22 Jun 2013
Review

รีวิว Samsung UA55F8000 Full HD 3D Smart LED TV [2013]


  • ชานม

เพิ่มเติม

Smart Hub 2013

มิใช่เฉพาะการสานต่อวิธีการควบคุมด้วยรูปแบบที่แตกต่างเท่านั้น ในส่วนของ User Interfaces อย่างหน้า Smart Hub ก็มีการพัฒนาให้รองรับการใช้งานได้โดดเด่นกว่าเดิม โดยการแบ่งหมวดหมู่การเข้าถึงให้เด่นชัดมากยิ่งขึ้น

ซึ่งหมวดหมู่ของ Smart Hub สำหรับ Samsung Smart TV 2013 แบ่งออกเป็น 3 หมวด (หากเป็น Sumsung Smart TV รุ่นที่วางขายในต่างประเทศ จะมีหมวดให้เลือกเพิ่มมากขึ้น)

3 หมวดที่ว่า ได้แก่ Apps หรือก็คือพื้นที่รวบรวมแอพพลิเคชั่นของ Samsung App ที่ดาวน์โหลดมา รวมไว้ในหน้านี้
ลำดับถัดมา คือ Social ให้คุณตามติดข้อมูลสำคัญ ทั้งการอัพเดทความเป็นไปในแวดวงสังคมของเพื่อนๆ ไปจนถึงข่าวสารบ้านเมืองจากทั่วทุกมุมโลก ได้อย่างรวดเร็ว
และสุดท้าย คือ Photos, Videos & Music ศูนย์กลางแบ่งปัน และเข้าถึงข้อมูลมีเดีย รูปภาพ วิดีโอ และเพลง ร่วมกับสมาร์ทโฟน คอมพิวเตอร์ NAS หรืออุปกรณ์ Smart Devices อื่นๆ ที่ใช้งานกันอย่างแพร่หลายในปัจจุบันได้ง่ายๆ
เช่นเคยว่า Samsung Smart TV จะให้ประโยชน์ครบถ้วนทุกกระบวนความไม่ได้ หากขาดการซัพพอร์ทในเรื่องของแอพพลิเคชั่น ซึ่งความหลากหลายคงไม่มีใครเกิน… แอพฯ พื้นฐาน อย่าง YouTube, Facebook, Twitter เป็นที่แน่ชัดว่าได้ใช้กันแน่นอน รวมถึง Local Applications ที่พัฒนามาเพื่อผู้ใช้ชาวไทยโดยเฉพาะ
เช่นเคยว่า Samsung Smart TV จะให้ประโยชน์ครบถ้วนทุกกระบวนความไม่ได้ หากขาดการซัพพอร์ทในเรื่องของแอพพลิเคชั่น ซึ่งความหลากหลายคงไม่มีใครเกิน… แอพฯ พื้นฐาน อย่าง YouTube, Facebook, Twitter เป็นที่แน่ชัดว่าได้ใช้กันแน่นอน รวมถึง Local Applications ที่พัฒนามาเพื่อผู้ใช้ชาวไทยโดยเฉพาะ
Pop The Balloon ตัวอย่างอีกหนึ่งเกม ที่รองรับ Motion Control
ด้วยความโด่งดังของ Angry Birds คงไม่มีใครที่ไม่รู้จัก ล่าสุดสามารถชมในรูปแบบ Animation Series ผ่าน Samsung Smart TV ได้แล้ว
ที่น่าสนใจ คือ แอ็พเสริมทักษะสำหรับเด็กๆ บางอันอาจจะธรรมดาไปหน่อย (ไม่ค่อยมีลูกเล่นหวือหวานัก) แต่หลายอันก็ให้ความรู้แบบเพลินๆ ดีครับ (ซึ่งน่าจะดึงดูดความสนใจของเด็กๆ มากกว่าหนังสือเรียน) แอพฯ ที่เห็นในภาพนี้ รองรับ Motion Control เช่นกันครับ

ภาพ

โหมดภาพของ F8000 มีให้เลือก 4 โหมดเช่นเดิม ในรูปทดสอบพร้อมกับระดับการใช้พลังงาน (อ้างอิงจากระดับ Backlight เริ่มต้น ที่ตั้งมาจากโรงงานของแต่ละโหมด)

แล้วถ้าเทียบศักยภาพของ F8000 กับรุ่นก่อน ES8000 ล่ะ จะเป็นเช่นไร?

