ผู้เขียน หัวข้อ: อว.จับมือ บีโอไอ ป้อนแรงงานคุณภาพสูงตามความต้องการ  (อ่าน 345 ครั้ง)

ออนไลน์ Beer625

  • Hologram 3D TV member
  • ******
  • กระทู้: 20,605
    • ดูรายละเอียด


วันนี้ (5 ก.ย.) ศ.(พิเศษ) ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เปิดเผยหลังการประชุมหารือร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และ บริษัท แคล-คอมพ์ อีเล็คโทรนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด(มหาชน) เรื่องการสนับสนุนกำลังคนทักษะสูงตามความต้องการของอุตสาหกรรมระดับสูงจากต่างประเทศ โดยกล่าวว่า อว. พร้อมสนับสนุนบีโอไอ ในการสร้างความมั่นใจแก่นักลงทุนจากต่างประเทศ ทั้งนักลงทุนเก่าและนักลงทุนใหม่ ที่จะลงทุนด้านเทคโนโลยีระดับสูงในประเทศไทย ซึ่งต้องการแรงงานคุณภาพสูง มีทักษะที่จำเป็นในการทำงานในโรงงานที่มีเทคโนโลยีระดับสูง โดย สอวช. และ สวทช. มีประสบการณ์ในการจัดหา ดูแล ประสานงาน และฝึกอบรมแรงงาน ภายใต้โครงการบูรณาการการเรียนรู้กับการทำงาน (Work-integrated Learning: WiL) ในรูปแบบ โรงเรียนในโรงงาน โดยทำงานร่วมกับมหาวิทยาลัยและบริษัทเอกชน

รมว.อว.กล่าวต่อว่า ตัวอย่างที่เป็นรูปธรรมในวันนี้ คือบริษัทแคล-คอมพ์จากไต้หวัน เป็นผู้ผลิตและประกอบชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์รายใหญ่ ลงทุนตั้งโรงงานในประเทศไทยมากว่า 30 ปี มีความต้องการขยายฐานการผลิตร่วมกับบริษัทที่ย้านฐานการผลิตจากประเทศจีนเนื่องจากสงครามการค้าระหว่างจีนและสหรัฐฯในช่วงที่ผ่านมา โดยต้องการแรงงานทักษะสูงประมาณ 400 ตำแหน่งภายในปีนี้ แรงงานดังกล่าวจะได้รับการฝึกฝนทักษะไปพร้อม ๆ กับการทำงานจริง ได้รับเงินเดือนไม่ต่ำกว่าเดือนละ 15,000 บาท โดยมีนักศึกษาระดับปริญญาโทเป็นพี่เลี้ยง ทั้งนี้ บริษัทมีแผนขยายโรงงานและรับแรงงานเพิ่มไม่ต่ำกว่า 2,000 ตำแหน่งในอนาคต

“นี่เป็นเพียงตัวอย่างของหนึ่งบริษัทจากต่างประเทศที่เลือกลงทุนด้านเทคโนโลยีระดับสูงในประเทศไทย เมื่อมีการประชาสัมพันธ์ถึงความพร้อมของประเทศไทยโดยบีโอไอ ประกอบกับการดำเนินการจัดตั้งศูนย์พัฒนากำลังคนเพื่อสนับสนุนการลงทุน โดย อว. จะทำให้มั่นใจได้ว่า ประเทศไทยจะมีแรงงานทักษะสูงที่พร้อมป้อนเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรมไฮเทค สร้างงานและรายได้ให้แก่คนไทย เพิ่มจีดีพีให้แก่ประเทศ แสดงให้เห็นถึงความสามารถในการปรับตัวหรือ Resiliency ของประเทศไทย ที่จะผ่านพ้นวิกฤตและมุ่งสู่การเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วในอนาคต” ศ.(พิเศษ) ดร.เอนก กล่าว