19 Feb 2020
Review

รีวิว BenQ TK800M 4K HDR Projector ปรับเปลี่ยนเพิ่มความคุ้มค่า ภาพดียิ่งขึ้น พร้อมรองรับ HLG !!


  • ชานม

เพื่อผลลัพธ์การแสดงผลที่ครบถ้วนเที่ยงตรงขึ้นสำหรับ TK800M สามารถดำเนินการปรับภาพเพิ่มเติมได้ นอกจากดุลสีที่สมจริงเป็นธรรมชาติแล้ว อีกจุดที่แนะนำคือ ปรับลด Contrast ลงเหลือ 37 – 40 ภาพจะทึมลงนิดนึงแต่จะเปิดเผยให้เห็นรายละเอียด Highlight Details ได้ชัดเจนยิ่งขึ้น การปรับลด Sharpness และ Pixel Enhancer 4K ลง สีผิวจะดูไม่หยาบกร้านเกินจริง

เดิมโหมด Cinema ดุลสีจะติดโทนอุ่นไปสักนิด
แต่เมื่อปรับภาพแล้ว ผลลัพธ์เป็นที่น่าพอใจมากทีเดียว ค่าเฉลี่ยความผิดเพี้ยนของสี (Grayscale Avg dE) ลดต่ำลงจาก 6 เหลือเพียง 1.3 เท่านั้น!
ด้วยพื้นฐานความสว่างที่ค่อนข้างสูงของ TK800M แม้เปิดใช้งานโหมดภาพ Silence (อยู่ในหัวข้อ Display โดยโหมดนี้จะปรับการทำงานของ Lamp Mode ไปที่ Eco) ก็ยังให้ความเจิดจ้าได้อย่างโดดเด่น การรับชมในห้องมืดถือว่าทำความสว่างได้เหลือๆ เลยครับ ข้อดีที่จะได้รับ คือ เสียงพัดลมเงียบลงกว่าโหมดปกติมาก อายุการใช้งานแหล่งกำเนิดแสงก็จะยาวนานขึ้นถึง 10,000 ชม. (หรือ 15,000 ชม. หากปรับตัวเลือก Lamp Mode: LampSave) แถมประหยัดไฟลงเกือบ 30% ด้วย! (กินไฟลดจาก 315 วัตต์ เหลือ 223 วัตต์)
ข้อมูลจาก BenQ แจ้งว่า TK800M ให้ขอบเขตสีได้กว้างกว่า TK800 ผล Lab Test ยืนยันประเด็นนี้ว่าเป็นความจริง! โดย TK800M มี Color Space ครอบคลุมมาตรฐาน sRGB/Rec.709 ที่ 116.4% เลยทีเดียว ในขณะที่ TK800 ทำได้ที่ 98.3% (อ้างอิงกับเครื่องทดสอบ)

อย่างไรก็ดีขอบเขตสีของ TK800M จะยังไม่ถึง Wide Color Gamut โดยทำได้ราว 83.6% ของมาตรฐาน DCI-P3 (60% Rec.2020) จุดนี้จึงยังเป็นรองรุ่นสูงกว่า อย่าง W2700, W5700 ฯลฯ อยู่บ้าง

แต่ไม่ต้องกังวลว่า หากรับชม HDR Content กับ TK800M แล้วสีสันจะจืดชืด เพราะระบบจะทำการ Mapping ค่าสี ชดเชย Saturation อิงมาตรฐาน Rec.709 ให้สามารถแสดงผลออกมาดูสดใส ชัดเจน และยังคงความมีมิติได้ดี พื้นฐานความสว่างที่ค่อนข้างสูงของ TK800M ยังส่งเสริมความเจิดจรัสเตะตา ดูดีเกินราคาค่าตัว
การรับชม HDR Content โหมดภาพ HDR10 จะถูกแยกออกมาจากโหมดภาพปกติ ความเที่ยงตรงของสีสันอาจจะย่อหย่อนลงไปบ้าง แนะนำให้ทำการปรับภาพชดเชยอุณหภูมิสีก่อน ก็จะได้ความลงตัว สีสวย สะดุดตามากยิ่งขึ้น ในส่วนของภาพเคลื่อนไหวก็ดูเป็นธรรมชาติตามต้นฉบับดี ไม่จำเป็นต้องพึ่ง Motion แทรกเฟรมใดๆ ก็ดูได้ไม่ขัดตา

อีกความสามารถหนึ่งที่เพิ่มเติมเข้ามาในรุ่น TK800M (ไม่มีในรุ่น TK800 เดิม) คือ การรองรับมาตรฐาน HDR แบบ HLG ซึ่งเป็นมาตรฐานที่จะถูกใช้กับการออกอากาศ (Live Broadcast) ในอนาคต รวมถึงกล้องถ่ายวิดีโอและกล้องถ่ายภาพนิ่งที่ถ่ายวิดีโอได้ในปัจจุบันหลายรุ่น ต่างทยอยรองรับการบันทึก HDR มาตรฐาน HLG กันแล้ว

