03 Oct 2015
Article

Laser Projector นวัตกรรมใหม่ที่จะมาปฎิวัติวงการโฮมเธียเตอร์จอยักษ์ !!?


  • lcdtvthailand

Laser: The next generation of projector light source

ข้อจำกัดจากเทคโนโลยีแหล่งกำเนิดแสงของโปรเจ็คเตอร์ในอดีตที่กล่าวไปข้างต้น จะถูกลบล้างด้วยแหล่งกำเนิดแสงแบบใหม่ คือ “เลเซอร์” ได้หรือไม่? หากสรุปจากประสิทธิภาพของ EH-LS10000 จะได้ดังนี้

หมายเหตุ: – อ้างอิงเปรียบเทียบคุณสมบัติกว้างๆ เฉพาะในหมวดโฮมเธียเตอร์โปรเจ็คเตอร์เท่านั้น – คุณสมบัติของ Epson EH-LS10000 อ้างอิงจากเอกสารเผยแพร่ของผู้ผลิต
ภาพแสดงโครงสร้างภายในของ Epson EH-LS10000 จะเห็นแหล่งกำเนิดแสงแยกอิสระ 2 จุด หรือก็คือ Dual Laser Light Source นั่นเอง ก่อนที่แสงจากทั้ง 2 แหล่ง จะแยกไปผ่านพาเนลสร้างภาพแบบ 3LCD
โครงสร้างระบายความร้อนประสิทธิภาพสูง แต่เหนือสิ่งอื่นใด คือ ประสิทธิภาพของ Laser Diodes ที่อัตราสูญเสียเป็นความร้อนต่ำ เสียงรบกวนจากระบบระบายความร้อนจาก EH-LS10000 จึงต่ำมาก เพียง “19dB” เท่านั้น
การถ่ายทอดสเป็กตรัมแสงของ Laser Light Source ที่ทำได้กว้างกว่า สงผลให้ Color Gamut ของ EH-LS10000 แตะที่ระดับ DCI (Digital Cinema Initiatives) อันเป็นมาตรฐานเดียวกับที่ใช้อ้างอิงในสตูดิโอทำมาสเตอริ่งภาพยนตร์ นอกจากนี้เทคโนโลยี Laser Diodes ยังเป็นความหวังเพียงหนึ่งเดียวเวลานี้ เพื่อเป็นพื้นฐานสำหรับจอภาพยุคถัดไปที่สามารถถ่ายทอดสเป็กตรัมสีได้ครอบคลุมกว้างขวางถึงระดับ BT.2020 ในอนาคต

จะเห็นว่าจุดเด่นที่มีนัยสำคัญของ Laser Light Source คือ การถ่ายทอดระดับ Black Level ถึงแม้ว่าข้อมูลนี้จะเป็นการอ้างอิงเมื่อใช้แพทเทิร์นทดสอบสีดำเพียงอย่างเดียว ไม่ใช่ PISCR (Projected Image System Contrast Ratio) Method จึงไม่สามารถอ้างอิงระดับคอนทราสต์ที่แท้จริงได้โดยตรง ทว่าจะยังเห็นผลลัพธ์จาก Dual Laser Light Source ได้ชัดว่าสามารถควบคุมระดับแสงไม่ให้เล็ดลอดออกมาได้เป็นอย่างดี อันเป็นผลจากประสิทธิภาพการควบคุมระดับแสงของหลอดไฟโดยตรง ไม่จำเป็นต้องพึ่งโครงสร้าง Iris แบบโปรเจ็คเตอร์ทั่วไป ผลพลอยได้คือการตอบสนองต่อความเปลี่ยนแปลงระดับความสว่างของหลอดไฟที่อิงตามสัญญาณภาพแบบฉับพลันจะทำได้เที่ยงตรงและฉับไวกว่า

Brightness Uniformity หรือการถ่ายทอดระดับความสว่างที่เท่าเทียมกันทั้งผืนภาพก็ทำได้ดีกว่า จากโครงสร้างกระจายหลอดกำเนิดแสง (Laser Diodes) ไว้ทั่ว ไม่ได้วางจุดเดียวตรงกลางแบบโครงสร้างหลอดไส้ ในส่วนของการเดโมจริงจากภาพยนตร์ก็พอจะยืนยันในจุดนี้ได้ โดยเฉพาะระดับ Black Level เรียกว่าทำเอา D-ILA Projector ที่ว่าดำๆ มีหนาวได้เหมือนกัน

ถัดมาคือระดับเสียงรบกวน เนื่องจากประสิทธิภาพของ Laser Diodes ที่สูงกว่า ใช้พลังงานน้อยกว่าในขณะที่อัตราสูญเสียเป็นความร้อนต่ำกว่า จึงไม่จำเป็นต้องพึ่งพาการระบายความร้อนเข้มข้นมากเหมือนหลอดไส้แบบเก่า (Metal halide/UHP Lamp) เมื่อเสริมกับการออกแบบโครงสร้างการระบายความร้อนใหม่โดย Epson ระดับเสียงรบกวนที่ได้ขณะที่โปรเจ็คเตอร์ทำงาน คือ 19dB เสียงเครื่องปรับอากาศในหลายๆ ห้องจะกลายเป็นเสียงที่ดังหนวกหูกว่าเสียงของโปรเจ็คเตอร์เยอะเลย…

ประการสุดท้าย ที่ไม่กล่าวถึงมิได้ คือ อายุการใช้งาน ปกติหลายท่านอาจลังเลที่จะซื้อหาโปรเจ็คเตอร์มาใช้เพราะกังวลเรื่องค่าใช้จ่ายในการเปลี่ยนหลอดไฟทุกๆ 3,000 ชม. (Normal) ถึง 6,000 ชม. (Eco) แต่ Laser Light Source ที่อายุการใช้งานสูงสุด 30,000 ชม. เอาให้เห็นภาพง่ายๆ ถ้าอ้างอิงแบบสุดโต่งชมภาพยนตร์กันทั้งวี่ทั้งวัน วันละ 8 ชม. จะดูได้นานถึง 10 ปี ใช้กันลืมไปเลย !?

เมื่อทราบจุดเด่นของแหล่งกำเนิดแสงชนิดใหม่สำหรับโปรเจ็คเตอร์นี้แล้ว มาพิสูจน์ประสิทธิภาพจริงกันต่อได้เลยจากบททดสอบ Epson EH-LS10000 ตามลิงค์ด้านล่างครับ…