01 Jan 2016
Review

รีวิว Sherwood R-507 และ Klipsch HD Theater 600 เซ็ตสุดประหยัด ได้อารมณ์ไม่แพ้การรับชมในโรงภาพยนตร์


  • raweepon

Sound – เสียง

ในที่สุดก็มาถึงส่วนของเสียงหรือส่วนที่กระผมจะพาไปทดลองใช้งานเจ้าชุดเซ็ต Sherwood R-507 + KlipschHD Theater 600 กันอย่างจริงจังแล้วล่ะ หลังจากที่ได้พาคุณผู้อ่านไปไล่ดูในส่วนของรายละเอียดปลีกย่อยอื่นๆ หลายท่านอาจจะเริ่มเบื่อแล้ว เพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลาถ้าพร้อมแล้วเข้ามาจับจองเก้าอี้กันได้เลยจ้า

หลังจากที่ได้จัดวางลำโพงต่างๆ เป็นที่เรียบร้อยแล้วจะมีหน้าตาออกมาเป็นเช่นนี้ ด้วยตัวบอดี้ของชุดลำโพงKlipsch HD Theater 600 นั้นมาในโทนสีดำ จึงทำให้ไม่ว่าจะใช้งานกับห้องแบบไหนดูลงจะตัวได้เป็นอย่างดี
จากภาพจะเห็นได้เลยว่าตัวของลำโพง Front Left-Right และ Surround Left-Right นั้น เมื่อนำมาวางกับขาตั้งลำโพงขนาดกลางแล้วทำให้ลำโพงดูเล็กกะทัดรัดไปภายในพริบตาทันที
มาดูกันที่รายละเอียดและลูกเล่นของ Sherwood R-507 ซึ่งการตั้งค่าต่างๆ นั้นต้องมองผ่านทางจอแสดงผลที่อยู่ตัวเครื่อง

สำหรับฟังก์ชันและลูกเล่นต่างๆ ที่ถูกใส่มาใน AV Receiver รุ่นนี้หลักๆ แล้วจะประกอบไปด้วยฟังก์ชันที่ใช้งานการ Calibrate หรือการปรับแต่งให้ลำโพงในแต่ละแชนแนลสามารถถ่ายทอดออกมาได้อย่างสมดุลกัน โดยการ Calibrate ระบบเสียงของเจ้า Sherwood R-507 นั้นจะเป็นแบบ Manual หรือผู้ใช้งานจะต้องปรับเอง

ส่วนด้านของการถอดรหัสเสียงจะรองรับระบบเสียงแบบ Dolby Digital, Dolby Digital EX, Dolby Prologic llz, DTS-ES(Discrete/Matrix), DTS 96/24, DTS Neo6 (Cinema/Music) และ Stereo ที่สามารถเลือกปรับได้โดยตรงบนรีโมตคอนโทรล (สำหรับส่วนของระบบเสียง DTS-HD Master Audio และ Dolby TrueHD ไม่สามารถถอดรหัสเสียงได้ ซึ่งจะต้องให้เครื่องเล่นถอดรหัสเสียงออกมาในรูปแบบ PCM แทน)

ทั้งนี้ถ้าหากท่านไหนไม่ถนัดมองผ่านหน้าจอที่อยู่บนตัว AV Receiver ก็สามารถเชื่อมสาย RCA เข้ากับช่อง Monitor Output ไปแสดงผลบนหน้าจอทีวีได้เช่นกัน แต่จะไม่สามารถแสดงผลได้พร้อมๆ กันกับคอนเทนท์ที่เรากำลังเชื่อมต่อผ่านทางพอร์ต HDMI ได้เท่านั้นเอง (ต้องสลับไปมาระหว่าง RCA Video Input และ HDMI Input ที่อยู่บนตัวทีวี)

ากที่ได้พาคุณผู้อ่านไปดูฟังก์ชันหลักของเจ้า AV Receiver แล้ว ทีนี้มาลองฟังเพลงกันบ้างดีกว่า เสียงจะเป็นอย่างไรบ้างนะ

ซึ่งกระผมได้ทำการเบิร์นซิสเต็มให้เข้าที่อยู่นานแสนนาน ผนวกกับการทดลองฟังเพลงอยู่หลายต่อหลายเพลง และมาจบเอาที่เพลง “Hey Jude ของ Yao Si Ting” ที่เป็นเพลงสบายๆ ฟังง่ายไม่ปวดตับ

จากการใช้ฟังเพลง “Hey Jude” ด้วยระบบเสียง Stereo ทำให้พบว่าลำโพง Front Left-Right ที่มาพร้อมกับไดรเวอร์ทวีตเตอร์ Aluminum แบบ MicroTractrix® Horn สามารถถ่ายทอดเสียงออกมาได้อย่างชัดใสและกรุ๊งกริ๊งน่าฟังมากเลยทีเดียว แต่ในทางกลับกันเสียงกลางค่อนไปทางเสียงต่ำที่ได้จากไดรเวอร์มิดเรนจ์นั้นถือว่าทำออกมาได้อย่างคมชัดอยู่พอสมควร และส่วนของเสียงปลายจะติดมนๆ เล็กน้อย

