19 Jan 2014
Review

จี๊ด จ๊าด !!! รีวิว Panasonic 42ET5T สุดยอด 3D LED TV หนึ่งในใต้หล้า บูรพาไม่แพ้


  • lcdtvthailand

ภาพ

Panasonic ET5T รุ่นนี้สามารถแสดงภาพ 3D ได้ ซึ่งใช้ระบบ 3D แบบ Polarized ที่มีข้อดีข้อเสียคนละแบบกับ Active Shutter Glasses ในรุ่นอื่นๆของ Panasonic เลยครับ อันนี้ก็แล้วแต่ความชอบของแต่ละท่านในการเลือกใช้ แต่ในส่วนนี้ผมจะขอพูดถึงข้อดีของรุ่น ET5T ก่อนเลย ก็คือแว่นที่น้ำหนักเบา ไม่ต้องใช้แบตเตอร์รี่ และให้ภาพที่ลอยโดดเด่น ไม่แพ้ยี่ห้อใดๆเลยทีเดียว ซึ่งความสะดวกสบายในการรับชมนี่แหละคือกุญแจสำคัญในการนั่งดูหนังแบบ 3D จริงแท้แน่นอน !!!

ตัวอย่าง Transformer 3 แปลงมาดูแบบ 3D

การทดสอบกับภาพยนตร์ 3D ที่ผมเคยดูประสิทธิภาพเต็มๆของ Panel ตัวนี้จากคอนเทนต์เฉพาะที่ทำออกมาแสดงตามร้านขายทีวี เล่นเอา”ตกใจ” เหมือนกัน เพราะการลอยของตัววัตถุนั้น ถือว่าทำออกมาได้ดีมากๆ ไม่แพ้ทีวีรุ่นระดับเดียวกันของแบรนด์เกาหลีเลย เช่นฉากทุ่งหญ้าสีเขียว แล้วมีผีเสื้อลอย ประหนึ่งว่าเราสามารถเอื้อมมือไปจับได้ทีเดียว !!!  พอมาทดสอบกับภาพยนตร์อย่าง Step Up 3D และการ์ตูนอนิเมชั่น 3D แท้ๆ ก็ให้ผลแตกต่างกันเล็กน้อย ถ้าเป็นการ์ตูนจะดูมีมิติมากกว่า ซึ่งต้องยอมรับว่าควรจะใช้ระยะห่างในการรับชมประมาณ 3-4 เมตร ด้วยตัว 3D แบบ Polarized ความละเอียดถูกทอนลงครึ่งหนึ่งคือ 540 เส้น ส่วนประสิทธิภาพการแสดงผลมิติของ Panel นั้นหายห่วงครับ จึงขอฟันธงว่า คอนเทนต์มีผลอย่างมากกับการแสดงผล 3D ในรุ่น ET5T ครับ แนะนำเพิ่มเติมในด้านมุมมองการรับชมที่ควรอยู่ในระดับสายตา มิฉะนั้นจะมี Crosstalk ลอยมากวนใจอยู่บ้าง ส่วนมุมมองในด้านกว้างไม่มีปัญหาแต่อย่างใดครับ นั่งเรียงแถวชมกันได้อย่างสบายใจเฉิบ !!

แปลงภาพยนตร์จาก 2D เป็น 3D ได้ทันที
ทดสอบกับการ์ตูนอนิเมชั่นหลายเรื่อง เช่นฉากนี้สามารถสร้างความประทับใจกับดาบที่ลอยออกมาได้ดี
Step Up : 3D แบบ Top and Bottom
กดรวมร่วงกัน ก็ได้แล้ว !! รวมทั้งแบบ Side By Side ก็สามารถแสดงผลได้อย่างไม่มีปัญหา
แสดงอัตราส่วนของภาพในแบบต่างๆ ( Aspect Ratio )

อัตราส่วนของภาพที่มีให้เลือกนั้นคือ 16:9 / 14:9 / Just / 4:3 / 4:3 Full / Zoom 1 / Zoom 2 / Zoom 3 ซึ่งเลือกใช้กันส่วนใหญ่คือ 16:9 หรือ Just ที่แสดงภาพออกมาได้เต็มทุกพิกเซล ส่วน 4:3 สำหรับคนที่ดูฟรีทีวี แต่ไม่ชอบให้ภาพยืดออกด้านข้าง ทำให้หน้าบวม อ้วนพลี !!

