แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Messages - Ailie662

หน้า: 1 ... 977 978 [979] 980 981 ... 1012
17608


คุณชวลิต ทิพพาวนิช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) รับมอบรางวัล Asia Responsible Enterprise Awards 2021 หรือ AREA 2021 ในสาขา Health Promotion จาก Enterprise Asia ซึ่งเป็นองค์กรอิสระที่ดำเนินงานด้านการสนับสนุน ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพทางธุรกิจที่รับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมในภูมิภาคเอเชีย จากโครงการ IRPC Unite in the fight against COVID-19 ที่ได้ดำเนินการในช่วงวิกฤตการณ์การระบาดของไวรัสโควิด-19 ในปีที่ผ่านมา โดยบริษัทฯ ได้ดูแลและให้ความช่วยเหลือพนักงานและครอบครัว พร้อมกับช่วยเหลือสังคม ปกป้องบุคลากรทางการแพทย์ให้ปลอดภัยจากเชื้อไวรัสโควิด-19 การสร้างอาคารตรวจโรคระบบทางเดินหายใจแรงดันลบ อาคารระยองรวมใจพัฒน์ ให้แก่โรงพยาบาลระยอง เพื่อใช้เป็นอาคารตรวจคัดกรองโรคโควิด-19 และสามารถใช้เป็นอาคารตรวจโรคทางเดินหายใจ หลังจากการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 หมดลงแล้ว การมอบเตียงเคลื่อนย้ายผู้ป่วยแรงดันลบพร้อมผ้าพลาสติกคลุมเตียงให้แก่โรงพยาบาลระยอง การมอบผ้าสปันบอนด์ ซึ่งผลิตจากเม็ดพลาสติกของบริษัทฯ ให้แก่มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช นำไปตัดเป็นชุดใส่ป้องกันการติดเชื้อ (PPE) เพื่อส่งมอบให้แก่โรงพยาบาลทั่วประเทศกว่า 200 แห่ง การนำผลิตภัณฑ์และนวัตกรรมของบริษัทฯ ไปต่อยอดสร้างมูลค่าทางธุรกิจ เช่น ผ้า Melt blown Fabric หน้ากากผ้ากราฟีน KleanTeQ Mask และยังเป็นการตอบแทนสังคมโดยสร้างความมั่นคง และความเข้มแข็งทางด้านสาธารณสุขให้แก่ประเทศไทย

17609
ลูกอมพระแม่ธรณี

จัดสร้างจากดินใต้ฐานพระแม่ธรณี ผงมหาจักรพรรดิ และมวลสารอื่น ๆ ช่วยในเรื่องการขายบ้าน ขายที่ดิน

17610


นายภากร ปีตธวัชชัย กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ตลาดหลักทรัพย์ฯ เล็งเห็นความสำคัญของผู้ประกอบการรายเล็กโดยเฉพาะ SMEs และ Startups ที่มีบทบาทสำคัญต่อการเติบโตของเศรษฐกิจประเทศ โดยมีแผนกลยุทธ์สำคัญในการเสริมศักยภาพและสนับสนุนการระดมทุนของธุรกิจเหล่านี้ ล่าสุด ร่วมกับ ก.ล.ต. จัดงาน “LiVE Demo Day : The New Road to Capital Market” ตอกย้ำบทบาทการส่งเสริมครบทุกมิติ สอดคล้องนโยบายภาครัฐที่ส่งเสริมผู้ประกอบการ SMEs และ Startups ให้เติบโตอย่างแข็งแกร่งเพื่อขับเคลื่อนประเทศสู่อนาคต โดยได้รับเกียรติจาก รมว. คลัง นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ ปาฐกถาพิเศษ “ยุทธศาสตร์ส่งเสริม SMEs / Startups ซื้อหวยออนไลน์เพื่อยกระดับขีดความสามารถและขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย”

