสอบนี้ RP-160M เป็นพระเอกของงานไม่ว่าจะดูหนังหรือฟังเพลง

แต่มาลองมองลำโพงแชนแนลอื่นในระบบกันดู ก็จะประกอบไปด้วย RP-250C ลำโพงเซ็นเตอร์ขนาดเล็กสุดในซีรี่ย์ Reference Premier ราคา 450$ หรือประมาณ 16,000-18,000 บาท
RP-250C มีขนาดกระทัดรัดมากครับ ด้วยขนาดไม่ใหญ่มากทำให้สามารถติดตั้งในห้องที่มีพื้นที่จำกัดได้ดี ไม่ว่าจะเป็นชั้นวางทีวีเล็กๆ หรือใครจะเอาไปไว้ในคอนโด ห้องนอน หรือวางซ่อนก็สะดวกดีครับ โดย RP-250C ใช้ดอกลำโพง Cerametallic ขนาด 5.25 นิ้วสองดอก และใช้ดอกทวีตเตอร์เสียงแหลมหนึ่งดอก

และลำโพงเซอราวด์ที่ค่อนข้างแพงไปนิดสำหรับเรา (แพงกว่าคู่หน้า) นั่นคือ RP-250S สนนราคาอยู่ที่ 900$ ต่อคู่หรือประมาณ 31,000-33,000 บาท ตัวนี้ใช้ดอกลำโพง 5.25 นิ้วสองดอก และดอกทีวตเตอร์เสียงแหลมสองดอก หันหน้ายิงเสียงออกจากกันเติมเต็มเสียงเซอราวด์ในระบบ Home Theater ให้ทั่วห้องได้ดีกว่าลำโพงบุ๊กเชลฟ์ทั่วๆไป แต่สำหรับใครที่งบจำกัด ก็สามารถเอาบุ๊กเชลฟ์ RP-150M มาใช้แทนได้ครับ

และสุดท้ายที่จะขาดไปไม่ได้ที่จะมาเติมเต็มเสียงต่ำในระบบ Home Theater ให้สนุกนั่นคือ ซับวูฟเฟอร์อย่าง Klipsch R-110SW สนนราคาอยู่ที่ $649
โดย R-110SW subwoofer มีกำลังขับที่ 450-watt (Peak) ใช้ดอกวูฟเฟอร์เสียงเบสขนาดเล็ก 10 นิ้ว cerametallic woofer
โดยซับวูฟเฟอร์นี้ขนาดใหญ่ที่สุดในระบบที่รีวิวชุดนีัแล้ว โดยมีน้ำหนักประุมาณ 39 ปอนด์ 18 กิโล








Setup


การเซ็ทอัพนั้นเราจัดวางลำโพงและใช้ AVR Marantz NR1605 ก็เพียงพอต่อความต้องการของลำโพงแล้ว
เราใช้วิธีจูนเสียงโดยการ manual โดยตั้งลำโพงคู่หน้าเป็น "small" ตั้งค่าความถี่ซับวุฟเฟอร์และคู่หน้าที่ 60Hz และตั้ง 80Hz สำหรับลำโพงเซ็นเตอร์และเซอราวด์

หลังจากทดลองฟังเสียง คำเดียวที่เรานึกออกก็คือ "Powerful" หรือทรงพลังนั่นเอง
คำกล่าวนี้อธิบายความเป็นตัวตนของลำโพง Klipsch Reference Premier ได้ดีที่สุดแล้ว
เสียงทีไ่ด้นั้นมาเต็ม และไม่ได้ดูต้องเค้น หรือต้องเร่งแอมป์ให้เสียงดังเหมือนระบบอื่นๆที่เราเคยเจอเช่น เสียงเซ็นเตอร์เบาบ้าง เสียงระเบิดค่อย นุ่มไม่มีอิมแพคบ้าง ตัวนี้ไม่มีปัญหาเหล่านี้เลยครับ และยิ่งเราเร่ง volume เข้าไปมากเท่าใด เสียงก็ก็ยิ่งทวีความหนักหน่วงและสนุกมากขึ้นเท่านั้นโดยไม่มีทีท่าของความเพี้ยนหรือความเบลอบวมเอาไม่อยู่ของเสียงเบสและรายละเอียดเสียงแหลมแต่อย่างใด



