01 Jan 2014
Review

Revolution… in sound and style !! รีวิว Tannoy Revolution DC4 Series Home Theater Speakers


  • ชานม

Setup – การติดตั้ง

ถึงแม้ DC4 T จะมีลักษณะเป็นลำโพงตั้งพื้น แต่การประกอบติดตั้งใดๆ ถือว่าสะดวกง่ายดายมากครับ ซึ่งด้วยขนาดที่ไม่ใหญ่ จะยก ขยับ เคลื่อนย้ายใดๆ สามารถดำเนินการคนเดียวได้สบายๆ เลย (พูดแล้วก็เศร้า ไม่มีคนช่วยยก ฮา)

ในแพ็คเกจของ DC4 T จะมีแผ่นฐานสำหรับรองรับด้านล่างตู้ลำโพงมาด้วย ซึ่งด้วยมิติของตัวลำโพงที่ค่อนข้างเล็ก ฐานจึงค่อนข้างแคบ ผมแนะนำว่าให้ติดตั้งแผ่นฐานนี้เข้าไปด้วยเพื่อเพิ่มความมั่นคง ลดโอกาสเมื่อถูกชนกระแทก (โดยไม่ตั้งใจ) แล้วล้มคว่ำลงได้ จากนั้นติดตั้งสไปก์เข้ากับแผ่นฐานนี้อีกที เพื่อปรับระดับให้ลำโพงอยู่ในแนวระนาบ และลดทอนฟีดแบ็คของแรงสั่นสะเทือน ซึ่งสามารถนำจานโลหะที่มีให้มาด้วยรองปลายแหลมของสไปก์อีกที เพื่อป้องกันมิให้เกิดริ้วรอยเสียหายบนพื้นได้… แอ็คเซสซอรี่ส์ของรุ่นนี้ครบเครื่องดีจริงๆ

หมายเหตุ: สามารถติดตั้งสไปก์เข้ากับด้านล่างของตู้ลำโพง DC4 T โดยตรง ไม่ต้องผ่านแผ่นฐานก็ได้ แต่ความมั่นคงจะน้อยกว่าการติดตั้งสไปก์ร่วมกับฐานไม้

ในส่วนของ DC4 ลำโพงวางขาตั้ง และ DC4 LCR ลำโพงเซ็นเตอร์ ไม่มีชิ้นส่วนอะไรซับซ้อนให้ต้องประกอบเพิ่มเติม
จะมีบ้าง คือ เม็ดซิลิโคนใสสำหรับติดรองรับด้านใต้ตู้ลำโพง แนะนำให้ติดไว้ด้วย

DC4 LCR นั้น ด้วยตัวตู้ที่เอียงสอบเข้าด้านหลัง เมื่อเวลาวางตะแคงแบบการใช้งานลำโพงเซ็นเตอร์ปกติ จะเอียงหน้าขึ้นเล็กน้อย ตรงนี้ให้ผลลัพธ์ดีมากสำหรับการตั้งวางเซ็นเตอร์ที่มักจะอยู่ต่ำเพื่อหลบไม่ให้บังทีวี แต่ท่านใดที่วางแผนไว้ว่าจะวางเหนือทีวี อาจจะไม่เหมาะเท่าไหร่นัก นอกจากจะหาขาแขวนที่ปรับก้มได้

Tannoy Revolution Series ทุกรุ่น ติดตั้งขั้วลำโพงไบดิ้งโพสต์ รองรับการเชื่อมต่อสายลำโพงแบบไบไวร์ หรือไบแอมป์
หากจะเชื่อมต่อสายลำโพงไบไวร์ ต้องถอดจัมเปอร์โลหะออกก่อน

ลักษณะการจัดวางขั้วลำโพงแบบไบไวร์ของ Tannoy Revolution Series จะแปลกจากลำโพงทั่วไปสักหน่อย โดยจะวางเรียงในแนวนอนแยกขั้วบวก กับลบออกไปคนละฝั่ง ไม่ได้วางเป็นคู่บน-ล่าง เหมือนลำโพงไบไวร์ทั่วไป การเสียบสายลำโพงไบไวร์ (หรือไบแอมป์) จึงต้องดูตำแหน่งดีๆ โดยจะมีตัวอักษร HF และ LF กำกับไว้อยู่

การเชื่อมต่อสายลำโพงแบบเข้าหัวบานาน่าพบว่า ความลึกของขั้วลำโพงที่แม้จะสั้นสักหน่อยแต่ก็สามารถเสียบใช้งานบานาน่าทั่วไปได้ ส่วนสายลำโพงเข้าหัวแบบหางปลานั้น ด้วยพื้นที่ว่างรอบๆ ขั้วลำโพงที่จำกัด หากเป็นสายใหญ่จะดัดแล้วเสียบขันล็อคลำบากสักนิด แต่ถ้าเป็นสายลำโพงไซส์ทั่วไปก็เสียบใช้งานได้ ไม่มีปัญหาอะไร

อานิสงส์ของการวางตำแหน่งขั้วลำโพงแบบนี้มีส่วนทำให้ระยะจัมเปอร์สั้นลง ซึ่งน่าจะถือเป็นข้อดีสำหรับโครงสร้าง
จัมเปอร์ หากออกแบบจัมเปอร์ไม่ดี ก็จะกลายเป็นตัวลดทอนคุณภาพเสียงลงเสียเอง