ตลาดหลักทรัพย์ฯ เดินหน้าบทบาทในการส่งเสริม SMEs และ Startups ให้เติบโตไปอีกขั้นผ่านกลไกตลาดทุน มุ่งพัฒนาผู้ประกอบการผ่าน LiVE Platform ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มที่ช่วยเตรียมความพร้อมในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนในตลาดทุนสำหรับผู้ประกอบการ โดยได้ร่วมกับพันธมิตรในทุกภาคส่วน พัฒนาบริการต่าง ๆ เพื่อมุ่งตอบโจทย์ความต้องการของผู้ประกอบการ อาทิ การจัดทำ e-Learning เพื่อเสริมสร้างองค์ความรู้ขั้นพื้นฐานและเชิงลึก การให้บริการ Business Coaching ผ่านโครงการ LiVE Acceleration Program และ LiVE Incubation Program เป็นต้น นอกจากนี้ ยังเตรียมจัดตั้ง LiVE Exchange ซึ่งเป็นตลาดรองสำหรับ SMEs และ Startups ที่มีการระดมทุนในวงกว้าง (IPO)

โดยได้ทำงานร่วมกับ ก.ล.ต. พัฒนาหลักเกณฑ์รองรับการระดมทุนในวงกว้าง และการจดทะเบียนและซื้อขายในตลาดรองสำหรับ SMEs และ Startups หวังเพิ่มช่องทางการระดมทุนสำหรับ SMEs และ Startups ซึ่งได้เปิดรับฟังความคิดเห็น (Public Hearing) ไปเรียบร้อยแล้ว และอยู่ระหว่างการจัดทำหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง


นอกจากนี้ ยังได้ร่วมมือกับบริษัทหลักทรัพย์ ในการพัฒนาระบบซื้อขายสำหรับ LiVE Exchange ซึ่งจะมีกลไกการซื้อขายและการกำกับดูแลที่แตกต่างจาก SET และ mai โดยรูปแบบการซื้อขายจะเป็นลักษณะ Auction-based วันละ 1 รอบ และชำระราคาและส่งมอบหุ้นภายในวัน โดยจะมีการจำกัดประเภทผู้ลงทุนให้สอดคล้องกับความเสี่ยงในการลงทุน เบื้องต้นมีบริษัทหลักทรัพย์ที่สนใจเข้าร่วมทดสอบระบบเพื่อให้บริการ LiVE Exchange แล้วกว่า 25 ราย คาดเปิดให้บริการได้ภายในสิ้นปี 2564 นี้

นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล เลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เปิดเผยว่า ก.ล.ต. ในฐานะหน่วยงานกำกับดูแลและส่งเสริมพัฒนาตลาดทุน เล็งเห็นความสำคัญและบทบาทของ SMEs และ Startups ที่มีต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศไทย ก.ล.ต. จึงดำเนินนโยบายอย่างเป็นรูปธรรมที่จะทำให้ตลาดทุนเป็นประโยชน์ต่อทุกภาคส่วนอย่างแท้จริง (Capital Market for All) โดยมุ่งหวังให้ตลาดทุนเป็นแหล่งระดมทุนที่สำคัญสำหรับกิจการทุกขนาดและทุกประเภท ซึ่งรวมถึง SMEs และ Startups สอดคล้องแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (ปี 2561 - 2580) และแผนพัฒนาตลาดทุนไทยฉบับที่ 3 (ปี 2560 - 2564)


ก.ล.ต. ได้ดำเนินการให้ SMEs และ Startups สามารถเข้าถึงแหล่งทุนในตลาดทุนมาอย่างต่อเนื่องและมีการพัฒนาอย่างเป็นลำดับขั้นมาตั้งแต่กลางปี 2562 ทั้งในเรื่องการออกหลักเกณฑ์รองรับการระดมทุนในตลาดทุนของ SMEs และ Startups ควบคู่กับการให้ความรู้และวิธีการระดมทุนผ่านตลาดทุน โดยประสานความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้เข้าถึงผู้ประกอบการกลุ่มเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ การออกหลักเกณฑ์เพื่อรองรับการเสนอขายหลักทรัพย์ในวงจำกัด (SME-PP) ของบริษัทจำกัด และปรับปรุงการระดมทุนผ่านระบบคราวด์ฟันดิง (Crowdfunding) ปัจจุบันมีผู้ประกอบการที่ระดมทุนผ่าน SME-PP และ Crowdfunding จำนวน 83 ราย มูลค่าระดมทุนรวม 795 ล้านบาท (ณ วันที่ 31 ส.ค.2564)

