11 Apr 2016
Review

รุ่นใหม่ต้อง 4K HDR ! รีวิว Sony 55X8500D แอนดรอยด์ทีวีตัวล่าสุด


  • lcdtvthailand

ภาพ

Sony 55X8500D มีความละเอียดหน้าจอแบบ 4K Ultra HD 3840 x 2160 พิกเซล ใช้หน้าจอแบบ IPS โครงสร้าง Edge LED Backlight พร้อม Triluminos Display ชิพประมวลผล 4K X-Reality Pro ตัวเก่ง มี Motion Flow 800XR ช่วยเรื่องภาพเคลื่อนไหว ส่วนที่อยากให้โฟกัสเป็นพิเศษคือการรองรับภาพแบบ HDR : High Dynamic Range ซึ่งจะเป็นเทรนด์เทคโนโลยีเรื่องภาพในปีนี้ ทีวี Sony จะรองรับมาตรฐาน HDR แบบ HDR10 เป็นหลักซึ่งเป็นมาตรฐานที่ใช้กับแผ่นหนัง 4K Blu-ray ซะส่วนใหญ่ มาดูโหมดภาพสำเร็จรูปที่ Sony ให้มาเยอะจนเลือกใช้ได้ครบทุกสถานการณ์ก่อนSony 55X8500D มีความละเอียดหน้าจอแบบ 4K Ultra HD 3840 x 2160 พิกเซล ใช้หน้าจอแบบ IPS โครงสร้าง Edge LED Backlight พร้อม Triluminos Display ชิพประมวลผล 4K X-Reality Pro ตัวเก่ง มี Motion Flow 800XR ช่วยเรื่องภาพเคลื่อนไหว ส่วนที่อยากให้โฟกัสเป็นพิเศษคือการรองรับภาพแบบ HDR : High Dynamic Range ซึ่งจะเป็นเทรนด์เทคโนโลยีเรื่องภาพในปีนี้ ทีวี Sony จะรองรับมาตรฐาน HDR แบบ HDR10 เป็นหลักซึ่งเป็นมาตรฐานที่ใช้กับแผ่นหนัง 4K Blu-ray ซะส่วนใหญ่ มาดูโหมดภาพสำเร็จรูปที่ Sony ให้มาเยอะจนเลือกใช้ได้ครบทุกสถานการณ์ก่อน

Picture ModeCTTGammaLuminanceBcklightColorPower
avgavgfL TempW
Vivid169261.65119.4MaxCool121
Standard94912.0491.535Neutral95
Cineama Pro65052.287840Expert1108
Cinema Home64842.157840Expert1108
Sports94522.12113.1MaxNeutral120
Animation94901.9591.635Neutral101
Photo-Custom64482.1885.335Expert1102
Game64732.1772.235Expert1102
Graphics64542.197840Expert1108
HDR Video64341.28117.1MaxExpert1121
Custom64112.289.7MaxExpert1121
Custom (calibrated)64822.3662.7MaxExpert1104
อย่างโหมด Cinema / Custom / Photo ให้อุณหภูมิสีใกล้เคียงค่าอ้างอิงที่ 6500K มาก จัดว่าเยี่ยมเลย
โหมดภาพสำเร็จรูปที่ค่าใกล้เคียงมาตรฐานอ้างอิงมากที่สุดคือโหมด Cinema Pro ค่าสมดุลแสงขาวถือว่าดีมากหากเทียบกับทีวีทั่วไป ภาพจะออกโทนอุ่น ซอฟท์ๆเหมือนในโรงหนัง ควรเปิดไฟสลัวๆหรือปิดไฟไปเลยจะเหมาะมาก
ใช้โหมด Custom ปรับแค่ White Balance แบบ 10 Points และ Gamma ก็ได้ผลลัพทธ์ที่ดีเยี่ยม สมดุลแสงขาวถูกต้อง ขอบเขตแม่สีหลักและรองก็ถูกต้องตามไปโดยปริยาย (ถึงแม้ไม่มีเมนูให้ปรับ)
ขอบเขตของสีสามารถปรับเลือกที่เมนู Colour Space ได้ ที่น่าแปลกคือมี Color Space ระดับ BT2020 ให้เลือกด้วย เมื่อเลือกระดับนี้ขอบเขตของสีกว้างขึ้นนิดหน่อยจริง แต่ก็ยังไม่ถึงระดับ BT2020 (ซึ่งกว้างมาก) และมาตรฐานโรงภาพยนตร์ดิจิตอลอย่าง DCI P3 อยู่ดี

