17 Jul 2018
Review

รีวิว BenQ W1700 4K HDR DLP Projector เพื่อระบบ Home Cinema ในราคาเอื้อมถึงได้


  • ชานม
มาดูในส่วนของความสามารถรองรับ HDR10 กันบ้าง โดยปกติ W1700 จะปรับเปลี่ยนการแสดงผลเป็น HDR Mode โดยอัตโนมัติเมื่อได้รับสัญญาณจาก 4K HDR Blu-ray Player หรือ 4K HDR Game Console แต่ขณะเดียวกันผู้ใช้สามารถปรับเปลี่ยนตั้งค่าเพื่อ เปิด-ปิด การแสดงผล HDR ด้วยตนเองได้ จากตัวเลือกเมนูตามภาพ

ทั้งนี้เมื่อ W1700 อยู่ในสถานะการแสดงผลแบบ HDR จะพบว่ามีตัวเลือกที่ใช้ปรับตั้งค่าภาพเพิ่มขึ้น (จากเดิมที่ไม่สามารถกำหนดได้ในโหมดการแสดงผล SDR) คือ Color Gamut และ HDR Brightness

Color Gamut ก็ตรงตัว คือ ใช้ปรับรูปแบบการแสดงผลของขอบเขตสี ให้แม็ตช์กับมาตรฐานคอนเทนต์ในปัจจุบัน คือ BT.709 (SDR), BT.2020 (HDR) และ DCI-P3 (Digital Cinema) นั่นเอง อย่างไรก็ดี เนื่องจากความสามารถในการถ่ายทอดขอบเขตสีของ W1700 ครอบคลุมมาตรฐาน BT.709 (Rec.709) การเปลี่ยนแปลงตัวเลือกอื่น จึงไม่ส่งผลใดๆ ครับ

ซึ่งความสามารถถ่ายทอดขอบเขตสีของ W1700 ทั้งโหมดการแสดงผลแบบ SDR และ HDR จะครอบคลุม Rec.709 ที่ 95.4/96.3% (Pre/Post) หรือเทียบได้ประมาณ 72.1% ของ DCI-P3

ส่วนตัวเลือก HDR Brightness นั้น เปิดโอกาสให้ผู้ใช้สามารถกำหนดเพิ่มลดได้ 5 ระดับ กล่าวคือ จากระดับ 0 ที่เป็นค่าเริ่มต้น หากปรับเพิ่มขึ้น (ไปทางบวก) ภาพโดยรวมจะดูสว่างเจิดจ้าขึ้น ทว่าต้องแลกกับการสูญเสีย Highlight Details ไปบางส่วน ในขณะที่การปรับลด (ไปทางลบ) ระดับความสว่างสูงสุดจะลดต่ำลง เหมาะสำหรับท่านที่ชอบภาพสไตล์สบายตา ไม่เน้นเอฟเฟ็กของ HDR ให้ดูเจิดจ้ากระแทกตามากนัก
อีกหนึ่งตัวเลือกตั้งค่าที่อาจจำเป็นต้องใช้ไฟน์จูนภาพ (ในขณะที่ W1700 แสดงผลแบบ HDR) คือ เมนู Cinema Master

ทั้งนี้ในขั้นตอนการแสดงผล HDR โปรเจคเตอร์จะต้องดึงศักยภาพในการถ่ายทอดระดับความสว่างเท่าที่มีออกมาให้สูงที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ตรงนี้เองที่อาจส่งผลกระทบกับความอิ่มเข้มหรือ “มวลสี” ซึ่งกรณีนี้สามารถแก้ไขได้ด้วยการปรับเพิ่ม Color Enhancer ขึ้น และอาจจำเป็นต้องปรับระดับ Fresh Tone ให้สัมพันธ์กันจนได้สมดุล

หมายเหตุ: ในโหมดการรับชมแบบ SDR กรณีที่ทำการไฟน์จูนค่าภาพในส่วนอื่นได้ถูกต้องเที่ยงตรงดีแล้ว 2 ตัวเลือกในเมนู Cinema Master นี้ ไม่มีความจำเป็นต้องปรับเพิ่ม

มาลองในส่วนของการเล่นเกมกันบ้าง ซึ่งดังที่หลายท่านทราบว่า การเล่นเกมบนจอฉายโปรเจคเตอร์ขนาดใหญ่นั้นได้อรรถรสเพียงใด และในจุดนี้ W1700 สามารถตอบสนองได้เป็นอย่างดี ส่วนหนึ่งก็เป็นผลจากการแสดงสีสันที่สมบูรณ์ขึ้นกว่ารุ่นเริ่มต้นนั่นเอง ในการรับชมในห้องมืดสนิทนั้น ระดับ Black Level ที่ลึกเข้มกว่า TK800 ช่วยให้ได้บรรยากาศที่มีมิติและสร้างอารมณ์ร่วมได้ดีขึ้นอีกระดับหนึ่ง ในส่วน HDMI Input Lag อยู่ที่ราว 48.1 ms ทุกโหมดภาพ

