ภาพ
สเป็คด้านภาพของ Samsung 55D8000 3D LED TV ที่เด่นๆก็คือ ความละเอียดหน้าจอ 1920 x 1080 หลอด Backlight เป็นแบบ Edge LED พร้อมด้วย Micro Pixel Dimming ช่วยให้การดิมหลอดไฟให้สอดคล้องกับฉากที่มืดหรือสว่างอยู่ในขณะนั้น ช่วยให้สีดำดำสนิทขึ้นและสีขาวขาวบริสุทธิ์ขึ้น ขับเคลื่อนภาพด้วยชิพประมวลผล 3D HyperReal Engine รองรับการเล่นภาพ 3 มิติแท้ๆ (แบบ Active) และรวมถึงการแปลงภาพ 2 มิติให้เป็นภาพ 3 มิติจากทุกๆแหล่งสัญญาณ พร้อมอัตรา Clear Motion Rate 800 จากการประสานงาน 3 อย่างของ Chipset / Scanning Backlight / การแทรกเฟรมภาพ รวมเข้าด้วยกัน ช่วยเรื่องภาพเคลื่อนไหวไม่ให้สะดุด และตัวจอก็ใช้ Ultra Clear Panel จอใสปิ๊งช่วยให้สีดำดำลึก ภาพสีสันสดใส สุดท้ายมีเทคโนโลยี Cinema Black เมื่อเราดูหนังสัดส่วน 21:9 (2.35:1) จากแผ่น Blu-ray หรือ DVD จะเหลือแถบดำตรงด้านบนและด้านล่างของจอ เข้า Cinema Black ก็จะช่วยทำให้สีดำบริเวณแถบทั้งสองดำสนิทยิ่งขึ้น ด้วยการลดปริมาณ Backlight บริเวณนั้น แสงรั่วลดลงและประหยัดไฟได้มากขึ้น
โหมดภาพสำเร็จรูป
ให้มา 4 โหมดได้แก่ Dynamic / Standard / Natural / Movie



ทดสอบภาพ 3 มิติ
หัวใจหลักด้านภาพของ 55D8000 ก็คือความสามารถในการเล่นภาพ 3 มิติแท้ๆ ซึ่งใช้เทคโนโลยีแบบ Active แบบปีที่ผ่านมา โดยใช้แว่น Active Glasses ครับ ในขณะที่รุ่น 55C8000 ของปี 2010 ที่ผ่านมาก็สามารถแสงภาพ 3 มิติอยู่ในเกณฑ์ดี แต่อาจจะยังมีอาการ Crosstalk หรือภาพเหลื่อมซ้อนกันทั้งๆที่ใส่แว่นตา 3 มิติแล้วอยู่บ้าง รวมถึงแสงสีดร็อปไปพอสมควรเมื่อเล่นภาพ 3 มิติ แต่มาในปีนี้รุ่น 55D8000 ก็ได้ทำการปรับปรุงคุณภาพของภาพให้ดีขึ้น อาการ Crosstalk ลดลงไปแบบจับต้องได้ สีสันก็สามารถรักษาระดับความสดใสได้ดีกว่ารุ่นที่แล้วพอสมควร มิติภาพก็อยู่ในเกณฑ์น่าพอใจ ความลึกและมิติที่ลงไปเป็นชั้นๆจากการ์ตูนเรื่อง Cloudy with A Chance of Meat Ball ในฉากคุณพ่อตำรวจแบกเรือวิ่ง และฉากที่ประชาชนชาวเมืองที่มายืนเรียงกัน ก็แสดงให้เห็นถึง “ลำดับขั้นความลึก” ที่ลึกเรียงลงไปอย่างเป็น Step โชว์ “มิติลำดับ ขั้น” ระหว่างตัวละครและวัตถุต่างๆ ส่งเสริมอรรถรสในการรับชมให้มากขึ้นไปอีกระดับ
ส่วนแว่น 3 มิติที่แถมมามีดีไซน์คล้ายๆของเดิม แต่ซิงค์กับทีวีด้วยสัญญาณ Bluetooth ซึ่งระยะการรับชมและความเสถียรของสัญญาณดีกว่าการซิงค์ด้วย Infrared แบบแว่นรุ่นที่แล้ว แว่นมีน้ำหนักเบา 35 กรัมเท่านั้น ใส่สบายและมีแป้นรองจมูกที่สามารถปรับระดับได้


ส่วนการแปลง 2D เป็น 3D นั้น หากเป็น Content แบบ HD แล้วก็สามารถเปิด 2D เป็น 3D แล้วรับชมได้ครับ มิติภาพก็จัดว่าโอเคอยู่ในระดับประทับใจ ซึ่งบางทีทีมงานยังแอบแยกไม่ออกในบางฉากด้วยซ้ำว่าเป็น 3D แท้ๆหรือ 2D => 3D Conversion แต่แน่นอนหากเปิดภาพให้เคลื่อนไหว ภาพก็ไม่ได้ลอยหรือลึกในระดับเดียวกับภาพ 3 มิติแท้ๆ รวมถึงการปรับระดับความลึกของภาพ (Depth) ซึ่งแนะนำให้ปรับไม่ต้องเยอะมาก เอากลางๆค่อนไปทางน้อยๆ ให้มีมิติภาพในระดับ “กำลังพอดี” หากปรับระดับสูงจนเกินไปอาจจะมึนหัวได้ครับ ส่วนการ Convert 2D เป็น 3D ในแหล่งสัญญาณ Analog ความละเอียดต่ำเช่น จากฟรีทีวี หรือ ดีวีดี ผ่านช่องต่อ AV ก็สามารถทำได้ครับ แต่ไม่ค่อยแนะนำเท่าไหร่้ เพราะคุณภาพของแหล่งสัญญาณมันไม่ค่อยดีเท่าไหร่ พอมาแปลงเป็นภาพ 3 มิติเลยจะดูทะแม่งไปซักนิด









สรุปเรื่องภาพ
คุณภาพของภาพ 3 มิติมีการปรับปรุงให้ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ทั้งการลด Crosstalk ที่น้อยลงไปแบบจับต้องได้ รวมถึงยังสามารถเปลี่ยนภาพ 2D เป็น 3D ได้จากทุกๆแหล่งสัญญาณ ส่วนภาพ 2D สีสันก็อิ่มสดเด้ง ซึ่งเป็นแนวภาพของจอ Samsung LED TV อยู่แล้ว สีดำดำลึก ภาพมีความคม รายละเอียดระยิบระยับแสดงออกมาได้หมด ยิ่งกรอบทีวีบางเฉียบซะขนาดนี้ มันยิ่งส่งผลเชิงจิตวิทยาเรื่อง “ภาพเด้งเด่นขึ้นมา” อีกด้วย ส่วนจุดติก็ขอติเรื่องการคุม Backlight ซักหน่อย หากนั่งในห้องนั่งเล่นและมีเปิดไฟธรรมดา การคุมแสงและระดับสีดำก็โอเคอยู่ แต่หากปิดไฟมืดเลย เหมือนกับว่าฟังก์ชั่น Micro Pixel Dimming (Local Dimming) อาจจะยังช่วยอะไรไม่ได้มาก ยังมีแสงรั่วให้เห็นบ้างครับ การลดระดับ Backlight ด้วยการปรับมือเองเลยจะช่วยได้เยอะกว่ามาก