“นอกจากนี้ เพื่อให้การระดมทุนในตลาดทุนครอบคลุมกิจการ SMEs และ Startups ก.ล.ต. จึงได้ร่วมกับตลาดหลักทรัพย์ฯ ออกหลักเกณฑ์รองรับการระดมทุนในวงกว้างของ SMEs และ Startups (SME-PO) และนำหุ้นเข้าจดทะเบียนในตลาดรอง (LiVE Exchange) โดยพิจารณาผ่อนปรนหลักเกณฑ์เพื่อให้มีความเหมาะสม และยังคงหลักการเรื่องการคุ้มครองผู้ลงทุนที่เหมาะสม ซึ่งคาดว่าหลักเกณฑ์ SME-PO จะมีผลบังคับใช้ภายในปี 2564”

การขับเคลื่อนการพัฒนา SMEs และ Startups ผ่าน LiVE Platform ของกลุ่มตลาดหลักทรัพย์ฯ ที่ผ่านมา ได้รับการสนับสนุนและความร่วมมือจากเครือข่ายพันธมิตรกว่า 25 องค์กร ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ตลาดทุน มหาวิทยาลัย ในการร่วมพัฒนาบริการต่างๆ เพื่อเตรียมความพร้อมผู้ประกอบการให้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนผ่านกลไกตลาดทุนได้อย่างมีคุณภาพ รวมทั้งได้รับเงินทุนสนับสนุนการพัฒนาโครงการ และเงินทุนสนับสนุนสำหรับผู้ประกอบการ SMEs / Startups จากกองทุนส่งเสริมการพัฒนาตลาดทุน (CMDF)

งาน “LiVE Demo Day : The New Road to Capital Market” จัดขึ้นในวันที่ 14 ก.ย.2564 เวลา 10.00-16.30 น. ในรูปแบบ Virtual Conference โดยมีหลากหลายหัวข้อสัมมนาน่าสนใจ และมี 21 บริษัท SMEs และ Startups จาก LiVE Acceleration Program 2020 มานำเสนอข้อมูลธุรกิจและศักยภาพการเติบโตสู่การระดมทุนในอนาคต ผู้สนใจดูรายละเอียดและติดตามรับชมที่เฟสบุ๊ก LiVE Platform และ SET Thailand รวมถึงยูทูป SET Thailand

17614
ลูกอมพระแม่ธรณี

จัดสร้างจากดินใต้ฐานพระแม่ธรณี ผงมหาจักรพรรดิ และมวลสารอื่น ๆ ช่วยในเรื่องการขายบ้าน ขายที่ดิน

17615


นายพชร อารยะการกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บลูบิค กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ BBIK เปิดเผยว่า ในวันที่ 16 กันยายนนี้ บริษัทฯ พร้อมนำหุ้นเข้าซื้อขายวันแรกในตลาดหลักทรัพย์เอ็ม เอ ไอ โดยใช้ชื่อย่อ 'BBIK' ในการซื้อขายหลักทรัพย์ และเชื่อมั่นว่าด้วยศักยภาพของบริษัทฯ ที่มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญในธุรกิจที่ปรึกษาด้านดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชัน เพื่อเข้าไปช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการดำเนินธุรกิจและปลดล็อกศักยภาพการเติบโตให้แก่ลูกค้าองค์กร โดยรับความไว้วางใจจากบริษัทชั้นนำในอุตสาหกรรมต่างๆ มากมาย จะทำให้บริษัทฯ เป็นหุ้น IPO น้องใหม่ที่นักลงทุนให้ความสนใจ

