23 Jul 2015
Review

เปิดศักราช ! รีวิว Sony 50W800C ปฐมบทแห่ง Android TV


  • lcdtvthailand

ภาพ

มาดูสเป็คด้านภาพของ 50W800C กันบ้าง ความละเอียดหน้าจอ Full HD 1920 x 1080 มีพระเอกชิพประมวลผลภาพ X-Reality Pro ขับเคลื่อนภาพ ใช้ Backlight แบบ Edge LED ไม่มี Local Dimming , มี MotionFlow XR 800Hz พร้อมเมนูให้เลือกปรับแบบเจาะลึกอีกเพียบ ที่จริงเจ้า W800C มีเทคโนโลยีภาพ 3 มิติ Active มาให้ด้วย แต่ในชุดไม่ได้แถมแว่นมาให้ ต้องซื้อแยกต่างหากเอง ก็ใช่สิ ! นี่มันปี 2015 แล้ว เทคโนโลยี 3D เป็นเพียงแค่ฟีเจอร์เล็กๆ ไม่ใช่หัวใจหลักอีกต่อไป แอบกระซิกเบาๆ เอ้า…เลิกสำออยแล้วมาเซ็ตอัพค่าภาพเบื้องต้นกันดีกว่า  

วิธีการ Setup เบื้องต้น เพื่อให้ภาพแสดงถูกต้องตามต้นฉบับ

1. ปรับสัดส่วนภาพหรือ Wide Mode ให้เป็น “Full” โดยกด Action Menu ==> Wide Mode ที่นี้ภาพจะเป็น 16:9 แต่ยังไม่ใช่ 1:1 Pixel Matching กล่าวคือภาพยังถูกครอปหายไปนิดหน่อย

2. ให้กดปุ่ม Home แล้วเลื่อนไปด้านล่างในหัวข้อ Setting ที่เป็นรูปฟันเฟือง เสร็จแล้วเลือกไปที่หัวข้อ Display ==> Screen แล้วให้เลือก Display Area เป็น “Full Pixel”

==> เท่านี้เราก็จะได้สัดส่วนภาพและการแสดงผลของเม็ดพิกเซลถูกต้องตามต้นฉบับ ภาพไม่ถูกครอปด้านข้างหายไป หรือที่เราเรียกว่า 1:1 Pixel Matching ระหว่าง Input และ Output

เมนู Display Area ให้ปรับเป็น Full Pixel สำหรับการรับชมหนัง HD หรือ Blu-ray (เมนูมันซ่อนอยู่ ให้หาตามที่ผมแนะนำ)

ส่วน โหมดภาพ” คราวนี้มีโหมดภาพสำเร็จรูปมากขึ้นกว่าแต่ก่อน อาทิโหมดแปลกใหม่อย่าง Cinema Pro = สำหรับพวกต้นฉบับที่เป็นฟิล์ม ภาพจะดีดความสว่างขึ้นเพราะต้นฉบับที่เป็นฟิล์มมักจะมืด (เช่นพวกหนังเก่า) ,  Photo = สำหรับดูภาพนิ่ง ให้แสงสีถูกต้องตามหลักการ และ Animation = ดูการ์ตูน สีสันสดใส โมชั่นไหลลื่น ทั้งหมดนี้โผล่เข้ามาผสมโรงกับโหมดภาพขาประจำอย่าง Vivid, Standard, Custom 

ส่วนเรื่องหน้าตาของเมนู ทางSonyยกเครื่องอินเตอร์เฟสเมนูใหม่ทั้งหมด ท่านที่ชินกับแบบเดิมอาจจะมีตะขุกตะขักเล็กน้อยบ้างในช่วงแรก (แบบผม) แต่เมื่อใช้ไปซักพักจะคล่องขึ้นอัตโนมัติ สุดท้ายเมนู Advanced Setting หรือเมนูการปรับภาพขั้นสูง ก็จะแบ่งตัวเมนูเป็น 4 หมวดย่อย ได้ใจพวกฮาร์ดคอร์เรื่องภาพอย่างมาก อีกทั้งยังสอดคล้องกับหลักปรับภาพระดับโปรเฟสชั่นแนลที่ทีมงานใช้อ้างอิง โดยมันประกอบไปด้วย

1) Brightness : ระดับสีดำ-สีขาว

2) Colour : สีสัน / สมดุลแสงขาว

3. Clarity : ความคมชัด รายละเอียด

4) Motion : ภาพเคลื่อนไหว / การแทรกเฟรมภาพ Motion Flow

ทดสอบเรื่องแรกฉากหนังเรื่อง Fast & The Furious 4 ฉากรถบรรทุกกลิ้งลงเนินแล้วพระเอกดอมขับรถสวนลอดไปได้อย่างหวุดหวิด บุคลิกภาพเป็น “แนวไฮบริด” คือมีความเปิดกระจ่างระดับหนึ่งและยังคงความเข้มข้นของสีได้ดี โหมดภาพที่ให้แสงสีถูกต้องและแนะนำให้ใช้ตามคือ Cinema Home / Pro และ Custom การคุมแสงไฟ Backlight สามารถเกลี่ยแสงได้สว่าง-มืดค่อนข้างสมดุล ไม่ค่อยมีหลุดเป็นหย่อม ความเนียนสะอาดของภาพอยู่ในเกณฑ์ปานกลางค่อนไปดี