อัตราส่วนของภาพที่มีให้เลือกนั้นคือ 16:9 / 14:9 / Just / 4:3 / 4:3 Full / Zoom 1 / Zoom 2 / Zoom 3 ซึ่งเลือกใช้กันส่วนใหญ่คือ 16:9 หรือ Just ที่แสดงภาพออกมาได้เต็มทุกพิกเซล ส่วน 4:3 สำหรับคนที่ดูฟรีทีวี แต่ไม่ชอบให้ภาพยืดออกด้านข้าง ทำให้หน้าบวม อ้วนพลี !!
ต่อคอมพิวเตอร์ให้มาแสดงผล โดยปรับรายละเอียดของหน้าจอที่สองให้เป็น 1920 x 1080 เชื่อมต่อผ่านสาย HDMI เพียงเสียบเข้าไปก็ใช้งานได้ทันที ใครมีหนัง Hi-Def ก็หาโปรแกรมดีๆมาเปิดดูได้เลย
ทดสอบความดำของภาพ ในห้องสว่างๆ พบว่าความดำนั้นเป็นที่น่าพอใจ แยกรายละเอียดตามขอบได้ดี พอปิดไฟทดสอบแสงรั่ว ด้วยความเป็น Edge LED ก็มีให้เห็นบ้าง แต่ไม่ได้รั่วเป็นหย่อมๆ เหมือนบางรุ่น
ฟรีทีวีผ่านกล่อง DTV จานเหลือง อันนี้แนะนำว่าปรับลด Sharpness ลงมาประมาณ 5 สเต็ป จะได้ภาพที่นุ่มนวล และไม่หยาบกระด้างจนเกินไป
Cartoon Club ผ่าน DTV ที่แสดงผลความละเอียดต่ำ แต่ก็ยังคมชัดอยู่ ถ้านั่งดูด้วยระยะประมาณ 3-4 เมตร

เสียง

เป็นอีกหนึ่งยี่ห้อที่มีเมนูการใช้งานเข้าใจง่ายและสามารถปรับเสียงได้อย่างละเอียด โดย Sound Mode ที่ผมแนะนำเช่น Music ที่ให้ทั้งเสียงเบสและเสียงกลางแหลมโดดเด่นออกมา ขับด้วยลำโพงขนาด 10W สองตัว คุมระดับเสียงได้ดี แม้จะเปิดดังมากในพื้นที่กลางแจ้ง ก็ยังไม่ค่อยมีอาการสั่นให้เห็น แสดงถึงตัววัสดุทีวีที่ถึงจะบางแต่ก็ทำได้อย่างแน่นหนา ส่วนระบบเสียง Surround ก็เป็นระดับเดียวกับรุ่นท็อปๆของ Panasonic คือ V-Audio ProSurround ถ้าตั้งอยู่ในพื้นที่ที่เหมาะสมเช่นกำแพงที่ไม่มีวัตถุกีดขวางทางของเสียง ก็จะจำลองได้ดีระดับหนึ่ง โดยใช้หลักการสะท้อนของเสียงกับกำแพงเพื่อโอมล้อมมายังตัวผู้รับชมรับฟัง แต่การจำลองเสียงก็ยังฟังดูไม่ค่อยลื่นไหลเท่าไรนัก ถ้าใครไม่ชอบเสียงแนวนี้ก็ปรับเป็น Off แทนจะดีกว่า

เมนูของ Sound ที่มีให้เลือกปรับเยอะทีเดียว
ระบบ Surround มีให้เลือก 3 ระดับ หรือจะปิดก็ได้