ทั้งนี้ การเสนอขายหุ้น IPO จำนวน 25 ล้านหุ้นในช่วงที่ผ่านมาที่ราคาหุ้นละ 18 บาท ได้รับการตอบรับจากนักลงทุนที่ดีเกินกว่าความคาดหมาย ตอกย้ำถึงศักยภาพและความเชื่อมั่นในปัจจัยพื้นฐานของบริษัทฯ รวมถึงโอกาสการเติบโตในอนาคต โดยบริษัทฯ วางแผนขยายธุรกิจอย่างต่อเนื่องหลังเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ครั้งนี้ เพื่อบรรลุเป้าหมายเป็นบริษัทคอนซัลต์ด้านดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชันชั้นนำแบบครบวงจร ได้แก่ 1.การเพิ่มบุคลากรและพัฒนาทักษะด้านเทคโนโลยี ตลอดจนวางแผนพัฒนาศูนย์การพัฒนาทักษะ (Learning Academy Center) 2.พัฒนาผลิตภัณฑ์ด้านเทคโนโลยีและดิจิทัลเพื่อให้บริการซอฟต์แวร์ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต (Software as a Service หรือ SaaS) รวมถึงจัดตั้งศูนย์วิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ (Research and Development Center) 3.เสริมศักยภาพการบริหารจัดการภายในผ่านการยกระดับระบบซอฟต์แวร์เพื่อรองรับการเติบโตขององค์กร 4.ขยายพื้นที่สำนักงานรองรับการเพิ่มบุคลากร 5.ลงทุนในธุรกิจอื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่องและมีศักยภาพเพื่อสร้างการเติบโตและรับมือความผันผวนของตลาด และ 6.เสริมศักยภาพด้านเงินทุนหมุนเวียนในการดำเนินงาน

บริษัทฯ ได้รุกขยายธุรกิจผ่านความร่วมมือกับบริษัทชั้นนำของประเทศ โดยผนึกความร่วมมือกับบริษัท ปตท.น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ OR จัดตั้งบริษัทร่วมทุนภายใต้ชื่อบริษัท ออร์บิท ดิจิทัล จำกัด (ORBIT) โดยเพิ่มทุนจดทะเบียนเป็น 50 ล้านบาท บริษัทฯ ถือหุ้น 60% และ OR ซึ่งถือหุ้นผ่าน Modulus ที่เป็นบริษัทย่อย ถือหุ้น 40% เพื่อร่วมมือกันดำเนินธุรกิจและสร้างสรรค์โอกาสในการขยายธุรกิจใหม่ให้ OR เพื่อเป็นผู้นำด้านดิจิทัลในอุตสาหกรรมค้าปลีกต่อไป ซึ่งบริษัทฯ จะเริ่มรับรู้รายได้จาก ORBIT ปลายปีนี้ และรับรู้รายได้เต็มปีตั้งแต่ปี 2565

ด้าน นายพายุพัด มหาผล กรรมการผู้จัดการ ฝ่ายวาณิชธนกิจ บริษัทหลักทรัพย์ หยวนต้า (ประเทศไทย) จำกัด ที่ปรึกษาทางการเงินและผู้จัดการการจัดจำหน่ายและรับประกันการจำหน่าย กล่าวว่า บมจ.บลูบิค หรือ BBIK เป็นบริษัทที่ขับเคลื่อนโดยกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญในธุรกิจที่ปรึกษา เคยผ่านงานกับบริษัทคอนซัลต์ชั้นนำระดับโลก และได้รับความเชื่อมั่นจากลูกค้าองค์กรที่เป็นบริษัทชั้นนำในกลุ่ม SET 50 และ SET 100 รวมถึงบริษัทจดทะเบียนระดับแนวหน้าของประเทศหลายราย ส่งผลให้บริษัทฯ มีอัตราการเติบโตที่ดี นอกจากนี้ BBIK ได้วางแผนนำเงินที่ได้จากการระดมทุนไปใช้ขยายธุรกิจ โดยเฉพาะการเพิ่มบุคลากรและฝึกอบรมเพื่อเพิ่มทักษะที่เป็นหัวใจสำคัญในการดำเนินธุรกิจ ตลอดจนการขยายบริการด้านการจัดหาบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญด้านไอทีเพื่อไปปฏิบัติงานยังไซต์งานของลูกค้า รวมถึงการจัดตั้งบริษัทร่วมทุนกับ OR จะส่งผลดีต่อศักยภาพการเติบโตในอนาคต จึงเชื่อว่าจะเป็นหนึ่งในหุ้น IPO น้องใหม่ที่ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากนักลงทุน

นายพงศ์ศักดิ์ พฤกษ์ไพศาล กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์ กสิกรไทย จำกัด (มหาชน) ผู้จัดการการจัดจำหน่ายและรับประกันการจำหน่ายร่วม กล่าวว่า บมจ.บลูบิค กรุ๊ป หรือ BBIK ถือเป็นบริษัทชั้นนำในธุรกิจที่ปรึกษาด้านดิจิทัลทรานส์ฟอร์มเมชันของประเทศไทย ที่มีศักยภาพการเติบโตไปพร้อมกับการขยายตัวของภาพรวมธุรกิจในด้านนี้ เนื่องจากปัจจุบันองค์กรชั้นนำต่างๆ ล้วนมีความต้องการพัฒนาขีดความสามารถและรูปแบบการทำงานให้ก้าวทันการเปลี่ยนแปลงในยุคดิจิทัล จึงมีความต้องการบริษัทที่ปรึกษาเพื่อเป็นพาร์ตเนอร์ร่วมกำหนดกลยุทธ์และปลดล็อกศักยภาพการเติบโต จึงทำให้ผลการดำเนินงานที่ผ่านมาของ BBIK เติบโตอย่างรวดเร็วและมีศักยภาพสามารถแข่งขันได้กับบริษัทที่ปรึกษาชั้นนำระดับโลก

17617
ฝาก แอ๊ดมินกลุ่มต่างๆ ในเฟสบุ๊คด้วยครับ มันยังลองนวลอยู่ ช่วยกันดีดออกจากกลุ่มด้วย อย่าให้คนอื่นตกเป็นเหยื่อมัน มันมักจะแฝงตัวในกลุ่ม ขายหมู ขายไก่ ขายอาหาร และเสื้อผ้า ในกลุ่มรถยนต์มือสอง ก็มีคนโดนหลอกมาแล้ว

17618


“เอ็นไอเอ” เปิดตัวสำนักงานภูมิภาคแห่งแรก ยกระดับนวัตกรรมใน 11 จังหวัดภาคเหนือ ปักหมุด ‘เชียงใหม่’ สู่การเป็นศูนย์กลางภูมิภาคนวัตกรรม เชื่อมหน่วยงานท้องถิ่น ขับเคลื่อนนวัตกรรมระดับภูมิภาค สู่การเป็นพื้นที่นวัตกรรมหลากหลาย ทั้งเป็นบ้านหลังใหม่ของสตาร์ทอัพทั่วโลก

โดยเอ็นไอเอวางแผนพัฒนานวัตกรรมเชิงพื้นที่และภูมิภาค ภายใต้กลไก 3 ด้าน ได้แก่ การสนับสนุนด้านการเงิน (Finance) การสนับสนุนการพัฒนาเครือข่ายภูมิภาค (Network) และการบริหารจัดการข้อมูลอัจฉริยะ (Intelligent) พร้อมเดินหน้าต่อยอดผลักดันเชียงใหม่สู่ “จังหวัดศูนย์กลางการพัฒนานวัตกรรมในภูมิภาคภาคเหนือ” ตั้งเป้าภายใน 5 ปี จะเกิดการลงทุนในการวิจัยและพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทั้งสิ้น 263 ล้านบาท และก่อให้เกิดผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดของภาคเหนือ (GPP) เพิ่มขึ้น 0.042% และเกิดผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) เพิ่มขึ้น 0.0011%

 

แปลงโฉมล้านนา

พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA กล่าวว่า เอ็นไอเอเริ่มพัฒนากิจกรรมด้านนวัตกรรมมาเกิน 15 ปี เน้นการทำงานผ่านการให้ทุนกับผู้ประกอบการนวัตกรรมในพื้นที่ พร้อมทำงานร่วมกับธุรกิจ สมาคม จนมาถึงจุดเปลี่ยนพบว่าการให้ทุนอย่างเดียวไม่เพียงพอและโครงสร้างพื้นฐานหลายส่วนในระดับภูมิภาคก็เริ่มจะก่อกำเนิดขึ้น อีกทั้งหนึ่งในปัญหาหลักสำคัญของการพัฒนาระบบนิเวศนวัตกรรมของไทยคือ การกระจุกตัวของการพัฒนาอยู่เฉพาะในเมืองหลวง เด็กจบใหม่จำนวนมากต้องย้ายถิ่นฐานมาทำงานที่กรุงเทพฯ แทนที่จะได้อยู่พัฒนาบ้านเกิดของตน