ลองฟัง Klipsch Reference Premier VS Pioneer Elite Andrew Jones

เราเริ่มทดสอบโดยเปิดเพลง "heartbeat" ของ "Elektro Kardiogramm" จากอัลบั้ม "Tour de France"
เบสที่ได้ให้อารมแบบเป็นลูก กระชับ เหมือนประเหนึ่งเป็นลูกเหล็กลูกเล็กๆกระแทกไปตามจังหวะดนตรี ด้วยอาณิสงค์ของ RP-160M และ R-110SW ช่วงหลังเราลองปิดซับ ให้ RP-160M นั้นทำงานเป้นคู่หน้าอย่างเดียวโดยไม่พึ่งเสียงต่ำจากซับวูฟเฟอร์ เราก็ยังพบว่าเพลง heartbeats นั้นยังคงหนักแน่นและเร้าใจอยู่ดีครับ
จุดเด่นที่เรายอมรับอย่างนึงจากชุดนี้นะครับคือเสียงเบสที่ได้นั้นค่อนข้างกระชับ หนักแน่น เร้าใจ และฟังสนุกมากครับเมื่อเทียบกับลำโพงบุ๊กเชลฟ์ยี่ห้ออื่นในระดับเดียวกัน

เราลองเปลี่ยนเพลงมาเล่นคอนเสิรต์ของ Steven Wilson's เพลง "Hand.Cannot.Erase." เพลงนี้เป็นแบบความละเอียดสูงและเล่นจากแผ่นบลูเรย์ ซึ่ง Wilson ไม่ใช่แค่สุดยอดนักดนตรี แต่เค้ายังเป็นนักเรียบเรียงและ mix รายละเอียดและเสียงเพลงของเค้าเองได้เยี่ยมด้วย เมื่อเราเอาบทเพลงเหล่านี้มาเล่นผ่านลำโพง Reference Premiere นั้นเรารุ้สึกเลยว่าลำโพงนั้นล่องหนและเหมือนเราไปยืนอยู่ท่ามกลางวงดนตรีนั้นจริงๆ

เวทีเสียงที่ได้นั้นเหมือนเราไปยืนอยู่ขอบเวที และเสียงนักร้องและเครื่องดนตรีต่างๆนั้นเหมือนอยู่ในตำแหน่งที่สูงกว่าหัวเรานิดหน่อย
ความรู้สึกแยกแยะตำแหน่งของดนตรีแบบนี้นั้น เรารู้สึกได้ว่าใกล้เคียงเหมือนกับที่เราได้เคยทดสอบจากระบบ Dolby Atmos 7.1 และ 9.1 Channels แต่คราวนี้จากการบันทึกเสียงดนตรีที่ยอดเยี่ยมจากแผ่นบลูเรย์ และลำโพงทั้ง 5.1 ตัวที่ถ่ายทอดออกมาโดยปราศจากลำโพงแชนแนลเพดาน แต่เราก็ยังได้ยินและได้บรรยากาศคล้ายๆกับเสียงนั้นถูกบรรเลงมาจากบนเวทีครับ
โดยเรายกเครดิตในบรรยากาศของเสียงดังกล่าวให้ไปที่ลำโพงไบโพล RP-250S ที่จัดวางดอกลำโพงแบบรูปตัว V และกระจายเสียงออกไปทั่วทั้งห้อง ทำให้ได้บรรยากาศที่สมจริงกว่าครับ
เพลงที่เราเล่น "Hand.Cannot.Erase." มีช่วงจังหวะที่ดนตรีโหมขึ้นลงที่ค่อนข้างมาก จากเงียบไปดัง และจากดังลงมาเงียบ แต่ลำโพงทั้ง 5.1 ตัวของ Reference Premier ก็ทำหน้าที่ได้ดีและสมกับคุณภาพของแผ่นที่บันทึกมาเป็นอย่างดีครับ

