24 Apr 2014
Article

ปรับภาพนั้น…สำคัญไฉน !!! ความสำคัญของการปรับภาพและเทคนิคการปรับภาพเบื้องต้น


  • lcdtvthailand

 3. Color / Tint ::  Color คือ “ความสดอิ่ม” ของสีสันโดยรวมทั้งหมด หากปรับมากไปสีสันก็จะสดโอเว่อร์จนเกินจริง เช่นใบหน้าติดแดง หญ้าเขียวฉ่ำเกินไปเหมือนในนิยาย ในขณะที่ปรับน้อยไปสีก็จะจืดชืดเกินไป  หรือหากลดระดับลงไปสุดๆ ให้เหลือ 0 จะกลายเป็นภาพขาวดำทันทีครับ ในส่วนของ Tint เป็นการปรับความสัมพันธ์ระหว่างสีแดงกับสีเขียว โดยส่วนมากแล้วจะเอาปรับ “สีผิวของคน”  (Skin Tone) ให้ถูกต้อง หากปรับมากไป (R) สีผิวของคนจะ “อมแดง” ในขณะที่ปรับน้อยไป (G) สีผิวของคนจะกลายเป็น “อมเขียว” เหมือนไอ้ยักษ์เขียว Hulk ซะงั้น ^ ^ อย่างไรก็ตาม จากที่ผมได้มีโอกาสทดสอบทีวีมาหลายยี่ห้อหลายรุ่น ทีวียุคนี้ถือว่าเซ็ตค่า Tint มาค่อนข้างดีตั้งแต่ต้น โดยแทบไม่ต้องปรับแก้ไขอะไรเพิ่มเติมเลย ดังนี้เรามาดูการปรับค่า Color อย่างเดียวก็พอ

Color มากไป สีสดเกินจริงทั้งใบหน้าของคนและกำแพงไม้ด้านหลัง 
VS 
Color ถูกต้อง สีถูกต้องเป็นธรรมชาติ สีไม้ก็เป็นไม้ ใบหน้าของสาวน้อยผู้นี้ก็เป็นธรรมชาติ
Pattern จาก DVE อันนี้เอาไว้ทดสอบความถูกต้องของค่า Color
เบื้องต้นลองใช้ Color Filter โดยมองผ่าน “ช่องสีน้ำเงิน”

การใช้งานแผ่นใสฟิลเตอร์สีที่แถมมากับ DVE หรือแผ่นบลูเรย์ปรับภาพอื่นๆ ไม่เหมาะสำหรับเทคโนโลยีจอภาพปัจจุบัน ทั้งนี้การไฟน์จูน Color และ Tint ที่ให้ผลลัพธ์ที่ถูกต้องแม่นยำสำหรับมาตรฐานทีวียุคใหม่ควรเลือกใช้ฟังก์ชั่น RGB Colour Filter (Blue Only Mode) ซึ่งเป็นฟีเจอร์หนึ่งของทีวีแทน

ปัจจุบันฟังก์ชั่น Colour Filter (Blue Only Mode) พบได้จากทีวีของ Samsung, LG, TCL (บางรุ่น), Hisense (บางรุ่น) รวมถึงโปรเจ็กเตอร์ระดับสูง (บางรุ่น)

ปรับถูกต้อง :: จาก Color Filter – Blue (Blue Only Mode) จะมองเห็นสี่เหลี่ยมสีเข้ม 6 ช่อง เท่านั้น บริเวณโดยรอบจะกลืนเป็นสีพื้นเดียวกันหมด

ปรับมากหรือน้อยไป :: จะสังเกตเห็นสี่เหลี่ยมในตำแหน่งอื่น ๆ นอกเหนือจากสี่เหลี่ยมสีเข้ม 6 ช่อง ข้างต้น กล่าวคือ พื้นหลัง “ไม่กลืนกันเป็นน้ำเงินทั้งแผ่นดิน”

ทั้งนี้นอกเหนือจากการกำหนดระดับ Color ที่ไม่ถูกต้องแล้ว การกำหนด Tint ที่ไม่ถูกต้องก็ก่อให้เกิดผลลัพธ์ “ไม่กลืนกันเป็นน้ำเงินทั้งแผ่นดิน” เช่นเดียวกัน

4. Color Temperature :: แปลว่า “อุณหภูมิสี” หากเราปรับอุณหภูมิสีถูกต้องที่ 6500°K (K=Kelvin) จะได้ “สมดุลสีขาว” หรือ “White Balance” ที่ถูกต้องเฉกเช่นเดียวกับจอมอนิเตอร์ในสตูดิโอซึ่งผู้กำกับเอาไว้ใช้ดูภาพเวลาตัดต่อ Master นั่นแหละครับ  ศัพท์เทคนิคของนักปรับภาพระดับโปรเฟสชั่นแนล เรียกจุดสมดุลสีขาวที่ถูกต้องว่าจุด “D65” ซึ่งตัวเลข 6500°K นั้น เป็นค่าอุณหภูมิแสงสีที่ “ดวงอาทิตย์” ส่องแสงสว่างในเวลา “กลางวัน” โดยถือว่าแสงขาวที่ได้รับจากดวงอาทิตย์ในช่วงเวลานี้เป็นแสงสีขาวที่ใช้ในการอ้างอิงสำหรับการมองเห็น จึงใช้เป็นมาตรฐานในอุตสาหกรรมวีดีโอ และ Digital Imaging รวมถึงมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง ผมมีตัวอย่างจาก “หลอดไฟ” แม้มาตรฐานการส่องสว่างของหลอดไฟจะแตกต่างจากจอภาพอยู่บ้าง แต่ใช้เปรียบเทียบให้เห็นภาพว่าในแต่ละช่วงอุณหภูมิสีของแสงขาวนั้น จะติดโทนสีอื่นแตกต่างกันออกไป