Picture ModeCTT
(°K)
GammaLuminance
(fL)
Consumption
(W)
Backlight
F8000 – Dynamic200351.41129.312520
(Max)
ES8000 – Dynamic241241.36175.113120
(Max)
F8000 – Movie (Calibrated)64742.2356.68410
ES8000 – Movie (Calibrated)65242.1952.19210
Pre Calibration จากโหมดสำเร็จรูปจากโรงงาน โดยอ้างอิงจากโหมด Movie ที่ให้ความเที่ยงตรงได้ดีที่สุด เป็นหลัก ผลเปรียบเทียบระหว่างรุ่นใหม่ F8000 (ซ้าย) และรุ่นก่อน ES8000 (ขวา) ทั้งประเด็นเรื่องของ RGB Balance และ CMS พบว่ามีความแตกต่างกันบ้าง ไม่ถือว่ามีนัยสำคัญในเชิงคุณภาพนักครับ โดยรวมถือว่าอยู่ในเกณฑ์ใช้ได้ทั้งคู่
Post Calibration ผลลัพธ์หลังจาก calibrate ปรับภาพแล้วนั้น ทั้งคู่ให้ความเที่ยงตรง ลงตัวได้ดีไม่ต่างกัน (ใช้อ้างอิงได้ดีทั้งคู่) ทั้งนี้ตัวแปรสำคัญอย่างตัวเลือกที่ใช้ในการปรับภาพก็เท่าเทียม ไม่ต่างกันครับ
RGB Only Mode ฟังก์ชั่นเสริมที่มีประโยชน์มากในการปรับภาพ โดยใช้ในการกำหนดตั้งค่า Color และ Tint ซึ่งให้ทั้งความสะดวก และอ้างอิงผลลัพธ์ได้เที่ยงตรงกว่าวิธีการเดิมๆ ที่อาศัยการมองผ่านแผ่น Color Filter
เรื่อง Backlight กับ LED TV นั่นเป็นของคู่กัน ถึงแม้ Samsung F8000 และ ES8000 จะมิได้ใช้วิธีการควบคุม Backlight แบบ Local Dimming ที่แบ่งการควบคุม LED Backlight แต่ละจุดบนจอภาพเป็นส่วนๆ อิสระจากกัน แต่เป็นรูปแบบ Micro Dimming ที่ใช้วิธีประมวลผลตามระดับความสว่างของคอนเทนต์ แล้วปรับระดับ Backlight โดยรวมให้เหมาะสมในแต่ละช่วงที่ภาพบนจอดำเนินไป

อย่างไรก็ดีรุ่นใหม่ เพิ่มเติมฟีเจอร์ Cinema Black อันเกี่ยวเนื่องกับการคอนโทรลระดับแสงสว่างของ Backlight โดยเฉพาะพื้นที่ส่วนบนและล่างของจอภาพ จะมีระดับพื้นสีดำที่ดำลึกยิ่งขึ้น สังเกตได้ชัดเมื่อทำการรับชมคอนเทนต์ภาพยนตร์อัตราส่วน 2.35:1 (21:9) ซึ่งจะมีแถบ Black Bar บน-ล่าง ตลอดการรับชม

