03 Oct 2017
Review

รีวิว TCL 65X3CUS Android TV ภาพ 2D คมกริบ ลำโพงเนรมิตจาก Harman Kardon


  • Dear_Sir

ภาพ

ทุกวันนี้ทีวีซีรีส์เริ่มต้นต่างก็พัฒนามาเป็นความละเอียด 4K กันหมดแล้ว ซีรีส์ระดับกลาง หรือสูง ยิ่งไม่ต้องพูดถึง จุดแตกต่างที่ทำให้ซีรีส์สูงๆ เหนือกว่าคือชิปประมวลผลภาพ ลูกเล่น และพลังเสียง พาร์ทภาพในส่วนแรกผมจะพาไปดูประสิทธิภาพในการอัพสเกลแผ่นภาพยนตร์แบบ Full HD Blu-ray 1080p กันก่อน เพราะคอนเทนท์ประเภทนี้จัดเป็นคอนเทนท์ที่หาชมได้ง่ายมากที่สุด

จากภาพด้านนบนแฟนมาร์เวลคงเดาได้ไม่ยากว่ามาจากเรื่องอะไร แต่คนที่จำกันไม่ได้ เขาคือ บัคกี้ ตัวร้ายในภาค Captain America The Winter Soldier ครับ เรื่องนี้ภาพค่อนข้างสะอาดทำให้สังเกตรายละเอียด ความคมชัดต่างๆ ได้ง่าย ทดลองเปิดเล่นต่อเนื่องไปประมาณยี่สิบนาที พบว่ารายละเอียดยังดีกว่าเปิดกับทีวีความละเอียด Full HD เสียอีก นอกจากนี้สีสันยังถูกยกระดับให้มีความสดอิ่ม ไล่เฉดได้ดีขึ้น ส่วนสัญญาณดิจิตอลทีวี ความละเอียด 1080i ความคมชัดด้อยลงกว่าเปิดแผ่นก็จริง แต่ก็ถือว่ายังอยู่ในเกณฑ์ดีออยู่ (อนึ่ง ความคมชัดของสัญญาณดิจิตอลทีวีนี่ขึ้นอยู่กับความแรงของสัญญาณในพื้นที่ๆ เราอยู่ด้วยนะครับ)

ใบหน้าบัคกี้ครับ
ภาพจากดิจิตอลทีวี

ลำดับถัดมาก็ถึงคิวของคอนเทนท์ที่จะกลายมาเป็นมาตรฐานอันใกล้นี้ แผ่น 4K Blu-ray Disc นั่นเอง แผ่น 4K ในปัจจุบันสามารถแบ่งออกเป็นแผ่นที่มี HDR กับแผ่นที่ไม่มี HDR ซึ่งก็จะแล้วแต่เรื่องๆ ไป แต่ส่วนใหญ่หากเป็นหนังฟอร์มยักษ์ แผ่น 4K ที่ทำมา ก็มักจะมี HDR ติดมาด้วยอยู่แล้ว และการที่เราจะเสพคอนเทนท์ที่มี HDR ได้ ทั้งทีวี และเครื่องเล่นก็จะต้องรองรับ HDR เช่นกัน ซึ่ง TCL 65X3CUS ก็รองรับ HDR นี้ด้วย

โดยแผ่นที่เลือกมาใช้ในการทดสอบนี้มาจากเรื่อง Fantastic Beast ครับ ซึ่งฉากที่ใช้เป็นช่วงที่ เกรฟส์ ปะทะกับ ทีน่า ฉากนี้แม้จะกินระยะเวลาไม่นานมาก แต่ก็แสงสว่างในความมืดจากปลายไม้กายสิทธิ์ก็สามารถใช้ทดสอบได้เป็นอย่างดี เท่าที่สังเกตดูสำหรับ TCL 65X3CUS เครื่องที่ผมได้รับมาทดสอบ พอเปิดภาพแบบ HDR สีสันจะไม่เจิดจรัสเท่าใดนัก ผิดกับตอนเปิดกับแผ่นมาตรฐาน SDR ซึ่งจะเป็นตอนที่ช่วงแสงสว่างเจิดจ้ามากๆ แต่ถ้าหากเป็นฉากธรรมดา สีสันอยู่ในเกณฑ์ปกติ

หากเป็นฉากปกติเช่นพูดคุย คอนเทนท์ HDR จะทำได้ค่อนข้างดี อันนี้จากเรื่อง Hacksaw Ridge
แต่ถ้าเป็นฉากที่เกี่ยวข้องกับแสงว่างเยอะๆ สีจากลำแสงจะไม่เจิดจรัสเท่าที่ควร

โหมดภาพอัตโนมัติที่ให้มาพร้อมกับเครื่องได้แก่โหมด Dynamic/Standard/Natural/Stadium/Movie โดยระหว่างการปรับแต่งค่าในโหมดต่างๆ ระหว่างมาตรฐาน SDR และ HDR แยกจากกันอย่างอิสระ ซึ่งการรับชมภาพแบบ SDR ในโหมด Movie ให้อุณภูมิสีที่เที่ยงตรงมากที่สุด โดยจากการที่ใช้เครื่องมือวัดอยู่ที่ราวๆ 6840K ซึ่งถ้าใครมีความชำนิชำนาญในการปรับภาพหน่อย ขอบอกเลยว่ารุ่นนี้รองรับการปรับอย่างละเอียด ทั้ง White Balance 2P/10P และ CMS มี RGB Only Mode สำหรับอ้างอิงตั้งค่า Color และ Tint ด้วย ซึ่งหลังจากปรับออกมาแล้วค่าออกมาอยู่ในขั้นยอดเยี่ยม ที่น่าเสียดายจริงๆ คือค่าความสว่างที่ทำได้สูงสุดราวๆ 300nits ใกล้เคียงกับ C2US

ค่าก่อนปรับภาพ ถึงแกว่งแต่ก็แกว่งแบบสมดุล
ค่าหลังปรับภาพทำออกมาได้ดีมาก แม่สีอยู่แกนระนาบเดียวกัน
ค่าหลังปรับภาพจากโหมด HDR ครับสีน้ำเงินจะโดดกว่านิดหน่อย
ค่าอุณภูมิสีจากโหมดภาพทุกโหมดครับ

มีทีวีจอใหญ่ๆ แบบนี้ ใช่ว่าจะเอามาดูแต่หนัง หรือดิจิตอลทีวีกันอย่างเดียว บางคนก็นำไปต่อเข้ากับเครื่องเล่นเกมคอนโซลอย่าง PlayStation 4 หรือ Xbox One S ไว้ใช้ในการเล่นเกมด้วย  คือต้องบอกว่าเล่นบนจอใหญ่ๆ คมชัดระดับ 4K แบบนี้ภาพมันเข้าถึงอรรถรสจริงๆ และจากการที่ทางทีมงานได้วัดค่า Input Lag ในทุกๆ โหมด พบว่าโหมดภาพแต่ละโหมดให้ค่าอยู่ที่ประมาณ 29.7ms ซึ่งถือว่าอยู่เกณฑ์ดี คราวนี้ก็ขึ้นอยู่กับความชอบแล้วครับว่าจะใช้โหมดไหนในการเล่น แต่โดยส่วนตัวผมชอบโหมด Movie ครับ 

Input Lag น้อย กดเตะต่อยมันส์!!