28 Jul 2014
Review

รีวิว Asus PB287Q จอมอนิเตอร์ 4K UHD แท้ๆ พร้อมสำหรับการใช้งานทุกมิติ!!


  • boom

ภาพ

เมื่อชมด้านดีไซน์กันจนครบรอบทิศทางก็มาเริ่มทดสอบประสิทธิภาพกันได้เลยครับ โดยเริ่มจากประสิทธิภาพการแสดงผลภาพอันเป็นหัวใจหลักก่อนเลยดีกว่า โดยสเปคคร่าวๆที่ทาง Asus ได้ให้ไว้มีดังต่อไปนี้ครับ

  • แสดงผลความละเอียด 3840×2160@60Hz เมื่อต่อผ่านพอร์ต DisplayPort v1.2 และ 30Hz เมื่อต่อผ่านพอร์ต HDMI v321
  • อัตราการตอบสนอง 1ms (GTG)
  • สามารถแสดงผลสีได้สูงถึง 1.07B(10-bit)
  • 1,000:1 Native Contrast Ratio

นับว่าเป็นสเปคที่ค่อนข้างโปรและมุ่งเน้นมาตอบสนองกลุ่มผู้ใช้ฮาร์ดคอร์ที่ต้องการจอประสิทธิภาพสูงโดยเฉพาะ ต้องมาลองใช้กันจริงๆครับ ว่าภาพที่ออกมาหน้างานแล้วจะเป็นเช่นไร

เริ่มทดสอบด้วยการต่อจอเข้ากับ Retina MacBook Pro(Late 2012) ของผมเองผ่านทางพอร์ต HDMI ซึ่งจะแสดงผลออกมาในระดับความละเอียด Full HD เพราะตัว MacBook รุ่นนี้ยังไม่ซัพพอร์ต 4K ครับ
ลองเปิดใช้งานเว็บไซต์ดูในโหมด Standard แบบยังไม่ปรับภาพอะไรเลยตัวจอให้สีสันที่อยู่ในเกณฑ์ดี ประเมินด้วยตาเปล่าแล้วให้สีสันที่ค่อนข้างแม่นยำทีเดียว สำหรับโหมดภาพสำเร็จรูปจากโรงงาน

ว่าแล้วทีมงานก็เริ่มทำการปรับภาพโดยใช้ซอฟต์แวร์จาก SpectraCal ร่วมกับตัวปล่อย 4K แพทเทิร์นที่ทีมงานเพิ่งไปซื้อมาสำหรับทดสอบจอ 4K โดยเฉพาะ นับว่ามอนิเตอร์ตัวนี้เป็นตัวเบิกฤกษ์อุปกรณ์กันเลย ซึ่งก่อนหน้าที่จะเริ่มทำการ Calibrate ก็ต้องขอวัดก่อนว่าค่าเดิมๆนั้นมีความแม่นยำมากน้อยเพียงใด เพื่อที่จะได้นำมาเปรียบเทียบกับค่าหลังจากทำการ Calibrate ว่าดีขึ้นมากน้อยขนาดไหน

กราฟสีหลังจากวัดค่าดั้งเดิมจากโรงงานในโหมด Standard
ฃค่าเฉลี่ยอุณหภูมิสีในโหมดต่างๆ ก่อนจะทำการ Calibrate โดยอุณหภูมิสีที่ดีที่สุดคือ 6500​K หรือใกล้เคียง
ซึ่งจากข้อมูลด้านบนจะเห็นได้ว่าในโหมด Scenery, Standard, Night View และ Darkroom
ให้ค่าเฉลี่ยที่ค่อนข้างใกล้เคียงอุดมคติที่สุด เราจึงขอเลือกโหมด Standard มาใช้อ้างอิงในการปรับภาพในครั้งนี้
กราฟหลังจากทำการ Calibrate ด้วยอุปกรณ์ โชว์ให้เห็นการแสดงผลสีมีความเที่ยงตรงและแม่นยำมากขึ้น

จากกราฟด้านบนนั้นบ่งชี้ว่าแม้การปรับภาพจะช่วยให้จอแสดงผลสีได้แม่นยำมากขึ้นก็จริง แต่ปริมาณของอุณหภูมิสีที่เปลี่ยนนั้นไม่ได้มากมายแต่อย่างไร นั่นหมายความว่าค่าเริ่มต้นที่ติดจอมาตั้งแต่โรงงานมีประสิทธิภาพที่อยู่ในเกณฑ์ดีพอสมควรอยู่แล้ว