 

ดังนั้น การจัดตั้งสำนักงานภาคเหนือ หรือ NIA Lottovip Northern Regional Connect จึงเป็นกลไกสำคัญในการยกระดับความสามารถด้านนวัตกรรม และสร้างโอกาสการเข้าถึงโครงสร้างพื้นฐานด้านนวัตกรรมในส่วนภูมิภาคของประเทศไทย รวมถึงเป็นการสร้างอัตลักษณ์ของย่านเมือง หรือระเบียงนวัตกรรม ให้มีความโดดเด่นก่อให้เกิดกิจกรรม และการลงทุนทางด้านนวัตกรรมต่อไป


ย่านบ่มเพาะนวัตกรรมแห่งใหม่

ดังนั้น สำนักงานภาคเหนือ ถือเป็นสำนักงานภูมิภาคแห่งแรกของ NIA ตั้งอยู่ที่จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นเมืองอันดับสองรองจากกรุงเทพฯ ที่มีความพร้อมสู่การเป็นเมืองนวัตกรรม เนื่องจากมีโครงสร้างพื้นฐานทางนวัตกรรมหลากหลาย มีสถาบันการศึกษาชั้นนำในภูมิภาคที่สามารถเป็นแหล่งผลิตนวัตกรได้

 

และมีสภาพแวดล้อมที่พร้อมต่อการเป็นบ้านหลังใหม่ของดิจิทัลโนแมดและสตาร์ทอัพจากทั่วโลก โดยสำนักงานจะทำหน้าที่เป็นสะพานเชื่อมระหว่างกลไกด้านนวัตกรรมกับผู้ประกอบการภาคเอกชน เป็นพื้นที่แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ และสร้างกิจกรรมทางด้านนวัตกรรมในพื้นที่

 

โดย สำนักงานภาคเหนือตั้งอยู่ภายในอาคารอำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ ต.แม่เหียะ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ ดำเนินงานครอบคลุม 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบน และ 3 จังหวัดภาคเหนือตอนล่าง รวมเป็น 11 จังหวัด ขนาดพื้นที่รวม 108,102 ตารางกิโลเมตร ประมาณ 21% ของประเทศ รวมประชากรว่า 7.8 ล้านคน คิดเป็น 12% ของประชากรทั้งประเทศ ทั้งนี้เชียงใหม่ยังเป็นศูนย์กลางของสี่เหลี่ยมเศรษฐกิจ

 

และวางเป้าหมายว่าในปี 2569 จะมีศูนย์กลางในการพัฒนานวัตกรรมเพิ่มขึ้นอีกใน 4 จังหวัด ที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อจังหวัดโดยรอบทั้ง 11 จังหวัดนี้ เกิดย่านนวัตกรรมในภูมิภาคขึ้นอีก 2 แห่ง เกิดการจ้างงานในพื้นที่เพิ่มขึ้นอีก 3,000 อัตรา มีการเข้าถึงนวัตกรรมทางด้านสังคมของตัวแทนชุมชนไม่น้อยกว่า 400 คน

 

เกิดการลงทุนในการวิจัยและพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทั้งสิ้น 263 ล้านบาท ก่อให้เกิดผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดของภาคเหนือ (GPP) เพิ่มขึ้น 0.042% และเกิดผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) เพิ่มขึ้น 0.0011%


ซึ่งในภูมิภาคนี้มีความพร้อมนั่นคือ การรวมตัวกันของอุตสาหกรรมอนาคต ได้แก่ อุตสาหกรรมอาหาร การแพทย์ การท่องเที่ยว นวัตกรรมสังคม และดีพเทคสตาร์ทอัพ อีกทั้งยังมีมหาวิทยาลัยในภูมิภาค 16 แห่ง อุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ 7 แห่ง และย่านนวัตกรรม 2 ย่าน จึงถือได้ว่าในภูมิภาคนี้มีความพร้อมของยุทศาสตร์