มาต่อที่การรับชมภาพยนตร์ให้สมกับการเป็นชุดโฮมเธียเตอร์เพื่อการนี้โดยเฉพาะ หลังจากที่ริวิวซิสเต็มเด็ดไปหลายชุดก็เริ่มเบื่อกับภาพยนตร์เรื่องเดิมที่ดูวนไปวนมาบ่อยเกิ๊นรีวิวระดับนี้ จึงถือโอกาสขอเปลี่ยนมาดูเรื่อง “Step Up 3D” แล้วกันนะจ๊ะ

หลังจากที่ได้นั่งดูนอนดู Step Up 3D ไปแบบเต็มๆ เรื่อง พบว่ามันให้อารมณ์ในการรับชมไม่แพ้กับการรับชมในโรงภาพยนตร์เลยนะ สิ่งที่ได้จากชุดลำโพง Klipsch HD Theater 600 นี้ทั้งในเรื่องของซาวด์เอฟเฟคที่ถูกถ่ายทอดออกมจาก Front Left-Right และ Surround Left-Right ให้เสียงโอบร้อมได้อย่างสมจริง ส่วนของเสียงสนทนาในย่านเสียงกลางที่ถูกถ่ายทอดออกมาจากลำโพง Center นั้นถือว่ามีความคมชัดอยู่ในระดับหนึ่ง แต่อาจจะขัดใจบางท่านที่ชอบเสียงกลางแบบเปิดโล่ง

ทั้งนี้ในส่วนของลำโพง Subwoofer ที่ให้มาภายในชุดนี้ถือว่าให้อารมณ์การรับชมรับฟังได้อย่างลึกซึ้ง ถ้าหากคุณผู้อ่านได้มานั่งดู Step Up 3D กับเซ็ตนี้ ท่านจะพบว่าฉากเต้นที่มีดนตรีตึบๆ นี่เรียกได้ว่าเบสกระแทกมาเป็นลูกๆ เลยล่ะ อีกหนึ่งจุดเด่นของ Subwoofer จาก Klipsch คือมันมาพร้อมกับความสามารถในการคืนตัวได้อย่างรวดเร็วและกระชับจนน่าตกใจ ถึงแม้ว่า Subwoofer ที่แถมมาให้นั้นจะเป็นรุ่นธรรมดาก็ตาม

ดูภาพยนตร์อนิเมชันเรื่อง Toy Story 3 ก็เพลินๆ ดีไม่แพ้กัน ถ้าหากลำโพง Center ให้น้ำเสียงที่แน่นกว่านี้อาจจะทำให้น้ำเสียงดูเป็นธรรมชาติมากขึ้น ทั้งนี้อาจจะด้วยตัวของลำโพงนั้นมีขนาดค่อนข้างเล็กจึงให้ความรู้สึกว่ามันยังไม่ค่อยสุดมากนัก
ลองเปลี่ยนมาเป็นคอนเสิร์ตกันบ้างดีกว่า…มีใครพอทราบไหมว่าในภาพนี่เป็นคอนเสิร์ตอะไร?
ซึ่งคอนเสิร์ตที่กระผมนำมาเปิดคือ AVO Session นั่นเอง

การใช้งานจริงถึงแม้ว่าตัวลำโพง Front Left-Right, Surround Left-Right และลำโพง Center จะมีขนาดเล็กกะทัดรัด แต่ด้วยความเป็น Klipsch แล้วคุณภาพเสียงไม่ได้เล็กและด้อยไปตามขนาดของลำโพงนะ จากการเลือกนั่งฟังในมุมที่ดีที่สุดภายในห้องโฮมเธียเตอร์ที่ทางเราได้ใช้ทดสอบนั้น รู้สีกได้เลยเสียงในย่านต่างๆ ได้มีรับส่งไปมาระหว่างลำโพงแต่ละแชนแนลได้อย่างเรียบเนียนเหมือนกับได้เข้าไปอยู่ในบรรยากาศนั้นจริงๆ นอกจากนี้ตัว Subwoofer เองก็ยังช่วยเก็บรายละเอียดเสียงในย่านต่ำลึกได้เป็นอย่างดีเช่นกัน

ในแง่ของเสียงเครื่องดนตรีประเภทเป่าที่ค่อนข้างออกไปทางเสียงสูงตัวของไดรเวอร์ทวีตเตอร์ MicroTractrix® ที่เป็นเอกสิทธิ์ของ Klipsch ยากที่จะมีผู้อื่นลอกเรียนแบบก็สามารถถ่ายทอดเสียงแหลมออกมาได้อย่างสว่างสดใส