แผ่นบลูเรย์แผ่นนี้มิกซ์มาแบบให้เสียงนักร้องนำมาออกที่ลำโพงเซ็นเตอร์ เพราะฉะนั้นไม่ว่าเราจะนั่งเยื้องไปทางซ้าย หรือขวาของห้อง เราก็จะยังรู้สึกเหมือนกับว่านักร้องมายืนร้องเพลงให้เราฟังที่กึ่งกลางห้องอยู่ดีครับ
Klipsch RP-250C ลำโพงเซ็นเตอร์ที่เราใช้นั้นให้เสียงร้องที่ยอดเยี่ยม มีเนื้อมีหนัง ใส และชัดถ้อยชัดคำมากๆตัวนึงที่เราเคยฟังลำโพงเซ็นเตอร์ในท้องตลาดมา
แต่เราลองเปรียบเทียบโดยถอด RP-250C ออกและเอาลำโพงเซ็นเตอร์ตัวใหม่อย่าง Pioneer Elite SP-EC73 Andrew Jones เข้ามาแทน ต้องบอกตรงๆว่าเสียงที่ได้นั้น RP-250C เสียงจะใส ชัดเจนแต่บางกว่า ส่วน SP-EC73 จะมีเนื้อมีหนังและเสียงพูดหนากว่า เสียงจะออกแนวเปิดและเป็นธรรมชาติฟังง่ายกว่า
ก็นับว่ายกแรกระหว่างลำโพง Klipsch RP-250C กับ Pioneer Elite SP-EC73 Andrew Jones Center นั้น Klipsch แพ้ไปนะครับ

มาที่ยกสองกันบ้าง เราลองเทียบลำโพง RP-160M กับ Pioneer Elite SP-EBS73-LR Andrew Jones bookshelf speakers ดูบ้าง เราพบว่าทั้งการดูหนังและฟังเพลงนั้น Klipsch RP-160M ทำได้ดีกว่ามากในแง่ของไดนามิคของเสียง อิมแพค ที่ดูมีชีวิตชีวาและฟังสนุก กระแทกกระทั้นกว่า Pioneer Elite SP-EBS73-LR
แต่มองในอีกแง่มุมนึงนะครับ Pioneer Elite SP-EBS73-LR มีความโปร่ง และติดบางมากกว่า ซึ่งบางคนที่ชอบฟังอะไรใส่ๆ อคูสติก กรุ๊งกริ๊งๆ ก็อาจจะชอบแนวนี้ก็ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการฟังเพลง Hi-Res อย่างไฟล์เพลงนามสกุล FLAC อย่างเพลง Wilco's "Yankee Hotel Foxtrot" ที่เราจะได้ยินรายละเอียด ความใสของเครื่องดนตรีอย่างเพอร์คัสชั่น และเสียงเปียโนจากลำโพง Pioneer Elite SP-EBS73-LR มากกว่า
ส่วน RP-160M นั้นดีเทล รายละเอียดเหล่านี้อาจจะถูกไดนามิคและเนื้อเสียงที่หนากว่าบดบังไปบ้างครับ
แต่โดยสรุปนะครับ ทีมงานทดสอบเราก็ชอบและเลือก RP-160M มากกว่า Pioneer Elite SP-EBS73-LR





ทีนี้มาดูลองเทียบระบบ 5.1 ที่ได้จากการรับชมคอนเสิรต์โดยเทียบกับลำโพงอย่าง Pioneer Elite Andrew John กันบ้างนะครับ
โดยทั้ง Pioneer และ Klipsch ต่างก็ยอดเยี่ยมด้วยกันทั้งคู่ สองตัวนี้ศักยภาพพอๆกันไม่ได้ทิ้งกันแต่อย่างใดครับ

แต่อย่างไรก็ดีก็มีความแตกต่างเล็กน้อยตรงที่ลำโพง Klipsch แนวเสียงและกลิ่นอายของเสียงจะออกไปทางแนว Rock หรือดิบๆ แนวเสียงดุดันๆมากกว่า ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของลำโพง Klipsch อยู่แล้วครับ
แต่กลับกัน ลำโพงของ Pioneer Elite นั้นจะให้เสียงที่ดูราบเรียบและดูเป็นธรรมชาติ ฟังง่ายๆ สบายๆ ใสๆ มากกว่าครับ

