31 Oct 2018
Review

รีวิว Sony 65A9F 4K HDR OLED TV ตัวท็อป กับศักยภาพระดับ Master Series !!?


  • ชานม

ปัจจุบันทีวีรุ่นใหม่ ทยอยรับสัญญาณภาพแบบ High Frame Rate 120Hz ทาง HDMI กันมากขึ้น ซึ่งอานิสงส์จะได้เรื่องของการเล่นเกม และสำหรับ A9F ก็สามารถรับสัญญาณ 1080p 120Hz ทาง HDMI เมื่อเชื่อมต่อกับ Xbox One S/X และ PC

ในส่วนของ HDMI Input Lag โหมดภาพ Game ของ A9F จะอยู่ที่ 27.5 ms ซึ่งดีกว่ารุ่น A1E ที่ 47.4 ms

หมายเหตุ: เมื่อเลือกโหมดภาพ Game และ Graphics ระบบแทรกเฟรมภาพ Motionflow จะไม่สามารถเปิดใช้งานได้ (แต่คงไม่มีความจำเป็นต้องใช้ Motionflow เวลาเล่นเกม โดยเฉพาะเมื่อคอนเทนต์สามารถรันเฟรมเรตได้สูง 60-120Hz)

เสียง

เมื่อครั้งเปิดตัวพร้อมกับรุ่น A1 เทคโนโลยี Acoustic Surface ก็สร้างเสียงฮือฮาไปไม่น้อย พอมาถึง A9F ทาง Sony จึงพัฒนาให้ดีขึ้นไปอีกขั้น กลายเป็น Acoustic Surface Audio+ สิ่งที่เพิ่มเติมเข้ามา คือ การติดตั้งตัวขับเสียงแบบ 3.2 แชนเนล แท้ๆ ซึ่งสามารถแยกตำแหน่งเสียง ซ้าย-เซ็นเตอร์-ขวา ได้ชัดเจน เสียงที่ออกมาจากจอภาพโดยตรง ไม่กองอยู่ด้านล่างแบบลำโพงทีวีทั่วไป ย่อมให้ความกลมกลืนได้ดีกว่า
Actuator ให้เสียงย่านกลาง-แหลม เพิ่มจำนวนมาเป็น 3 ชุด จัดวางตำแหน่งซ้าย-เซ็นเตอร์-ขวา ในส่วนของ Bass woofer ก็ไม่น้อยหน้า เพิ่มมาเป็น 2 ชุด (เดิมมีอยู่ 1 ชุดในรุ่น A1E) เมื่อรวมกำลังขับของตัวขับเสียงทั้งหมดของที่ติดตั้งอยู่ใน A9F จะอยู่ที่ 98 วัตต์

จากการทดสอบ สิ่งที่เปลี่ยนแปลงเหนือกว่า A1E แบบสัมผัสได้ คือ รายละเอียดเสียงของ A9F จะมีความชัดใสกว่า เบสกระชับให้น้ำหนักชัดเจนกว่า บาลานซ์ปริมาณเสียงย่านต่ำกำลังดี ไม่เน้นเบสหนามากเหมือน A1 โอกาสที่เบสจะบวมจึงน้อยกว่า

ความพิเศษอีกประการที่เสริมอรรถประโยชน์จากเทคโนโลยี Acoustic Surface Audio+ คือ การใช้งานระบบเสียงของทีวีแทนที่ Center Speaker ในระบบโฮมเธียเตอร์ ถึงแม้น้ำหนักและความอิ่มของเสียงอาจยังเป็นรองลำโพงเซ็นเตอร์ขนาดใหญ่อยู่บ้าง แต่ข้อดีจากการที่จุดกำเนิดเสียงออกมาจากจอภาพจริงๆ ทำให้แชนเนลเสียงไดอะล็อกนี้โดดเด่นขึ้นจากตำแหน่งมิติเสียงที่สัมพันธ์ไปกับภาพบนจอ
Center Speaker Mode ทำได้โดยเชื่อมต่อสายลำโพง Center Channel จาก AV Receiver มาที่จุดเชื่อมต่อ Binding post ทางด้านหลังของ A9F และทำการเปลี่ยนตัวเลือก Speakers จาก TV Speakers เป็น Audio System

