01 Jan 2014
Review

ประติมากรรม “หลักศิลา” กับประสิทธิภาพที่ต้องจารึก Sony KDL-HX855 3D LED TV


  • ชานม

ภาพ

กับการเล่นเกมก็ยังตอบสนองการเคลื่อนไหวที่รวดเร็วได้ตามมาตรฐาน (ในภาพอ้างอิงจาก Scene Mode: Game ไม่ได้เปิดใช้ Motionflow)

การใช้งานคอนเทนต์บางลักษณะ อย่างเช่น ภาพยนตร์บลูเรย์ (1080p/24) การเปิดใช้ Motionflow จะช่วยเพิ่มความไหลลื่นของภาพเคลื่อนไหว ซึ่งพอสรุปได้ดังต่อไปนี้

MotionflowCinema Driveผลลัพธ์
ClearOffเพิ่มระดับการแทรกเฟรมเล็กน้อย ภาพเคลื่อนไหวจึงใกล้เคียงกับต้นฉบับมากที่สุด แต่บางคอนเทนต์อาจมีการสะดุดไม่ต่อเนื่องบ้าง โหมดนี้จะเหมาะกับคอนเทนต์ 1080p/24 อย่างภาพยนตร์ ที่มีรายละเอียดซับซ้อน ภาพเคลื่อนไหวรวดเร็ว
StandardAuto1เพิ่มระดับการแทรกเฟรมปานกลาง ภาพเคลื่อนไหวจึงมีความไหลลื่นขึ้น โอกาสเกิด artifacts รบกวนน้อยกว่า Smooth โหมดนี้จะเหมาะกับคอนเทนต์ 1080p/24 อย่างภาพยนตร์ ที่มีรายละเอียดภาพซับซ้อน
SmoothAuto1เพิ่มระดับการแทรกเฟรมสูงสุด ภาพเคลื่อนไหวจึงมีความไหลลื่นที่สุด ทว่าบางกรณีอาจพบ artifacts รบกวน โหมดนี้จะเหมาะกับคอนเทนต์ 1080p/24 จำพวกการ์ตูน ที่มีรายละเอียดภาพไม่ซับซ้อน
การรับชมฟรีทีวี ให้ภาพที่ดี (ดูได้ จอไม่ดำ อิ อิ) แน่นอนว่าระบบสเกลเลอร์ภายในมีส่วนช่วยเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็น Noise Reduction และ Enhancer ต่างๆ (บางตัวแปรเพื่อศักยภาพสูงสุด อาจต้องกำหนดเองตามความเหมาะสม ซึ่งขึ้นอยู่กับคุณภาพของต้นทาง) อย่างไรก็ดีผู้ใช้คงต้องเอาใจใส่เรื่องของพื้นฐานคุณภาพสัญญาณ (และอุปกรณ์) สักเล็กน้อย เพราะการปรับแก้จุดบกพร่องยังมีลิมิตอยู่ครับ ถ้าต้นทางมาไม่ดีจะหวังให้ได้ภาพที่ดีเลิศ คงเป็นไปไม่ได้ โดยเฉพาะกับจอใหญ่ (ทีวีเป็นเพียงตัวกลางถ่ายทอดสัญญาณ ทีมีฟีเจอร์ช่วยปกปิดจุดบกพร่องได้ระดับหนึ่งเท่านั้น)
การเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ผ่านสาย HDMI ให้ภาพที่คมชัด เต็มจอ ที่ความละเอียด 1920×1080 pixels
Wide Mode ลักษณะต่างๆ (Default = Full)
การแสดงภาพสามมิติอยู่ในเกณฑ์ดี ไม่ปรากฏภาพเหลื่อมล้ำลดทอนอรรถรสการรับชม การแสดงรายละเอียดดี มิติภาพหลุดลอยใกล้เคียงกับ HX925 แต่แนะนำว่าควรควบคุมแหล่งกำเนิดแสงแวดล้อมมิให้รบกวนการรับชม
ฟังก์ชั่น Simulated 3D แปลงคอนเทนต์วิดีโอทั่วไปแบบ 2 มิติ ให้กลายเป็น 3 มิติได้
สามารถกำหนดระดับการลอย-ลึก ของการแสดงภาพสามมิติเช่นเดียวกับรุ่นก่อน แต่จุดนี้ถ้าปรับมากไป อาจจะเวียนหัวได้ ซึ่งค่ามาตรฐานที่ตั้งมา (0) ถือว่าตอบสนองได้อย่างลงตัวแล้วครับ นอกจากนี้ยังกำหนดระดับความสว่างจากการควบคุมฟิลเตอร์ของแว่นสามมิติได้อีกด้วย ซึ่งมีมาตั้งแต่รุ่นก่อน