เริ่มทดสอบภาพจากคอนเทนต์ Full HD ก่อน แผ่นหนังเรื่องโปรดอย่าง Interstellar ทะยานดาวกู้โลก ถูกนำมาใช้ทดสอบอีกครั้ง โหมดภาพที่ผมเลือกก็คือ Custom และก็ยังมีพวกโหมด Cinema Pro & Home ที่ให้สีสันถูกต้องมาเป็นอ็อพชั่นให้เลือกอีกด้วย ฉากลงสำรวจดาวภูเขาน้ำแข็งที่ถ่ายทำด้วยกล้อง IMAX ทำให้ภาพเต็มจอ 16:9 สีสันมีความเข้มข้นในระดับหนึ่ง แนวภาพเป็นแนวโรงภาพยนตร์ได้โทนอบอุ่นดูมีมนต์ขลัง มิติภาพมีความลึกพอประมาณ ส่วนความคมชัดจากการอัพสเกลก็จัดว่าอยู่ในเกณฑ์ดี ออกแนวดูสบายตา ไม่ถึงขั้นคมชัดจับใจดั่งรุ่นท็อป แต่ความเนียนนี่ดีกว่าพวก 4K Ultra HD รุ่นเริ่มต้นจากค่ายอื่นๆ มีข้อแนะนำว่าสามารถเปิดฟีเจอร์ 4K Reality Creation ระดับ Auto/Manual เพื่อเพิ่มความคมชัดโดยรวมของภาพประหนึ่งการสาด Sharpness หรือเพิ่มความคมชัดให้ทั่วทั้งภาพในระดับที่ “พอดี” กับระยะรับชมที่ไหลซัก 2.5 เมตรขึ้นไป ภาพจะชัดขึ้น อาการหยาบกร้านที่มักติดสอยห้อยตามมาจะมีมาบ้างเท่านั้น แต่ต้องเซ็ตระดับ Resolution+ ให้พอดีไม่สูงจนเกินไป ประมาณ 1-3 ก็พอ จึงสรุปได้เลยว่าฟีเจอร์นี้สามารถเพิ่มความคมชัดของภาพโดยรวม แนะนำให้เปิดใช้เมื่อดูหนัง Full HD / HD ที่ภาพไม่ค่อยคมตั้งแต่ต้น มันจะช่วยเพิ่มอรรถรสได้พอสมควร แต่หากระยะชมใกล้จอทีวีมากจริงๆ ก็ไม่จำเป็นต้องเปิดครับ

ฉากสำรวจภูเขาน้ำแข็งจากเรื่อง Interstellar

ถัดมาทดสอบกับเรื่อง The Dark Knight Rises (โหนกระแส Batman V Superman) ที่มีฉากต่อสู้ดวลหมัดระหว่าง Batman ปะทะกับตัวร้าย Bane ถึงแม้ซัดกันตุ่บตั่บนัวเนีย แต่ภาพเคลื่อนไหวก็ยังรักษามาตฐานความนิ่งไว้ได้ดี ซึ่งปกติแล้วการรับชมคอนเทนต์ Full HD บนจอความละเอียด 4K ทีวีมักจะประสบปัญหาการแสดงผลภาพเคลื่อนไหวที่เร็วจัด แต่ X8500D สามารถรับมือได้อย่างไร้ปัญหาโดยมิต้องพึงพาการเปิดโมชั่นแทรกเฟรมภาพด้วยซ้ำ ส่วนฉากกระโดดไต่ขึ้นจากหลุมลึกที่เอาไว้ทดสอบความดำของภาพ ระดับความดำอยู่ในเกณฑ์ปานกลางเพราะไม่ได้มีฟีเจอร์ Local Dimming การเปิดหลอดไฟ LED จึงเป็นการเปิดแช่ค้างไว้ตลอดเพื่อเลี้ยงภาพทั้งหมดให้สว่าง (แต่ได้เรื่อง Uniformity แทน) การไล่เฉดสีดำและรายละเอียดของขอบอิฐได้อยู่ในเกณฑ์น่าพอใจ รวมถึงมุมมองการรับชมด้านข้างที่ยังคงความอิ่มแน่นของสีสันไว้ได้ ไร้อาการซีดเซียวเมื่อมองมุมเฉียงมากๆ ระดับความดำ-สว่างทั่วจอถือว่าเกลี่ยได้ดี ไม่ค่อยมีหลุดเป็นกระหย่อมจนกวนใจ