สรุป

นับว่า A9F เป็นพัฒนาการอีกขั้นของ Sony ประจำปี 2018 ทั้งในแง่คุณภาพของภาพ เสียง และลูกเล่นที่ปรับปรุงหลายจุดให้มีความโดดเด่นขึ้นกว่าเจนฯ ก่อน อีกทั้งตัวที่ต่ำกว่าตอนเปิดตัว A1E น่าจะช่วยให้ตัวท็อปรุ่นนี้เข้าถึงได้ไม่ยาก

ข้อดี Sony 65A9F

1) ดีไซน์หวือหวาพรีเมียมตามแนวคิด One Slate ด้านหลังดูมีดีเทลสวยขึ้นกว่า A1E

2) Custom Mode จูนภาพมาจากโรงงานให้ความเที่ยงตรงและไดนามิกเรนจ์สูงขึ้นกว่าเจนฯ ก่อน โหมดปรับภาพเพิ่มความสามารถไฟน์จูน CMS อนาคตจะรองรับ Calman AutoCal

3) Acoustic Surface Audio+ แยกเสียงได้ 3 แชนเนลแท้ๆ รายละเอียดเสียงดีกว่า A1E สามารถสลับใช้งานทดแทนลำโพงเซ็นเตอร์ในระบบโฮมเธียเตอร์ได้

4) เป็นทีวีเครื่องแรกที่มาพร้อม IMAX Enhanced และ HDMI eARC อนาคตรองรับ pass-through ระบบเสียง Atmos (TrueHD), DTS:X เมื่อเชื่อมต่อกับระบบโฮมเธียเตอร์ หรือ Soundbar ที่รองรับ 

5) ไมโครโฟนติดตั้งมากับตัวทีวี รับคำสั่งเสียง Google Assistant ไม่จำเป็นต้องใช้ Google Home และยังรองรับคำสั่งเสียงภาษาไทยเมื่อพูดผ่านรีโมต

6) รับสัญญาณ 1080p 120Hz ทาง HDMI ได้, Game Mode มีระดับ Input Lag ต่ำเพียง 27.5 ms

ข้อเสีย Sony 65A9F

1) รูปแบบขาบานพับกับน้ำหนักที่มาก ทำให้การติดตั้งและยกเคลื่อนย้ายค่อนข้างทุลักทุเล ยังดีที่มีร่องให้พอสอดมือยกได้ง่ายกว่า A1E

2) YouTube app ยังไม่รองรับการแสดงผล HDR

3) ต้องคอยสลับเปลี่ยนภาษาของระบบระหว่างอังกฤษกับไทย เพื่อให้ Google Assistance รับคำสั่งเสียงตรงตามภาษานั้นๆ การรองรับคำสั่งเสียงภาษาไทยยังจำเป็นต้องพูดผ่านรีโมตอย่างเดียวยังไม่สามารถพูดผ่านทีวีโดยตรง

คะแนน

ดีไซน์ (Design)
9
ภาพ 2 มิติ ก่อนปรับภาพ (2D Picture Pre-Calibrated)
9
ภาพ 2 มิติ หลังปรับภาพ (2D Picture Post-Calibrated)
9.25
ภาพ 2 มิติ (HDR)
9.25
เสียง (Sound)
9
การเชื่อมต่อ (Connectivity)
8.5
ลูกเล่น (Features)
9
ความคุ้มค่า (Value)
8.25
คะแนนตัดสิน (Total)
8.9

Sony 65A9F 4K OLED TV

8.9

Sony 65A9F 4K OLED TV (65″)

ราคาเปิดตัว 169,990 บาท รับประกัน 3 ปี