°K น้อยๆ = สีขาวติดโทนอุ่น แบบเหลือง-ส้ม / °K มากๆ = สีขาวจะเริ่มติดฟ้า-น้ำเงิน เป็นโทนเย็น

ข่าวร้ายคือการวัดอุณหภูมิสีอย่างแม่นยำนั้น มิอาจฟันธงด้วยตาเปล่าได้ จึงจำเป็นต้องมีอุปกรณ์และซอฟท์แวร์ปรับภาพระดับโปรโฟสชั่นแนลพร้อมมิเตอร์ไว้วัดค่าต่างๆ เข้ามาช่วย ซึ่งมีราคาค่อนข้างสูงและใช้งานค่อนข้างยากสำหรับมือใหม่หรือคนทั่วไป อย่างไรก็ตามในเบื้องต้นมิใช่ว่าเราจะไม่สามารถได้ White Balance จากจอภาพที่ใกล้เคียงกับค่าอ้างอิงได้ โดย “เคล็ดลับ” ก็คือการเลือกตัวเลือกตั้งค่าในส่วนของ “Color Temperature” ให้ถูกต้อง ซึ่งปกติจะให้มาดังต่อไปนี้

กราฟแสดงอุณหภูมิสี :: ดูแนวเส้นอ้างอิงตรงกลางได้ว่า Color Temperature ในแต่ละช่วง °K เช่น 10000K / 6500K / 4800K / 2850K มีโทนสีขาวที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน

แต่เป้าหมายสำหรับมาตรฐานการอ้างอิง คือราว 6500K โดยอ้างอิงร่วมกับ RGB Balance เพื่อความเที่ยงตรงสูงสุด !!!

White Balance & Color Space:: เครื่องมือที่ใช้ในการอ้างอิง White Balance และ Color Space คือ Gamut CIE Chart ตำแหน่งกรอบสี่เหลี่ยมสีขาว คือ จุดอ้างอิงขอบเขตการแสดงสีที่ถูกต้องตามมาตรฐานอุตสาหกรรมวีดีโอของ “แม่สีหลัก” (Red Green Blue) และ “แม่สีรอง” (Cyan Magenta Yellow) / ส่วนจุดสีเหลี่ยมสีขาวตรงกลางเรียกว่า “จุดสมดุลแสงขาวที่ถูกต้อง” หรือ “D65” นั่นเอง (ก็จุดอ้างอิงในแนวเส้นอุณภูมิสีที่ 6500K) การปรับและวัดค่าทั้ง 2 อย่างนี้จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ปรับภาพและวัดค่าภาพช่วยเพื่อความเที่ยงตรง แต่ไม่ต้องกังวลเพราะผมมีแนวทางพื้นฐานที่ง่าย และประหยัดกว่าในการอ้างอิงอุณหภูมิสีที่ถูกต้องแบบคร่าวๆ

Color Temperature Mode :: ใช้แบบไหนดี ?

5.1 Cool :: โทนเย็น สีขาวจะติดอมน้ำเงิน สังเกตว่าสีขาวจะขาวโอโม่ติดน้ำเงินหน่อยเหมือนเสื้อนักเรียก โดยโทนนี้มักจะอยู่ในโหมด Vivid หรือ Dynamic ที่สว่างสุด

5.2 Neutral :: โทนเย็นกลางๆ สีขาวจะติดอมฟ้าเล็กน้อย โดยโทนนี้มักจะอยู่ในโหมดภาพสำเร็จรูปอย่าง Standard (บางค่ายใช้ว่า Normal หรือ Medium)

5.3 Warm :: โทนสีอุ่น สีขาวจะติดอมเหลืองแดงเล็กน้อย  โดยอุณหภูมิสีแบบ Warm นี้มักจะอยู่ในโหมด Movie/Cinema/Custom/Professional/Expert หรืออาจจะรวมถึงโหมด Photo ในบางยี่ห้อ (ต่างแบรนด์ก็ต่างชื่อเรียก) ซึ่งเป็นโหมดที่ให้อุณหภูมิสีและสมดุลสีขาวใกล้เคียงกับมาตรฐานอุตสาหกรรมวีดีโอมากที่สุด !!!
 **อุณหภูมิสีจะอยู่ที่ประมาณ 6000K-7000K หากเป็นทีวีตัวเทพๆ อาทิเช่น Sony HX925 รุ่นท็อปปี 2011 มันก็ Hit ที่ 6500K เลย จะบวกลบไม่เกิน 50K เท่านั้น (เทพมาก) วิธีการไม่มีอะไรซับซ้อนเลย เพียงแค่ปรับเป็นโหมด Custom พร้อม Scene ภาพแบบ Cinema 1 และ Color Temperature แบบ Warm 1 โดยผมเองและทีมงานก็ได้สาธิต “วัดอุณหภูมิสี” เจ้า Sony ตัวนี้ให้ดูกันสดๆ ในงานบรรยายของ LCDTVTHAILAND ในงาน BAV HI-END SHOW 2012 ที่โรงแรมแลนด์มาร์คสุขุมวิท ที่ผ่านมา แนะนำหากจะ ใช้เป็นจอภาพอ้างอิง ไว้ดูหนัง Blu-ray, แหล่งโปรแกรม HD หรือใช้เป็นมอนิเตอร์ระดับโปร ให้ใช้โหมดนี้เลย !!!

โทนภาพในแต่ละอุณหภูมิสี เช่น 12000K จะติดอมน้ำเงิน ส่วน 4000K จะติดอมเหลืองแดง 
ในขณะที่ 6500K เป็นอุณหภูมิสีที่ถูกต้อง ซึ่งจะเป็นติดโทนอุ่นเล็กน้อย