เสียง

ระบบเสียงของ W1700 เป็นอีกจุดเด่นที่ต้องพูดถึง แม้แจ้งกำลังขยายมาเบาะๆ ที่ 5 วัตต์ แต่ต้องบอกว่าการใช้งานจริงนั้นให้ระดับเสียงดังดีเป็นที่พอใจเลยทีเดียว (ดังกว่า 10 วัตต์ ของยี่ห้ออื่นอีก) แต่ที่สำคัญ คือ การถ่ายทอดน้ำหนักเสียงเกินตัวมาก เบสคงไม่ถึงกับถล่มทลายเมื่อเทียบกับขนาดไดรเวอร์ แต่นับว่าเกินตัว รายละเอียดย่านเสียงครบถ้วน ความผิดเพี้ยนน้อยสำหรับลำโพงเล็กแค่นี้ ช่วยให้การรับชมความบันเทิงทั้งภาพและเสียงแบบลำลองมีอรรถรสขึ้นมาก สามารถปรับเปลี่ยน Sound Mode ได้ 6 แบบ แต่ Standard ดุลเสียงดีที่สุดแล้วครับ

สรุป

 ระบบเสียงของ W1700 เป็นอีกจุดเด่นที่ต้องพูดถึง แม้แจ้งกำลังขยายมาเบาะๆ ที่ 5 วัตต์ แต่ต้องบอกว่าการใช้งานจริงนั้นให้ระดับเสียงดังดีเป็นที่พอใจเลยทีเดียว (ดังกว่า 10 วัตต์ ของยี่ห้ออื่นอีก) แต่ที่สำคัญ คือ การถ่ายทอดน้ำหนักเสียงเกินตัวมาก เบสคงไม่ถึงกับถล่มทลายเมื่อเทียบกับขนาดไดรเวอร์ แต่นับว่าเกินตัว รายละเอียดย่านเสียงครบถ้วน ความผิดเพี้ยนน้อยสำหรับลำโพงเล็กแค่นี้ ช่วยให้การรับชมความบันเทิงทั้งภาพและเสียงแบบลำลองมีอรรถรสขึ้นมาก สามารถปรับเปลี่ยน Sound Mode ได้ 6 แบบ แต่ Standard ดุลเสียงดีที่สุดแล้วครับ

จุดเด่นของ BenQ W1700

– เทคโนโลยี DLP 4K XPR รองรับการแสดงผล HDR และ 3D

– ใช้กงล้อสี RGBRGB แบบเดียวกับโฮมเธียเตอร์โปรเจ็คเตอร์รุ่นสูง และมี ISF Mode การถ่ายทอดสีสันหลังจากคาลิเบรทมีความเที่ยงตรงดีมาก

– Rainbow Effect น้อยมาก ความสบายตาเทียบรุ่นสูงๆ ได้เลย

– แหล่งกำเนิดแสง UHP สามารถยืดอายุการใช้งานได้นานถึง 10,000/8,000 ชม. ในโหมด Eco/Smart Eco

– ติดตั้งลำโพง (Mono) มาด้วย ระดับเสียงดังกำลังดี แต่ที่น่าสนใจ คือ ดุลเสียงครบเครื่อง ดีเกินตัว

จุดด้อยของ BenQ W1700

– ไม่มี Lens Shift ในบางสถานการณ์ที่ต้องปรับแก้ภาพจากตำแหน่งติดตั้งด้วย Digital Keystone อาจลดทอนคุณภาพของภาพลง

– ปกติสำหรับรุ่นเริ่มต้นที่คุณภาพเลนส์ฉายยังไม่เทพเท่ากับรุ่นสูง ภาพฟุ้งนิดๆ

– ขอบเขตสียังไม่ครอบคลุมถึง DCI-P3 แต่สำหรับมาตรฐาน sRGB/Rec.709 นั้น ทำได้ครอบคลุมดี

– ไม่แถม 3D Active Glasses มาด้วย ต้องซื้อเพิ่ม

– ไม่มี Frame Interpolation แต่การรับชมภาพเคลื่อนไหวต่างๆ มิได้รู้สึกว่าสะดุดไปกว่าต้นฉบับ หรือขาดความต่อเนื่อง

คะแนน

ดีไซน์ (Design)
8.25
ภาพ 2 มิติ ก่อนปรับภาพ (2D Picture Pre-Calibrated)
8.25
ภาพ 2 มิติ หลังปรับภาพ (2D Picture Post-Calibrated)
8.25
เสียง (Sound)
8
การเชื่อมต่อ (Connectivity)
8
ลูกเล่น (Features)
8
ความคุ้มค่า (Value)
8.5
คะแนนตัดสิน (Total)
8.2

BenQ W1700

8.2

* รุ่นนี้รองรับการแสดงผล 3D แต่เนื่องจากไม่มีแว่น 3D Active Glasses ส่งมาด้วย จึงไม่สามารถทดสอบได้

หมายเหตุ : มาตรฐานคะแนนปี 2018

ราคา BenQ W1700

60,900 บาท (ราคาเปิดตัว)

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

บริษัท เบ็นคิว(ประเทศไทย) จำกัด

โทร. 02670 0310-1

สนใจสั่งซื้อสินค้าได้ที่ตัวแทนจำหน่าย อาทิ

Clef Audio, Save Audio & Video, Khonkaen HIFI, Cinema-nia, Magnet, Theater House, Neo Entertainment, Grand Audio & Visual, Projector Pro, Projector Outlet และ Projector 108