เสียง

ผลการทดสอบระบบเสียงจากลำโพงมาตรฐานของ 55HX855 ถูกติดตั้งโดยวางตำแหน่งยิงเสียงลงด้านล่าง (เยื้องไปด้านหลังเล็กน้อย) ดังนั้นเสียงที่ผู้ฟังได้ยินจึงเป็นเสียงสะท้อนเสียส่วนใหญ่ และแน่นอนว่าจะกระทบกับเสียงย่านสูง ถึงแม้การเพิ่มระดับ Treble จะช่วยชดเชยได้ระดับหนึ่ง แต่ก็กระทบกับเสียงกลางซึ่งจะติดกร้านอยู่บ้าง และการแยกแยะมิติสเตริโอจะค่อนข้างคลุมเครือ เอฟเฟ็กต์จากการใช้งานระบบจำลองเสียงเซอร์ราวด์ก็ให้ผลที่ไม่ชัดเจนมากนัก ส่วนความถี่ต่ำนั้นพอตัว เนื่องจากมีวูฟเฟอร์ติดตั้งบริเวณกึ่งกลางด้านหลัง เยื้องไปด้านบนของจอภาพ

ในขณะที่การใช้งานระบบเสียงของ TV Stand (SU-B553S) พบว่ามีส่วนช่วยเพิ่มอรรถรสในการรับชมภาพยนตร์ และรับฟังดนตรีได้ดียิ่งขึ้นกว่าการใช้งานลำโพงมาตรฐาน การจัดวางไดรเวอร์ฟูลเรนจ์ซ้าย-ขวา โดยยิงตรงสู่ผู้ฟังทางด้านหน้าทีวี ช่วยให้การรับรู้มิติสเตริโอดีขึ้น รวมถึงความเป็นอิสระ ไม่อุดอู้เหมือนลำโพงทีวีทั่วไป อย่างไรก็ดีการใช้งานอาจต้องปรับแต่งตั้งค่าเพิ่มเติมบ้าง เพื่อให้การถ่ายทอดเสียงลงตัวยิ่งขึ้น แม้ว่าถ้าเทียบกับรุ่นก่อน (SU-B551S) การตอบสนองความถี่จะแคบลง โดยเฉพาะย่านต่ำ (รุ่นก่อนมีวูฟเฟอร์แยกต่างหาก) แต่ก็ยังให้คุณภาพเสียงที่ดีกว่าลำโพงทีวีมาตรฐาน โดยรวมต้องบอกว่ามี TV Stand ดีกว่าไม่มีแน่นอนครับ

หมายเหตุ:
– ตัวแปรการตั้งค่าประการแรก ที่ส่งผลกับคุณภาพเสียงของ 55HX855 คือ การกำหนด TV Position ให้ตรงกับลักษณะการใช้งานจริง  ขาตั้งมาตรฐาน – Table-top Stand , แขวนผนัง – Wall Mount/Floor Stand, ใช้ร่วมกับ TV Stand – Speaker Integrated Stand
– การตั้งค่าในการทดสอบเพื่อฟังเพลง Treble +4~+8, Bass 0~+4, Surround – Off, Sound Enhancer – On ทั้งนี้ระยะตั้งวางห่างจากผนังส่งผลถึงบริมาณเสียงความถี่ต่ำ ซึ่งการชดเชย Bass มากเกินไปจะส่งผลลดทอนการทำงานของไดรเวอร์ (เสียงจะอุดอู้) 


“Its time to change your living room !”