ผลของ Cinema Black ก็ดังเช่นที่เห็นในรูปครับ ความชัดเจนจะเป็นการควบคุมแสง Backlight บริเวณขอบบนกับล่าง ทั้งนี้ระดับของการเปลี่ยนแปลงความสว่างจาก Backlight จะแปรผันตามระดับความสว่างของภาพบริเวณกึ่งกลางจอ หากภาพสว่างมาก การดิม Backlight โดยรวมก็จะไม่มาก แต่ถ้าสว่างน้อย ก็สังเกตได้ชัดๆ เลย แบบที่เห็นในรูปนั่นแล ทั้งนี้การเปิดใช้ Cinema Black จะไม่ก่อให้เกิดอาการเดี๋ยวภาพสว่างเดี๋ยวมืด จนรู้สึกวูบวาบน่ารำคาญแต่อย่างใดเลย
วิธีการควบคุมระดับ Backlight โดยการกำหนดระดับที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมอัตโนมัติ ด้วยการใช้ฟีเจอร์ Eco Sensor นั้น เป็นอีกวิธีที่มีประสิทธิภาพ (มีทั้ง F8000 และ ES8000) เช่น ถ้าหากแสงสว่างข่วงเวลากลางวันเล็ดลอดเข้ามามาก ทีวีต้องปรับระดับความสว่างเพื่อให้สู้แสดงได้ Eco Sensor จะปรับระดับ Backlight ไว้ที่ระดับปกติ แต่เมื่อถึงตอนกลางคืนที่ความสว่างภายนอกลดลง ระบบก็จะดิม Backlight ลงตามลำดับ เช่นเดียวกันว่าเซ็นเซอร์จะจับการเปิด-ปิด-หรี่ไฟในห้องด้วย หากว่าท่านชอบปิดไฟดู หรือดูหนังในห้องมืด ระบบก็จะลดแสงลงตามความเหมาะสมให้เองโดยอัตโนมัติ

การเปลี่ยนแปลงของระดับ Backlight จาก Eco Sensor จะไม่เกี่ยวกับระดับความสว่างของคอนเทนต์ จึงไม่เกิดอาการวูบวาบ และการเปลี่ยนแปลงจะค่อยเป็นค่อยไป ไม่ใช่ทันทีทันใด เมื่อความสว่างบนจอเหมาะสมแล้ว ภาพจะดูสบายตา เมื่อไม่จ้าเกินไปก็ย่อมไม่ล้า ดูได้นาน ผมว่าศักยภาพจาก Eco Sensor ดีกว่าตัวเลือกถอนมสายตาหลอกๆ ที่ช่วงหนึ่งผู้ผลิตบางเจ้าชอบใส่มาให้เสียอีก และแน่นอนว่าการแสดงระดับสีดำจากการกำหนดระดับ Backlight ที่เหมาะสม จะให้ความลึกเข้มขึ้น ไม่ต้องมานั่งกังวลเรื่องแสงรั่ว (ซึ่งถ้ากำหนดไม่ดี LED TV ทุกรุ่น ทุกยี่ห้อ รั่วได้หมดและครับ) อีกทั้ง Eco Sensor ยังช่วยประหยัดพลังงานอีกต่างหาก… แล้วทำไมจะไม่ใช้ล่ะ?

ประเด็นอื่นในประหยัดพลังงาน บางกรณีที่ไม่ได้รับชมภาพบนจอ แต่ต้องเปิดทีวีทิ้งไว้ เช่น อาจจะเปิดเสียงเอาไว้เพื่อฟังข่าว ฟังเพลง หรือขณะรอดาวน์โหลด ฯลฯ สามารถดับหน้าจอลง โดยที่ทีวียังทำงานอื่นๆ เหมือนตอนเปิดเครื่องปกติก็ทำได้ โดยเลือกที่ Picture Off ระดับการใช้พลังงานจะลดต่ำลง เหลือเพียง 1 ใน 4 ของการรับชมปกติเลยทีเดียว (อ้างอิง Movie Mode)

Picture Size (หรือ Aspect) ที่เหมาะสมสำหรับการรับชมคอนเทนต์ Full HD (1920×1080) คือ Screen Fit เช่นเคย (แสดงภาพแบบ 1:1 pixel, และไม่ทำ Overscan)