 

‘ฮับ’ นวัตกรระดับภูมิภาค

พันธุ์อาจ อธิบายเพิ่มเติมว่า  การพัฒนาระบบนิเวศนวัตกรรม และยกระดับความสามารถด้านนวัตกรรมในส่วนภูมิภาคยังมีประเด็นท้าทายอยู่ 7 ประเด็นสำคัญ ที่ต้องเร่งดำเนินการ ได้แก่

1. การเพิ่มวิสาหกิจฐานนวัตกรรม ที่เพียงพอต่อการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลง “ระบบนวัตกรรม”

2. การเพิ่มจำนวนนวัตกรในระบบนวัตกรรมของไทยมีความเก่ง และความเชี่ยวชาญ ในการพัฒนานวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง

3. การใช้ประโยชน์ โครงสร้างพื้นฐาน ทางนวัตกรรมและการเข้าถึงบริการทางนวัตกรรมในทุกภาคส่วน

4. การสร้างโอกาสทางนวัตกรรมในระบบภูมิภาค

5. การทำให้ กฎ ระเบียบ และ นโยบาย เป็นเรื่องง่ายกับกระบวนการทางนวัตกรรม

6. การเป็นชาตินวัตกรรมที่ “คนไทย” และ “นานาชาติ” ยอมรับ

7. การทำให้ระบบนวัตกรรมไทย “ตอบสนอง” ต่อการเปลี่ยนแปลงโลก เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันด้วยนวัตกรรม อาทิ ฝุ่นควัน

 

ซึ่งเอ็นไอเอได้มีการวางแผนแนวทางพัฒนาผ่านกลไก 3 ด้าน ได้แก่ การสนับสนุนด้านการเงิน การสนับสนุนการพัฒนาเครือข่ายภูมิภาค และการบริหารจัดการข้อมูลอัจฉริยะ แต่ทั้งนี้การดำเนินงานไม่สามารถทำได้เพียงองค์กรเดียวจึงได้มีการร่วมกับเครือข่ายพันธมิตรนวัตกรรมในพื้นที่ภาคเหนือ (Northern Innovation Thailand Alliance) เพื่อผลักดันเชียงใหม่ให้เป็นเมืองนวัตกรรมตัวอย่างของไทยและภูมิภาค ต่อไป

 

เพื่อนำไปสู่ความพร้อมในการเป็นพื้นที่ที่มีโครงสร้างพื้นฐานด้านนวัตกรรมที่หลากหลาย พร้อมในการเป็นแหล่งผลิตนวัตกรจากสถาบันการศึกษาชั้นนำในภูมิภาค พร้อมในการเป็นบ้านหลังใหม่ของ Digital Nomand และสตาร์ทอัพจากทั่วโลก พร้อมเป็นเบ้าหลอมนวัตกรรม และไลฟ์สไตล์แคปปิตอลของภูมิภาค และพร้อมเป็นแซนด์บ็อกแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมและการนำร่องไปสู่การขยายผลในอนาคต

 

ด้าน วิเชียร  สุขสร้อย  รองผู้อำนวยการด้านเศรษฐกิจและสังคม เผยถึงการกลไกสนับสนุนด้านการเงินว่า จุดเด่นของเอ็นไอเอคือ การทำหน้าที่สนับสนุนผู้ประกอบการ ให้สามารถเข้าถึงแหล่งการเงิน โดยจะต้องเป็นผู้ที่มีความสนใจทำธุรกิจนวัตกรรมเพื่อก้าวกระโดดในแง่ของการสร้างรายได้ใหม่ๆ  ฉะนั้นผู้ประกอบการในระดับภูมิภาค ภาคเหนือมีสัดส่วนได้รับทุนสนับสนุนจำนวนมากทั้งสตาร์ทอัพ และผู้ประกอบการที่ต้องการทำธุรกิจนวัตกรรม จึงทำให้ภาคเหนือเป็นอันดับ 2 รองจากกรุงเทพฯ และปริมณฑล

 