ภาพจากเรื่อง Batman The Dark Knight Rises

มาเจาะลึกเรื่องภาพเคลื่อนไหวกันบ้าง Motion Flow หรือโมชั่นแทรกเฟรมภาพเป็นฟีเจอร์คู่บุญของทีวี Sony มาหลายยุคหลายสมัย โดยฟีเจอร์นี้จะช่วยการ “เพิ่มเฟรมภาพ” เพื่อแสดงภาพเคลื่อนไหวได้ลื่นไหลเป็นธรรมชาติขึ้น ผมลองกับหนังเรื่อง X-Men 2 ฉากที่โลแกนเดินลงบันได หากไม่เปิด Motion Flow เลย ภาพเคลื่อนไหวก็อยู่ในเกณฑ์ที่รับได้อยู่ อาจจะมีกระตุกเล็กๆบ้างเล็กน้อย หากไม่มองแบบเพ่งจับผิดก็จะไม่รู้สึกอะไร ส่วนระดับอื่นอย่าง Clear และ Smooth ก็จัดว่าลื่นไม่แพ้กัน แต่ทว่ายังมีวุ้นเรืองแสงตามขอบของตัวละครเตะตาผมอยู่ ซึ่งเป็นอาการสามัญประจำฟีเจอร์แทรกเฟรมภาพ อย่างไรก็ตามทีมงานได้ค้นพบระดับที่ดี่ที่สุด คือระดับ True Cinema โดยจะคงความสมดุลทั้งภาพเคลื่อนไหวที่ลื่นขึ้นและเป็นธรรมชาติที่สุด โดยแทบไม่ก่อให้เกิดวุ้นเรืองๆตามขอบเลย ดังนี้เวลารับชมจริง สามารถเลือกที่จะปิด Motion Flow ทิ้งไปซะ หรือจะเปิดให้เป็นระดับ True Cinema ก็ได้ ลองทดสอบดูเองแล้วเลือกตามใจชอบเลย

ทดสอบภาพเคลื่อนไหว และ Motion Flow โดยใช้หนังเรื่อง X-Men 2

ชื่นชอบ ? ผมชอบ 4K Upscaler ของ Sony ผมว่า Sony เองเป็นหนึ่งในผู้ผลิตทีวีที่แม้จะต้องซื้อตัวจอ Panel จากโรงงานอื่น แต่สามารถทำชิพประมวลผลออกมา “ให้ความสมดุลในการแสดงภาพ” ได้เสมอ คำว่า “สมดุล” มิอาจหมายถึงความดีเลิศที่สุดในด้านใดด้านหนึ่งเช่น ภาพคมชัดสุด สีสดสุด สีดำสุด หรือสว่างสุด แต่หมายถึงเมื่อรับชมจริงภาพมักจะดูได้แบบ “ไร้ปัญหาจุกจิก” มากที่สุด ชิพประมวลผลตัวเก่งทั้ง 4K X-Reality Pro และ 4K X1 Processor สามารถทำหน้าที่ได้ไม่ขาดตกบกพร่อง ทั้งการ 1) การอัพสเกลระดับสัญญาณภาพ 2) จัดการโมชั่นภาพเคลื่อนไหวให้ลื่นไหลไร้การสะดุด 3) รักษามาตรฐานความถูกต้องของแสงสีของโหมดภาพสำเร็จรูป ทั้งหมดเพียงแค่เลือกโหมดภาพสำเร็จให้ถูกต้อง และตั้งค่าเบื้องต้นตามที่แนะนำไป ภาพก็จะออกมาน่ารักของมันเองอย่างอัตโนมัติ

ดูดิจิตอลทีวี ภาพสดใสสบายตา สามารถใช้โหมดภาพอย่าง Cinema หรือ Custom ซึ่งให้ค่าแสงสีถูกต้องแต่ต้น ใหรือจะลองโหมด Standard ที่ให้ภาพโทนเย็นโอโม่ และปิด Motion Flow ทิ้งไป