แต่ตัวลำโพง Pioneer เองแม้จะตัวเล็กกว่า แต่ก็ขับยากกว่า และต้องการกำลังแอมป์มากกว่าลำโพง Klipsch
โดยในการทดสอบนั้นเราเร่ง Volume ที่ระดับเดียวกัน แต่ลำโพง Pioneer เสียงจะค่อยกว่าระดับนึงเลยทีเดียว (เป็นเพราะค่า Sensitivity ของ Klipsch ที่สูงกว่ามาก)
AVR Marantz NR1605 ที่เราใช้นั้น เมื่อต่อกับลำโพง Pioneer Elite ก็ต้องเร่ง Volume สูงกว่าปกติที่ใช้กับ Klipsch จึงจะได้เสียงที่ระดับเดียวกันครับ




เราเริ่มรับชมภาพยนตร์ด้วยหนังคลาสสิคอย่าง "Saw"
ที่คนแปลกหน้าสองคนมาพบกัน และต้องโดนไล่ล่าและทรมานจากฆาตรกรโรคจิต
ต้องบอกไว้เลยว่าลำโพง Klipsch Reference Premiere ทั้งชุดนี้ดึงเราเข้าไปบรรยากาศของความน่ากลัว ความสยอง และหดหู่ของห้องทรมาน บรรยากศนักโทษถูกผูกไว้กับโซ่ ถูกทรมาน
เรายอมรับจริงๆว่าที่การดูภาพยนตร์
ลำโพงทั้งหมดถ่ายทอดเสียงและบรรยากาศได้ดีโดยเฉพาะ R-110SW ซับวูฟเฟอร์ที่ทำงานหนักกว่าใคร เพราะต้องส่งความถี่ต่ำเพื่อคลุมบรรยากาศห้องให้ดูสมกับเป็นหนังสยองขวัญและดูน่ากลัวเกือบตลอดทั้งเรื่องครับ
เสียงเบสของ R-110SW นั้นทำงานได้ดีครับ สามารถแผ่ความถี่ต่ำได้ต่อเนื่องไม่มีสะดุดและรู้สึกบวมเบลอ ที่สำคัญเสียงเบสนั้นล่องหน และไม่สามารถระบุตัวตนของซับวูฟเฟอร์ได้ นับเป็นข้อดีอีกข้อนึงที่เราชอบครับ



และก็สรุปส่งท้ายนะครับระหว่างลำโพง Klipsch Reference Premier กับลำโพง Pioneer Elite Andrew John บทสรุปที่เราได้นั้นคือ Pioneer Elite จะมีความโปร่ง บาง และใส เสียงออกแนวเป็นธรรมชาติกว่า
ส่วน Reference Premier เสียงจะ Rock เบสหนัก และขึงขัง ให้เสียงออกแนวดุดันมีพละกำลัง จริงจังมากกว่า เหมาะกับการรับชมภาพยนตร์มากกว่าครับ ในด้านการฟังเพลงหรือคอนเสริต์นั้น Klipsch ก็ยังทำได้ดี แต่ก็อาจจะทำได้ดีเป็นพิเศษสำหรับแนวเพลงที่มีจังหวะและมี Impact dynamic มากๆครับ

สุดท้ายนี้ Klipsch Reference Premier เมื่อจับคู่กับซับวูฟเฟอร์อย่าง R110SW นั้นสร้างความประทับใจให้เราได้มากครับ ถ้าได้ลองฟังเราเชื่อนะครับว่า ใครที่ชอบและรักการดูหนัง จะต้องชอบและหยุดฟังแน่นอน เพราะเสียงที่ได้จากลำโพงรุ่นเล็กสุดของ Reference Premier นั้นทั้งมีน้ำหนักเสียง มีอิมแพค เหมาะกับหนังแอคชั่นและดูหนังสนุกมากๆ เราเชื่อว่าใครที่มีโอกาศฟังจะต้องชอบแน่นอนครับ













============================================
Line ID: keamgladnan

Tel No: 089-9695946

Web site: http://www.lcdtvthailand.com/webboard/index.php?topic=86353.0
============================================