ซึ่งสำนักงานได้ทำการเชื่อมโยงแหล่งทุนต่างๆที่เหมาะสมกับการพัฒนาผู้ประกอบการ อาทิ หน่วยงานภาครัฐที่มีหลากหลายกระทรวง หรือแม้กระทั่งภาคเอกชน และนักลงทุน ทำให้ที่ผ่านมาภาคเหนือมีการให้ทุนสนับสนุนมากกว่า 78 ล้านบาท ซึ่งจากการเทียบในและภูมิภาคพบว่าภาคเหนือเป็นพื้นที่ที่มีความพร้อมในแง่ของการพัฒนาธุรกิจนวัตกรรมได้โดดเด่นกว่าภาคอื่น สัดส่วนผู้ประกอบการภาคเหนือแบ่งออกเป็นกลุ่มไบโอเทคโนโลยี เกษตรและอาหาร ประมาณ 16 ราย ส่วนดิจิทัลและบริการ  34 ราย และทางฝั่งของภาคการผลิต ประมาณ 9 ราย ดังนั้นการดำเนินการทั้งหมดนี้จะเป็นการผลักดันให้เศรษฐกิจระดับภูมิภาคเติบโตอย่างยั่งยืนได้

 

ทั้งนี้ อาจารย์ วรจิตต์ เศรษฐพรรค์  คณบดีวิทยาลัยพัฒนาเศรษฐกิจและเทคโนโลยีชุมชนแห่งเอเชีย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ เปิดมุมมองถึงนวัตกรรมเพื่อสังคมและคุณภาพชีวิตยุค 5G ว่า มหาวิทยาลัยเน้นพัฒนาคุณภาพชีวิต เศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อมของท้องถิ่น โดยใช้พื้นที่ในมหาวิทยาลัยเป็นสถานที่บ่มเพาะนวัตกรรมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น พลังงาน การดูแลสิ่งแวดล้อม การขจัดพีเอ็ม 2.5 ทั้งมีการพัฒนาในพื้นที่มหาวิทยาลัย และขยายสู่ในชุมชน

 

สำหรับนวัตกรรมเพื่อสังคมทางมหาวิทยาลัยได้เป็นโหนดขับเคลื่อนนวัตกรรมเพื่อสังคมประจำภาคเหนือตอนบน 1 หน้าที่ของโหนดคือ ต้องแสวงหาผู้ประกอบการหรือบุคคลที่สนใจเข้าร่วมโครงการจากนั้นจะมีการให้ทันสนับสนุนธุรกิจ และเครือข่ายพี่เลี้ยง ทั้งหมดนี้จะเป็นการสร้างเครือข่ายในภาคเหนือและระบบนิเวศนวัตกรรม จากการสนับสนุนภายใต้ระยะเวลา 2 ปี ได้สนับสนุนทุนไป 11 ผลงาน ส่วนในปีนี้กำลังอยู่ระหว่างการดำเนินงาน 17 ผลงาน ดังนั้นทุนที่ให้ไปไม่เกิน 3 แสนบาท ต่อผลงาน โดยที่ผู้ขอรับทุนร่วมสมทบทุนไม่น้อยกว่า 10% อีกทั้งภายใต้การดำเนินงานจะมีระบบพี่เลี้ยงและสื่อต่างๆเพื่อผลักดันผลงานอีกด้วย

 

โดยผลงานนวัตกรรมเพื่อสังคมที่สนใจได้แก่ 1.ยกระดับสถานประกอบการ ผ่านการใช้นวัตกรรมเพื่อแก้ปัญหา เพิ่มประสิทธิภาพ และสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์และกระบวนการใหม่ๆ 2.ต้องคำนึงถึงวิถีชุมชน พร้อมกับชูจุเด่นอัตลักษณ์ท้องถิ่น อาทิ เชิงวัฒนธรรม คุณค่าและมูลค่าเพิ่ม 3.นวัตกรรมพร้อมใช้ มีการรับรองมาตรฐาน 4.มีประโยชน์ต่อสังคม สิ่งแวดล้อม และความยั่งยืนเชิงธุรกิจ

หน้า: 1 ... 977 978 [979] 980 981 ... 1012