แต่อย่างไรก็ตามถ้าท่านคิดว่าตัวจอยังให้คุณภาพของภาพที่ไม่เข้าที่เข้าทาง แต่ว่าที่บ้านไม่มีอุปกรณ์ Calibrate ตัวจอ ผมเองก็ขอแนะนำให้ทดลองปรับค่าเหล่านี้ดู อาทิ Brightness ที่เป็นตัวควบคุมความสว่างองค์รวมของภาพบนจอ(ทำหน้าที่คล้ายกับ Backlight ของจอทีวี) เป็นต้น

นอกจากนี้ยังมี Sharpness ในกรณีถ้าเกิดภาพนั้นมีความหยาบกร้านให้เห็น สังเกตุง่ายๆจากพวกเส้นขอบต่างๆ หากมีวุ้นแตกออกมาก็ให้ลองทำการปรับลดค่านี้ดู ก็จะช่วยให้จอแสดงผลได้ดีขึ้น โดยที่ไม่จำเป็นต้องพึ่งการ Calibrate เชิงลึกให้วุ่นวาย

ลองเอามาใช้ทำงานแต่งภาพด้วยโปรแกรม Adobe Lightroom 5 ตัวจอให้สีสันที่ค่อนข้างแม่นอยู่ในระดับนึง นำไปอ้างอิงเพื่อใช้งานได้ดี แต่ถ้าหากจะนำมาใช้จริงจังกับงานสื่อสิ่งพิมพ์ ก็แนะนำให้ยกไปปรับภาพเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด
การแสดงผลเมื่อใช้งานร่วมกับ OpenOffice พวกตัวอักษรอะไรให้ความชัดเจนแบบมอนิเตอร์ อ่านง่ายสบายตา และจะคมยิ่งขึ้นไปกว่านี้หากแสดงผลที่ความละเอียด 4K จริงๆ
จอ 4K ความละเอียด 3840×2160 ใหญ่สะใจ พื้นที่ทำงานเหลือเพียบ!! เปิดใช้งานได้หลากหลายโปรแกรมพร้อมกัน
ทดสอบรับชมภาพยนตร์เรื่อง Last Stand ในความละเอียด 1080p สีสันสดใสใช้ได้ เรื่องการแสดงผลภาพเคลื่อนไหวก็ทำได้ค่อนข้างเนียนในฉากแพนกล้องต่างๆ
แอนิเมชั่นอย่าง Frozen ให้ภาพออกมาสีสันสวยงาม ถึงจะเป็นจอที่ดูว่าออกแบบมาเพื่อทำงาน แต่พอถึงเวลาใช้ดูหนังก็แสดงประสิทธิภาพได้อย่างน่าพอใจ

แม้ว่าจะเป็นจอ Professional แต่ก็เรียกว่าสามารถนำมาใช้เล่นเกมได้ไม่ขัดข้อง ภาพที่ได้ค่อนข้างลื่นไหลอาจจะมีอาการ Ghost ให้เห็นประปรายบ้างเนื่องจากไม่ใช่จอที่ออกแบบมาทางด้านเกมจริงๆ ซึ่งประสิทธิภาพที่ออกมาก็ถือว่าดีกว่ามาตรฐานในระดับนึงเลยครับ 

1ms Response Time ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการแสดงผลภาพเคลื่อนไหวให้เนียนกริ๊บ

แต่อย่างไรก็ตามต้องแจ้งก่อนนะครับว่าทีมงานมีความจำเป็นจะต้องทดสอบเกมแค่ที่ความละเอียด 1080p เนื่องจากเรายังไม่ได้อัพเกรดอุปกรณ์ให้สามารถเรนเดอร์ตัวเกมออกมาในความละเอียด 4K โดยที่เฟรมเรตมากกว่า 60 fps ได้ แต่ผมฟันธงเลยว่าวันใดที่เทคโนโลยีพร้อม ภาพที่ออกมาจะต้องคมกริบจนแทบไม่เชื่อสายตาอย่างแน่นอนครับ