ผมทดลองนำคลิปทดสอบจาก Sony FDR-AX700 4K Handycam ซึ่งบันทึกวิดีโอในฟอร์แม็ต 4K HLG พบว่า TK800M สามารถตรวจพบว่าเป็น HLG และแสดงผลได้
การเชื่อมต่อกับ PC หรือเครื่องเกมคอนโซลนั้น TK800M รองรับความละเอียด 4K 60Hz และ 1080p 60Hz พร้อมเปิดการแสดงผล HDR ได้
HDMI Input Lag ของ TK800M ที่ 44.4 ms อยู่ในเกณฑ์ดี ไม่รู้สึกว่าหน่วงช้าจนกระทบกับอรรถรสการเล่นเกม ซึ่งการรับชมผ่านจอฉายขนาดใหญ่ยังคงได้ความมันสะใจเช่นเคย

เสียง

ลำโพงและภาคขยายที่ติดตั้งมากับ TK800M เพิ่มความคุ้มค่าอเนกประสงค์มากยิ่งขึ้น สามารถยกไปรับชมความบันเทิงตามสถานที่ต่างๆ ได้ทันทีไม่จำเป็นต้องพึ่งระบบเสียงภายนอก ตัวเลขกำลังขับ 5W x 1 อาจดูไม่สูงนัก แต่ให้ระดับเสียงดังดีเป็นที่พอใจ เสียงจะชัดเจนที่สุดเมื่อตำแหน่งนั่งฟั่งอยู่ฝั่งเดียวกับลำโพง ส่วนตำแหน่งอื่นๆ จะย่อหย่อนลงแต่ก็ยังฟังดีอยู่  สามารถปรับเปลี่ยน Sound Mode ได้ 6 แบบ ให้แม็ตช์กับลักษณะของคอนเทนต์หรือตามแต่รสนิยม

สรุป

TK800M เป็นการตอกย้ำความคุ้มค่าสำหรับ 4K HDR Projector รุ่นเริ่มต้นที่ตอบสนองการใช้งานได้เกินตัว พร้อมเติมเต็มความสามารถการรองรับเทคโนโลยีการแสดงผล HDR เท่าทันมาตรฐานความบันเทิงในปัจจุบัน กับคุณภาพของภาพที่ทำได้ดียิ่งขึ้นกว่ารุ่นก่อน

จุดเด่นของ BenQ TK800M

– เทคโนโลยี DLP 4K XPR รองรับการแสดงผล HDR10, 3D และเพิ่มเติม HLG

– ให้ขอบเขตสีกว้างครอบคลุม sRGB/Rec.709 การชดเชยปรับภาพให้สีสันเที่ยงตรงยิ่งขึ้น

– ระดับเสียงพัดลมระบายความร้อน ในโหมดการรับชมปกติและ HDR เบาลงกว่ารุ่น TK800

– แหล่งกำเนิดแสง UHP สามารถยืดอายุการใช้งานได้นานถึง 10,000/15,000 ชม. ในโหมด Eco/LampSave

– ติดตั้งลำโพงพร้อมภาคขยาย 5W x 1 มาด้วย ระดับเสียงดังกำลังดี รองรับการใช้งานทั่วไปได้

จุดด้อยของ BenQ TK800M

– ระยะซูมของเลนส์สั้นกว่ารุ่น TK800 ความยืดหยุ่นในการชดเชยระยะตั้งห่างจากจอรับภาพจึงถูกทอนลงเล็กน้อย

– ยังไม่มี Lens Shift ช่วยในการติดตั้ง

– ยังไม่มี Motion แทรกเฟรมภาพเคลื่อนไหว แต่การรับชมทั่วไปไม่ได้รู้สึกว่าภาพสะดุดดูขัดตาแต่อย่างใด

– ตอนปิดเครื่องใช้เวลา Cool down นานพอควร แต่เป็นกระบวนการที่น่าจะช่วยยืดอายุอุปกรณ์ได้ในระยะยาว

คะแนน

ดีไซน์ (Design)
8.25
ภาพ 2 มิติ ก่อนปรับภาพ (2D Picture Pre-Calibrated)
8.0
ภาพ 2 มิติ หลังปรับภาพ (2D Picture Post-Calibrated)
8.25
เสียง (Sound)
7.75
การเชื่อมต่อ (Connectivity)
8
ลูกเล่น (Features)
8
ความคุ้มค่า (Value)
8.75
คะแนนตัดสิน (Total)
8.1

BenQ TK800M

8.1

หมายเหตุ : มาตรฐานคะแนนปี 2020

ราคา BenQ TK800M

39,900 บาท

กดสั่งซื้อ Shopee

กดสั่งซื้อจาก LAZADA

กดซื้อ LCDTVTHAILAND Shop

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

บริษัท เบ็นคิว(ประเทศไทย) จำกัด

โทร. 02 700 5861 – 2

BenQ Website: http://bit.ly/2P404Px