ทดสอบภาพ 4K HDR

ทดสอบ HDR : High Dynamic Range เป็นประเด็นร้อนสำหรับปี 2016 นี้ หากทีวีตัวท็อปๆ ยี่ห้อไหนไม่มีฟีเจอร์นี้มานับว่า “เชย” อาจจะเป็นคำพูดที่ดูรุนแรงหน่อย แต่อย่าลืมว่าหนังความละเอียด 4K Ultra HD ที่ออกมาเป็นแผ่น Blu-ray ในหลายๆ เรื่องก็มีฟีเจอร์ HDR มาให้ ! ดังนี้หากทีวีสามารถแสดงผล HDR ได้ ท่านก็สามารถรับชมภาพได้ขีดสุดดั่งที่ผู้ผลิตหนังต้องการนำเสนอ ไม่มีข้อจำกัดด้านเทคโนโลยีมาขวางกั้นอีกต่อไป Sony เองได้ใส่ฟีเจอร์ HDR ไว้ในซีรีส์ 8 และ 9 โดยสามารถเล่นคอนเทนต์ HDR ได้จากช่องต่อ HDMI และ USB เมื่อตัวทีวีได้รับสัญญาณภาพแบบ HDR ตัวเครื่องจะ Detect อัตโนมัติ และปรับโหมดภาพให้เป็น HDR Video โดยทำการเร่งทั้งระดับความสว่างและคอนทราสต์ให้สูงที่สุดเพื่อการรีดภาพแบบ HDR ให้ออกมามีเรนจ์ที่กว้างและทรงประสิทธิภาพสูงสุด

หนัง 4K Blu-ray Discs จะมีฟีเจอร์ภาพ HDR มาให้ หนัง 4K Blu-ray Discs จะมีฟีเจอร์ภาพ HDR มาให้


HDR = High Dynamic Range 

มาตรฐานสัญญาณภาพแบบใหม่ ให้ระดับความสว่างที่สูงกว่าเดิมและให้ระดับสีดำที่ดำสนิทกว่าเดิม (ความสว่าง VS ความดำ) ด้วยเรนจ์ที่กว้างขึ้นทำให้สามารถสร้างมิติและสีสันของภาพให้สวยสมจริงยิ่งขึ้น มีความใกล้เคียงที่สุดกับภาพต้นฉบับที่กล้องบันทึกมา ซึ่ง HDR จะมีในคอนเทนต์ 4K ยุคใหม่ๆทั้งแผ่น Blu-ray และการดูแบบ Online Streaming นั่นหมายถึงว่าหากจะเล่นคอนเทนต์ HDR ได้อย่างสมบูรณ์ ทีวีก็จำเป็นต้องรองรับ HDR เช่นกัน

SDR = Standard Dynamic Range 

มาตรฐานสัญญาณภาพเดิม จะมีในคอนเทนต์อย่างแผ้น Blu-ray ความละเอียด Full HD / ดิจิตอลทีวี / Online Streaming ทั่วไป

ผมทดสอบกับไฟล์ Demo ของทาง Sony เอง เป็นการเปรียบเทียบระหว่าง คอนเทนต์ 4K HDR VS 4K SDR โดยไฟล์ Demo มีชื่อว่า Las Vegas เป็นการถ่ายเมือง Las Vegas ในมุมสูงยามค่ำคืน ทำให้เห็นหลอดไฟประดับประดาตามตึกรามบ้านช่อง หากเป็นคอนเทนต์แบบ 4K SDR ภาพก็ดั่งภาพสาธิตทั่วไปคือ มีความคมชัดสะอาดสะอ้าน แสงไฟตามตึกสว่างพอประมาณ ดูแล้วไม่ได้ถึงกับร้องว้าวอะไร ทว่าหากเป็นคอนเทนต์ที่เป็น HDR แสงจากหลอดไฟนั้นดูสว่างเรืองอร่ามกว่า เห็นคอนทราสต์ส่วนต่างของฉากหลังท้องฟ้าที่ดำสนิทตัดกับแสงไฟหลากสีได้อย่างชัดเจน ทีมงานผู้ร่วมทดสอบล้วนจับความต่างได้ทั้งหมด ทีนี้ผมนึกสนุกโดยการให้น้องทีมงาน Admin ที่เป็นผู้หญิงธรรมดา ไม่ได้มีความรู้เกี่ยวกับทีวีมากนักมาร่วมทดสอบแบบ Blind Test ลองเปิดสลับคอนเทนต์ 4K HDR VS HDR แล้วถามว่าชอบแบบไหนมากกว่ากัน ? ผลก็ออกมาตามคาดว่าชอบแบบ 4K HDR มากกว่า เพราะระดับความสว่างของดวงไฟที่ปรากฏออกมาได้แจ่มแจ้งกว่า ซึ่งแม้แต่สายตาผู้หญิงทั่วไปยังดูออก ต่างจากยุค 4K VS Full HD ที่คนทั่วไปแยกแยะไม่ค่อยออกเท่าไหร่ !