ใช้โหมด Custom (ตามสูตร) ในการปรับภาพ รุ่นใหม่สามารถปรับ White Balance ได้ถึง 10 ระดับ จากเดิมได้แค่ 2 ระดับ #ค่าก่อนปรับภาพจะติดโทนเย็นเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ส่วนค่าขอบเขตของสี CMS ถือว่าแม่นยำตั้งแต่ต้น
#หลังจากการปรับภาพ White Balance ดีขึ้นมาก มีหลุดนิดหน่อยกดน้ำเงินไม่ลงในช่วงความสว่างสูงตั้งแต่ 90-100 IRE
Picture ModeCTTGammaLuminanceBcklightColorPower
avgavgfL TempW
Vivid133101.4189.8MaxCool71
Standard97522.464.530Neutral56
Cineama Pro66562.3251.735Expert161
Cinema Home66642.1551.835Expert161
Sports97812.4786.7MaxNeutral73
Animation97392.4464.630Neutral56
Photo-Custom55402.1751.530Expert157
Game67002.1852.135Expert161
Graphics67042.1852.135Expert161
Custom67012.1852.135Expert161
Custom (calibrated)66982.3549.540Expert166
โหมดภาพสำเร็จรูป พร้อมค่าอุณหภูมิสี (Color Temp) / ระดับความสว่าง (Luminance) 
และอัตราการบริโภคไฟ (Power Consumption in Watts) 
โหมด Cinema Home & Pro และ Custom ให้ค่าภาพที่ดี ขอแนะนำ

ศัพท์เทคนิค” เรื่องการปรับภาพมีเปลี่ยนแปลงให้ดูโปรขึ้นนิดหน่อย หากอยากปรับระดับ Backlight มันเปลี่ยนศัพท์เป็น Brightness หรือหากต้องการปรับ Brightness ต้องไปเลือกที่ Black Level ยอมรับว่ามันเป็นศัพท์เทคนิคชั้นสูงในวงการปรับภาพซึ่งตามหลักการแล้วถือว่าถูกต้องนั่นแหละ แต่มือใหม่หรือผู้ที่เคยใช้ทีวี Sony อยู่ก่อนแล้วอาจจะมีก่งก๊งบ้าง  

ส่วนโหมดปรับแต่งอื่นๆที่น่าสนใจก็มี Reality Creation จะปรับความคมชัดของภาพโดยรวมให้คมขึ้น เพราะหากอิงตามค่าแรกเริ่ม ความคมของเจ้า W800C อยู่ในเกณฑ์ปานกลางเท่านั้น ฟีเจอร์นี้จึงมาช่วยยกระดับภาพให้ดีขึ้นไปโดยปริยาย สามารถเลือกปรับแบบ Manual เองได้ด้วย ดังนี้เราสามารถจัดสมดุลระหว่าง “ความคมชัด” (Resolution) กับการ “ลดสัญญาณรบกวน” (Noise Reduction) ให้พอดิบพอดีไม่ให้คมจัดจนหยาบกร้าน ในขณะที่ไม่ให้ลดสัญญาณรบกวนมากเกินไปจนภาพเบลอ ระดับ Resolution ที่แนะนำคือไม่เกิน 20 จาก 100 จะช่วย “เหลา” ให้เจ้า W800C ถ่ายทอดภาพได้ “คมขึ้น” ไม่น้อยเลยทีเดียว

ทดสอบฉาก “พาเมียไปเสียงตาย” ใน Fast & The Furious 4

ต่อมาผมได้ใช้แผ่น X-Men 2 เพื่อทดสอบภาพเคลื่อนไหวด้วย Motion Flow ตามหลักแล้วทีวีที่มีความละเอียด Full HD และมี Video Processor ที่ดี ก็ “ไม่จำเป็น” ต้องใช้ Motion Flow เพื่อช่วยแทรกเฟรมภาพเคลื่อนไหวให้ลื่นปรื๊ดขึ้น ซึ่งจากการทดสอบก็ถือว่าก็ยัง “พอเอาอยู่” หากไม่เปิด Motion Flow ช่วย แต่หากอยากลองเล่นซักหน่อย มันก็มีดีในตัวอยู่บ้าง โดย Motion Flow ของ W800C มี 5 ระดับได้แก่ Smooth, Standard, Clear (จะใช้การดิมเฟรมภาพช่วย), True Cinema และ Custom โดยส่วนตัวผมชอบโหมด Clear และ Custom ให้ภาพได้นิ่งดี ถึงแม้ระดับความสว่างจะลดลงไปเล็กน้อยก็ตาม ส่วนอีกเมนูที่สามารถใช้ทำงานร่วมกันอย่าง Film Mode ซึ่งมี 3 ระดับได้แก่ Low, Medium, High ซึ่งทุกระดับจะเป็นการอัพคอนเวิร์ตภาพจาก Interlaced ให้เป็น Progressive (i to p Conversion) ต่างแค่ระดับ Medium และ High จะเสริมการแทรกเฟรมภาพเข้าไปช่วยภาพเคลื่อนไหวด้วย เหมาะกับพวกหนังเก่าๆที่ยังบันทึกแบบ 1080i / 576i

