ผู้เขียน หัวข้อ: โควิดทำหนี้เพิ่ม-จนพุ่ง  (อ่าน 968 ครั้ง)

ออฟไลน์ Shopd2

  • Hologram 3D TV member
  • ******
  • กระทู้: 15,787
    • ดูรายละเอียด
    • อีเมล์
โควิดทำหนี้เพิ่ม-จนพุ่ง
« เมื่อ: พฤศจิกายน 05, 2021, 08:31:02 am »

ปี 2564 เป็นอีกปีที่ท้าทายสำหรับเศรษฐกิจไทย ที่ต้องเผชิญกับวิกฤตที่รุนแรงจากการระบาดของโควิด-19 อีกทั้งยังต้องเตรียมพร้อมรับมือกับความเปลี่ยนแปลงของบริบทโลกใหม่ การพัฒนาของเทคโนโลยี การก้าวเข้าสู่สังคมสูงวัย แต่ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมต่างๆ ที่กำลังเปลี่ยนแปลงไปและจะมีผลต่อการเติบโตของเศรษฐกิจในระยะต่อไป 

ขณะที่ปัจจัยเสี่ยงในประเทศที่เกิดจากการระบาดของโควิด-19 อย่าง “หนี้ครัวเรือน” ก็เป็นประเด็นที่น่าจับตามอง โดย “ศูนย์วิจัยกสิกรไทย” ระบุว่า สถานการณ์หนี้ครัวเรือนไทยในไตรมาส 2/2564 ขยับขึ้นมาอยู่ที่ 14.27 ล้านล้านบาท

คิดเป็นสัดส่วน 89.3% ต่อจีดีพี แม้ว่าจะชะลอลงจากไตรมาส 1/2564 ที่ระดับ 90.6% ต่อจีดีพี ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 18 ปี เนื่องจากเศรษฐกิจไทยในช่วงไตรมาส 2/2564 เติบโตขึ้นในอัตราที่มากกว่าหนี้ครัวเรือน โดยจีดีพี ณ ราคาประจำปี (Nominal GDP) เติบโตถึง 10.7% จากช่วงเดียวกันปีก่อน เทียบกับหนี้ครัวเรือนของไทยที่ขยายตัว 5% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน

โดย “ศูนย์วิจัยกสิกรไทย” ประเมินว่า สัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อจีดีพีที่ชะลอลงในไตรมาส 2/2564 นั้นจะเป็นเพียง “ภาวะชั่วคราว” เท่านั้น และไม่ได้หมายความว่าหนี้สินภาคครัวเรือนมีความน่ากังวลลดลง แต่ในทางกลับกัน ยอดคงค้างหนี้สินของครัวเรือนไทยยังคงเพิ่มสูงขึ้นในระหว่างไตรมาสนั้น เป็นมาตรวัดที่สะท้อนว่าภาระหนี้ในระดับครัวเรือนยังคงทรงตัวอยู่ในระดับสูง ไม่ต่างอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับช่วงไตรมาสที่ผ่านมา

โดยหนี้สินของครัวเรือนไทยขยับขึ้นประมาณ 1.36 แสนล้านบาทในไตรมาส 2/2564 นั่นหมายถึงยอดคงค้างหนี้ครัวเรือนเพิ่มขึ้นมาเป็น 14.27 ล้านล้านบาท จากระดับ 14.14 ล้านล้านบาท โดยเหตุผลหลักๆ มาจากการเร่งขึ้นของหนี้รายย่อย 2 ส่วน ได้แก่ หนี้เพื่อที่อยู่อาศัยที่ยังคงเพิ่มสูงขึ้น และหนี้เพื่อการอุปโภคบริโภคในชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะ “หนี้บัตรเครดิต” และ “สินเชื่อส่วนบุคคล” ซึ่งครัวเรือนน่าจะใช้เป็นช่องทางในการเพิ่มสภาพคล่องระยะสั้น เพื่อบรรเทาปัญหารายได้ไม่สมดุลกับรายจ่าย