สรุป

Sony KDL-55HX855 ถือว่าสานต่อตำนาน Monolithic Design มาได้อย่างลงตัว ถึงแม้บางด้านจะยังเป็นรอง HX925 ทว่าด้วยระดับราคาเปิดตัวที่ต่ำลง (พอๆ กับราคา NX720 เมื่อเปิดตัวปีที่แล้ว) แถมราคานี้ให้ TV Stand ซึ่งถือเป็นอุปกรณ์ชิ้นสำคัญที่สร้างความโดดเด่นแตกต่าง 

ผลลัพธ์จากพารามิเตอร์อื่น ๆ ที่สำคัญ และเกี่ยวข้องกับศักยภาพของ Sony KDL-55HX855

Gamma –-1

คะแนน

ดีไซน์ (Design)
9.5*
ภาพ 2 มิติ ก่อนปรับภาพ (2D Picture Pre-Calibrated)
8.5
ภาพ 2 มิติ (HDR)
8.5
เสียง (Sound)
8.5*
การเชื่อมต่อ (Connectivity)
8.25
ลูกเล่น (Features)
8.5
ความคุ้มค่า (Value)
8.25
คะแนนตัดสิน (Total)
8.5

Sony KDL-55HX855

8.5

*อ้างอิงพร้อม TV Stand
มาตรฐานการให้คะแนนปี 2012
หมายเหตุประกอบการให้คะแนน
-รูปทรง รายละเอียดปลีกย่อยเปลี่ยนแปลงจากเดิมนิดหน่อยให้พอตื่นเต้น โดยหลักๆ เป็นการสานต่อประติมากรรม “Monolithic Design” ที่ทำได้ลงตัวดี คราวนี้ผู้ใช้จะได้ TV Stand แถมมาด้วยเลย ไม่ต้องซื้อเพิ่ม สวยได้ง่ายกว่าเดิม
– คุณภาพของภาพ 2D ถอดแบบ HX925 มาได้ไม่น้อย โดยเฉพาะสีสันที่เป็นธรรมชาติ ดูนุ่มนวลสบายตา ถึงแม้โครงสร้าง Backlight จะมิใช่ Full LED Local Dimming แต่ศักยภาพของ Edge LED Local Dimming ก็ช่วยให้การควบคุมระดับสีดำทำได้ดี ภาพ 3D ชัดเจน แต่จะดีที่สุดต้องควบคุมแหล่งกำเนิดแสงภายนอกมิให้รบกวนการรับชมภาพสามมิติ
– การให้น้ำหนักเสียง และปริมาณเบสอาจจะน้อยลงไปจากรุ่นก่อน (SU-B551S) ที่เป็นระบบ 2.1 บ้าง แต่ TV Stand ของรุ่นนี้ (SU-B553S) ยังคงช่วยอัพเกรดคุณภาพเสียงของทีวีได้อย่างมีนัยสำคัญ การจัดวางตัวขับเสียงทางด้านหน้า ยิงตรงมายังผู้ใช้ ให้การขึ้นรูปสเตริโออิมเมจได้ดีกว่าลำโพงของทีวี รวมถึงน้ำเสียง เบส และการแจกแจงรายละเอียดที่ดีขึ้น
– ช่องต่อครบครัน มี HDMI 4 ช่อง Component/Composite ไม่ต้องใช้อแดปเตอร์เหมือนรุ่นก่อน สามารถเสียบสายสัญญาณมาตรฐานที่ใช้งานทั่วไปตรงเข้ายังทีวีได้เลย สายเชื่อมต่อไปยัง TV Stand ใช้เส้นเดียวสะดวกขึ้น ดูไม่รุงรัง มี USB 2 ช่อง เอาไว้เสียบ Webcam 1 ช่อง (แถมมาด้วย)  และ Flash Drive มี Wi-Fi บิลท์อินในตัว
– ฟังก์ชั่น Sony Entertainment Network ที่มาพร้อมกับออนไลน์คอนเทนต์หลากหลายทั้งที่คุ้นเคยกันดี และจากทาง Sony เอง พร้อม app ต่างๆ ที่มีมากขึ้นระดับหนึ่ง รองรับการแชร์มีเดียไฟล์ผ่านเน็ตเวิร์ก หรือจะท่องเว็บผ่าน Web browser โดยตรงไม่ต้องง้อคอมฯ ก็ได้ (แต่ยังไม่รองรับภาษาไทยอย่างเต็มตัวเสียทีเดียว รวมถึง Adobe Flash)
– ด้วยระดับราคาที่รวม TV Stand กับศักยภาพด้านเสียงที่ได้รับการอัพเกรดขึ้นจากลำโพงทีวีมาตรฐาน แต่เหนือสิ่งอื่นใด คือ Monolithic Design ที่เกิดจากการผสานทั้ง 2 เข้าด้วยกันอย่างลงตัว เปลี่ยนคำจำกัดความรูปลักษณ์ของ “ทีวี” ให้ต่างออกไปอย่างโดดเด่น !