อ่านเรื่อง 1080i VS 1080p ==> http://www.lcdtvthailand.com/topic_detail.php?id=554

ทดสอบการแทรกเฟรมภาพด้วยหนังเรื่อง X-Men 2
ดิจิตอลทีวี จูนง่ายมาก ดูช่อง HD รายการ Home Shopping ขายเครื่องวิ่ง แต่ดันโชว์กล้ามซิกแพกซะงั้น

ทดสอบ 3D กับเรื่อง Step Up Revolution แว่นเป็นแบบ Active ใช้ถ่านแบบเม็ดกระดุม ซิงค์สัญญาณด้วยสัญญาณ RF กดซิงค์ด้วยปุ่มด้านบนของแว่น ความสว่างของภาพจะถูก Boost ขึ้นเต็ม Max ซึ่งเมื่อดูเป็น 3D จะถือว่าสว่างแบบพอดีๆ มิติภาพใช้ได้ มีให้เห็นลึกเป็นชั้นๆ ภาพมีความนิ่ง สามารถคุม Crosstalk ได้ดี ไม่เบลอตามขอบภาพ เทคนิคที่แนะนำคือให้ เปิด Motion Flow เป็นระดับ Standard หรือ Smooth จะได้ภาพที่นิ่งสงัด ไม่ลั่นหรือสั่นกระพริบหากเปรียบเทียบกับปิด Motion Flow ทิ้ง แน่นอนว่าการดูหนัง 3D แบบ Active ควรปิดไฟให้ห้องมืดสนิท 100% จะดีที่สุด หรือหากมีมีแสงไฟสลัวๆบ้างก็ยังพออนุโลม เพราะเดี๋ยวนี้แว่นกับหลอดไฟเป็นมิตรกันแล้วไม่สั่นสู้” เหมือนแต่ก่อน (ฮา) ส่วนข้อติก็มีเรื่องการเอียงคอ หากเอียงมากๆภาพจะมืดลงไปตามข้อจำกัดของแว่น 

หมายเหตุ : 

1. ในเซ็ตของ Sony 50W800C ไม่ได้แถมแว่น 3D มาให้ ต้องซื้อเป็นอุปกรณ์เสริมเอง 

2. Crosstalk คืออาการเบอลตามขอบภาพ ทั้งที่ซิงค์แว่น 3D กับตัวทีวีแล้ว

ทดสอบ 3D กับเรื่อง Step Up Revolution มิติลึกเป็นชั้นดีเยี่ยม ตัวละครและวัตถุเด้งขึ้นมาเป็นชิ้นเป็นอัน

เสียง

ระบบเสียงของ Sony ให้ลำโพง Bass Reflex แบบยิงเสียงลงล่าง กำลังขับ 10+10 Watts มีเทคโนโลยี Clear Audio + ให้เสียงชัดเจนดั่งต้นฉบับ โหมดเสียงสำเร็จรูปมี Standard, Cinema, Music รวมถึงโหมดเสียงรอบทิศทางก็มีมาให้ แต่ไม่ค่อยแนะนำให้เปิดเพราะเสียงกลางอย่างพวกเสียงพูดเสียงร้องจะติดก้อง ทดสอบจากหนังเรื่อง Fast & Furious 4 ให้เสียงได้เฟี้ยวฟ้าวได้ใจ ถึงแม้ไม่ได้มี Sub Woofer ผนวกมาให้แบบรุ่นท็อปแต่ก็ยังสามารถถ่ายทอดเสียงที่มีน้ำหนักแบบพอดีคำได้ เบสไม่มากไม่น้อย อยู่ในระดับพอเพียงและเพียงพอ ไม่ติดแหบแห้งเหมือนพวกรุ่นล่าง  ส่วนคอนเสิร์ต Hitman : David Foster เพลง Look what you ve done to me โดย Boz Scaggs ก็ถ่ายทอดน้ำเสียงที่อุดมไปด้วยความเศร้าออกมาได้ค่อนข้างกินใจ เสียงมีน้ำมีนวล ไม่บาด ความใสของเสียงร้องอยู่ในระดับปานกลาง โดยรวมถือว่าพอใจกับลำโพงที่ติดมากับเจ้า 50″ ตัวนี้ สามารถรองรับการใช้งานดูหนังดูทีวีแบบปกติภายในบ้านได้อย่างสบาย

ทดสอบคุณภาพเสียง โดยรวมอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานสำหรับการดูหนังทีวีภายในบ้านทั่วไป