 “วิกฤตโควิด-19 มีผลกระทบซ้ำเติมให้สถานะทางการเงินของครัวเรือนหลายส่วนเปราะบางมากขึ้น และลูกหนี้รายย่อยของสถาบันการเงิน ทั้งธนาคารพาณิชย์ นอนแบงก์ และสถาบันการเงินเฉพาะกิจทยอยเข้ารับมาตรการช่วยเหลือเพิ่มมากขึ้นตั้งแต่เดือน เม.ย.2564 เป็นต้นมา”

ส่วนในช่วงที่เหลือของปี 2564 “ศูนย์วิจัยกสิกรไทย” ประเมินว่า สัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อจีดีพีของไทยจะกลับมาเร่งตัวขึ้น โดยมีโอกาสที่จะขยับเข้าใกล้กรอบบนของตัวเลขประมาณการหนี้ครัวเรือนที่ระดับ 90-92% ต่อจีดีพี เพราะหนี้สินของภาคครัวเรือนยังอยู่ในระดับสูง และครัวเรือนบางส่วนอาจก่อหนี้เพิ่มในช่วงไตรมาส 3/2564 ซึ่งเป็นช่วงที่มีการระบาดรุนแรง สะท้อนจากการเร่งตัวขึ้นของสินเชื่อส่วนบุคคลทั้งที่มีและไม่มีหลักประกันนั่นเอง!

ภาวะรายได้ไม่พอกับรายจ่ายของประชาชนที่เกิดขึ้นในช่วงนี้ ส่วนใหญ่ยังมาจากผลกระทบของโควิด-19 หลายส่วนต้องการสภาพคล่องมาเติมการใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน แต่ในภาวะที่เศรษฐกิจยังไม่ฟื้นตัว ภาคธุรกิจได้รับผลกระทบอย่างหนักจนส่งผลให้เกิดปัญหาการว่างงาน จึงเป็นประเด็นที่หลีกเลี่ยงได้ยากที่จะ “ก่อหนี้” ขึ้น

ด้าน “ธนาคารโลก (เวิลด์แบงก์)” เอง ก่อนหน้านี้ได้มีการปรับลดคาดการณ์การเติบโตของเศรษฐกิจไทยในปีนี้ลงเหลือ 1% และประเมินว่าเศรษฐกิจไทยจะกลับมาฟื้นตัวเท่ากับช่วงก่อนเกิดการระบาดได้ก็คงเป็นปี 2566 ล่าช้ากว่าคาดการณ์เดิมราว 1 ปี ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการกระจายวัคซีน ขณะที่การระบาดของโควิด-19 ก็ยังส่งผลกระทบกับภาคครัวเรือน ทำให้อัตราการว่างงานอยู่ในระดับสูง ภาคธุรกิจโดยเฉพาะเอสเอ็มอีขาดรายได้ ปัจจัยเสี่ยงดังกล่าวทำให้คาดการณ์ได้ว่าในปี 2564 ประเทศไทยจะมีผู้ที่มีความยากจนเพิ่มขึ้นอีก 1.7 แสนคน

อย่างไรก็ดี หลายฝ่ายต่างหวังว่าการผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์อย่างต่อเนื่องของรัฐบาล มาตรการการเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ จะเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยสนับสนุนภาคเศรษฐกิจ ภาคธุรกิจให้กลับมาเดินหน้าได้อีกครั้ง ซึ่งประเด็นเหล่านี้น่าจะเป็นผลดีต่อตลาดแรงงาน การจ้างงาน และรายได้ของภาคแรงงานให้กลับมาฟื้นตัวได้ดีขึ้น แต่ก็ต้องจับตาสถานการณ์การแพร่ระบาดในระยะต่อไปด้วย โดยรัฐต้องมีมาตรการควบคุมและรับมืออย่างดีพอ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการระบาดของโควิด-19 แบบซ้ำซากอีก!!.

ครองขวัญ รอดหมวน