ภาพ 4K HDR สีสันของหลอดไฟจะสว่างไสวตัดกับฉากหลังสีดำ ดูโชติช่วงเจิดจรัสยามราตรี
ภาพ 4K SDR แสงไฟจะไม่เจิดจรัสเท่า

ฉะนั้นผมขอบย้ำทฤษฎีของ ISF : Imaging Science Foundation สถาบันมาตรฐานภาพระดับโลกว่า Resolution หรือความละเอียดหน้าจอนั้นสำคัญ แต่ Dynamic Range นั้นสำคัญกว่า เป็นเรื่องจริงและพิสูจน์ได้ เมื่อมาตรฐาน Dynamic Range ได้ขยายขอบเขตขึ้นไป ก็จะช่วยให้ได้ภาพที่สมจริงยิ่งขึ้น อรรถรสการรับชมก็จะขยายขึ้นตามไป ผมเองอยากทดสอบ X9300D ด้วยเพราะใช้โครงสร้าง Backlight แบบใหม่เรียกว่า Slim Backlight Drive จะช่วยทำให้การทำ Local Dimming หรือดิมไฟได้ดีกว่าเดิม หรือแม้กระทั่งรุ่นท็อปสุดที่ได้ไปสัมผัสในงานแถลงข่าวที่สิงคโปร์เพราะตัวนั้ใช้ Full LED Backlight แบบใหม่ ซึ่งให้ความสว่างสูงมากและสามารถดิมแสงได้ละเอียดยิ่บด้วย ซึ่งก็น่าจะให้ภาพ HDR ได้เหนือกว่า Series 8 ที่ไม่มี Local Dimming ไปไกลอีกระดับ สร้างความ ต่างแบบมีนัยยะ” ได้มากกว่านี้

หมายเหตุ
1) ในโหมดภาพสำเร็จรูปมีโหมด HDR Video ด้วย ซึ่งโหมดนี้จะถูกเปิดโดยอัตโนมัติเมื่อรับสัญญาณภาพแบบ HDR มา

2) ทว่าหากดูคอนเทนต์ธรรมดาอย่าริอาจไปเปิดใช้โหมด HDR Video นี้เชียว แสงและสีแอบเพี้ยนดูไม่ได้เลย

3) โหมด Live Football แสงสีโอเวอร์ไปซักนิด และโมชั่นภาพเคลื่อนไหวแลดูวืบๆไม่ค่อยเป็นธรรมชาติ จึงมิควรใช้

4) โหมดภาพสำเร็จในหลายๆโหมดยังมีเปิด Light Sensor หรือเซ็นเซอร์ปรับระดับความสว่างอัตโนมัติ 

5) มีโหมด Game สำหรับเล่นเกมส์ และโหมด Graphic ไว้ต่อกับคอมพิวเตอร์

สรุปคุณภาพของภาพโดยรวมอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน ถึงแม้จะมิได้ดีเลิศที่สุดในด้านใดด้านหนึ่ง แต่ก็มิได้มีจุดบกพร่องใหญ่ๆให้ติ ถือว่าได้ “ความสมดุล” ของทุกองค์ประกอบภาพตามที่ซีรีส์กลางค่อนไปบนควรจะเป็น ใช้งานดูคอนเทนต์ทั้ง 4K และ Full HD ได้อย่างสบาย